"...เมื่อรับฟังพฤติกรรมการกระทําของจําเลยทั้งสิบสามดังกล่าวประกอบคําวินิจฉัยของศาลฎีกาทั้งสองคดีดังกล่าวข้างต้นที่วินิจฉัยว่า การที่จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันออกไปรณรงค์ แถลงการณ์ ประกาศเชิญชวน ชุมนุม ปราศรัย ยุยง พนักงานขับรถ พนักงานช่างเครื่อง และพนักงานอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขัดขวางการ รถไฟ ยุยงให้พนักงานลาป่วย อันเป็นการละทิ้งหน้าที่ในขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่อยู่และเป็นการ กระทําผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้างอันเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกันแล้ว ถือได้ว่าการกระทําของจําเลยทั้งสิบสาม เป็นการละทิ้งงานหรือกระทําการอย่างใด ๆ เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกันกระทําการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166 วรรคแรก ตามที่โจทก์ฟ้อง..."
........................
จำเลยทั้ง 13 ราย มีความผิดตามมาตรา 166 วรรคแรก จำคุกคนละ 4 ปี ทางนำสืบของจำเลยทั้งสิบสามเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามมาตรา 78 ลงหนึ่งในสี่
คงจำคุกคนละ 3 ปี
คือ คำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในคดีกล่าวหา นายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพนักงานรถจักร 6 สถานีรถไฟหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำเลยที่ 1 กับพวก 12 ราย ประกอบไปด้วย นายประชานิวัฒน์ บัวศรี จำเลยที่ 2 นายนิตินัย ไชยภูมิ จำเลยที่ 3 นายสรวุฒิ พ่อทองคำ จำเลยที่ 4 นายธวัชชัย บุญวิสูตร จำเลยที่ 5 นายสาโรจน์ รักจันทร์ จำเลยที่ 6 นายสาวิทย์ แก้วหวาน จำเลยที่ 7 นายธารา แสวงธรรม จำเลยที่ 8 นายเหลี่ยม โมกงาม จำเลยที่ 9 นายภิญโญ เรือนเพ็ชร จำเลยที่ 10 นายอรุณ ดีรักชาติ จำเลยที่ 11 นายบรรจง บุญเนตร์ จำเลยที่ 12 และนายสุพิเชฐ สุวรรณชาตรี จำเลยที่ 13 ละทิ้งงานหรือกระทำการอย่างใดเพื่อให้งานหยุดชะงักส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รับความเสียหาย ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบกันไปแล้ว
(อ่านประกอบ : คุกคนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา! 13 พนง.รถไฟหาดใหญ่ ประท้วงหยุดงานทำ รฟท.เสียหาย)
เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อสาธารณชน สำนักข่าวอิศรา สืบค้นคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในคดีนี้มานำเสนอ ณ ที่นี้
@ พฤติการณ์ในคดี
จําเลยทั้งสิบสามเป็นลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย
จําเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการสหภาพรัฐวิสาหกิจ รถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่
จําเลยที่ 11 ถึงที่ 13 เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
จําเลยทั้งสิบสาม มีหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย คือ การรับส่งคนโดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 จําเลยทั้งสิบสามจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4
ระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2552 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 เวลากลางวัน ทั้งกลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันประกาศเชิญชวนให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมาร่วมฟังการปราศรัย โดยมีจําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 เป็นผู้ร่วมปราศรัย
จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันละทิ้งงานหรือกระทําการเรียกร้องให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกันลาป่วย ขัดขวางการขับรถไฟ ยืนขวางทางรถไฟเพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย เป็นผลให้ขบวนรถไฟไม่สามารถแล่นได้ตามปกติ อันเป็นการ กระทําการอย่างใด ๆ เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกระทําการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เป็นเหตุให้การรถไฟแห่ง ประเทศไทยได้รับความเสียหาย
เหตุเกิดที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ ตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และสถานีรถไฟบางซื่อ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน
@ จำเลยให้การต่อสู้คดี
จําเลยทั้งสิบสามให้การและแก้ไขคําให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและปฏิเสธว่าไม่ได้กระทําความผิดตามฟ้อง
