"...เหล่านี้ที่แสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 ใช้อํานาจ ทางการปกครองตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้เป็นไปโดยชอบด้วยระเบียบ และกฎหมาย การที่จําเลยที่ 1 มีมติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 ตามที่จําเลยที่ 2 โดยไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ถี่ถ้วนรอบด้านในทุกประเด็นตามที่มีแนวปฏิบัติตามประเด็น ข้อหารือที่กรมที่ดินวางไว้ข้างต้น จึงมีลักษณะเป็นการกระทําอย่างรวบรัด ผิดวิสัย ..."
กรณีนี้เป็นการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร นายธเนศ นิยม นายอุดม ไชยสาลี นางสวรรยา ศิริพงษ์ มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 83
ให้ลงโทษจำคุก นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร นายธเนศ นิยม นายอุดม ไชยสาลี คนละ 5 ปี
ลงโทษจำคุก นางสวรรยา ศิริพงษ์ มีกำหนด 3 ปี 4 เดือน
พร้อมให้เพิกถอนที่ดิน เลขที่ 35753 , 35754 ตำเบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ออกหรือแบ่งแยกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวด้วย
คือ บทสรุปคำพิพากษา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 8 ตัดสินคดีอนุมัติออกโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 , 35754 ตำเบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยอาศัยแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค.1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตำเบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถเต็มทั้งแปลงมิชอบ ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดสำคัญ ในคำพิพากษาตัดสินคดีนี้ของ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 8 นี้
หนึ่ง. ป.ป.ช.ฟ้องเอง
คดีนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นจำเลยที่ 1 , นายธเนศ นิยม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต จำเลยที่ 2 , นายอุดม ไชยสาลี เจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าส่วนแยกถลาง กรมที่ดิน จำเลยที่ 3 และนางสวรรยา ศิริพงษ์ ผู้ขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยที่ 4
สอง. พฤติการณ์ในคดี
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2540 จําเลยที่ 4 ได้ยื่นคําขอออกโฉนดที่ดิน โดยอาศัยหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ส.ค. 3 เลขที่ 423 ดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ดินที่จําเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิครอบครองและเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ แต่คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดภูเก็ต (กปร.) ในการประชุม ครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2541 ได้พิจารณาเกี่ยวกับหลักฐาน ส.ค. 6 เลขที่ 423 ดังกล่าวแล้ว มีมติว่า ส.ค. 2 เลขที่ 423 เป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย หลายประการ และตําแหน่งที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และ เขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และมีมติให้สํานักงานป่าไม้จังหวัด และอุทยานแห่งชาติสิรินาถดําเนินคดีกับผู้บุกรุก และให้สํานักงานที่ดินจังหวัดจังหวัดภูเก็ต ระงับการออกเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าวและดําเนินคดี ในความผิดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ต่อมา สํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต มีหนังสือ ที่ กค 0022.707186 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 แจ้งมติของคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดภูเก็ต (กปร.) ให้กับจําเลยที่ 4 ทราบว่า คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุก ที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดภูเก็ต (กปร.) มีมติให้สํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตระงับการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2541 และเจ้าพนักงานที่ดินได้สั่งให้ระงับการออกเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้ว
ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2550 เวลากลางวัน และกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ร่วมกันใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริตพิจารณาดําเนินการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเป็น เขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ โดยมิชอบด้วยกฎหมายให้กับจําเลยที่ 4 อันเป็นการเสียหายแก่ที่ดินของรัฐ และกรมที่ดิน และเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายสําหรับจําเลยที่ 4 โดยมีจําเลยที่ 4 ร่วมกระทําความผิดในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทํา อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม จําเลยที่ 4 ได้นําหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ส.ค. 1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ยื่นคําขอออกโฉนดที่ดินที่สํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ส่วนแยกกลางอีกครั้ง โดยได้ปฏิญาณตนและให้ถ้อยคําต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ที่ดินแปลงนี้ตนได้ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยซื้อมาจากนายประสิทธิ์ พงศานนท์ โดยนายประสิทธิ์ ซื้อต่อมาจาก นายพิชิต พงศานนท์ (เดิมชื่อนายจิ้นอุ่น พงศานนท์) และไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด
ทั้งที่ก่อนที่จําเลยที่ 4 จะนําหลักฐาน ส.ค. 1 เลขที่ 423 ดังกล่าวยื่นคําขอออกโฉนดนั้น ยังมีการโต้แย้ง สิทธิการครอบครองในที่ดินกันอยู่ซึ่งเป็นคดีอาญาอยู่ในศาลจังหวัดภูเก็ต และการขอออกโฉนดจาก ส.ค. 1 เลขที่ 423 ดังกล่าว จําเลยที่ 4 ได้เคยมาขอยื่นรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมาก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2540 แต่เจ้าพนักงานที่ดินได้สั่งให้ระงับการออกเอกสารสิทธิ เนื่องจากคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดภูเก็ต (กปร.) ได้มีมติให้สํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ระงับการออกเอกสารสิทธิที่ดินดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 และตําแหน่งที่ดินดังกล่าว อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 14 (4) และจําเลยที่ 4 ทราบดีว่า ที่ดิน ส.ค. 1 ฉบับดังกล่าว มีการแก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน ในเอกสาร โดยขีดฆ่าชื่อนายกู้ พินธุ ออก แล้วใส่ชื่อนายจิ้นอุ่น พงษานนท์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายพิชิต พงศานนท์) เป็นผู้แจ้งการครอบครอง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558
จําเลยที่ 4 มีเจตนาแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในที่ดินของรัฐด้วยการยื่นคําขอ ออกโฉนดที่ดินโดยนําหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ส.ค. 1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเลอําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก เขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เพื่อที่จะให้จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 พิจารณาดําเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 โดยมิชอบเพื่อให้จําเลยที่ 4ได้ไปซึ่งโฉนดที่ดินเลขที่ เลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยไม่มีสิทธิ จะได้รับตามกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมที่ดิน
ต่อมาเมื่อสํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ส่วนแยกถลาง (ปัจจุบันคือสาขาถลาง) ได้รับคําขอออกโฉนดที่ดินของจําเลยที่ 4 ดังกล่าวแล้ว ได้มีการดําเนินการรังวัด ที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่ 423 ที่จําเลยที่ 4 ได้ยื่นคําขอดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรังวัดได้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่อจําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดิน สรุปได้ว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรและที่ดินแปลงนี้เคยนํารังวัดป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก - เขาเมือง และเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และออกโฉนดแล้วตามคําขอที่ 58/58 ลงวันที่ 4 เมษายน 2540 มีข้อขัดข้องหลายประการและได้ส่งเรื่อง ให้กับ กปร.จังหวัดพิจารณาตามรายงานครั้งที่ 2/2541 วันที่ 24 เมษายน 2541 มีมติให้สํานักงานที่ดิน จังหวัดระงับการออกโฉนด และจําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าส่วนแยกถลางได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นให้ส่งคณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 จําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้าส่วนแยกถลาง ได้มีหนังสือที่ กค 0019.0001/ 2466-70 ถึงคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ตามคําสั่ง จังหวัดภูเก็ต ที่ 1191/2548 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2548 แจ้งให้ไปร่วมกันไปตรวจพิสูจน์ที่ดิน ของจําเลยที่ 4
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2550 และวันที่ 20 เมษายน 2550 อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ได้มีหนังสือเรื่องการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย ถึงจําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าส่วนแยกถลาง ทักท้วงถึง 2 ครั้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่จําเลยที่ 4 นํามาขอออกโฉนดว่า ควรรอผลคดีที่พนักงานอัยการ จังหวัดภูเก็ตเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาบริษัทรายัน โฮลดิ้ง จํากัด กับนางสวรรยา ศิริพงศ์ (จําเลยที่ 4)เป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดภูเก็ต ในข้อหาร่วมกันยึดถือครอบครอง แผ้วถาง ก่อสร้าง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตว่าเป็นประการใดแล้ว จึงจะพิจารณาดําเนินการในการ ขอออกโฉนดที่ดินรายนี้ต่อไป
จําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าส่วนแยกถลาง และจําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทําเอกสารเกี่ยวกับขอออกโฉนดที่ดิน ดูแล หรือจัดการทรัพย์ที่ดินของรัฐ มีหน้าที่ดําเนินการเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดินให้ถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินรวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความชอบด้วยกฎหมายของหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่จําเลยที่ 4 นํามาขอออกโฉนดที่ดินว่า เป็น ส.ค. 1 ที่ชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความชอบด้วยกฎหมายของ ส.ค. 1 เลขที่ 423 ดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาผลการตรวจพิสูจน์ที่ดินของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามข้อ 10 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ที่ได้พิสูจน์สอบสวนที่ดินของจําเลยที่ 4 ที่ตั้งอยู่ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเป็นเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ว่า จําเลยที่ 4 ได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนวันที่ทางราชการกําหนดให้ที่ดินนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานแห่งชาติหรือไม่ และสมควรออกโฉนดที่ดินให้หรือไม่ เพียงใดด้วย
โดยจําเลยที่ 3 จะต้องจัดทําเอกสารเกี่ยวกับขอออกโฉนดที่ดินเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเสนอต่อจําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยผ่านจําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้จําเลยที่ 1 พิจารณาอนุมัติออกโฉนดที่ดินให้จําเลยที่ 4 ผู้ขอได้หรือไม่ต่อไป และจําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต จะต้องจัดทําเอกสารเกี่ยวกับขอออกโฉนดที่ดินเพื่อนําเสนอข้อเท็จจริงแสดงความเห็น
แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 จําเลยที่ 3 ในฐานะ เจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้าส่วนแยกถลาง กลับใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบหรือโดยทุจริต จัดทําบันทึกสํานักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตส่วนแยกถลาง ที่ ภก0019.0001/6793 พร้อมทั้งเอกสารเรื่องราวการออกโฉนดที่ดิน โดยเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นไปยังเสนอจําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผ่านจําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้จําเลยที่ 1 พิจารณาสั่งการให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 ตามคําขอ
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 จําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตได้รับบันทึกพร้อมเอกสารเรื่องราว การออกโฉนดที่ดินจากจําเลยที่ 3 แล้ว จําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต กลับใช้อํานาจ ในตําแหน่งโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต จัดทําบันทึกสํานักงาน ที่ดินจังหวัดภูเก็ต กลุ่มงานวิชาการที่ดิน ที่ กค 0019.5/8935 วันที่ 25 มิถุนายน 2550 โดยเร่งรีบ เสนอข้อเท็จจริงรวมทั้งความเห็นต่อจําเลยที่ 1 ให้พิจารณาอนุมัติสั่งการให้ออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่
