โดยนายนพได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธนาคารในอัฟกานิสถานแห่งหนึ่งชื่อว่า Da Afghanistan Bank ซึ่งธนาคารดังกล่าวถูกระบุลงในจดหมายที่อ้างถึงการยืนยันเงิน ซึ่งจากการค้นหาชื่อธนาคารพบว่ามีธนาคารชื่อนี้จริงๆ ทว่าผลจากการค้นหาภาพออนไลน์กลับพบว่าเป็นภาพของธนาคารนั้นเป็นภาพที่สำนักข่าวมักจะใช้กันอย่างกว้างขวาง
ประเด็นปัญหาเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่านับล้านๆดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ผ่านมาสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับขบวนการโรแมนซ์สแกม ซึ่งเป็นขบวนการหลอกให้รักเพื่อจะหลอกเอาเงินจากเหยื่อเป็นจำนวนนับล้านๆไปจนถึงหลักพันล้านบาท
- ขยี้คดีโกง 6 พันล.(3): มีคนเอี่ยวนับร้อย! เปิดแผนประทุษกรรมแก๊งไนจีเรียหลอกเงินข้ามโลก
- ขยี้คดีโกง 6 พันล.(2): Oh My Love กลวิธีแก๊งไนจีเรียสร้างสตอรี่ซับซ้อนลวงโอนเงิน-ขี้งกมาก
- ขยี้คดีโกง 6 พันล. (1) : ใช้รูปคนมาเลฯ อ้าง 'นพ.' หลอก CFO หญิงให้รักลวงโอนเงินมหาศาล
- คดีโกง 6 พันล้านบาน ‘เอสซีลอร์’ ฟ้อง ธ.เจพีมอร์แกน ไม่แจ้งพิรุธลูกจ้างไทยถอนเงินถี่ยิบ
- เบื้องลึกคดีโกง 6 พันล้าน ผบช.ก.แฉ พนง.หญิง ’เอสซีลอร์’ถูก’แก๊งไนจีเรีย’หลอกให้รัก
- ไขข้อมูล บ.เอสซีลอร์ฯ ทำธุรกิจอะไร – ใครเจ้าของ ? ถูกยักยอกเงินฝาก 6.2 พันล.
- ปปง.ยึดทรัพย์ 243,316 บาท คดีลักเงินฝาก บ.เอสซีลอร์ฯ 6,223.8 ล้าน
แต่ล่าสุดสำนักข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ของฮ่องกงได้มีการเปิดโปงขบวนการฉ้อโกงรูปแบบใหม่ซึ่งจะหลอกให้เหยื่อมีความรู้สึกเห็นใจแทน แต่ว่าโชคดีว่าในกรณีนี้เหยื่อได้ตรวจสอบไหวตัวทันถึงข้อมูลที่หลอกลวง จึงไม่ต้องโอนเงินเป็นจำนวนมหาศาลให้กับขบวนการมิจฉาชีพ
โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
โฆษณาประกาศขายที่ดินของนายนพที่ประกาศขายที่ดินนอกกรุงเทพมหานครได้ไปเตะตาของกลุ่มคนที่ไม่ปรารถนาดี หรือที่รู้จักกันชื่อเรียกว่านักต้มตุ๋น
โดยมีรายงานว่าไม่ถึงชั่วโมงหลังจากที่เขาได้ประกาศขายที่ดิน กลุ่มนักต้มตุ๋นก็ติดต่อมาหาเขา โดยเล่าเรื่องราวของครอบครัวชาวอัฟกันที่ต้องหนีภัยสงครามจากกลุ่มตอลิบานอย่างเร่งรีบ ซึ่งครอบครัวนี้มีเงินใช้จ่ายประมาณหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อมาใช้จ่ายในประเทศไทย
