ก่อน‘ตู้แบ่งปัน’ช่วยคนยากจนสู้ภัยโควิด-19 ในหลายจังหวัดประเทศไทย เกิดขึ้นที่เมืองอินเดียนาโพลิส เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ‘กล่องอาหารชุมชน’โดยกลุ่มรากหญ้าอเมริกา ช่วยผู้หิวโหย นักศึกษาชาวอเมริกันวัย 24 ปี ริเริ่ม ทำจาก ตู้ขายหนังสือพิมพ์
เป็นกระแสในสื่อและโลกออนไลน์ กรณีผู้ใจบุญนำ อาหาร เครื่องอุปโภค บริโภคบริจาคผ่าน ‘ตู้แบ่งปัน’ ‘ตู้ปันสุข’ ‘ตู้ปันน้ำใจ’ ( แล้วแต่จะเรียก) ไปวางไว้ในหลายๆแห่งในหลายสิบจังหวัด เพื่อแบ่งปันอาหารให้แก่ผู้ยากไร้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้แนวคิดมาจากต่างประเทศ และหลายคนอาจไม่รู้ว่าในรัฐอินเดียน่าของสหรัฐอเมริกา การแบ่งปันในลักษณะนี้มีมา 3 ปีแล้ว
(ภาพ Sierra Nuckols จาก https://www.desmondtutucenter.org)
หนังสือพิมพ์อินเดียนาโปลิสรีคอร์เดอร์ (หนังสือพิมพ์ของคนผิวสี) รายงานว่า Sierra Nuckols นักศึกษาชาวอเมริกันวัย 24 ปี ได้ก่อตั้ง ‘โครงการกล่องอาหารชุมชน’ ขึ้นในรัฐอินเดียน่าเพื่อให้คนในชุมชนยากจน โดยเฉพาะชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน ได้มีอาหารพอประทังชีวิต
โครงการแบ่งปันอาหารตามจุดย่อยๆ ที่เรียกว่า ‘food pantries’ ได้เกิดขึ้นที่รัฐอาร์คันซอก่อน โดยได้แนวคิดมาจากโครงการ “ห้องสมุดเล็กๆ” (Little Free Libraries) ที่แจกหนังสือให้กับคนที่เอาหนังสือตัวเองมาแลก เมื่อได้ทราบเกี่ยวกับโครงการแจกอาหารดังกล่าว Nuckols ก็ได้นำมาปรับใช้ในรัฐอินเดียน่าของตนเอง
(ภาพจาก https://www.facebook.com/JaelLLC/ )
โดยได้ขอกล่องจำหน่ายหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วของบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เลิกกิจการ แล้วนำมาทาสีใหม่โดยได้รับความช่วยเหลือจากเด็กๆและผู้ต้องขังจำนวนหนึ่ง
กล่องจะถูกนำไปวางไว้ในบริเวณที่มีปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร แล้วชุมชนนั้นกับองค์กรการกุศลที่เข้าร่วมโครงการก็จะนำอาหารมาบริจาคใส่ไว้ในกล่อง ในกรณีที่ชุมชนท้องถิ่นไม่สามารถหาอาหารมาใส่ได้ ก็เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ร่วมโครงการ
สิ่งที่นำไปใส่ในกล่องมักจะเป็นอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารพร้อมทาน แล้วก็มีผ้าอ้อมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย
โครงการกล่องอาหารชุมชนได้ดำเนินมาประมาณ 3 ปีแล้ว เจ้าหน้าที่โครงการคนหนึ่งยอมรับว่าอาหารฟรีนี้เป็นแค่ ‘พลาสเตอร์ปิดแผล’ ที่ช่วยบรรเทาความหิวได้เฉพาะหน้า แต่ก็จะมีโครงการอื่นๆออกมาในอนาคตเพื่อช่วยแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาว
Nuckols เคยศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการเหยียดผิว (apartheid) ในประเทศแอฟริกาใต้ ก่อนเดินทางกลับมายังบ้านเกิดในเมืองอินเดียนาโพลิส
เธอเรียกปัญหาที่คนบางกลุ่มในสังคมอเมริกันขาดความมั่นคงทางด้านอาหารว่า ‘การเหยียดผิวด้านอาหาร (food apartheid)’ โดยมองว่าเป็นประเด็นความไม่ยุติธรรมทางสังคม เนื่องจากคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร และความยากจนก็เป็นสาเหตุหลักของความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร
เธออธิบายว่าบริษัทห้างร้านและเจ้าของกิจการมักจะเลี่ยงที่จะเปิดร้านหรือธุรกิจของตนในบริเวณที่ประชากรมีรายได้น้อย ซึ่งผลก็คือสร้างการกีดกันในด้านอาหารและทรัพยากรอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม หลังติดตั้งแล้ว ไม่มีรายงานว่า มีผู้ฉวยโอกาสกวาดของบริจาคไปจนแทบเกลี้ยงตู้ หรือไม่
(ภาพจาก : http://www.indianapolisrecorder.com)
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.indianapolisrecorder.com/recorder_headlines/article_cfb80538-4e69-11ea-95b9-cb272c1efc6a.html
อ่านเรื่องน่าสนใจ
'ละเมิดสิทธิ-ขี้ขลาด-อ่อนแอ’ เบื้องลึก คนอเมริกันไม่ยอมใส่หน้ากากกันโควิด
พบอเมริกันผิวดำเสี่ยงสูง ป่วย-ตาย จากโควิด-19 มากกว่าคนผิวขาว
รัฐมิสซูรีเริ่มก่อน! ยื่นฟ้องจีนปกปิดข้อมูลโควิด-19 กักตุนหน้ากาก ทำไวรัสลุกลามทั่วโลก
เตือนญี่ปุ่นขาดแคลนห้องไอซียู ‘การแพทย์ฉุกเฉินล่มสลาย’ ยอดตายอาจถึงหลักแสน
ไวรัสโควิด-19 สร้างปัญหาสองเด้งให้ตะวันออกกลาง
บริการพิเศษช่วงโควิด-19 ระบาด: ส่งสินค้าถึงหน้าบ้านด้วยเลื่อนหิมะเทียมสุนัข
หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เตือนให้ระวังโรคระบาดตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ทรัมป์ไม่ฟัง
เหตุเกิดที่ ‘วิสคอนซิน’ เหยียดเชื้อชาติ กรณี‘ไวรัส โควิด-19’ ลามเข้าสถาบันการศึกษา