มติ ก.อ.เอกฉันท์ให้ปลดออกจากราชการ 'เนตร นาคสุข' กรณีกลับคำสั่งไม่ฟ้อง 'บอส อยู่วิทยา' ชี้ผิดวินัยร้ายแรง แต่เนื่องจากไม่มีเรื่องทุจริตหรือเคยประพฤติเสื่อมเสีย ทำงานมา 40 ปี ลดโทษเหลือให้ออกจากราชการแทน ส่วนกรณี 'ชัยณรงค์ แสงทองอร่าม' หรือ อัยการ ช. ที่ประชุมเห็นชอบตั้งกก.สอบสวนวินัยร้ายแรง หลังพบเข้าไปมีส่วนการแก้ไขความเร็วจริง
สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข่าวว่าในช่วงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 การประชุมคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) จะมีวาระการพิจารณาผลสอบสวนวินัยร้ายแรง นายเนตร นาคสุข อดีตรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้กลับคำสั่งฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา เป็นไม่ฟ้อง ในคดีขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงที่มี นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ กรรมการอัยการ (ก.อ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานสอบสวนเสร็จแล้ว ถ้าคณะกรรมการ ก.อ.เห็นว่า ผิดวินัยร้ายแรงก็มีโทษ ‘ไล่ออก’ หรือ ‘ให้ออก’ เท่านั้น
นอกจากกรณี นายเนตรแล้ว ยังมีวาระการพิจารณาผลการสอบสวนข้อเท็จจริง อัยการ ช. ซึ่งอยู่ในห้องเปลี่ยนความเร็วโดยให้คำแนะนำในการทำสำนวนว่า ต้องกำหนดความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. โดยจะพิจารณาว่า ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงตามข้อเสนอของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือไม่
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ภายหลังการประชุม คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) นายพชร ยุติธรรมดํารง ประธานกรรมการอัยการ ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการ กอ. มีมติเอกฉันท์ 8 เสียงให้ปลดออกจากราชการ นายเนตร นาคสุข เนื่องจากเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
แต่จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีเรื่องของการทุจริตมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และเนื่องจากนายเนตรไม่เคยประพฤติเสื่อมเสีย อีกทั้งเป็นข้าราชการทำงานมานานเป็นระยะเวลา 40 ปี จึงได้ลดโทษให้เป็นให้ออกจากราชการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่นายเนตรได้ยื่นใบลาออกจากราชการ
" สาเหตุที่บอกว่าเป็นเสียงเอกฉันท์เพราะว่ามี ก.อ. 6 ราย ถูกแต่งตั้งมาให้ร่วมสอบสวนคดีนี้ตั้งแต่ต้นไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุม และในช่วงลงมติ ได้มีการเชิญ ก.อ.ทั้ง 6 คน ออกจากที่ประชุมเพราะว่ามีส่วนได้ส่วนเสียนั่นเอง"
นายพชรกล่าวต่อว่า ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่นายเนตรสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธนั้นเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่รอบคอบอย่างร้ายแรง ทำให้เสียหายอย่างร้ายแรงเป็นความผิดตามมาตรา 71 และมาตรา 85 (7) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553
“การสั่งคดีของอัยการนั้นแม้จะสามารถใช้ดุลยพินิจได้ แต่ว่าการใช้ดุลยิพินิจนั้นต้องถูกต้องและมีมาตรฐาน การสั่งคดีที่ไม่ถูกแล้วด้วยมาตรฐานนั้นถือว่า การสั่งคดีนั้นเป็นการสั่งคดีที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะการสั่งคดีที่ไม่ได้รอบคอบ ถามว่าไม่รอบคอบตรงไหน ก็คือว่าในเรื่องนี้มีการสั่งคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานซึ่งมีอยู่แล้ว จากคำให้การของพยานสองคนคือ นายจารุชาติ มาดทอง(เสียชีวิตไปแล้ว) และ พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร โดยมีการไปสอบพยานเพียงสองปากไม่เพิ่มเติมว่า ขณะนั้นใช้ความเร็วเท่าไร โดยบอกว่าขณะนั้นใช้ความเร็วประมาณไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่ฟังพยานหลักฐานเรื่องความเร็วที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยชุดการสอบสวนของ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานคดี ซึ่งการสอบสวนในชั้นต้นนั้นระบุว่าใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 179 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และก็มีการแก้ไขความเร็วในชั้นต่อมา โดยมีข้าราชการในหลายส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องตรงนี้ด้วย”นายพชรกล่าวและว่าเรื่องนี้นั้นปรากฎชัดเจนว่ามีกระบวนการเพื่อแก้ไขความเร็วรถของนายวรยุทธเพื่อให้มีความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมิตรต่อชั่วโมง
ประธาน ก.อ.กล่าวต่อว่า มีการให้ข้อมูลจากทางผู้เชี่ยวชาญว่าได้รับการร้องขอให้มีการแก้ไขความเร็วให้เกิดขึ้นจนนำไปสู่การเบี่ยงเบนในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นเมื่อนายเนตรเอาความเห็นตรงนี้มาใช้ดุลยพินิจในการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ทั้ง ๆ ที่นายวรยุทธได้มีการขอความเป็นธรรมมาทั้งหมด 13 ครั้ง ซึ่งผ่านการพิจารณาของอัยการสูงสุดมาถึงประมาณ 4-5 ท่าน ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ยอมรับคำให้การของนายจารุชาติและ พล.อ.ท.จักรกฤช มาให้เป็นพยานหลักฐาน เพราะว่าพยานสองปากนั้นมาจากหลังเกิดเหตุแล้วประมาณสองปี แต่ว่ามีพยานปากหนึ่งเป็นชาวเมียนมา ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ เห็นเหตุรถชนกัน จนกระทั่งเหตุการณ์ที่รถของนายวรยุทธได้ลากร่างของผู้เสียชีวิตไปกว่า 169 เมตร
ประธาน ก.อ.กล่าวด้วยว่า อีกเรื่องสำคัญในการประชุม คณะกรรมการ ก.อ.ครั้งนี้ เคยได้มีการสอบสวนนายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม ซึ่งที่ผ่านมา สื่อมักจะเรียกนายชัยณรงค์ว่าอัยการ ช.มาตลอด
"โดยขณะเกิดเหตุ นายชัยณรงค์นั้นก็อยู่ในราชการประจำสำนักงานคดีอาญาภาค 6 มีการสอบสวนชั้นต้นนายชัยณรงค์แล้วพบว่ามีการเข้าไปร่วมแก้ไขความเร็วจริง ในชุดของพ.ต.อ.ธนสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย โดยนายชัยณรงค์ได้เข้าไปมีส่วนในการแก้ไขความเร็วในระหว่างวันเวลาราชการ ในวันที่ 29 ก.พ.-1 มี.ค. 2559 ตรงนี้ทำให้ทางอัยการสูงสุดจึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงแก่นายชัยณรงค์แล้ว โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 90 วันจึงจะแล้วเสร็จ" ประธาน กอ.ระบุ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ก.อ.นัดชี้ชะตา‘เนตร นาคสุข’ คดีบอส 18 พ.ค.นี้ -ชงตั้งสอบวินัยร้ายแรง‘อัยการ ช.’ด้วย
- รอชงเข้า ก.อ.! ผลวินัยร้ายแรง 'เนตร นาคสุข’ เสร็จแล้ว - แยกสำนวนตั้งสอบอัยการ 'ช.'
- มติ ก.อ. เอกฉันท์ เห็นควรสอบวินัยร้ายแรง 'เนตร นาคสุข' คดีไม่สั่งฟ้อง 'บอส'
- แง้มห้องประชุม ก.อ. ใครเป็นใคร? ลงคะแนน-งดออกเสียง สอบวินัยร้ายแรง 'เนตร' คดี 'บอส'
- ก.อ.ประชุมลงโทษ ‘เนตร นาคสุข’ สั่งไม่ฟ้องคดี ‘บอส’ ลุ้นลงคะแนนเปิดเผย
- ‘เนตร นาคสุข’ ยื่นลาออกรอบ 2 ตามรอย ‘วงศ์สกุล’
- รุปผลสอบ 'เนตร นาคสุข' คดี 'บอส' ก.อ.พิจารณา 10 ก.ย. แค่ผิดวินัยไม่ร้ายแรง!
- จับตา ก.อ.อาจลงมติสวนให้ ‘เนตร นาคสุข’ ผิดวินัยร้ายแรง คดี 'บอส'
- ‘วงศ์สกุล’ ยื่นหนังสือลาออก ไม่ขอเป็นอัยการอาวุโส มีผล 1 ต.ค.นี้
- ACT ออกแถลงการณ์ 'โกงตาชั่ง' ค้าน อสส. ยืนยันมติ ก.อ. เสนอโปรดเกล้าฯ 'ปรเมศวร์'
- 'วงศ์สกุล' ลาพักร้อน รอง อสส. ลงนามแทนยืนยันมติ ก.อ. เสนอโปรดเกล้าฯ 'ปรเมศวร์'
- อสส.โยนให้ ก.อ.ยืนยันความเหมาะสมตั้ง‘ปรเมศวร์’เป็นผู้ตรวจอัยการอีกรอบ
- องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน :การแต่งตั้งอัยการระดับสูง ฤ จะเป็นเสาหลักปักขี้เลน
- ก.อ.ขีด 31 ก.ค.ต้องสรุปสอบ‘เนตร’-‘ปรเมศวร์’โดนแค่เตือน เตรียมเสนอโปรดเกล้าฯต่อ
- ก่อนไร้ชื่อแต่งตั้ง? คำพิพากษาฉบับเต็มคุก 6 เดือน รอลงโทษ‘ปรเมศวร์’คดีเมา ขับชน
- ไร้ชื่อ‘เนตร-ปรเมศวร์’! ราชกิจจานุเบกษาแพร่แล้วโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 973 อัยการ
- ตัดชื่อ 'เนตร-ปรเมศวร์' ออกจากบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายอัยการ
- เป็นชั้นความลับ!ปมทูลเกล้าฯ'เนตร-ปรเมศวร์'อสส.ขอแจงเอง-ไม่เกี่ยว ก.อ.
- เป็นเรื่องของผู้ใหญ่! ‘ปรเมศวร์’ปัดแจงปมถูกตีกลับชื่อทูลเกล้าฯตั้งผู้ตรวจการอัยการ
- นัดแล้ว!ก.อ.จัดประชุมวาระพิเศษ 11 ม.ค.หารือกรณีไม่ทูลเกล้าฯ'เนตร-ปรเมศวร์'
- ไม่นำชื่อ 'เนตร-ปรเมศวร์' ขึ้นทูลเกล้าฯ ตีกลับบัญชีแต่งตั้งอัยการให้ ก.อ.ทบทวน
- 'อรรถพล'นัด ก.อ.ถกด่วนปมไม่ทูลเกล้าฯ'เนตร-ปรเมศวร์'โวยไม่มีคนรายงาน
- สนง.องมนตรีส่งกลับ!เบื้องหลังไม่ทูลเกล้าฯ'เนตร-ปรเมศวร์'ก.อ.ถกวาระพิเศษ 11-14 ม.ค.