ทั้งนี้เครือข่ายของกลุ่มมิจฉาชีพได้ใช้พลังของอินเทอร์เน็ตเพื่อจะกำหนดเป้าหมายเหยื่อในเอเชียและในที่อื่นๆ โดยกลุ่มคนพวกนี้จะอาศัยการสำรวจโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดีย การโฆษณาออนไลน์ โพสต์หรือคำร้องขอสมัครงานบนโลกออนไลน์เพื่อที่จะเข้าถึงเป้าหมาย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าอาชญากรเหล่านี้มักจะเข้าใจอารมณ์ของผู้เป็นเหยื่อดี มีทั้งอารมณ์ของความเชื่อใจ ความรู้สึกผิด ความโลภ และความเหงา จากนั้นก็จะเอาอารมณ์เหล่านี้ไปสร้างอาวุธบนพื้นที่ออนไลน์เพื่อจะเข้าโจมตีเป้าหมายของตัวเองได้อย่างอิสระที่สุด ซึ่งในทุกๆการโทรศัพท์ที่กลุ่มมิจฉาชีพได้โทรหาเหยื่อนั้น พวกเขาก็พอจะรับทราบแล้วว่าเป้าหมายนั้นมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
@นักต้มตุ๋นวางแผน
ในกรณีของนายนพ นักต้มตุ๋นได้เริ่มต้นจากการส่งข้อความไปหาเขา โดยอ้างว่าข้อความนั้นมาจากภรรยาหม้ายของนายวาเฮด คารามาน (Wahed Qaraman) นักธุรกิจจากชนกลุ่มน้อยฮาซารา ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถาน ซึ่งรายละเอียดของข้อความนั้นจะเป็นการสอบถามก่อนว่าที่ดินที่นายนพขายมีราคาเท่าไร
“สามีผู้ล่วงลับของดิฉันเป็นนักอุตสาหกรรม และยังเป็นสมาชิกสภาธุรกิจอัฟกานิสถานในกรุงคาบูลด้วย เขาถูกโจมตี ถูกทำร้ายหักแขน หักขา และถูกยิงที่ขา ถูกกระชากผม และถูกทุบตีจนเสียชีวิต ส่วนฉันสามารถหลบหนีออกไปได้พร้อมกับลูกๆ ในขณะที่ตอนนี้พวกเรากำลังหลบหนีเพื่อให้มีชีวิตรอด” ข้อความระบุ
ในรายละเอียดข้อความอ้างต่อไปด้วยว่าผู้เขียนข้อความนั้นต้องการย้ายมายังประเทศไทยอย่างรวดเร็ว และซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยใช้เงินสดเพื่อสร้างที่อยู่อันปลอดภัยและถูกกฎหมายสำหรับลูกๆของเธอ ทั้งนี้ยังไม่มีการร้องขอเงินในข้อความนี้แต่อย่างใด
นายนพซึ่งขอปฏิเสธจะให้ชื่อและนามสกุลเต็มนั้นให้ความสนใจกับข้อความและข้อเสนอดังกล่าวแทบจะในทันที
“ตอนแรกผมมีความหวังว่านี่จะเป็นความจริง ดังนั้นผมจึงค้นคว้าหาข้อมูลและพบว่าเรื่องราวของเธอเป็นเรื่องจริง” นายนพกล่าว
โดยนายนพได้มีการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับชื่อสามีผู้ล่วงลับ ก็พบว่ามีเอกสารข่าวแจกจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ลงวันที่ 19 ส.ค. 2564 ระบุถึงการทำร้ายนายวาเฮด คารามาน ในวัย 45 ปี
ทว่าสิ่งที่นายนพไม่ได้เอะใจก็คือว่ามีการคัดลอกข้อความจากแอมเนสตี้และวางลงไปในข้อความที่กลุ่มมิจฉาชีพได้ส่งมาหาเขา ซึ่งรายละเอียดข้อความนั้นเหมือนกันทุกระเบียบนิ้ว ในช่วงของคำว่าหักขาและแขนของเขา ยิงเขาที่ขาขวา ดึงผม และทุบตีที่หน้าด้วยวัตถุไม่มีคม
ทั้งนี้จากการตรวจสอบชื่อแสดงให้เห็นว่านักต้มตุ๋นได้ท่องไปบนโลกออนไลน์ เพื่อหาข้อมูลอย่างไรบ้าง โดยคนกลุ่มนี้จะอาศัยแหล่งข้อมูลออนไลน์จากหลายแหล่งเพื่อทำให้เรื่องราวนั้นฟังดูน่าเชื่อถือราวกับว่าเป็นเรื่องจริง
ทางด้านของนายยาน ซานติอาโก จากกลุ่มเฝ้าระวังการฉ้อโกงจากสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่ากลุ่ม Global Anti-Scam กล่าวว่าเหยื่อผู้ถูกหลอกลวงนั้นโดยมากแล้วไม่ใช่คนที่จะเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ว่าพวกเขาเป็นคนจำพวกนักธุรกิจ,ผู้บริหาร ที่ทำงานยุ่งมากจนไม่มีเวลาจะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเมื่อพวกเขาพบกับบุคคลบนโลกออนไลน์ ซึ่งนี่จะนำไปสู่ขั้นตอนถัดไปของกลุ่มมิจฉาชีพซึ่งก็คือการบีบคั้น
@ไม่ใช่ว่าจะบีบคั้นให้เหยื่อเชื่อง่ายๆได้เสมอไป
นายนพได้รับข้อความ คำอธิบายระบุรายละเอียดซึ่งค่อนข้างคลุมเครือเกี่ยวกับสถานที่และขั้นตอนการโอนเงิน โดยในระหว่างนี้ก็จะมีการระบุลงไปในข้อความด้วยโดยขอร้องให้นายนพได้เร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุข้อตกลงนี้เสีย แม้ว่านายนพจะยังไม่ตบปากรับคำก็ตาม
ตัวอย่างบัตรประชาชนชาวอัฟกันที่ถูกส่งมาให้กับนายนพ
“สิ่งเดียวที่ฉันมีตอนนี้ก็คือลูกๆของฉัน ลูกสาวและลูกชายของฉันสมควรที่จะได้รับชีวิตที่ดี ระบบสุขภาพที่ดี การศึกษาที่เหมาะสมและสภาพแวดล้อมที่สงบสุข” ข้อความระบุ และระบุต่อไปว่า “ได้โปรดสัญญาว่าคุณจะไม่หนีไปพร้อมกับเงิน ข้อมูลนี้จะต้องเป็นความลับระหว่างคุณกับฉันเท่านั้น เพราะที่นี่ไม่มีความลับใดๆเลย กลุ่มตอลิบานกำลังฆ่าประชาชนที่นี่ในทุกๆวัน”
ทางด้านของนายณัฐกร ปลอดดี บรรณาธิการฝ่าย Fact Check จาก AFP ประจำประเทศไทย องค์ประกอบในถ้อยคำเหล่านี้ควรจะเป็นธงแดงหรือสัญญาณอันตรายอย่างชัดเจน
“จงระวังอารมณ์ของคุณ กรณีดังการหลอกลวงดังกล่าวนั้นมีลักษณะคล้ายกับโรแมนซ์สแกม แต่ว่าแตกต่างจากโรแมนซ์สแกมตรงที่ว่าแทนที่มิจฉาชีพจะใช้ความรักมาล่อลวง คราวนี้พวกเขาใช้ความเห็นอกเห็นใจแทน” นายณัฐกรกล่าวและกล่าวต่อไปว่าการสร้างความรู้สึกผิด ความไว้เนื้อเชื่อใจ การอ้างว่าต้องรักษาความลับ และการอ้างว่าอนาคตของครอบครัวของเขานั้นอยู่ในมือคุณ ทุกอย่างล้วนเป็นภาษาที่นักต้มตุ๋นออนไลน์มักจะใช้กันเสมอ
ขณะที่นายซานติอาโกกล่าวว่านักต้มตุ๊นมักจะใช้กลอุบายเหล่านี้ในการสร้างความไว้วางใจจากคุณ พวกเขาไม่ได้ข้อเงินจากคุณโดยตรง แต่จะไปแนะนำให้คุณรู้จักกับแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันการลงทุน และพวกเขาสัญญาว่าร่วมไปกับคุณ ด้วยอารมณ์ว่าเรากำลังทำสิ่งนี้ร่วมกันอยู่
ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการสะกดชื่อสถานที่ผิด สะกดชื่อผิด ข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือ การไม่สามารถจะติดต่อได้ด้วยวิธีการโทรศัพท์แบบเสียงหรือแบบวิดีโอคอลนั้นมักจะเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงความไม่น่าเชื่อถืออันบ่งชี้ว่าจะเป็นการต้มตุ๋น
ทว่าด้วยด้วยการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตรวมไปถึงรายละเอียดเป้าหมายก็ทำให้ขบวนการของผู้ฉ้อโกงนั้นดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
โดยเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นหนึ่งในที่ทำการของกลุ่มมิจฉาชีพที่ประเทศกัมพูชาพบว่าในฐานปฏิบัติการของกลุ่มมิจฉาชีพนั้นมีทั้งเครื่องแบบตำรวจไทย ตำแหน่งของสถานีตำรวจหรือสำนักงานศุลกากรที่พวกมิจฉาชีพได้เคยไปให้เงินสินบนหรือจ่ายเงินเพื่อแลกกับการไปวิดีโอคอลในสถานที่นั้นๆ
สำหรับกรณีของนายนพ ขั้นตอนถัดมาก็คือการส่งรูปของผู้ที่ต้องการจะซื้อที่ดินมาให้ดู
โดยรูปที่ได้มีการส่งมานั้นเป็นรูปครอบครัวของเธอ เด็กสองคนกำลังยิ้มอยู่บนรถ บัตรประจำตัวประชาชนชาวอัฟกัน สเตทเม้นธนาคาร และกล่องเงินสดพร้อมกับโน้ตแนบข้อความเอาไว้
อย่างไรก็ตามภาพถ่ายจากอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่นักต้มตุ๋นมักจะพลาด ถ้าหากว่าเป้าหมายมีเวลาและเครื่องมือที่จะทำการตรวจสอบ
ทั้งนี้ในปัจจุบัน เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงบนเว็บไซต์ Google มักจะมีฟังก์ชั่นในการค้นหารูปต่างๆ และดูว่ารูปไหนมักจะหามาได้โดยง่าย
โดยนายนพได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธนาคารในอัฟกานิสถานแห่งหนึ่งชื่อว่า Da Afghanistan Bank ซึ่งธนาคารดังกล่าวถูกระบุลงในจดหมายที่อ้างถึงการยืนยันเงิน ซึ่งจากการค้นหาชื่อธนาคารพบว่ามีธนาคารชื่อนี้จริงๆ ทว่าผลจากการค้นหาภาพออนไลน์กลับพบว่าเป็นภาพของธนาคารนั้นเป็นภาพที่สำนักข่าวมักจะใช้กันอย่างกว้างขวาง
ส่วนการค้นหาข้อมูลบัตรประชาชนประเทศอักฟานิสถานบนโลกออนไลน์กลับไม่พบว่ามีบัตรประชาชนที่ตรงกับบัตรที่ส่งมาให้นายนพดูเลย
ยิ่งไปกว่านั้นภาพของกล่องเงินสดที่บรรจุเงินดอลลาร์สหรัฐฯในถุงพลาสติกนั้นยังปรากฏอยู่บนเว็บไซต์หลายแห่งที่เตือนเนื้อหาเกี่ยวกับการฉ้อโกงออไลน์
