ทว่าสัญญาเหล่านี้กลับต้องเผชิญกับข้อครหาความไม่โปร่งใส ซึ่งการตรวจสอบความไม่โปร่งใสที่ว่านี้ไม่ได้มีจากหน่วยงานปราบปรามการทุจริตหรือว่าหน่วยงานตรวจเงินแผ่นดิน แต่กลับมาจากสาธารณชนที่พุ่งความสนใจไปยังแฟนเก่าของนายเอโบ โมราเลส อดีตประธานาธิบดีโบลิเวีย โดยเธอถูกว่าจ้างโดยบริษัท CAMC ให้เป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัทย่อยของ CAMC ในประเทศโบลิเวียอีกทอดหนึ่ง
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอกลับไปที่กรณีความไม่โปร่งใสของบริษัทจีนที่เข้าไปมีสัญญาในประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยสำนักข่าว Mongabay ซึ่งเป็นสำนักข่าวจากสหรัฐอเมริกาที่เน้นรายงานข่าวด้านวิทยาศาสตร์และปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รายงานข่าวกรณีที่มีบริษัทจีนหลายแห่งได้เข้าไปมีสัญญากับรัฐบาลในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอนในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ โดยรูปแบบของบริษัทที่เข้าไปนั้นมีทั้งนักลงทุนโดยตรง และบริษัทซึ่งดำเนินกิจการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากเงินกู้โดยรัฐบาลจีน ทว่านักวิเคราะห์หลายคนสันนิษฐานว่าสัญญาเหล่านี้อาจมีการทุจริต มีการให้สินบน และมีกรณีของเงินใต้โต๊ะ
ย้อนไปเมื่อปี 2559 มีการเปิดเผยความผิดปกติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จนนำไปสู่การเปิดโปงเครือข่ายการติดสินบนในประเทศโบลิเวียในเวลาต่อมา โดยสินบนนี้เกี่ยวข้องกับบริษัทรายใหญ่ของจีนและเจ้าหน้าที่รัฐบาลโบลิเวีย
กรณีการเปิดโปงนั้นสืบเนื่องจากบริษัทจีนชื่อว่า China CAMC Engineering หรือบริษัท CAMC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจข้ามชาติจีนอย่าง China National Machinery Industry Corporation หรือ SINOMACH ได้มีการเซ็นสัญญาหลายสัญญากับรัฐบาลโบลิเวีย คิดเป็นมูลค่าสัญญารวมกว่า 576 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (19,434,240,921 บาท)
โดยสัญญาหลายสัญญาที่ว่านั้นมีอาทิ สัญญาการขายแท่นขุดเจาะน้ำมันสามแท่นเมื่อปี 2552 โดยเป็นสัญญาการขายระหว่าง CAMC ขายให้กับรัฐวิสาหกิจโบลิเวียชื่อว่า Yacimientos Petrolíferos Fiscales Bolivianos (YPFB) คิดเป็นมูลค่าสัญญาอยู่ที่ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,024,400,096 บาท)
สัญญาการออกแบบและก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในเมืองเซนต์โบนาเวนเจอร์ (San Buenaventura) แคว้นลาปาซ โดยสัญญานี้มีคู่สัญญาฝั่งโบลิเวียได้แก่รัฐวิสาหกิจค้าโภคภัณฑ์ของรัฐชื่อว่า Empresa Azucarera San Buenaventura ทำสัญญากันเมื่อปี 2555 คิดเป็นมูลค่าสัญญา 167 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,634,580,267 บาท)
สัญญาการก่อสร้างรางรถไฟเมืองบูโล บูโล–เมืองมอนเตรอล (Bulo Bulo–Montero) เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟกับโรงงานปุ๋ยยูเรียในจังหวัดชาปาเร อย่างไรก็ตามสัญญานี้พบว่ามีการทิ้งงานไปเมื่อปี 2558 หลังจากที่บริษัทจีนได้รับเงินดาวน์ในสัญญาทั้งสิ้น 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (674,800,032) จากมูลค่าสัญญาตามการประมูลงานซึ่งอยู่ที่ 104 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,508,960,166 บาท)
สัญญาการก่อสร้างเขื่อน Misicuni และอ่างเก็บน้ำในเมืองโคชามัมบา (Cochabamba) คิดเป็นมูลค่าสัญญาอยู่ที่ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,361,800,112 บาท) โดยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเมื่อปี 2558 อย่างไรก็ตามการก่อสร้างตามสัญญานี้ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลาย ส่งผลทำให้ต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มอีก 48 ล้านดอลลร์สหรัฐฯ (1,619,520,076 บาท) เมื่อโครงการเสร็จสิ้นในปี 2560
สัญญาการก่อสร้างโรงงานปุ๋ยโพแทสเซียมในเมืองโปโตซี (Potosí) มูลค่า 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (6,039,460,286 บาท) โดยการก่อสร้างมีขึ้นระหว่างปี 2558 ถึง 2561
เว็บไซต์รัฐวิสาหกิจ Sinomach เผยแพร่ข่าวการก่อสร้างโรงงานปุ๋ยโพแทสเซียมของ CAMC
กรณีสัญญาการจัดซื้อของรัฐวิสาหกิจ YPFB นั้นพบว่าได้รับเงินสนับสนุนเป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีนหรือก็คือธนาคาร ExIm Bank of China ขณะที่สัญญาในโครงการอื่นๆพบว่าได้รับเงินอุดหนุนจากธนาคารกลางโบลิเวีย
หรือสรุปให้เข้าใจง่ายก็คือว่าในหลายสัญญาข้างต้นนอกเหนือจากสัญญากับรัฐวิสาหกิจ YPFB บริษัท CAMC จะต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทอื่นๆที่มาจากทั้งโบลิเวีย และบราซิล โดย CAMC ไม่อาจจะอาศัยอำนาจต่อรองทางการเมืองของธนาคารจีนที่กำหนดเงื่อนไขการปล่อยกู้ยืมแลกกับการที่ผู้กู้ต้องจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและบริการจากจีนได้นั่นเอง
ทว่าสัญญาเหล่านี้กลับต้องเผชิญกับข้อครหาความไม่โปร่งใส ซึ่งการตรวจสอบความไม่โปร่งใสที่ว่านี้ไม่ได้มีจากหน่วยงานปราบปรามการทุจริตหรือว่าหน่วยงานตรวจเงินแผ่นดิน แต่กลับมาจากสาธารณชนที่พุ่งความสนใจไปยังแฟนเก่าของนายเอโบ โมราเลส อดีตประธานาธิบดีโบลิเวีย โดยเธอถูกว่าจ้างโดยบริษัท CAMC ให้เป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัทย่อยของ CAMC ในประเทศโบลิเวียอีกทอดหนึ่ง
แฟนเก่าของอดีตประธานาธิบดีซึ่งชื่อว่านางกาเบรียลลา ซาปาตา (Gabriella Zapata) ไม่ปรากฏว่าเธอมีคุณสมบัติที่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับงานที่เธอถูกว่าจ้างแต่อย่างใด จากข้อมูลประวัติพบว่าเธอได้ครอบครองสูติบัตร ซึ่งบ่งชี้ว่านายโมราเลสเป็นพ่อของลูกของเธอ ซึ่งเธอได้ใช้ใบสูติบัตรนี้เพื่อจะสร้างอิทธิพลกับทั้งผู้มีอำนาจในตำแหน่งสูงกว่าที่บริษัท CAMC และกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโบลิเวีย
ทว่าอิทธิพลของเธอได้หายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กที่เธออ้างว่าเป็นลูกของเธอไม่มีตัวตนอยู่จริง และเธอได้หลอกให้อดีตประธานาธิบดีลงนามในสูติบัตรปลอม
มีรายงานเกี่ยวกับการโยกเงินในสัญญาจำนวนหนึ่งให้เป็นเงินใต้โต๊ะ ซึ่งเงินจำนวนนี้เกี่ยวข้องกับค่าคอมมิชชั่น 5 เปอร์เซ็นต์หรือคิดเป็นรายได้ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,012,200,048 บาท) แต่เรื่องเงินใต้โต๊ะนี้ไม่เคยได้รับการยืนยันแต่อย่างใด
สำหรับตัวนางซาปาตา พบว่าตอนแรกเธอได้ขู่ว่าจะพาดพิงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเกี่ยวกับกรณีสินบน แต่ในที่สุดก็รับสารภาพว่ามีการฉ้อโกงเอกสารเกิดขึ้น และต้องรัฐผิดชอบกับปัญหานี้ นี่สุดเมื่อเดือน ม.ค.2567 เธอต้องโทษจำคุกสิบปีในเรือนจำที่โบลิเวีย
หน้าเว็บไซต์บริษัท CAMC
@กรณีการทุจริตในประเทศอื่น
มีข้อครหาว่าบริษัท CAMC ยังได้ให้สินบนในประเทศเปรู โดยกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของเปรูได้มีการเซ็นสัญญากันเมื่อเดือน ม.ค.2566 เพื่อจะให้ CAMC ดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าในรัฐอเมซอน (Amazonas) โดยมีมูลค่าสัญญาอยู่ที่ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,045,940,049 บาท)
ส่วนที่เอกวาดอร์ มีหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของ CAMC ซึ่งถูกเปิดโปงออกมา หลังจากที่ CAMC ได้รับสัญญาเป็นจำนวนหลายสัญญาในประเทศเอกวาดอร์ในปี 2555-2561 เพื่อให้ก่อสร้างทั้งสํานักงานบริการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่หลายรัฐ ก่อสร้างโรงพยาบาลล้ำสมัยจำนวนห้าแห่ง และก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งทั้งหมดมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (28,679,001,360 บาท)
ทว่าการสอบสวนการฟอกเงินในสหรัฐฯ ได้เปิดโปงว่าแท้จริงแล้ว CAMC ได้จ่ายเงินไปกว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (43,862,002 บาท) ให้กับเครือญาติ (ศัพท์ต้นทางใช้คำว่า Brother ซึ่งเป็นได้ทั้งน้องชายและพี่ชาย) ของผู้ตรวจบัญชี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจัดการระบบการทําสัญญาสาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัท CAMC
เรียบเรียงจาก:https://news.mongabay.com/2025/03/chinese-business-in-the-amazon-generates-controversy/
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.อินโดฯ เดินหน้าสอบบิ๊กธนาคาร เอี่ยวจ่ายคอมมิชชั่น บ.โฆษณา 449 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รัฐวิสาหกิจจีนประวัติฉาว ทำสัญญาสร้างเขื่อน 1.8 หมื่นล. ที่ฮอนดูรัส
- ส่องคดีทุจริตโลก:เช็กเกียสั่งสอบ 17 ผู้ต้องหา เอี่ยวกินเปอร์เซ็นต์สัญญา รพ.มูลค่าพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:กห.ออสซี่ทำสัญญาหมื่นล.เอกชนถูกสอบฮั้วราคาอุปกรณ์-บริการฐานทัพทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก:สภายูเครนผ่านร่าง กม.ซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หมื่นล.ส่อไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:NGO ฉ้อโกงเงิน USAIDนับร้อยล้าน-ยักยอกอาหารผู้ลี้ภัยขายผู้ก่อการร้าย
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.สิงคโปร์ค้าน้ำมันให้กองทัพเมียนมา ก่ออาชญากรรมสงคราม ทำรายได้ พันล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ซาอุฯเดินหน้าสัญญาซื้ออาวุธรัสเซีย 7.7 หมื่นล.แม้ถูกคว่ำบาตรปมบุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ก.คลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารคีร์กีซ เหตุช่วยแบงก์รัสเซียเลี่ยงคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก: CEO กรมน้ำฯแอลเอ บริหารงานล้มเหลว? ต้นเหตุหัวดับเพลิงไม่ทำงานช่วงไฟป่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉแผนทรมาน ปธ.กกต.เกาหลีฯช่วงอัยการศึก บังคับประกาศเหตุโกงเลือกตั้ง สส.