ที่ประชุมรัฐสภา ลงมติเห็นชอบ 552 ต่อ 24 เสียง รับหลักการร่าง รธน.ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ขอแก้ไขระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบ ส่วนอีก 12 ฉบับ รวมถึงฉบับพรรคพลังประชารัฐ ถูกตีตกทั้งหมด เนื่องจากมี ส.ว.เห็นชอบไม่ถึง 84 เสียง
--------------------------------------------------------
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2564 ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาลงมติวาระที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... รวม 13 ฉบับ
โดยการผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ต้องได้คะแนนเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ 367 จาก 733 เสียง (มี ส.ส.ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้มี 483 คน และ ส.ว. 250 คน) โดยในจำนวนนี้ต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ 84 คน โดยผลการลงคะแนนเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 01.30 น. มีรายละเอียด ดังนี้
ฉบับที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 มาตรา 29 มาตรา 41 มาตรา 45 มาตรา 83 มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 94 มาตรา 144 มาตรา 185 และมาตรา 270 เสนอโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน กับคณะ
เห็นชอบ 334 เสียง เป็น ส.ส. 334 เสียง และ ส.ว. 0 เสียง
ไม่เห็นชอบ 199 เสียง
งดออกเสียง 173 เสียง
ไม่ลงคะแนน 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 เสียง
ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 มาตรา 29 มาตรา 29/1 มาตรา 34 มาตรา 45 มาตรา 47 มาตรา 49/1 และมาตรา 129 เสนอโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
เห็นชอบ 399 เสียง เป็น ส.ส. 393 เสียง และ ส.ว. 6 เสียง
ไม่เห็นชอบ 136 เสียง
งดออกเสียง 171 เสียง
ไม่ลงคะแนน 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 เสียง
ฉบับที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 และยกเลิกมาตรา 93 และมาตรา 94 เสนอโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
เห็นชอบ 376 เสียง เป็น ส.ส. 340 เสียง และ ส.ว. 36 เสียง
ไม่เห็นชอบ 88 เสียง
งดออกเสียง 242 เสียง
ไม่ลงคะแนน 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 เสียง
ฉบับที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 เสนอโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
เห็นชอบ 455 เสียง เป็น ส.ส. 440 เสียง และ ส.ว. 15 เสียง
ไม่เห็นชอบ 101 เสียง
งดออกเสียง 150 เสียง
ไม่ลงคะแนน 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 เสียง
ฉบับที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 6 ยกเลิกมาตรา 65 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 มาตรา 162 และยกเลิกมาตรา 270 มาตรา 271 มาตรา 275 และมาตรา 279 เสนอโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
เห็นชอบ 327 เสียง เป็น ส.ส. 326 เสียง และ ส.ว.1 เสียง
ไม่เห็นชอบ 150 เสียง
งดออกเสียง 229 เสียง
ไม่ลงคะแนน 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 เสียง
ฉบับที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 65 เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ
เห็นชอบ 454 เสียง เป็น ส.ส. 419 เสียง และ ส.ว. 35 เสียง
ไม่เห็นชอบ 86 เสียง
งดออกเสียง 166 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 และมาตรา 55/1 เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ
เห็นชอบ 476 เสียง เป็น ส.ส. 421 เสียง และ ส.ว. 55 เสียง
ไม่เห็นชอบ 78 เสียง
งดออกเสียง 152 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 มาตรา 43 มาตรา 46 และมาตรา 72 เสนอโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
เห็นชอบ 469 เสียง เป็น ส.ส. 421 เสียง และ ส.ว. 48 เสียง
ไม่เห็นชอบ 75 เสียง
งดออกเสียง 162 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เสนอโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
เห็นชอบ 415 เสียง เป็น ส.ส.400 เสียง และ ส.ว.15 เสียง
ไม่เห็นชอบ 102 เสียง
งดออกเสียง 189 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236 และมาตรา 237 เสนอโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
เห็นชอบ 431 เสียง เป็น ส.ส. 398 เสียง และ ส.ว. 33 เสียง
ไม่เห็นชอบ 97 เสียง
งดออกเสียง 178 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 เสนอโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
เห็นชอบ 461 เสียง เป็น ส.ส.440 เสียง และ ส.ว. 21 เสียง
ไม่เห็นชอบ 96 เสียง
งดออกเสียง 149 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 12 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76/1 มาตรา 76/2 มาตรา 249 มาตรา 250 มาตรา 251 มาตรา 252 มาตรา 253 มาตรา 254 และเพิ่มมาตรา 250/1 เสนอโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
เห็นชอบ 457 เสียง เป็น ส.ส. 407 เสียง และ ส.ว. 50 เสียง
ไม่เห็นชอบ 82 เสียง
งดออกเสียง 167 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ไม่ผ่าน เพราะ ส.ว.ลงคะแนนไม่ถึง 84 คะแนน
ฉบับที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91 เสนอโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
เห็นชอบ 552 เสียง เป็น ส.ส. 342 เสียง และ ส.ว. 210 เสียง
ไม่เห็นชอบ 24 เสียง
งดออกเสียง 130 เสียง
ไม่ลงคะแนนเสียง 27 เสียง
ผ่าน เพราะเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง และ ส.ว.ลงคะแนนเกิน 84 คะแนน
โดยสรุปการพิจารณาร่างแก้ไข รธน. รวม 13 ฉบับ ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบเพียง 1 ฉบับ คือ ฉบับที่ 13 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 83 และ มาตรา 91 ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งโดยใช้บัตร 2 ใบ แบ่งเป็น ส.ส.เขต 400 คน บัญชีรายชื่อ 100 คน ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน 45 คน กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน
นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าสนใจว่า ร่างแก้ไข รธน.ฉบับพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นแกนนำรัฐบาลนั้น ไม่ผ่านความเห็นชอบ เพราะมีผู้ลงมติเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง อีกทั้งยังไม่มี ส.ว. ลงคะแนนให้อีกด้วย เนื่องจากมีการเสนอแก้ไขมาตรา 144 และ มาตรา 185 ที่ ส.ว.ออกมาคัดค้านตั้งแต่ต้น
ข่าวประกอบ
แก้รัฐธรรมนูญ : 'ไพบูลย์'รับปากไม่แตะ ม.144-ม.185 ปชป.ย้ำพร้อมยกมือหนุนทุกร่าง
แก้รัฐธรรมนูญ : ‘ไพบูลย์’ยันไม่แตะ ม.144-ม.185 ย้ำบริสุทธิ์ใจ ไม่เสนออะไรที่โกงชาติ
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/