พอถึงเวลานี้ นายนพจึงได้ตัดสินใจว่ายุติการติดต่อใดๆทั้งปวง ทว่านักต้มตุ๋นก็ยังพยายามที่จะติดต่อเขาเพื่อให้นำไปสู่ขั้นตอนถัดไปหรือที่เรียกกันว่า ‘ขั้นตอนสังหาร’ ซึ่งคำนี้มักจะใช้สำหรับการหลอกเอาเงินจากเหยื่อหลังจากพยายามติดต่อให้เหยื่อตายใจมาหลายวัน
“คือเมื่อเธอพยายามขอทั้งบัญชีธนาคาร และขอเบอร์โทรศัพท์ ผมรู้แล้วว่าผมตกเป็นเป้าแล้ว แต่ผมก็ดีใจว่าผมไม่ได้ตกหลุมพราง คือผมมั่นใจว่ามีหลายคนนั้นเป็นเหยื่อ เพราะนี่ถือว่าเป็นวิธีการระดับสูงเกินกว่าที่นักต้มตุ๋นในไทยจะสามารถดำเนินการได้” นายนพกล่าว
ธนาคาร Da Afghanistan Bank
@หลบหนีให้พ้นจากขั้นตอนสังหาร
ที่ผ่านมานั้นมีรายงานเกี่ยวกับการสูญเสียเงินจำนวนนับล้านดอลลาร์ในช่วงของขั้นตอนที่เรียกกันว่าขั้นตอนสังหาร โดยกรณีการเสียเงินนั้นมักจะมาจากการหลอกลวงให้ลงทุนออนไลน์โดยอ้างว่าจะมีผลตอบแทนที่สูงมาก หรือการหลอกลวงโดยนักต้มตุ๋นมักจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำเกี่ยวกับด้านบัญชีหลอกลวงให้มีการโอนเงินเพื่อตรวจสอบบัญชีและยืนยันยอดเงินเป็นต้น
“ผู้คนมักเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับระยะสังหารของกระบวนการต้มตุ๋น โดยพวกเขาทำให้คุณกำลังคิดว่าคุณนั้นกำลังเสียเงินน้อยเพื่อแลกกับการไม่ต้องเสียเงินลงทุน,ภาษี หรือค่าธรรมเนียมเป็นมูลค่าสูง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการอ้างกันว่าคุณต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน ทว่าเงินล่วงหน้าดังกล่าวที่คุณต้องจ่ายให้กับมิจฉาชีพนั้นจะทวีคูณเป็นหลายพัน จนถึงหมื่นและล้านดอลลาร์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว” นายซานติอาโกกล่าว
โดยในปัจจุบัน เรื่องของการทำธุรกรมออนไลน์ นักลงทุนจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยงานที่พวกเขากำลังจะให้เงินไป ดังนั้นกลุ่มมิจฉาชีพก็จะมีการทำเว็บไซต์ปลอม หรือข้อมูลปลอมของบุคคลที่สามนี้ขึ้นมา โดยแอบอ้างว่าบุคคลที่สามนี้เป็นหน่วยงานอิสระสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่จะรับการโอนเงินได้ แต่แท้ที่จริงแล้วพวกนี้ก็คือเครือข่ายของขบวนการมิจฉาชีพด้วยกันทั้งหมด
“ถ้าหากมีการให้รายชื่อของหน่วยงานบุคคลที่สามมา ถ้าหากมีการระบุว่าสำนักงานของหน่วยงานนั้นอยู่ที่ไหน ทางที่ดีก็คือว่าไปตรวจสอบสำนักงานนั้นด้วยตัวเอง ยอมเสียเวลาตรวจสอบข้อมูลอีกหน่อย” นายซานติอาโกกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.scmp.com/week-asia/people/article/3201878/asias-scam-crisis-fake-ids-bank-letters-sob-stories-among-big-red-flags