เช่นเดียวกับความเห็นที่จําเลยที่ 3 ได้เสนอ และในวันเดียวกันนั้น (วันที่ 25 มิถุนายน 2550) เมื่อจําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้รับบันทึกข้อความพร้อมเรื่องราวการขอออกโฉนดที่ดินทั้งหมดและ ความเห็นของจําเลยที่ 3 และของจําเลยที่ 2 เสนอแล้ว จําเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ทํา ดูแลหรือจัดการทรัพย์ ที่ดินของรัฐ มีอํานาจหน้าที่พิจารณาอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินในเขตจังหวัดภูเก็ตให้ถูกต้องโดยขอบ ด้วยกฎหมาย โดยมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความชอบด้วยกฎหมายของหลักฐานการแจ้ง เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่จําเลยที่ 4 นํามาขอออกโฉนดที่ดินว่าเป็น ส.ค. 1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และต้องพิจารณาผลการตรวจพิสูจน์ที่ดินของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามข้อ 10 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ที่ได้พิสูจน์สอบสวนที่ดินของจําเลยที่ 4 ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ว่าจําเลยที่ 4ได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนวันที่ทางราชการกําหนด ให้ที่ดินนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานแห่งชาติหรือไม่ และสมควรออกโฉนดที่ดินให้หรือไม่ เพียงใดด้วย ก่อนพิจารณาสั่งการอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 ผู้ขอให้เป็นไปโดยถูกต้องตามที่กฎหมาย กําหนด
แต่จําเลยที่ 1 กลับใช้อํานาจในตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 10 โดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ด้วยการเร่งรีบลงนามเกษียณอนุมัติ สั่งการให้เจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 ผู้ขอ ตามที่จําเลยที่ 2 ได้เสนอ และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 จําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้มีหนังสือแจ้งให้ เจ้งให้จําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้า ส่วนแยกถลาง ดําเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 ผู้ขอ ทั้งที่ จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ทราบดีว่าคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดภูเก็ต (กปร.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2541 ได้พิจารณาหลักฐาน ส.ค. 1 เลขที่ 423 ที่จําเลยที่ 4 ได้เคยมาขอยื่นรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมาก่อน ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2540 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ส.ค. 1 ดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมายหลายประการจึงมีมติให้สํานักงานป่าไม้จังหวัดและอุทยานแห่งชาติสิรินาถดําเนินคดีกับผู้บุกรุก และให้สํานักงานที่ดินจังหวัดจังหวัดภูเก็ตระงับการออกเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว และดําเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดภูเก็ต สั่งให้ระงับการออกเอกสารสิทธิที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อ 25 มิถุนายน 2551 และทราบดีว่า ที่ดินซึ่งเป็นหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ส.ค. 1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่จําเลยที่ 4 ใช้ยื่นคําขอออกโฉนดที่ดินนั้น มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตัดทอน ในเอกสาร ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวไม่ตรงกับในทะเบียนการครอบครอง เล่ม 2 หน้า 33 ตําบลเชิงทะเล ที่ปรากฏชื่อ นายกู้ พินธุ เป็นผู้แจ้งการครอบครอง
อีกทั้ง ทราบดีว่า การตรวจพิสูจน์ที่ดินของคณะกรรมการ ตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามคําสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ 1191/2548 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ที่ได้ร่วมกัน ตรวจพิสูจน์ที่ดิน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 นั้น คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินในส่วนของเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ตามข้อ 10 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ไม่ได้ร่วมในการตรวจพิสูจน์และไม่ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการตรวจพิสูจน์ และทราบดีว่าคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ในส่วนของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ตามข้อ 10 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ได้มีหนังสืออุทยานแห่งชาติสิรินาถ ที่ ทส 0932.607/255 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2550 และที่ ทส 0932.607/342 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2550 ทักท้วงถึง 2 ครั้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่จําเลยที่ 4 นํามาขอออกโฉนดว่า ควรรอผลคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ตเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคดีอาญา บริษัท รามัน โฮลดิ้ง จํากัด กับจําเลยที่ 4 เป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดภูเก็ต ข้อหาร่วมกันยึดถือครอบครอง แผ้วถาง ก่อสร้าง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตว่าเป็นประการใด แล้วจึงจะพิจารณาดําเนินการในการขอโฉนดที่ดินรายนี้ต่อไป ซึ่งจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่รอผลคดีอาญา ที่ได้มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวที่จะสามารถชี้ขาดความชอบด้วยกฎหมายของส.ค. 1 เลขที่ 423 ตามความเห็นของอุทยานแห่งชาติสิรินาถที่ได้ทักท้วงแต่อย่างใด
แต่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีเจตนาเลือกที่จะ รับฟังข้อเท็จจริงคําพิพากษาคดีคดีแพ่งเฉพาะในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อจําเลยที่ 4 ผู้ขอออกโฉนดที่ดินเท่านั้น โดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแก่จําเลยที่ 4 เพื่อให้ได้ไป ซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐ ในโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวกเขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
การกระทําของจําเลยทั้งสี่ ซึ่งได้ร่วมกันกระทําความผิดในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทํา ในการดําเนินการเพื่อออกโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก - ป่าเขาเมือง และเป็นเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้จําเลยที่ 4 ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมาย โดยมีจําเลยที่ 4 เป็นผู้ขอออกโฉนด
@ นิรันดร์ กัลยาณมิตร
จําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จําเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และจําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้าส่วนแยกถลางใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริต ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต โดยจําเลยที่ 3 ได้เสนอความเห็นให้จําเลยที่ 1 ผ่านจําเลยที่ 2 เพื่อให้จําเลยที่ 1 พิจารณาอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 2 ได้เสนอความเห็นให้จําเลยที่ 1 พิจารณาอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 1 ที่ได้พิจารณาอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก เขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 และกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 14
โดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แก่จําเลยที่ 4 เพื่อให้จําเลยที่ 4 ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐ จนเป็นเหตุให้ในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 จําเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้าส่วนแยกถลาง ได้ลงนามออกโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หัวเขารวก เขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินให้กับจําเลยที่ 4 ซึ่งไม่มีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินให้ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐ โดยไม่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้และกรมที่ดิน สมดังเจตนาของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 จําเลยที่ 3 และจําเลยที่ 4 แล้ว
ต่อมาภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดิน แปลงดังกล่าว ตามคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในคดีหมายเลขแดงที่ 274/2555 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต โจทก์ บริษัท รายันโฮลดิ้ง จํากัด จําเลยที่ 1 นางสวรรยา ศิริพงศ์ จําเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ตามที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ในฐานะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามข้อ 10 (3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 ได้เคยทักท้วง ถึง 2 ครั้ง ที่ให้รอ ผลคดีอาญาที่ได้มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ซึ่งคําพิพากษาดังกล่าวได้วินิจฉัยสรุปได้ว่า ที่ดินตาม ส.ค. 1 เลขที่ 423 นายกู้ พินทุ ได้เคยนําไปขอออกเป็น น.ส. 3 เล เลขที่ 429 ไปแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่อาจนำ ส.ค. 1 เลขที่ 463 ไปใช้ขอออกเอกสิทธิได้อีก อีกทั้งภายหลังปรากฏว่า นายจิ้นน แซ่ลิ่ม ทําการปลอมเอกสาร ส.ค. 1 เลขที่ 423 ของนายกู้เพื่อนําไปขอออก น.ส. 3 อีก ปรากฏว่า ส่วนที่ดินทางด้านทิศเหนือตาม ส.ค. 1 เลขที่ 423 นายกู้ ไม่ได้เข้าครอบครองทําประโยชน์และไม่มี การทําประโยชน์ และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวกเขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ออก น.ส.3 ให้กับนายจิ้นปุ่น แซ่ลิ่ม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายพิชิต พงศานนท์) ตามที่ขอ จึงไม่ได้ทําให้นายจิ้นอุ่น หรือนายพิชิต ได้สิทธิใด ๆ ในที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่ 423 ดังกล่าว
การที่นายจิ้นปุน หรือนายพิชิต ขายที่ดินแก่บุคคลอื่น ก็ไม่ได้ทําให้ผู้ซื้อได้สิทธิใด ๆ ในที่ดินนั้น ดังนั้นเมื่อจําเลยที่ 4 ที่ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายประสิทธิ์ พงศานนท์ ซึ่งนายประสิทธิ์ซื้อมาจาก นายจิ้นอุ่น หรือนายพิชิต และนําไปเป็นหลักฐานในการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้นเช่นกัน เหตุเกิดที่ ตําบลเชิงทะเลตําบลเทพกษัตรีย์ อําเภอถลาง และตําบลตลาดใหญ่ อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 83 ขอให้ลงโทษ จําเลยที 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอน โฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินที่ออกหรือแบ่งแยกจากโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ม ตรา 42 ประกอบมาตรา 93 วรรคสอง
สาม. จำเลยให้การปฏิเสธ
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา
สี่.ประเด็นวินิจฉัย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการแรกว่า การบรรยายฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหา ความผิดของจําเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ตามที่จําเลยที่ 1 ให้การโต้แย้งว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดว่าจําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต มีหน้าที่ ซื้อ ทํา จัดการหรือรักษาทรัพย์ ใช้อํานาจในตําแหน่งแสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐอย่างไร
เมื่อตรวจฟ้องแล้วเห็นว่า ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า จําเลยที่ 1 มีอํานาจหน้าที่อนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินในเขตจังหวัดภูเก็ต ให้ถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมาย ในหน้าที่ 2 และในหน้าที่ 9 บรรทัดที่ 14 โจทก์บรรยายว่าจําเลยที่ 1 จัดการทรัพย์ที่ดินของรัฐ
มีหน้าที่ทํา ดูแล จัดการทรัพย์ที่ดินของรัฐ มีอํานาจหน้าที่อนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินในเขตจังหวัดภูเก็ตให้ถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความชอบด้วยกฎหมายของหลักฐาน การแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่จําเลยที่ 4 นํามาขอออกโฉนดที่ดินว่าเป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อจําเลยที่ 1 มีอํานาจหน้าที่อนุมัติ ให้ออกโฉนดตามเงื่อนไขที่ประมวลกฎหมายที่ดินกําหนดไว้ จึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ทํา จัดการทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ และยังได้บรรยายฟ้องไว้ในหน้าที่ 9 บรรทัดที่ 14 ว่าจําเลยที่ 1 ได้พิจารณาอนุมัติ ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขารวก เขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ จึงเป็นการบรรยายฟ้องซึ่งสภาพข้อหา ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ครบถ้วนแล้ว
ข้ออ้างของจําเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการต่อมาว่า ตามที่จําเลยที่ 1 ให้การและโต้แย้งอํานาจ การไต่สวนและการฟ้องคดีของโจทก์ว่า โจทก์ได้มีมติรับเรื่องไว้ไต่สวนหลังจากจําเลยที่ 1 พ้นจากตําแหน่ง เกินกว่าห้าปี โจทก์จึงไม่มีอํานาจยกเรื่องขึ้นเพื่อพิจารณา และจําเลยที่ 2 ให้การโต้แย้งว่า โจทก์รับเรื่องกล่าวหาจําเลยที่ 2 ไว้ทําการไต่สวน หลังเลยที่ 2 พ้นจากตําแหน่งการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเกินกว่าสองปี โจทก์จึงไม่มีอํานาจไต่สวนและไม่มีอํานาจฟ้องนั้น เห็นว่าตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 84 วรรคสี่บัญญัติว่าภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปเกินห้าปีแล้ว ย่อมไม่เป็นการตัดอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่จะยกคำกล่าวหาที่ได้มีการกล่าวหาไว้แล้วหรือกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นกระทําผิดขึ้นไต่สวนได้ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นจากการ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณี
ดังนั้นเมื่อนับระยะเวลาถึงวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้รับเรื่องได้มีการกล่าวหาไว้ทําการไต่สวน จําเลยที่ 1 ยังพ้นจากตําแหน่งไปไม่เกินสิบปี โจทก์ย่อมมีอํานาจ ที่จะยกเรื่องขึ้นทําการไต่สวนและมีอํานาจฟ้องได้ และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 84 ซึ่งได้บัญญัติขึ้นภายหลังในหมวด 8 ว่าด้วย การตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการไต่สวน ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนวิธีบัญญัติเป็นเพียงบทบัญญัติที่กําาหนดกรอบ ระยะเวลาการดําเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเร่งรัดให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงให้เสร็จโดยเร็ว เท่านั้น หาใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความหรือบทบัญญัติที่ตัดอํานาจการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่อย่างใดไม่ ดังนั้นแม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้มีมติให้รับเรื่องกล่าวหาไว้ทําการไต่สวน หลังจาก จําเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเกินกว่าสองปีแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอํานาจรับเรื่องไว้ทําการไต่สวน และมีอํานาจฟ้อง ข้ออ้างของจําเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น ส่วนประเด็นข้อโต้แย้งอื่น ๆ ของจําเลยที่ 2 ที่จําเลยที่ 2 ได้หยิบยกคําพิพากษาในคดีอื่นมาเทียบเคียงตามคําให้การและคําแถลงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น
เห็นว่ามีข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายที่แตกต่างกันตามแต่รูปคดี จึงไม่เป็นสาระแก่การวินิจฉัยคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจําเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทําผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อมีคําพิพากษาถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยไว้เป็นยุติแล้วย่อมรับฟังได้ว่า ที่ดิน ตามโฉนดเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดําเนินการและอนุมัติออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก - เขาเมือง ตามกฎกระทรวงและแผนที่แนบท้ายและอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถตามพระราชกฤษฎีกาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตราไว้พร้อมแผนที่แนบท้าย จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการพิจารณา ออกโฉนดที่ดินและขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ เป็นการเฉพาะราย ซึ่งหมายถึงผู้อ้างสิทธิครอบครองมีหลักฐานการทําประโยชน์มาก่อนนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 54 ว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีการประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตามเมื่่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควรให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินแล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนดไว้
ต่อมาได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ในข้อ 14 ว่าที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทําประโยชน์แล้วและเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย แต่ห้าม ออกโฉนดที่ดินสําหรับที่ดินตาม (1) ถึง (5) โดยตามข้อ (5) กําหนดว่าห้ามออกโฉนดที่ดินที่คณะรัฐมนตรี สงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าที่ตั้งของโฉนดที่ดิน ทั้งสองแปลงซึ่งจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 พิจารณาอนุมัติออกให้แก่จําเลยที่ 4 นั้น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต้องห้ามตามกฎกระทรวงดังกล่าว การที่จะพิจารณาออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ยื่นขอได้
ผู้ยื่นคําขอจึงต้องมีหลักฐานการครอบครองมาก่อนการกําหนดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ แต่เมื่อมีคําพิพวกษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งเดียวกับที่ดินตามโฉนด ทั้งสองแปลงที่จําเลยที่ 4 ได้โฉนดที่ดินมานั้น จําเลยที่ 4 ได้ใช้หลักฐานคือ ส.ค.1 เลขที่ 423 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการทําปลอมขึ้นโดยนายพิชิต พงศานนท์ ได้ขายให้แก่ นายประสิทธิ์ พงศานนท์ และได้ขายต่อให้แก่จําเลยที่ 4 เท่ากับว่าจําเลยที่ 4 ไม่มีหลักฐานการแจ้ง การครอบครองใด ๆ ในการขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ข้อ 10 (3) ได้กําหนดขั้นตอนการออกโฉนดในเขตที่ดินของรัฐหรือที่สาธารณะไว้ว่าถ้าปรากฏว่าที่ดินตั้งอยู่ในตําบลที่มีป่าสงวน แห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้จําแนกไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งกรมป่าไม้หรือกรมพัฒนาที่ดินยังไม่ได้ขีดเขตป่าและลงในระวางรูปถ่ายทางอากาศ แต่ที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตที่ได้จําแนกไว้ดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมกันออกไปตรวจพิสูจน์ที่ดิน และให้เสนอ ความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าสมควรออกหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งตามกฎกระทรวง ข้อ 16 ได้ให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 มาใช้ในการออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายด้วย
แม้ว่าในการออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 จะมีการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน ตามกฎกระทรวงดังกล่าวครบถ้วน ตามที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ในการออกโฉนดที่ดิน โดยมีคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงได้ตรวจพิสูจน์ที่ดินและทําบันทึกการตรวจพิสูจน์ที่ดินไว้ตามสารบบที่ดิน เอกสารหมาย จ.32 โดยมีความเห็น เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งขณะนั้นมีจําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ว่าที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก เขาเมืองและเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถเต็มทั้งแปลง หลักฐานสําคัญที่จะ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ร้องขอได้ก็คือ ส.ค.1 เลขที่ 43 ที่จําเลยที่ 4 นํามาใช้เป็นหลักฐานว่า จําเลยที่ 4 ได้สิทธิ์ในที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าแบบแจ้งการครอบครองหรือ ส.ค.ตามเอกสารหมาย จ.24 ซึ่งจําเลยที่ 3 รับไว้ดําเนินการตามคําขอ รับฟังได้ว่าเป็นเพียงสําเนาเอกสาร ซึ่งมีการแก้ไขจากชื่อนายกู้ พินธุ เป็นนายจิ้นอุ่น พงศานนท์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นนายพิชิต อันเป็น ข้อพิรุธอย่างหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคําวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวมีการแก้ไขหรือทําปลอมขึ้น ในส่วนชื่อผู้แจ้งการครอบครอง ซึ่งจากการไต่สวนได้ความจากบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงของนายกิตติพัฒน์ ธาราภิบาล พยานโจทก์ว่า ก่อนมีการอนุมัติออกโฉนดที่ดิน อุทยานแห่งชาติสิรินาถได้มีหนังสือแจ้งไปยัง เจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าส่วนแยกกลางว่าพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดินได้มีการแจ้งความดําเนินคดี แก่จําเลยที่ 4 กับพวก และพนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต ได้มีคําสั่งฟ้อง ซึ่งศาลได้รับฟ้องเป็นคดีอาญา หมายเลขดําที่ 738/2548 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ก่อนที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินจะทําบันทึก เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
โดยจําเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งว่าไม่ได้รับหนังสือของหัวหน้าอุทยาน แห่งชาติสิรินาถฉบับดังกล่าวไว้ประกอบการพิจารณา โดยปรากฏหลักฐานว่าจําเลยที่ 2 ได้ลงชื่อรับทราบ ไว้ในเอกสารหมาย จ.33 หากจําเลยที่ 3 รับฟังการท้วงติงของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถไว้ประกอบ การพิจารณา ก็จะต้องไม่เสนอความเห็นต่อจําเลยที่ 1 ผ่านจําเลยที่ 2 เพื่ออนุมัติการออกโฉนดที่ดินให้แก่ จําเลยที่ 4 แม้จะไม่มีระเบียบของกรมที่ดินที่วางไว้โดยชัดแจ้งว่าหากมีข้อพิพาทกันในชั้นศาลก็ให้รอผลคดีถึงที่สุดก่อนก็ตาม ซึ่งจําเลยที่ 3 ทราบดีว่าคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวงที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งขึ้นให้ความเห็นว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินนั้นอยู่ในเขตต้องห้ามตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 ก็ควรใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนไม่ให้เกิดไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ทั้งกรณีดังกล่าวนี้เคยมีมติของคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดภูเก็ตหรือ กปร. ได้มีมติเมื่อปี 2540 ครั้งที่จําเลยที่ 4 ครั้งที่จําเลยที่ 4 ยื่นขอออกโฉนดที่ดินโดยใช้หลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 423 มาแล้วครั้งหนึ่ง จําเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบจากสารบบการขอออกเอกสารสิทธิ์ โดยละเอียดว่า ส.ค.1 เลขที่ 423 เคยมีการนํามายื่นขอออกหนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือโฉนดที่ดินมาก่อน บ้างหรือไม่ ติดขัดอย่างไรจึงไม่สามารถดําเนินการออกโฉนดที่ดินให้ได้ในครั้งก่อน ปรากฏจากบันทึกข้อความของจําเลยที่ 3 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ไล่เรียงเรื่องราวการขอเอกสารสิทธิ์ของจําเลยที่ 4 ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อปี 2540 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 3 รับรู้ รับทราบ ถึงเหตุขัดข้องในการออกเอกสารสิทธิ์ มาก่อน ประกอบกับการที่มีหนังสือของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ฉบับลงวันที่ 20 เมษายน 2550 อีกฉบับหนึ่งที่ได้แจ้งความคืบหน้าในการดําเนินคดีอาญาแก่จําเลยที่ 4 กับพวก เพื่อให้ชะลอการดําเนินการ ออกโฉนดที่ดินไว้ก่อน ซึ่งจําเลยที่ 3 ได้รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วด้วยตามเอกสารหมาย จ.35 แผ่นลําดับที่ 1609 ที่จําเลยที่ 3 มีบันทึกข้อความฉบับลงวันที่ 22 มิถุนายน 2550 เอกสารหมาย จ.35 แผ่นลําดับที่ 2592 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผ่านเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต จําเลยที่ 2 โดยมีความเห็นไว้ตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวว่า
จึงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้ดําเนินการตามระเบียบข้อกฎหมาย แล้วเห็นควรพิจารณาออกโฉนดที่ดินให้ตามคําขอได้ โดยอ้างเหตุผลแต่เพียงว่า มีคําวินิจฉัยและคําพิพากษา ของศาลจังหวัดภูเก็ตในคดีหมายเลขแดงที่ 1336/2545 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ที่ได้วินิจฉัย ว่าจําเลยที่ 4 ผู้ขอออกเอกสารสิทธิ์ ได้ทำประโยชน์ต่อเนื่อง เนื่องจากผู้แจ้ง ส.ค.1 เดิมสภาพที่ดินมีการปลูกสวนยางพาราไว้ก่อนปี 2511 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับ ส.ค.1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล ที่ได้ครอบครองมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับและก่อนที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และก่อนประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติปี 2524 ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุด นํามาอ้างเป็นเหตุผลที่หักล้างมติของคณะกรรมการ กปร.จังหวัดภูเก็ต ที่ห้าม ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวนั้น เห็นว่า แม้ในความเห็นของจําเลยที่ 2 ที่เสนอต่อจําเลยที่ 1 โดยอ้างเหตุผลว่า มีคําวินิจฉัยของศาลชี้ขาดแล้วว่าจําเลยที่ 4 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 423 มาโดยชอบ ด้วยกฎหมาย
แต่เมื่อมีการท้วงติงโดยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถมาโดยตลอดว่า ได้มีการดําเนินคดีอาญาแก่จําเลยที่ 4 กับพวกในฐานความผิดบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและที่อุทยานแห่งชาติที่เกิดเหตุ พนักงานอัยการ มีความเห็นสั่งฟ้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานโดยพนักงานสอบสวนว่าคดีมีมูลความผิดจริงจึงได้มีความเห็นสั่งฟ้องและศาลได้ประทับฟ้องไว้พิจารณา การที่ศาลจะพิจารณาว่าจําเลยที่ 4 กับพวกมีความผิดจริงหรือไม่นั้น ก็ต้องวินิจฉัยไปถึงการมีสิทธิครอบครองในที่ดินที่เกิดเหตุ มาก่อนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีที่กรมป่าไม้ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย แก่จําเลยที่ 4 กับพวก ต่อมาได้มีคําพิพาษาอีกคดีหนึ่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าจําเลยที่ 4 กับพวกมีความผิดจริง โดยให้เหตุผลว่า ส.ค.1 เลขที่ 423 เป็นเอกสารที่มีผู้แก้ไขชื่อผู้แจ้งการครอบครอง อันเป็นการปลอมเอกสารขึ้นมา จึงมีผลให้การยื่นขอออกโฉนดที่ดินของจําเลยที่ 4 นั้น ไม่มีหลักฐาน การครอบครองมาก่อน
การที่จําเลยที่ 3 ได้อ้างคําพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีฟ้องขับไล่นั้นมาเป็น เหตุผลหักล้างมติของคณะกรรมการ กปร. รับฟังได้หรือไม่ นั้น เห็นว่า คณะกรรมการ กปร. เกิดขึ้น เนื่องจากมีปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐในหลายจังหวัด ซึ่งมีกลุ่มนายทุนอยู่เบื้องหลังจึงได้มีมติของคณะรัฐมนตรีว่าหากมีการขอออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่คาบเกี่ยวกับที่ดินของรัฐก็ให้มีคณะกรรมการ ประสานงานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐหรือ กปร. ส่วนจังหวัด พิจารณาก่อนว่าที่ดินที่ขอออกเอกสารสิทธิ์นั้นอยู่ในเขตที่ดินของรัฐหรือไม่ โดยไม่ปรากฏว่ามีหนังสือหรือแนวทางปฏิบัติในการออกโฉนดที่ดินที่กรมที่ดินออกระเบียบหรือวางแนวทางไว้ว่าหากมีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ให้ถือตามผลคําพิพากษา ยิ่งกว่ามติของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นหลักในการพิจารณาออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอ
ดังนั้นการที่จําเลยที่ 3 เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จําเลยที่ 1 เช่นนั้นโดยไม่ได้กล่าวถึงการดําเนินคดี ในส่วนอาญาแก่จําเลยที่ 4 กับพวก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยหยิบยกเฉพาะผลคําพิพากษา ในคดีฟ้องขับไล่มาเป็นเหตุผลและไม่รับฟังคําท้างอิงของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถซึ่งเป็นส่วนราชการ ที่มีหน้าที่ดูแลปกป้องที่ดินของรัฐ ตามหนังสือที่แจ้งมาถึง 2 ครั้ง มิให้มีการนําไปออกเอกสารสิทธิ์ โดยมิชอบ อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของราชการไม่ได้กระทําเป็นการส่วนตัว จึงเป็นการเร่งรัด ดําเนินการออกโฉนดที่ดินที่ย่อมเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่จําเลยที่ 4
ต่อมาจําเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และมีความเห็น ตามจําเลยที่ 3 โดยเชื่อว่าที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับหลักฐานที่ผู้ขอนํามายื่นเพื่อขอออก โฉนดที่ดิน ผู้ขอได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงยุติ ตามคําพิพากษาในคดีฟ้องขับไล่ คดีหมายเลขแดงที่ 1336/2545 ที่มี ที่พิพาทไม่ใช่ป่าสงวนหรืออยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เห็นควรอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอได้ ซึ่งในวันเดียวกันนั้น จําเลยที่ 1 ในตําแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตก็มีคําสั่งอนุมัติให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ขอ การที่จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้มีบันทึกถึงจําเลยที่ 1 เพื่อเสนอเรื่องให้จําเลยที่ 1อนุมัติออกโฉนดที่ดินให้แก่ จําเลยที่ 4 นั้น ย่อมเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของกรมที่ดิน ที่การออกโฉนดที่ดินเป็นอํานาจหน้าที่ ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ซึ่งจําเลยที่ 2 ก็ได้ทําความเห็นตามบันทึกดังกล่าวว่าเห็นควรอนุมัติ ให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ขอได้ หากจําเลยที่ 2 ไม่เห็นชอบตามบันทึกความเห็นของจําเลยที่ 2 ก็ย่อม ใช้ดุลพินิจโดยมีคําสั่งให้ทบทวนความเห็นหรือสั่งให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินให้แน่ชัด ก่อนได้จากระเบียบและแนวทางปฏิบัติดังกล่าว
จําเลยที่ 2 จึงย่อมมีหน้าที่โดยตรงในการเสนอความเห็น ต่อจําเลยที่ 1 ให้อนุมัติออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน ที่จําเลยที่ 2 ให้การโต้แย้งว่า การออกโฉนดที่ดินเป็นอํานาจหน้าที่ของจําเลยที่ 2 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น
ในส่วนการอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินของจําเลยที่ 1 ในอํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ตามที่ได้กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 ข้อ 10 (3) ที่กําหนดว่าให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าสมควรออกหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้ได้หรือไม่เพียงใด ตามความเห็นของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินให้ความเห็นไว้ว่าหากที่ดินตรวจสอบรับรองว่า ส.ค.1 เลขที่ 423 หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมาย และตรงกับพื้นที่ที่ขอออกโฉนดในครั้งนี้ คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินก็ไม่ขัดข้องที่จะให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอได้โดยให้ยึดถือระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด เห็นว่าคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินไม่ได้มีความเห็นไว้โดยตรงว่าจะออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้ขอได้หรือไม่ จึงย่อมเป็นดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินซึ่งจะต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมายโดยถูกต้อง ตามที่มีเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมที่ดินในประเด็นข้อหารือไปยัง กรมที่ดิน ที่ มท 0516.5/17579 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 เรื่อง ขอหารือการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ซึ่งกรมที่ดินได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินได้ทําการตรวจพิสูจน์ที่ดินแล้วไม่จําต้องรอผลการตรวจสอบจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อนที่จะเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากไม่ได้มีการกําหนดเงื่อนไขนี้ ไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตามการที่จะสั่งการให้ออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่เพียงใดเป็นดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะสั่งการขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน รายงานผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งต้องมีข้อเท็จจริงครบถ้วนในทุกประเด็น จึงเห็นได้ว่าตามประเด็นตอบข้อหารือดังกล่าวกรมที่ดินได้ให้แนวทางไว้ว่า แม้การออกโฉนดที่ดินจะเป็นดุลพินิจของผู้ว่าราชการ จังหวัดแต่ต้องพิจารณาอย่างครบถ้วนรอบด้าน ดังนี้เมื่อความเห็นของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ไม่ได้มีความเห็นโดยชัดแจ้งว่า เห็นควรออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ ตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงในการอนุมัติออกโฉนดที่ดิน ก็จะต้องตรวจสอบทบทวนความเห็น ของจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ที่มีความเห็นควรอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินแก่จําเลยที่ 4
โดยในเรื่องราว ที่เสนอขอออกโฉนดที่ดินนั้น มีเหตุหรือข้อขัดข้องในหลายประการที่น่าสงสัยหรือเป็นพิรุธว่าหลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 423 เป็นเอกสารที่แสดงถึงการครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินมาโดยชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่จําเลยที่ 1 กลับมีคําสั่งอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินได้ในวันเดียวกับที่จําเลยที่ 2 ทําบันทึกเสนอ โดยไม่ได้มีคําสั่งให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินตาม ส.ค.1 ว่าได้มาอย่างไร ที่ตั้งของที่ดินตรงตามหลักฐานหรือไม่ หรือเหตุที่คณะกรรมการ กปร. มีมติไม่ออกโฉนดที่ดิน ให้แก่จําเลยที่ 4 เมื่อปี 2540 เหตุดังกล่าวยังคงมีอยู่หรือไม่
เหล่านี้ที่แสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 ใช้อํานาจ ทางการปกครองตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้เป็นไปโดยชอบด้วยระเบียบ และกฎหมาย การที่จําเลยที่ 1 มีมติให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 ตามที่จําเลยที่ 2 โดยไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ถี่ถ้วนรอบด้านในทุกประเด็นตามที่มีแนวปฏิบัติตามประเด็น ข้อหารือที่กรมที่ดินวางไว้ข้างต้น จึงมีลักษณะเป็นการกระทําอย่างรวบรัด ผิดวิสัย โดยที่จําเลยที่ 1มีหน้าที่โดยตรง การที่จําเลยที่ 4 ได้ให้ถ้อยคําไว้ขณะยื่นขอออกโฉนดที่ดินตามเอกสารหมาย จ.31 แผ่นลําดับที่ 1542 ว่าข้าพเจ้าได้นําหลักฐาน ส.ค.1 แปลงดังกล่าวมายื่นขอรังวัดออกโฉนดที่ดินนั้น ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเคยมีผู้นํา ส.ค.1 แปลงนี้มาออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือสําคัญใดมาก่อนและได้ ครอบครองทําประโยชน์ต่อเนื่องมาโดยตลอด
โดยที่จำเลยที่ 4 เคยยื่นขอออกโฉนดที่ดินโดยใช้ ส.ค.1เลขที่ 423 มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี 2540 ซึ่งมีมติของคณะกรรมการ กปร. ว่า ส.ค.1 เลขที่ 423 เป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีการปลอมชื่อ ของผู้แจ้งการครอบครองจากนายกู้ พินธุ เป็นนายจิ้นอุ่น พงศานนท์ โดยจากการตรวจสอบจากทะเบียน ครอบครองที่ดินที่สํานักงานที่ดินจังหวัดและกรมที่ดินไม่ปรากฏชื่อนายจิ้นปั่นเป็นผู้แจ้งการครอบครอง (มีเฉพาะชื่อนายกู้ พินธุ) ตําแหน่งที่ดินตามแบบแจ้ง ส.ค.1 ไม่ใช่ที่ดินซึ่งมีที่ตั้งอยู่ตามที่จําเลยที่ 4 ขอออกเอกสารสิทธิ์ ดังมีรายละเอียดตามรายงานการประชุมเอกสารหมาย จ.27 ซึ่งจําเลยที่ 4 ย่อมทราบดี ว่าคณะกรรมการ กปร. มีมติด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่อนุมัติออกโฉนดที่ดิน แล้วยังนําหลักฐาน ส.ค.1เลขที่ 423 มายื่นขอออกอีกครั้งหนึ่ง โดยทิ้งช่วงเวลามายื่นขอออกหลังจากยื่นคําขอครั้งแรกเป็นเวลา 10 กว่าปี หากจําเลยที่ 4 มีสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่น่าจะทิ้งช่วงเวลาไว้นาน เช่นนี้ เชื่อว่าก่อนหน้าจําเลยที่ 4 ไม่สามารถดําเนินการขอออกโฉนดที่ดินได้ด้วยเหตุผลนานัปการดังกล่าว และได้มายื่นขอออกโฉนดที่ดินต่อจําเลยที่ 2 ในครั้งนี้ การยื่นขอออกโฉนดของจําเลยที่ 4 จึงส่อไปในทาง ที่ไม่สุจริต คบคิดวางแผนกับจําเลยที่ 2 ร่วมกันนําเอกสาร ส.ค.1 ที่ได้มาโดยไม่ชอบนํามาเป็นหลักฐาน แล้วจําเลยที่ 1 อนุมัติอย่างเร่งรีบออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 4 โดยการเสนอของจําเลยที่ 3 ผ่านทางจําเลยที่ 2 ชี้ให้เห็นถึงเจตนาที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่จําเลยที่ 4 ซึ่งก่อนหน้าไม่เคยมีผู้ว่าราชการจังหวัด คนใดอนุมัติมาก่อน อันเนื่องมาจากเป็นการออกโฉนดที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ตามการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
การกระทําของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าว ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวงได้กําหนดอํานาจหน้าที่ให้เป็นผู้พิจารณาสอบสวนสิทธิ์ในที่ดิน และอนุมัติออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ร้องขอ ตามหลักฐานการครอบครองที่มีอยู่ ถือว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทํา ดูแล หรือจัดการทรัพย์ที่ดินของรัฐ เมื่อร่วมกันกระทําการโดยทุจริต ออกโฉนดที่ดินให้แก่จําเลยที่ 4 โดยผิดกฎหมาย จึงย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทําจัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งจําเลยที่ 4 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 2 ถึงที่ 3 จึงย่อมเป็นความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นด้วย
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นประการต่อมาว่า กรณีมีเหตุควรเพิกถอนโฉนดที่ดินตามคําขอของโจทก์ทั้งฉบับหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงความปรากฏว่าได้มีการออกโฉนดที่ดินตามโฉนดเลขที่ 15753 และ 15754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 82 วรรคสาม ประกอบมาตรา 93 โดยมาตรา 42 วรรคสามบัญญัติว่า การยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง การเพิกถอนสิทธิ์เอกสิทธิ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอนุมัติหรืออนุญาตหรือกระทําการใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกันกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 19 (9) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 19 (12) ที่บัญญัติว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ... ดําเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ยกเลิกหรือเพิกถอนสิทธิ์หรือสิทธิ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อนุมัติหรืออนุญาตใช้สิทธิประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิ์แก่บุคคลใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอันเป็นกฎหมายเดิมในขณะที่จําเลยทั้งสี่กระทําผิด ซึ่งทางไต่สวนฟังได้ว่าการออกโฉนดที่ดินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงให้เพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสองฉบับตามที่โจทก์ขอ
อนึ่ง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 151 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่ากฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจําคุกเท่ากัน แต่ในส่วนของโทษปรับ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จําเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นคุณ บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
ห้า.คำพิพากษา
พิพากษาว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม)ประกอบมาตรา 83 และจําเลยที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 150 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ให้จําคุกจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คนละ 5 ปี จําคุกจําเลยที่ 4 มีกําหนด 3 ปี 4 เดือน และให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 35753 และ 35754 ตําบลเชิงทะเล อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ออกหรือแบ่งแยกจากโฉนดที่ดินดังกล่าว
*********
อย่างไรก็ดี คดีนี้ยังไม่สิ้นสุดจำเลยทั้งหมด มีสิทธิ์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
ผลเป็นอย่างไรติดตามดูกันต่อไป