"...การขับเคลื่อนในทศวรรษที่ 2 ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการร่วมเสริมสร้างศักยภาพพระสงฆ์และสามเณรเป็น ผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม ภายใต้กรอบการทำงานของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติด้วยโครงการสงฆ์ ไทยไกลโรคเล็งเห็นว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพ และ ทักษะการสื่อสารสุขภาพ นับเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้นำด้านสุข ภาวะ ในการนำทักษะดังกล่าวไปใช้ดูแลตนเองและสร้างการบอกต่อทางสุขภาพ เพื่อนำไปสู่สังคมสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน..."
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 29 ส.ค.2567 นี้ เวลา 08.30 – 16.00 น. ที่วัดยานนาวา พระอารามหลวง ทีมนักวิจัยกิจกรรมการขยายผล นวัตกรรมเว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดี และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้นำทางสุขภาพต้นแบบ สงฆ์ไทยไกลโรค “สามเณรนักสื่อสารสุขภาวะ” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และดำเนินงานโดยคณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน เป็นหัวหน้าโครงการ จะจัดงานแถลงข่าวโครงการ สงฆ์ไทยไกลโรค สู่ทศวรรษที่ 2 และเปิดตัวโครงการประกวดการใช้ เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดี
โดยการขับเคลื่อนในทศวรรษที่ 2 ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการร่วมเสริมสร้างศักยภาพพระสงฆ์และสามเณรเป็น ผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม ภายใต้กรอบการทำงานของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติด้วยโครงการสงฆ์ ไทยไกลโรคเล็งเห็นว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพ และ ทักษะการสื่อสารสุขภาพ นับเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้นำด้านสุข ภาวะ ในการนำทักษะดังกล่าวไปใช้ดูแลตนเองและสร้างการบอกต่อทางสุขภาพ เพื่อนำไปสู่สังคมสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน
โครงการสงฆ์ไทยไกลโรคจึงได้นำชุดเครื่องมือและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและพัฒนาภายใต้การดำเนินงาน ตลอดทศวรรษของโครงการมาต่อยอดขยายผลจัดระบบองค์ความรู้เป็นหลักสูตร ผู้นำทางสุขภาพต้นแบบ สงฆ์ไทยไกล โรค ถวายความรู้แด่ “พระสงฆ์และสามเณรนักสื่อสารสุขภาวะ” เพื่อสนับสนุนบทบาทของพระสงฆ์ในการนำพาสังคม ไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีโดยพระสงฆ์และสามเณรผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ภูมิภาค ได้มีการผลิตคลิปวิดีโอสั้นเพื่อสื่อสาร สุขภาพ ภายใต้ชุดองค์ความรู้ โภชนา ปานะ กายะ กิจกรรม คลิปวิดีโอสั้นสื่อสารสุขภาพ อาทิ “ปานะหวานเจี๊ยบ โรค เพียบนะโยม” “กะทิ กินเกิน เดือดร้อนถึงหัวใจ” “โภชนาดี ชีวียั่งยืน” “สุขภาพเพิ่ม เมื่อเริ่มก้าว” “รอบเอวขยาย สุขภาพสลาย” ฯลฯ ที่ผลิตโดย “พระสงฆ์และสามเณรนักสื่อสารสุขภาวะ สงฆ์ไทยไกลโรค” ได้นำเสนอเผยแพร่สู่ สาธารณะ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ผ่านช่องทางการสื่อสารของโครงการ TikTok @sonkthaiklairok
ทั้งนี้ โครงการสงฆ์ไทยไกลโรค โดย ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง จงจิตร อังคทะวานิช ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและบุกเบิกโครงการ สงฆ์ไทยไกลโรค ได้ออกแบบสร้างสรรค์ เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดีซึ่งเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการด้าน โภชนาการสำหรับสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม นำเสนอในรูปแบบ Interactive web-based program จัดทำ เป็นสื่อกิจกรรมเสริมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาผ่านทางการกำกับดูแลของพระอาจารย์หรือครูผู้สอนนำไปให้สามเณรใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ทดลองเล่นในลักษณะกึ่งเกมการแข่งขัน มีรูปแบบการใช้งานที่ให้สามเณรได้บันทึก พฤติกรรมสุขภาพของตนเองในแต่ละวันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน โดยมีสื่อให้ความรู้ แรงบันดาลใจ และระบุเป้าหมายที่ ชัดเจนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฉันและการออกกำลังกาย ข้อมูลที่บันทึกจะถูกคำนวณเป็นคะแนนสะสม มีการให้ความชื่นชมด้วยดาวและถ้วย สามารถจัดระดับของคะแนนสะสมเปรียบเทียบ
นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยในการวิเคราะห์ ปัญหาให้แนวทางแก้ไขและเสริมกำลังใจ รวมทั้งยังมีจุดให้เช็คภาวะโภชนาการ บันทึกและติดตามผลเพื่อประโยชน์ของ สามเณรและการติดตามโดยพระอาจารย์ที่ดูแลสามเณร โดย เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดีนี้ได้รับรางวัลเชิดชู เกียรติ นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล จากการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Prime Minister's Award for Health Promotion Innovation 2023
การดำเนินงานในทศวรรษที่ 2 นี้ โครงการฯ มีเป้าหมายในการใช้นวัตกรรม เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดีมา Scale up เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของสามเณร ภายใต้โครงการขยายผลและขับเคลื่อนการนำชุด สื่อและเว็บแอปพลิเคชันเณรกล้า โภชนาดี ไปใช้ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมผ่านภาคี 2 ช่องทาง คือ 1. สำนักโภชนาการ และศูนย์อนามัย และ 2. ประธานเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั่วประเทศ สำหรับเกณฑ์ คุณลักษณะโรงเรียนที่เข้าร่วม คือ จำนวนนักเรียนสามเณรในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่ต่ำกว่า 50 รูป ที่สามารถเข้า ร่วมกิจกรรมประกวด เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้า โภชนาดีได้ตลอดระยะเวลาในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษา 2567 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการประกวด ได้แก่ 1. ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฉัน นมวัว น้ำหวาน ผัก และการออกกำลังกาย 2. สัดส่วนการเข้าร่วมใช้เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดี ของนักเรียน 3. คุณภาพของการรายงานผลของแต่ละทีม 4. ความเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการของสามเณรที่น้ำหนักเกิน
สำหรับผู้ที่สนใจ เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้าโภชนาดีสามารถเข้าศึกษาข้อมูลได้ทาง https://www.sonkthaiglairok.com/เณรกล้าโภชนาดี