"...ผู้บัญชาการทหารบก มีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้มีความชัดเจนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้หรือไม่ ก่อนที่จะอนุมัติให้มีการสั่งซื้อแต่ไม่ได้ดำเนินการนั้น จึงปฏิเสธว่าไม่รู้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ และการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้มีอำนาจอนุมัติในการจัดซื้อมีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้มีความชัดเจนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้หรือไม่ แต่ไม่ได้ดำเนินการนั้น การไม่แจ้งข้อกล่าวหาเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ..."
ประเด็นการอนุมัติจัดซื้อเครื่องจีที-200 ในส่วนของ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) จำนวน 6 ครั้ง คือ ครั้งที่ 2, 3, 6 , 7 , 8 และ 11
ในสำนวนการไต่สวนคดีจัดซื้อเครื่องจีที 200 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่อัยการสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นโต้แย้ง ว่า การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่แจ้งข้อกล่าวหากับผู้บัญชาการทหารบก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติจัดซื้อ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
ตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลการอนุมัติในครั้งที่ 11 จำนวน 30 เครื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,000,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ขณะที่เสนาธิการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (เสธ.ศปค.ทบ) ที่เป็นผู้ลงนามอนุมัติให้จัดซื้อ ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย รับคำสั่ง จาก ผบ.ศปค.ทบ. มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
- อภิปรายไม่ไว้วางใจ : 'ก้าวไกล' ย้อนรอย GT-200 ถามทำไมเอาผิดไม่ถึง 3 ป.
- เปิดคำฟ้องคดีจีทีฯ ไม่ถึง 3 ป.-ยื่นศาลทหารเอาผิด 'พ.อ.-พ.ท-พ.ต.-ร.อ.' 22 คน-ไร้ พลโท? (1)
- เปิดความเห็นอัยการคดีจีทีฯ ป.ป.ช.ไม่แจ้งข้อหา รมว.กห.-ผบ.ทบ เป็นการกระทำไม่ชอบด้วย กม. (2)
- เจาะสำนวนสอบคดีจีทีฯ 'สมัคร-ประวิตร'อนุมัติซื้อครั้งที่ 4,9 ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา-ชี้มูล? (3)
- เจาะสำนวนสอบคดีจีทีฯ(2) ชัดๆ'ประวิตร'อนุมัติซื้อ 3 ครั้ง465ล.ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา-ชี้มูล? (4)
- พวกเราคือแพะ! ฟังความจากปาก 'นายทหาร' จำเลยคดีจีที 200 ตัดตอน 3 ป.มีจริงไหม? (5)
- ชัดๆ(อีกครั้ง)ลายเซ็น 'ประวิตร' อนุมัติซื้อจีทีฯ 3ครั้ง465ล.ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา-ชี้มูล? (6)
- เจาะสำนวนสอบคดีจีทีฯ(3) 'ประยุทธ์' รับคำสั่งอนุมัติซื้อ30เครื่อง ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา? (7)
ต่อไปนี้ คือ ข้อมูลการอนุมัติจัดซื้อเครื่องจีที 200 ในส่วนของ ผบ.ทบ. จำนวน 5 ครั้ง ที่เหลือ คือ ครั้งที่ 2, 3, 6 , 7 , 8
โดยจากการตรวจสอบสำนวนไต่สวนคดีและเอกสารหลักฐานพบว่า ผบ.ทบ. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องจีที 200 ทั้ง 5 ครั้ง มี 2 ราย คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
@ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
@ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ปรากฏรายละเอียดตามข้อมูลเอกสารหลักฐานดังนี้
การจัดซื้อครั้งที่ 2
จัดซื้อจาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด จำนวน 24 เครื่อง ราคาเครื่องละ 950,000 บาท รวมวงเงิน 22,800,000 บาท
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในตำแหน่ง ผบ.ทบ. ลงนามอนุมัติในหลักการตามบันทึกข้อความส่วนราชการ ฝกบ.ศปก.ทบ.ที่ กห.0407.21/714 เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2550 ส่วนการอนุมัติจัดซื้อ เสนาธิการทหารบก/ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก รับคำสั่ง ลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 (ดูเอกสารประกอบ)
การจัดซื้อครั้งที่ 3
จัดซื้อจาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด จำนวน 33 เครื่อง ราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมวงเงิน 29,700,000 บาท
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ลงนามในบันทึกข้อความส่วนราชการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (กบ.ทบ.) ที่กห.0404/3017 อนุมัติความต้องการ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2550 ส่วนการอนุมัติจัดซื้อ ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพบก (1) รับคำสั่ง ลงนามเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 (ดูเอกสารประกอบ)
การจัดซื้อครั้งที่ 6
จัดซื้อจาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด จำนวน 19 เครื่อง ราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมวงเงิน 17,100,000 บาท
ไม่ปรากฎลายเซ็นของ พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ. ในเอกสารการจัดซื้อครั้งนี้ ส่วนการอนุมัติจัดซื้อมีการมอบหมายให้ เสธ.ทบ./เสนาธิการปฏิบัติการกองทัพบก รับคำสั่ง ลงนามเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2551 (ดูเอกสารประกอบ)
การจัดซื้อครั้งที่ 7
จัดซื้อจาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด จำนวน 18 เครื่อง ราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมวงเงิน 16,200,000 บาท
ไม่ปรากฎลายเซ็นของพล.อ.อนุพงษ์ พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ. ในการจัดซื้อครั้งนี้ ส่วนการอนุมัติจัดซื้อมีการมอบหมายเสธ.ทบ./เสนาธิการปฏิบัติการกองทัพบก รับคำสั่ง ลงนาม เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2551 (ดูเอกสารประกอบ)
การจัดซื้อครั้งที่ 8
จัดซื้อจาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด จำนวน 44 เครื่อง ราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมวงเงิน 39,600,000 บาท
ไม่ปรากฎลายเซ็นของ พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ. ในการจัดซื้อครั้งนี้ ส่วนการอนุมัติจัดซื้อมีการมอบหมายเสธ.ทบ./เสนาธิการปฏิบัติการกองทัพบก รับคำสั่ง ลงนาม เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 (ดูเอกสารประกอบ)
จากข้อมูลทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่า การอนุมัติจัดซื้อเครื่องจีที-200 ในส่วนของ ผบ.ทบ. จำนวน 5 ครั้ง ที่เหลือ คือ ครั้งที่ 2, 3, 6 , 7 , 8
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ลงนามอนุมัติแผน 1 ครั้ง
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ลงนามอนุมัติความต้องการ 1 ครั้ง
ส่วนการอนุมัติจัดซื้อทั้ง 5 ครั้ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพบก , เสนาธิการทหารบก/ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก/เสนาธิการปฏิบัติการกองทัพบก รับคำสั่งเป็นผู้ลงนามแทนทั้งหมด
สำหรับ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เคยเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาของตระกูลศิลปอาชา โดยเมื่อครั้งการเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ปัจจุบันมีตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถูกสื่อมวลชนขนานนามว่า เป็น 1 ใน "3 ป."
แต่ทั้ง 2 คน ไม่เคยปรากฏข่าวว่า ถูก ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา ชี้มูลความผิดทางวินัยหรืออาญา และถูกฟ้องในคดีจัดซื้อเครื่องจีที 200 ด้วยแต่อย่างใด
ขณะที่ความเห็นอัยการระบุว่า ผู้บัญชาการทหารบก มีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้มีความชัดเจนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้หรือไม่ ก่อนที่จะอนุมัติให้มีการสั่งซื้อแต่ไม่ได้ดำเนินการนั้น จึงปฏิเสธว่าไม่รู้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ และการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้มีอำนาจอนุมัติในการจัดซื้อมีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้มีความชัดเจนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้หรือไม่ แต่ไม่ได้ดำเนินการนั้น การไม่แจ้งข้อกล่าวหาเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งเกี่ยวกับในประเด็นนี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีคำชี้แจงจากหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องเป็นทางการแต่อย่างใด
อนึ่ง เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า มีนายทหาร จำนวน 22 ราย แยกเป็น พันเอก จำนวน 8 คน พันโท 8 คน พันตรี 2 คน และ ร้อยเอก 4 คน ในฐานะคณะกรรมการตรวจรับ ถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด และส่งเรื่องอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาไปแล้ว
โดยพลโท ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ พลโท คำนวณ เธียรประมุข ถูกชี้มูลความผิดทางวินัย ไม่ถูกชี้มูลคดีอาญา
จำเลยทั้ง 22 ราย ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ปัจจุบันไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้ และยังไม่ปรากฏข่าวว่าศาลมีคำพิพากษาตัดสินคดีนี้แล้วหรือไม่ จำเลยทุกรายรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
อ่านประกอบ :
- เปิดครบ! 20 หน่วยงานถูก ป.ป.ช.ชี้มูลอาญา-วินัยกราวรูดคดีจัดซื้อ GT200-Alpha6
- ป.ป.ช.แจ้งข้อหากราวรูด 200 ราย! จนท.รัฐพันจัดซื้อ GT200-‘อิศรา’พบมี 10 แห่ง 767 ล.
- ย้อนข้อมูล บ.แจ๊คสันฯ ชนะคดีขายจีที200 กองบัญชาการกองทัพไทย-อัยการอุทธรณ์สู้ต่อ!
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- ข้อมูลธุรกิจล่าสุด สุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ผู้บริหารบ.ขายจีที200 โดนโทษจำคุกคนเดียว 19 ปี
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- จำคุก 9 ปี!ผู้บริหาร บ.เอวิเอฯขาย GT200 ให้กรมราชองครักษ์-ยื่น 9 แสนประกันตัวสู้ต่อ
- เช็คท่าที 'กองทัพบก-กองทัพเรือ-2อบจ.' หลังกรมราชองครักษ์ฟ้องชนะคดีซื้อจีที 200
- สัญญาโมฆะ-ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้!ชนวน บ.เอวิเอฯแพ้คดีGT200 ชดใช้9ล.
- ไม่รับฎีกา! หลังศาลแพ่งสั่งเอวีเอฯ ชดใช้กรมราชองครักษ์9 ล. ซื้อเครื่องจีที200
- 19 สัญญา 688 ล.!เจาะข้อมูล7 หน่วยงานรัฐซื้อจีที200 ก่อนผู้ผลิตโดนยึดทรัพย์