"...จำเลยจัดให้มีการทำสัญญาจ้างรองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน ภริยาจำเลย ทำงานที่โครงการศูนย์บริหารข้อมูล เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RISE-AT) โดยจำเลยลงลายมือในช่อง Consignee ในชื่อ รองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน เป็นภาษาอังกฤษว่า “rattanaNa Lamphune” เป็นผู้รับจ้าง รวม 3 สัญญา โดยไม่มีการการจ้างจริง เพื่อประกอบการทำฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนในนามรองศาสตราจารย์รัตนา รวม 14 ฎีกา เข้าบัญชี “เงินสมทบ” เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินค่าตอบแทนในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ..."
.................................
พิพากษายืนตามศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 5 ว่า จำเลย มีความผิดตามมาตรา 147 , 151 อันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากันให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์เป็นของตนเอง ตามมาตรา 147 รวม 3 กระทง จำคุก กระทงละ 5 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี กับให้จำเลยคืนเงินจำนวน 671,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คือ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีกล่าวหา รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ณ ลำพูน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบิกจ่ายเงินโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RISE-AT) ให้แก่ตนเองและภริยา ทั้งที่ไม่มีสิทธิ ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญาตาม ป.อ.มาตรา 147 , 151 , 157 และมาตรา 162 (1),(4)
ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมารายงานให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
(อ่านประกอบ : ศาลอุทธรณ์ ยืนโทษคุก15ปี! รศ.ดร.คณะวิทย์ ม.เชียงใหม่ ลักไก่เบิกเงินโครงการให้ตนเอง-เมีย)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นข้อมูลพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ณ ลำพูน พบว่า อัยการสูงสูด (อสส.) ในฐานะโจทก์ ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ณ ลำพูน ในฐานะจำเลย เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษา ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.2538 ถึงวันที่ 11 มิ.ย.2547 และเป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระยะที่ 2 ) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำเลย เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด มีอำนาจหน้าที่เก็บรักษาเงินและมีอำนาจสั่งจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเงินอุดหนุนโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RISE-AT)
จำเลย จัดให้มีการทำสัญญาจ้างรองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน ภริยาจำเลย ทำงานที่โครงการศูนย์บริหารข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RISE-AT)
โดยจำเลยลงลายมือในช่อง Consignee ในชื่อ รองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน เป็นภาษาอังกฤษว่า “rattanaNa Lamphune” เป็นผู้รับจ้าง รวม 3 สัญญา โดยไม่มีการการจ้างจริง เพื่อประกอบการทำฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนในนามรองศาสตราจารย์รัตนา รวม 14 ฎีกา เข้าบัญชี “เงินสมทบ” เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินค่าตอบแทนในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ
จำเลย จึงได้ดำเนินการถ่ายโอนเงินขององค์กรความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีของเยอรมัน (GTZ) ที่มอบให้สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าบัญชีเงินสมทบ เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งฎีกาเบิกจ่ายตามระเบียบราชการให้แก่จำเลย โดยจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 680,000 บาท อันเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 5 พิพากษา ว่า จำเลย มีความผิดตามมาตรา 147 , 151 อันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน
ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์เป็นของตนเอง ตามมาตรา 147 รวม 3 กระทง จำคุก กระทงละ 5 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี กับให้จำเลยคืนเงินจำนวน 671,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ใจความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยจากมูลกรณีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการเงินจากหน่วยงานความร่วมมือ GTZ ตามข้อตกลงคู่สัญญาตกลงใช้กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อยังไม่มีการตีความกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีให้ได้ข้อยุติรองรับข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือไม่
ศาลไทยย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากาคดีตามกฎหมายในประเทศไทย
ฟ้องโจทก์ บรรยายขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด ทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้ตามข้อกล่าวหาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อตกลงระหว่างหน่วยงานความร่วมมือ GTZ กับผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแลพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นข้อตกลงส่วนบุคคลไม่ผูกพันส่วนราชการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้เสียหาย เงินช่วยเหลือดังกล่าวไม่มีเจตนาให้เป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย เพียงแต่สนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อตกลงเท่านั้น มหาวิทลัยยังไม่ออกใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานตามระเบียบและต้องนำส่งคืนเมื่อเหลือใช้ เงินช่วยเหลือจึงยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ด้วยจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการเฉพาะระยะที่ 2 เท่านั้น ระยะอื่นๆ จำเลย เข้าไปร่วมบริหารเป็นการส่วนตัวใช้เวลานอกราชการ จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานนั้น เห็นว่า ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมาตรา 151 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลย เป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งองค์ประกอบความผิดจําเลยต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ได้เบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต หรือใช้อํานาจในตําแหน่งดังกล่าวโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ
เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนได้ความว่า จําเลยได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RISE-AT) ในหน้าที่ประธานคณะกรรมการรบริหารโครงการตามคําสั่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคําสั่งแต่งตั้งจําเลยให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกตําแหน่งหนึ่งตามคําสั่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการดําเนินงานใช้สถานที่ บุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการสนับสนุนด้านการเงินจากหน่วยงานความร่วมมือ GTZ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โอนเงินผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นหน่วยงานราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นําฝากเข้าบัญชีเฉพาะตามบัญชี Rise-AT/Two ถึงบัญชี Rise-AT/FIVE ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของข้อตกลงระหว่างกันและตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบริหารเงินลงทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกและประกาศสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องแนวปฏิบัติในการบริหารทุนการวิจัยและพัฒนา