โดยอ้างว่าจําเลยทั้งสิบสามไม่ได้ร่วมกันละทิ้งงานหรือกระทําการเพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย จําเลยทั้งสิบสามปฏิบัติงานตามหน้าที่และปฏิบัติงาน ตามระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของการรถไฟแห่งประเทศไทย และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อเท็จจริงตามฟ้องยุติแล้วโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย รับรองว่าจําเลยทั้งสิบสามไม่ได้กระทําความผิดโดยยกเว้นโทษให้แก่จําเลยทั้งสิบสามด้วยการรับ จําเลยทั้งสิบสามกลับเข้าทํางานตามเดิม
โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง
การกระทําของจําเลยทั้งสิบสาม ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 58
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอํานาจกล่าวโทษ โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง
@ ศาลฯ พิเคราะห์พยานหลักฐาน
ศาลฯ พิเคราะห์พยานหลักฐานตามทางไต่สวนที่คู่ความมิได้โต้แย้งกัน ข้อเท็จจริงเบื้องต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ศาลฯ เห็นว่า ไม่เคลือบคลุม
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองว่า การกระทําของจําเลยทั้งสิบสามตามฟ้องเป็นการ กระทําในฐานะกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 หรือไม่ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจไต่สวนหรือไม่ ศาลฯ เห็นว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจไต่สวน และโจทก์มีอํานาจฟ้อง ข้ออ้างของจําเลยทั้งสิบสาม ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สามว่า การกระทําของจําเลยทั้งสิบสามยุติโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยยกเว้นโทษให้ภายหลังการกระทําความผิดหรือไม่ เห็นว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจไต่สวน และโจทก์มีอํานาจฟ้อง ข้ออ้างของจําเลยทั้งสิบสามฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงการกระทําที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสิบสามในคดีนี้กับการกระทําของจําเลยทั้งสิบสามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสิบสามขอเลิกจ้างต่อศาลแรงงานกลางในสองคดีดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะพบว่าเป็นการกระทําเดียวกัน คือ การที่จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันออกไปรณรงค์ แถลงการณ์ ประกาศเชิญชวน ชุมนุม ปราศรัย ยุยง พนักงานขับรถและพนักงานช่างเครื่องกับพนักงานอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ให้นํารถจักรดีเซลที่อุปกรณ์เดดแมนและระบบวิกิแลนซ์ชํารุด ออกไปทําขบวนโดยอ้างว่าเป็นการรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงานและประชาชนผู้ใช้บริการ จนเป็นเหตุให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องหยุด เดินรถตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2552
โดยคดีของศาลแรงงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องจําเลย 6 ราย ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคําพิพากษาถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่า การที่จําเลยร่วมทั้งหก (จําเลยที่ 1- 6 คดีนี้) ร่วมกันชักชวนและยุยงในเชิงข่มขู่ให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกันแปรหยุดปฏิบัติหน้าที่และขัดขวางมิให้พนักงานขับรถและพนักงานช่างเครื่องที่จะปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ ปฏิบัติหน้าที่ จนการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องหยุดการเดินขบวนรถที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 ไม่มีขบวนรถไฟออกวิ่งบริการรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามปกติอันกระทบถึงผลประโยชน์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ที่จําเป็นต้องใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมิใช่เป็นการกระทําตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 40 แต่เป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เป็นการละทิ้งหน้าที่ในขณะกําลังปฏิบัติอยู่ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ระเบียบวินัยและการลงโทษของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่) เป็นการกระทําผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2543 มาตรา 37 (1) และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเลิกจ้างจําเลยร่วมทั้งหก (จําเลยที่ 1 ถึงที่ 5 คดีนี้) ได้
ส่วนคดีของ ศาลแรงงานกลางที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยอีกกลุ่มหนึ่ง ขอเลิกจ้าง จําเลยทั้ง 7 ราย (จําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 คดีนี้) ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า การที่จําเลยทั้งเจ็ดร่วมกัน ออกไปรณรงค์ชี้แจงและพูดจากับพนักงานขับรถและพนักงานช่างเครื่องเพื่อมิให้นํารถจักรที่ อุปกรณ์ระบบเดดแมนหรือระบบวิกิแลนซ์ชํารุดออกไปทําขบวนรถไฟ มีพฤติกรรมในลักษณะเป็นการร่วมกันยุยง ชักชวนในเชิงข่มขู่เพื่อมิให้มีการนํารถจักรที่ระบบดังกล่าวชํารุดออกไปทําขบวนโดยเด็ดขาด ตามที่เคยทําหนังสือแถลงการณ์ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ไว้ จนเป็นเหตุให้สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งพนักงานขับรถและพนักงานช่างเครื่องเกิดความรู้สึกไม่กล้านํารถจักรออกไปทําขบวน และมีผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีขบวนรถไฟออกวิ่งบริการรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามปกติ กระทบถึงผลประโยชน์ของการรถไฟ แห่งประเทศไทยและกระทบต่อประชาชน การกระทําดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะของการดําเนินการเพื่อหาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจนั้น หรือร่วมกันปรึกษาหรือเพื่อพิจารณา ปรับปรุงสภาพการจ้างกับผู้แทนฝ่ายนายจ้างที่แต่งตั้งจากฝ่ายบริหารของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ด้วยกันในลักษณะสร้างสรรค์ และยังเป็นการไม่พยายามดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน โดยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ดําเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ รักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ
การกระทําของจําเลยทั้งเจ็ด (จําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 คดีนี้) จึงหาใช่กระทําตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 23 และมาตรา 40 ไม่
ทั้งยังเป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการละทิ้งหน้าที่ในขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่) จึงมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเลิกจ้างจําเลยทั้งเจ็ด (จําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 คดีนี้) ได้
และเมื่อ การกระทําของจําเลยทั้งเจ็ด (จําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 คดีนี้) ดังกล่าวทําให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่มีขบวนรถไฟออกวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามปกติ จึงเป็นการทําให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับความเสียหาย
ข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาวินิจฉัยการกระทําของจําเลยทั้งสิบสามในแต่ละคดีที่จําเลยทั้งสิบสามเป็นคู่ความว่าการกระทําของจําเลยทั้งสิบสามไม่ใช่การกระทําตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการ สัมพันธ์และกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่การกระทําตาม วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสากิจรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เป็นการละทิ้งหน้าที่ในขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ เป็นการกระทําผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง และจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลที่จําเลยทั้งสิบสามเป็นคู่ความในแต่ละคดี จึงผูกพันจําเลยทั้งสิบสามในแต่ละคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า การกระทําของจําเลยทั้งสิบสามตามฟ้องเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้การ รถไฟแห่งประเทศไทยได้รับความเสียหาย ประกอบกับพฤติการณ์การกระทําของจําเลยทั้งสิบสาม ได้ความตามคําเบิกความสนับสนุนและประกอบบันทึกปากคําเอกสาร ตามลําดับว่า การชุมนุมประท้วงของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยระหว่างวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จําเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันประกาศเชิญชวนให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกันฟังการปราศรัย โดยการฉายภาพยนตร์ประกอบการปราศรัย เรียกร้องยุยงให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยลาป่วย หยุดงาน ขัดขวางมิให้พนักงานขับรถและพนักงานช่างเครื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมีจําเลยที่ 7 ถึงที่ 13 ร่วมกันขึ้นเวที่ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยทั้งที่โรงรถจักรดีเซลบางซื่อและ สถานีชุมทางหาดใหญ่ จนพนักงานอื่น ๆ หยุดงานและลาป่วยโดยไม่ได้ป่วยจริง เพื่อเข้าร่วมชุมนุม ประท้วงกับจําเลยทั้งสิบสาม จนเป็นเหตุให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องหยุดเดินขบวนรถที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2552
ดังนี้ เมื่อรับฟังพฤติกรรมการกระทําของจําเลยทั้งสิบสามดังกล่าวประกอบคําวินิจฉัยของศาลฎีกาทั้งสองคดีดังกล่าวข้างต้นที่วินิจฉัยว่า การที่จําเลยทั้งสิบสามร่วมกันออกไปรณรงค์ แถลงการณ์ ประกาศเชิญชวน ชุมนุม ปราศรัย ยุยง พนักงานขับรถ พนักงานช่างเครื่อง และพนักงานอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขัดขวางการ รถไฟ ยุยงให้พนักงานลาป่วย อันเป็นการละทิ้งหน้าที่ในขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่อยู่และเป็นการ กระทําผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้างอันเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกันแล้ว ถือได้ว่าการกระทําของจําเลยทั้งสิบสาม เป็นการละทิ้งงานหรือกระทําการอย่างใด ๆ เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกันกระทําการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166 วรรคแรก ตามที่โจทก์ฟ้อง
ที่จําเลยทั้งสิบสามอ้างว่า การกระทําของจําเลยทั้งสิบสามเป็นการกระทําในฐานะคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และ กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นการใช้สิทธิต่อรองให้การรถไฟ แห่งประเทศไทยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน และพนักงาน กระทําไปตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานในการแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์ เกี่ยวกับสภาพการจ้างเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ กระทําไป โดยเจตนาดีและชอบธรรมเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและพนักงาน ไม่ได้กระทําผิดอาญา โดยเจตนาแก่นายจ้าง ไม่เป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหายและไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่ ในขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ เห็นว่า เป็นข้ออ้างที่ขัดกับคําวินิจฉัยของศาลฎีกาทั้งสองเรื่อง ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผูกพันจําเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคู่ความในแต่ละคดีดังวินิจฉัยมาแล้ว
ดังนี้ ข้ออ้าง ของจําเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้
อนึ่ง ภายหลังจําเลยทั้งสิบสามกระทําความผิด ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษตามมาตรา 166 และให้ใช้อัตราโทษใหม่ แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จําเลยทั้งสิบสาม จึงต้องใช้กฎหมายเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทําความผิดบังคับแก่จําเลยทั้งสิบสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา
พิพากษาว่า จําเลยทั้งสิบสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166 วรรคแรก (เดิม) จําคุกคนละ 4 ปี
ทางนําสืบของจําเลยทั้งสิบสามเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลงหนึ่งในสี่
คงจําคุกคนละ 3 ปี
อย่างไรก็ดี สำหรับคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
อ่านประกอบ :
คุก 3 ปี 4 ด.! อดีตอัยการประจวบฯ ให้จำเลยเลี้ยงอาหาร-เรียกรับพระเครื่องแลกไม่อุทธรณ์คดี
คุก18 ด. รอลงโทษ! อดีต ผอ.รร.ค่ายประจักษ์ฯ รับรองงานวิชาการเท็จ-ตั้งตัวเอง ปธ.ช่วย
คดีอนุญาตสร้าง รร.สินเกียรติธานี! ศาลจำคุก 2 จนท.- 'พิบูลย์-พวก 4 ราย' แยกฟ้องใหม่
คุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา! อดีตนายกฯ บ้านใหม่ โคราช สั่งการขุดลอกลำตะคองมิชอบ
คุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา! อดีตที่ปรึกษา กสม.ทุจริตแก้สัญญาเพิ่มเงินเดือนช่วยงานไทยพีบีเอส
คุก 6 ปี! อดีตนอภ.หัวไทร นครศรีฯ เรียกรับผลประโยชน์โครงการตำบลละห้าล้าน
ผิดกม.7กรรม! เผยคำพิพากษาคุก 2 ปี! 'ไพร พัฒโน' คดีหาทุนซื้อทองคำปิดองค์พระ 27ล.
คุก 2 ปี 6 ด. ไม่รอลงอาญา! อดีตนายก อบต.ส้มผ่อ ถอนเงินบัญชีโครงการศก.ชุมชนมิชอบ
ยืนโทษ! คุก 27 ปี 6 ด. อดีตจนท.พัสดุ แขวงการทางเชียงใหม่ เรียกเงินผู้รับเหมา
คุก 3 ปี 6 ด. แต่รอลงโทษ! อดีตนายก อบต.ในควน ตรัง เอื้อปย.ผู้รับเหมา
ยืนโทษคุก 3 ปี 4 ด.! อดีตปลัดนาจะหลวย อุบลฯ ปกปิดประกาศสอบราคา 7 โครงการ
วิบากกรรม! 'บัวทิพย์ สุขจั่น' คุก 4 คดีรวด 10 ปี, 3 ปี 9 ด., 3 ปี 9 ด. และ 3 ปี 9 ด.
เบื้องลึก! ป.ป.ช.ค้าน-อสส.ไม่ฎีกาคดีทุจริตแจกแว่นตา ศาลฯ ยกฟ้อง 'อดีตปลัดเวียงกาหลง'
คุก 97 ปี โดนจริง 50! อดีตปลัดหนองบัววง โคราช ปลอมบัญชี-เรียกเงินสอบบรรจุ พนง.
ป.ป.ช.ขอสู้ชั้นฎีกา! ศาลอุทธรณ์ ยืนยกฟ้องอดีต ผอ.รพ.บางสะพาน คดีส่งตรวจตัวอย่างผู้ป่วย
ผอ.คนอื่นๆ ก็ทำ! ไขคำพิพากษายกฟ้อง อดีต ผอ.รพ.บางสะพาน คดีส่งตรวจตัวอย่างผู้ป่วย
ยืนโทษคุก 6 ด.ไม่รอลงอาญา! อดีตปลัด อบต.หนองเม็ก เรียกเงินหลอกช่วยบรรจุงาน
คุก 2 ปี 6 ด. รอลงอาญา! อดีตปลัดอบต.บางเกลือ ทุจริตจ้างเหมาทำอาหาร
คุก 68 ปี 210 ด.แต่โดนจริง 50! อดีตธุรการฯ เขตหลักสี่ กทม. ทุจริตเงินค่าเก็บขยะ
คุก 6 เดือน! อดีตนายกอบต.พานทอง ยัดไส้ชื่อชาวบ้านรับเงินช่วยน้ำท่วม
พิพากษากลับให้จำคุก 5 ปี! อดีตนายก อบต.ท่าชัก นครศรีฯ ทุจริตซื้อที่ดินสร้างตึก
คุก 2 ปี 6 ด. ไม่รอลงอาญา! อดีตนายก ทต.แพด จัดซื้อผ้าห่มแพงกว่าท้องตลาด
ศาลทหาร สั่งจำคุก'พันเอก' 6 ปี 18 ด.-คืนเงิน 3.3 ล.! เบียดบังค่าเช่าเวลาสถานีวิทยุฯ
คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา! อดีตนายก อบต.ตั้งใจ สุรินทร์ ลดวงเงินทำถนนกีดกันแข่งราคา
คดีที่สอง! อดีตนายก อบต.คอนกาม ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ จำคุก 3 ปี 4 ด.
คุก 4 ปี 12 ด.ไม่รอลงอาญา! อดีตนายกฯ กำแพงแสน ทุจริตซื้อเครื่องแต่งกาย พนง.ดับเพลิง
คุกคนละ 2 ปี 6 ด. ไม่รอลงอาญา! อดีตโยธาฯ ยะลา-พวก ทุจริตก่อสร้างถนนไทยเข้มแข็งปี 55
คุก 6 ด. รอลงอาญา 2ปี! อดีตนายก อบต.บุ่งไหม อุบลฯ ทุจริตก่อสร้าง 3 โครงการ
คุกคนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา! 13 พนง.รถไฟหาดใหญ่ ประท้วงหยุดงานทำ รฟท.เสียหาย
คุกคนละ 5 ปี! 'อดีตนายกฯ-รอง-ปลัด' อบต.นาหว้า ทุจริตโครงการขยายท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage