นายรูบิโอประณามการบังคับส่งตัวกลับอย่างรวดเร็ว แต่การประณามของเขาเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันทางการเมืองกับรัฐบาลสหรัฐฯในวงกว้าง แม้ว่าชาวอุยกูร์จะถูกคุ้มกัน พาส่งตัวขึ้นเครื่องบินที่กรุงเทพ ก่อนที่เครื่องบินจะออกเดินทางไปยังภูมิภาคซินเจียง ทว่าในวันเดียวกับการส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยังอยู่ในประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์
ประเด็นเรื่องที่รัฐบาลไทยส่งตัวชาวอุยกูร์มากกว่า 40 คนกลับไปที่จีน ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างมากมาย แต่มีบทวิเคราะห์ว่านอกเหนือจากรัฐบาลไทยจะโดนวิจารณ์แล้ว รัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศก็ถูกวิจารณ์เช่นกันว่ามีทั้งความล้มเหลวและความไม่สอดคล้องกับภายใต้การบริหารงานของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอาบทวิจารณ์นี้ซึ่งถูกนำเสนอลงบนสื่อสหรัฐฯ อย่าง The Diplomat มานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ย้อนไปเมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางการไทยได้ตัดสินใจส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนกลับไปยังประเทศจีน ทางสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการจะให้ชาวอุยกูร์เหล่านี้ถูกส่งตัวกลับไป และก่อนหน้าการส่งตัวกลับในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมมา ทางรัฐสภาสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลในเรื่องนี้ ขณะที่ในเดือน ม.ค. นายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกมาให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีทางการทูตเพื่อคุ้มครองผู้ที่ถูกคุมขัง ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นสิ่งที่เขาจะทำงานร่วมกับคนไทย
อย่างไรก็ตามในวันที่ 27 ก.พ. ได้มีการส่งตัวชาวอุยกูร์ที่ถูกคุมขังในไทยมานานนับสิบปีกลับไปยังประเทศจีน ทำให้มีความกังวลว่าพวกเขาอาจต้องเผชิญกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทางการจีนได้กระทำมาตั้งแต่ปี 2557 โดยรัฐบาลนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในสมัยแรกได้เคยกำหนดว่าสิ่งที่จีนได้กระทำกับชาวอุยกูร์และกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กอื่นๆนั้นถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นายมาร์โก รูบิโอ ประณามการที่ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีน (อ้างอิงวิดีโอจากรอยเตอร์ส)
หลังจากถูกคุมขังมานาน 11 ปี การบังคับให้ชาวอุยกูร์กลับมายังจีน สิ่งนี้ทำให้รัฐบาลไทยถูกวิจารณ์ว่าทิ้งภาระผูกพันในการรักษากฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ แสดงให้เห็นว่าว่าสหรัฐฯ ได้สูญเสียอิทธิพลกับพันธมิตร และแสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกับในการบริหารภายใต้การดำเนินงานของประธานาธิบดีทรัมป์ในประเด็นเรื่องความแข็งแกร่งทางการทูตที่เป็นจุดยืนสำหรับสภาคองเกรส และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ประกาศในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนว่าเป็นนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
ชะตากรรมของชาวอุยกูร์สร้างความกังวลให้กับทั้งสองพรรคคือเดโมแครตและรีพับลิกัน สร้างความกังวลให้กับกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐบาลในสหรัฐฯ โดยเมื่อวันที่ 25 ก.พ. นายจิม ริช สว.สหรัฐฯ และนายฌองน์ ชาฮีน ประธานและสมาชิกระดับสูงของคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมเตือนรัฐบาลไทยไม่ให้ส่งชาวอุยกูร์เหล่านี้กลับไปยังจีน นายเกรกอรี มีกส์ สมาชิกคณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร (HFAC) ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลในเดือน ม.ค.เมื่อกลุ่มสิทธิมนุษยชนแสดงความห่วงใยว่าอาจมีการบังคับส่งตัวกลับใกล้เข้ามาแล้ว และหลังจากที่มีการส่งตัวกลับ นายไบรอัน มาสต์ ประธาน HFAC ออกมากล่าวว่าทางการไทยได้ส่งชาวอุยกูร์เหล่านั้นให้ไปถูกคุมขังอยูในค่ายกักกันที่จีน
ในการให้ถ้อยคำต่อรัฐสภาเมื่อเดือนมกราคม นายรูบิโอได้แสดงความมั่นใจว่าความพยายามทางการทูตของเขากับประเทศไทยจะ "บรรลุผล" เพื่อปกป้องผู้ถูกคุมขัง ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยได้กระทำ ซึ่งก็คือการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับ ได้ทำให้นายรูบิโอดูเหมือนล้มเหลวอย่างรุนแรง เพราะว่าเขาได้สร้างลักษณ์ทางการเมืองของตัวเองส่วนใหญ่ขึ้นมาจากการต่อต้านรัฐบาลจีนอย่างแข็งกร้าวและสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
นายรูบิโอประณามการบังคับส่งตัวกลับอย่างรวดเร็ว แต่การประณามของเขาเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันทางการเมืองกับรัฐบาลสหรัฐฯในวงกว้าง แม้ว่าชาวอุยกูร์จะถูกคุ้มกัน พาส่งตัวขึ้นเครื่องบินที่กรุงเทพ ก่อนที่เครื่องบินจะออกเดินทางไปยังภูมิภาคซินเจียง ทว่าในวันเดียวกับการส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยังอยู่ในประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกร่วมและแบบผสมผสานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยในวันส่งตัวกลับ กองทัพไทยและสหรัฐฯ ได้เข้าร่วม "การฝึกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ" ในจังหวัดทางตะวันออกของไทย
ในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนการส่งตัวเนรเทศชาวอุยกูร์กลับ สหรัฐฯ ยกย่องคอบร้าโกลด์ว่าเป็น "ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของพันธมิตรที่แข็งแกร่งและความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ" และแสดง "ความขอบคุณต่อเพื่อนและพันธมิตรของเรา" สําหรับการเป็นเจ้าภาพในการฝึกร่วม
สำหรับแถลงการณ์ของนายรูบิโอที่ออกมาประณามการส่งตัวกลับอย่างรุนแรงนั้นมาในช่วงวันที่สองของการฝึกร่วมที่ได้ดำเนินต่อไป และการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ที่ว่ามานี้จะดำเนินไปถึงวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลทรัมป์จะมุ่งมั่นที่จะรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคงกับประเทศไทย โดยไม่มีข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ความไม่สอดคล้องกันภายในนี้ถูกสื่อสารไปยังรัฐบาลอื่น ๆทั่วโลก ถึงความแตกหักของความแข็งแกร่งทางการทูตของสหรัฐฯ
ชายชาวอุยกูร์ 40 คนที่ถูกส่งตัวกลับไปจีนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวอุยกูร์มากกว่า 300 คนที่หลบหนีจากซินเจียงในปี 2557 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจับกุมขณะพยายามเข้ามาเลเซียผ่านทางประเทศไทย มากกว่า 170 คนถูกย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ตุรเคียไม่นานหลังจากถูกจับกุมในปี 2558 มีผู้ถูกบังคับให้ส่งตัวกลับประเทศจีนมากกว่า 100 คน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธแค้นจากนานาชาติจนรัฐบาลไทยเลือกที่จะกักขังผู้หลบหนีที่เหลือไว้นานกว่าสิบปี เนื่องจากกลัวว่าจะถูกตําหนิอย่างรุนแรงอีกรอบหนึ่ง และเพิ่มความตึงเครียดทางการทูตกับพันธมิตร เช่น สหรัฐฯ
การฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ (อ้างอิงวิดีโอจากเอพี)
การตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์กลุ่มใหญ่กลับประเทศจีนยังเป็นข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลไทยไม่กังวลกับการตําหนิของสหรัฐฯ หรือให้ความสนใจลําดับความสําคัญด้านสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ อีกต่อไป ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลนายทรัมป์ไม่ได้มองประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นลำดับสำคัญ ตั้งแต่การระงับโครงการให้ความช่วยเหลือต่างแดนหรือ USAID ไปจนถึงการละทิ้งยูเครน นโยบายของทําเนียบขาวได้บ่อนทําลายและพลิกกลับจุดยืนของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสองพรรคหรือนำโดยพรรครีพับลิกัน ความไร้ประสิทธิภาพของนายรูบิโอที่อ้างว่าจะเจรจากับไทยในประเด็นที่เขาระบุว่าเป็นความกังวลอย่างมาก เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตำแหน่งหน้าที่ของเขาด้วย และการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ครอบงํากระทรวงการต่างประเทศ ได้ทําลายอํานาจทางการทูตของรัฐบาลสหรัฐฯ และเป็นการสื่อสารว่าหลังจากนี้ทางทำเนียบขาวจะไปหมกมุ่งกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า
นายรูบิโอเชื่อการสื่อสารว่าสหรัฐฯมีความแข็งแกร่งทางการทูต สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการเจรจาบังคับไม่ให้ส่งตัวชาวอุยกูร์กลับไป ดังนั้นตอนนี้นายรูบิโอจึงเผชิญกับอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเขาเคยให้คำมั่นกับเรื่องนี้ไปแล้ว แต่กลับต้องเห็นความแข็งแกร่งทางการทูตที่ว่านี้ทลายลง
ตอนนี้สำหรับนายทรัมป์เหลือเพียงแค่อีกเล็กน้อยเท่านั้นในการรื้อถอนความเป็นพันธมิตรนานาชาติระหว่างสหรัฐฯกับประเทศอื่นที่ดูน่าเชื่อถือ แต่กับตัวนายรูบิโอที่เคยเป็น สว.มาแล้วนานกว่า 20 ปี สามารถทํางานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อยืนยันคุณค่าของการดำเนินงานทางการทูตในช่วงเวลาที่ผ่ามา ดังนั้นกรณีการส่งตัวชาวอุยกูร์ที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้ทางฝ่ายสภาคองเกสอาจจะเรียกตัวทั้งทำเนียบข่าวและกระทรวงต่างประเทศเข้ามาพูดคุยก็เป็นได้เพื่อที่จะทำให้มีความมั่นใจว่าจะมีการดำเนินการนโยบายด้านหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน
และถ้าหากไม่มีการตอบสนองต่อการแก้ปัญหาเรื่องความไม่สอดคล้องในการทำงานร่วมกันในรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของนายทรัมป์ สิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบจนทำให้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯมีภาพจำว่ามีขีดความสามารถที่น้อยมากในบทบาทสนับสนุนสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