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มอบหมายให้จําเลยกํากับดูแลการดําเนินการโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริหารการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จําเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด แม้โครงการจะแบ่งการทํางานเป็นหลายระยะและไม่มีคําสั่งมอบหมายจําเลยในระยะอื่น ๆ แต่ก็ปรากฏว่าตามค่ําขอเปิดบัญชี Rise-AT/THREE ถึงบัญชี Rise-AT/FIVE จําเลยเป็นบุคคลคนหนึ่งที่มีอํานาจลงนามเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ และจําเลยปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าโครงการในหน้าที่เดิม ข้อที่จําเลยอ้างว่าจําเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการเฉพาะระยะที่ 2 เท่านั้น ระยะอื่น ๆ จําเลยทํางานบริหารในหน้าที่เดิมในฐานะลูกจ้างของหน่วยงานความร่วมมือ GTZ ในเวลานอกราชการ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
ข้อตกลงและข้อตกลงสนับสนุนการให้เงินระหว่างหน่วยงานความร่วมมือ GTz กับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าลักษณะเป็นทั้งเงินอุดหนุนการวิจัยหรือเงินบริจาคหรือเงินรายได้อื่น วิธีการโอนเงินจากหน่วยงานความร่วมมือGTZ เข้าบัญชีธนาคารผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหนังสือถึงผู้จัดการธนาคาร ขอเปิดบัญชีเฉพาะบัญชีRise-AT/TWO ถึงบัญชี Rise-AT/FIVE และขอยกเว้นภาษีและค่าอากรสมุดเช็คระบุว่าเนื่องจากเป็นเงินอุดหนุนงานวิจัย ซึ่งถือเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2530 มาตรา 11 กับระเบียบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยรายได้ของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 ข้อ 6.5 และข้อ 2.5 กรณีมิใช่เรื่องมีข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาที่จะต้องใช้บังคับตามกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและต้องนําคดีขึ้นศาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาตีความให้ได้ข้อยุติก่อนอย่างที่จําเลยเข้าใจไม่
ข้อที่จําเลยอ้างว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานตามระเบียบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยรายได้ของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2538 ข้อ 11 และตามข้อตกลงเงินที่เหลือใช้ต้องส่งคืนแก่หน่ายงานความร่วมมือ GTz จึงยังถือไม่ได้ว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น เมื่อเงินดังกล่าวผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเข้าลักษณะเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามระเบียบดังกล่าวแล้ว การไม่ปฏิบัติตามระเบียบในส่วนของการรับเงิน ข้อ 11 วรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้เงินนั้นกลับกลายไม่เป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งมีการฝากเงินไว้ในบัญชีเฉพาะตามบัญชี Rise-AT/TWO ถึงบัญชี Rise-AT/Five ซึ่งสามารถตรวจสอบการรับเงินได้ อันเป็นไปตามระเบียบข้อ 11 วรรคสอง ส่วนข้อที่ต้องคืนเงินหากเงินเหลือใช้นั้น ไม่เป็นเหตุผลสนับสนุนให้ฟังว่าไม่เป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะระหว่างที่ยังไม่ได้ส่งคืนเงินนั้นก็ถือว่ายังเป็นเงินรายได้ที่อยู่ในความดูแลของส่วนราชการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนให้นําไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการจนกว่าจะมีการส่งคืนหากมีเงินเหลือใช้จากโครงการและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีหน้าที่ตามข้อตกลงต้องนําส่งเงินที่เหลือใช้จากโครงการคืนด้วย ดังนั้น การดําเนินงานตามโครงการจึงเป็นงานราชการของส่วนราชการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิใช่การดําเนินงานส่วนบุคคลดังที่จําเลยอุทธรณ์มาแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายมีอํานาจแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจําเลยเป็นคดีอาญาได้
นอกจากนี้ ได้ความจากจําเลยและนางรัตนา ณ ลําพูน เบิกความเป็นพยานว่า สัญญาจ้างงานชั่วคราวรองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลําพูน เป็นที่ปรึกษาโครงการ รวม 3 สัญญา นางรัตนาเบิกความว่า นางรัตนาไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างชั่วคราวด้วยตนเอง และการรับเงินค่าจ้างตอบแทน นางรัตนาก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับเงิน โดยจําเลยและนางรัตนาเบิกความรับกันว่า จําเลยเป็นผู้ลงนามผู้ลงนามชื่อรองศาสตราจารย์รัตนาในสัญญาจ้างชั่วคราวทั้ง 2 สัญญา และรับเงินในฐานะผู้รับจ้าง โดยมีหนังสือมอบอํานาจของนางรัตนาให้จําเลยลงนามแทน ตามหนังสือมอบอํานาจ ผลงานตามสัญญาจ้างชั่วคราว ซึ่งในข้อนี้ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตรวจหลักฐานการจ่ายเงิน รวมทั้งการตรวจสอบรายการอนุมัติการจ่ายเงินของโครงการ และพยานบุคคลในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช. ต่างให้การทํานองเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นหนังสือมอบอํานาจที่มีข้อความว่า รองศาสตราจารย์รัตนา มอบอํานาจให้จําเลยลงลายมือชื่อแทนในสัญญาจ้างงานและลงลายมือชื่อรับเงินค่าตอบแทนที่ปรึกษาตามใบสําคัญเบิกจ่ายเงิน และพยานไม่เข้าใจว่ารองศาสตราจารย์รัตนา ไม่ได้มาทํางาน แต่ทําไมได้รับเงินค่าตอบแทนที่ปรึกษา และเหตุใดรองศาสตราจารย์รัตนา ไม่มาลงชื่อรับเงินเอง
ขณะที่พยานอีกรายให้การว่า ไม่เคยโทรศัพท์ขอคําปรึกษาด้านข้อมูลกับรองศาสตราจารย์รัตนา ไม่เคยเห็นผลงานหรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับรองศาสตราจารย์รัตนา ผู้ได้รับจ้างเป็นที่ปรึกษาต้องมาทํางานและมีผลงาน ระหว่างเพื่อนร่วมงานไม่มีบุคคลใด พูดถึงรองศาสตราจารย์รัตนาว่าเคยปฏิบัติงานในศูนย์บริการข้อมูล
ด้วยข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยาน ย่อมนํามาเป็นหลักในการแสวงหาความจริงได้ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 22 และสอดคล้องกับนาย น. (ชื่อย่อ) เบิกความเป็นพยานรับรองว่า ขณะเกิดเหตุดํารงตําแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผู้ร้องเรียนว่า จําเลยทุจริตในโครงการศูนย์บริการข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง รายงานว่ากรณีมีมูล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงจําเลย คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงนําเอกสารการรับเงินตามโครงการมาให้รองศาสตราจารย์รัตนาดูและยืนยันว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของรองศาสตราจารย์รัตนาภายหลังรองศาสตราจารย์รัตนา ได้ทําหนังสือชี้แจงว่าได้ทําหนังสือมอบอํานาจให้จําเลยลงชื่อรับเงินแทน
คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เห็นว่า การรับเงินแทนจําเลยต้องลงลายมือชื่อจําเลยเองและแนบหนังสือมอบอํานาจไม่ใช่ลงชื่อรองศาสตราจารย์รัตนา คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงจึงสรุปว่ามีการทําหลักฐานเท็จในการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ การกระทําของจําเลยเป็นความผิดวินัยร้ายแรงมีมติให้ไล่จําเลยออกจากราชการ จําเลยยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายเป็นประธาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วมีคําสั่งให้ยกอุทธรณ์ของจําเลย
ข้อที่นางสาว น. (ชื่อย่อ) ตําแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่ทําสัญญาจ้าง พยานบุคคลชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้การว่า จําเลยลงลายมือชื่อรองศาสตราจารย์รัตนาแทนตามหนังสือมอบอํานาจที่รองศาสตราจารย์รัตนามอบอํานาจให้จําเลยลงชื่อแทนแล้วพยานเก็บหนังสือมอบอํานาจไว้ในแฟ้มมิได้นําไปประกอบการพิจารณาการทําสัญญาจ้างชั่วคราวหรือประกอบการเบิกจ่ายเงินในแต่ละครั้ง การกระทําดังกล่าวมีลักษณะทําให้ผู้อื่นเข้าใจว่ารองศาสตราจารย์รัตนาลงลายมือชื่อด้วยตนเอง จึงไม่สมเหตุสมผลและมีพิรุธยากที่จะรับฟังได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจําเลยทําสัญญาจ้างงานชั่วคราวรองศาสตราจารย์รัตนาอันเป็นเท็จเพื่อประกอบการทําฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนในนามรองศาสตราจารย์รัตนาสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชีเงินสมทบโดยรองศาสตราจารย์รัตนาไม่ได้รับเงินเอง และยังได้ความจากนาย อ. (ชื่อย่อ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างปี 2538 ถึงปี 2543 เป็นพยานเบิกความว่าจําเลยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเงินเดือนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม้ไม่มีข้อกําหนดไว้ในข้อตกลง แต่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วม โดยส่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปกํากับดูแลโครงการ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ จึงได้แต่งตั้งจําเลยในฐานะรองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยไม่ได้รับเงินค่าตอบแทน ในส่วนบัญชีเงินฝากของโครงการตามบัญชีเงินสมทบ นาย อ. ให้การว่า พยานไม่ทราบเรื่องการเปิดบัญชีเงินสมทบมาก่อน หากเงินไม่พอปฏิบัติงานสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถทดรองจ่ายให้ได้ทันที ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องนําเงินที่อื่น ๆ มาสํารองจ่าย และนาย ว. รับผิดชอบด้านการประสานความร่วมมือโครงการ RISE-AT พยานบุคคลชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนวินัยว่า ตามข้อตกลงสนับสนุนการให้เงินของโครงการ RISE-AT มิได้อยู่ในฐานะที่จะถ่ายโอนเงินต่างบัญชีซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในข้อตกลง การปฏิบัติใด ๆที่นอกเหนือจากข้อตกลงจําเป็นต้องยื่นต่อ GTZ และจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนเริ่มปฏิบัติการ บัญชีทุนสํารองจําเลยมิได้อยู่ในฐานะที่จะเปิดบัญชีดังกล่าวได้หากมิได้รับการมอบอํานาจจากผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และหนังสือของนาย ว. ที่จําเลยอ้างว่าเปิดบัญชีเงินสมทบไว้เป็นเงินสํารองจ่าย แต่จําเลยไม่แจ้งให้ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทราบมาก่อน จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อย
ทําให้มีเหตุผลเชื่อได้ว่า จําเลยเปิดบัญชีเงินสมทบเพื่อถ่ายโอนเงินจากบัญชีโครงการ RISE-AT เหตุผลตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จําเลยยกขึ้นอ้างมาไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างได้
พฤติการณ์ที่ได้ความจากพยานหลักฐานดังกล่าวมีเหตุผลบ่งชี้ได้ว่า จําเลยจัดทําสัญญาจ้างชั่วคราวรองศาสตราจารย์รัตนาอันเป็นเท็จ เพื่อเป็นหลักฐานทั้งฎีกาเบิกเงินออกจากเงินสนับสนุนโครงการ RISE-AT โดยรองศาสตราจารย์รัตนาไม่ได้มาทํางานเป็นที่ปรึกษาที่มีสิทธิได้ค่าตอบแทนการทํางาน มาพักไว้ในบัญชีเงินสมทบ และมีการเบิกถอนเงินออกไปเป็นค่าตอบแทนประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยจําเลยรู้ว่าจําเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในตําแหน่งประธานกรรมการบริหารโครงการ จําเลยจึงไม่ได้ทําเรื่องเบิกถอนเงินจากเงินในบัญชีโครงการ RISE-AT โดยตรง อันเป็นการเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริตและใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริตเป็นเหตุให้เสียหายแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น!
อย่างไรก็ดี สำหรับคดีนี้ ยังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
อ่านประกอบ :
คุก 5 ปี! อดีตนายกเทศมนตรีดอยแก้ว เชียงใหม่ ทุจริตซื้อสัญญาณไฟกระพริบ-กระจกโค้งจราจร
ศาลอุทธรณ์ ยืนโทษคุก15ปี! รศ.ดร.คณะวิทย์ ม.เชียงใหม่ ลักไก่เบิกเงินโครงการให้ตนเอง-เมีย
คุก1ปี ไม่รอลงโทษ! อดีตนายกฯโนนท่อน ละเว้นรับรองคุณสมบัติสอบเปลี่ยนสายงาน
คุก 2 ปี! อดีตปลัดอบต.พระกลางทุ่ง นครพนม เอื้อปย.ผู้รับเหมาสร้างอาคาร
ศาลอาญาคดีทุจริตฯภาค 8 จำคุก 6 ปี รองอธิบดี ทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ยื่น 6 แสนประกันตัว
ยืนโทษคุก 2 ปี 6 ด.! อดีตผอ.ม.เทคโนฯราชมงคลตะวันออก เบียดบังทุนเขียนเรียงความเด็ก
คดีที่ 2! ศาลทุจริตฯ สั่งจำคุก 3 ปี 9 ด. อดีตนายกอบต.บางรักพัฒนา จ้างปิดกั้นคลองเท็จ
คุก 2 ปี 6 ด.! อดีตหัวหน้าคลัง อบต.ไผ่หลิ่ว รับสารภาพยักยอกเงินหลวง
ยืนโทษคุก 2 ปี 6 ด.! อดีตนายกฯท่านา พังงา จ่ายเงินก่อสร้างบ่อน้ำดิบ-โรงเรือนมิชอบ
คุก 8 ปี! ป.ป.ช.ฟ้องเอง 'อดีตผอ.นวัตกรรมแห่งชาติ' ใช้งบหลวง-คัดลอกงานวิจัย
คุกคนละ 3 ปี 4 ด.! อดีตนายกฯหนองไผ่ล้อมโคราช-พวก 2 ราย จัดหาพัสดุงานสงกรานต์มิชอบ
คุก 42 ปี 6 ด.แต่รอลงโทษ! อดีตเจ้าพนง.เภสัชกรรม รพ.เต่างอย ยักยอกเงิน-ป.ป.ช.เสนออุทธรณ์
คุก 10 ปี! อดีตนายกฯบ้านสร้าง ปราจีนบุรี เรียกเงินตอบแทนอนุมัติจัดซื้อจ้าง 3 โครงการ
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage