"....สำหรับข้อเท็จจริง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 รับฟังว่า ฎีกาเลขที่ 146 เลขที่คลังรับ 211 ลงวันที่ 8 กันยายน 2546 เป็นการเบิกเงินค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุ ประเภทค่าวัสดุ วิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท และหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุง นั้น ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจริงว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏว่าอยู่ในรายการคุมฎีกาของสำเนาสมุดคู่มือเบิกเงินเพื่อจ่ายในหน่วยราชการ (หน่วยงานย่อย) ของ อบต.ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (แบบอต.14) ฎีกาตามงบประมาณปี 2546 เล่ม 2 และในสำเนาสมุดคู่มือเบิกเงินเพื่อจ่ายในราชการ (หน่วยงานย่อย) ของ อบต.ห้องแซง ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่ามีฎีกาเบิกจ่ายเงินของ อบต.ห้องแซง เพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท หรือหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงแต่อย่างใด..."
"พยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเงินไปตามฟ้องอันเป็นองค์ประกอบความผิดแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอฟังลงโทษ จึงชอบแล้วและมีความเห็นที่เสนอไม่อุทธรณ์คดีต่อไป"
คือ ความเห็นของอัยการสูงสุด (อสส.) ที่พิจารณาอุทธรณ์คดีกล่าวหา นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง หัวหน้าส่วนการคลังองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ห้องแซง อําเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร เบียดบังเงินสมทบกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น และเงินที่จะต้องนําส่ง อบต.ห้องแซง ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ซึ่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิด เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2559 ว่า นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมาตรา 157 ประกอบ มาตรา 90
ก่อนที่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 จะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ให้ยกฟ้อง นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอฟังลงโทษ
ขณะที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 มีมติขอความอนุเคราะห์มายังอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อพิจารณาอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ต่อไป ตามที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว (อ่านประกอบ : หลักฐานไม่พอลงโทษ! อสส.ขัด ป.ป.ช.อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตหน.คลังอบต.ห้องแซง เบียดบังเงินกบท.)
น่าสนใจว่า ผลสรุปคดีนี้ ที่มีการระบุว่า พยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่า นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้เบียดบังเงินไปตามฟ้องอันเป็นองค์ประกอบความผิด และทำให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 มีคำพิพากษายกฟ้อง มีรายละเอียดเป็นอย่างไร
สำนักข่าวอิศรา สืบค้นข้อมูลพบว่า คดีนี้ อสส. มีคำสั่งดำเนินคดีอาญา ฟ้อง นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง จำเลยในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 , 157 (เดิม) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 7 แต่ต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 พิพากษายกฟ้อง รายละเอียดตามคดีหมายเลขแดงที่ อท.85/2561
เบื้องต้น อัยการสูงสุด ได้มีหนังสือหารือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 94 แล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ขอให้ อสส. พิจารณาอุทธรณ์ตามประเด็นต่อไปนี้
จากพยานเอกสาร นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้จัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินเลขที่ ป. 146 เลขที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546 เพื่อเบิกจ่ายเงินของ อบต.ห้องแซง เพื่อจ่ายสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำของ อบต.ห้องแซง ประจำปีงบประมาณ 2544 และประจำปีงบประมาณ 2546 ยอดเงิน จำนวน 65,783.73 (เและจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน เลขที่คลังลับ 115 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546 เพื่อชำระภาษี หัก ณ ที่จ่ายจำนวนเงิน 2,494.79 บาท
โดยจัดทำเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาเลิงนกทา เลขที่เช็ค 0531166 ลงวันที่ 9 กันยายน 2546 สั่งจ่ายเงินตามฎีกาเบิกจ่ายเงินทั้งสองฎีกาดังกล่าว ในเช็คฉบับเดียวกันเป็นเงินจำนวน 68,278.52 บาท (65,783.73 + 2,494.79 = 68,278.52 บาท) ซึ่งรายละเอียดของรายการฎีกาเบิกจ่ายเงินเลขที่ ป.146 เลขที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546 ปรากฏลายมือชื่อ ของนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง เป็นผู้ลงลายมือ ชื่อผู้รับเงิน และจากการตรวจดูสำเนาสมุดคู่มือเบิกเงินเพื่อจ่ายในราชการ (หน่วยงานย่อย) หรือสมุดคุมฎีกาปรากฏว่าลายมือที่กรอกลงรายละเอียดที่เกี่ยวกับฎีกาที่ ป. 146 ในสำเนาสมุดคู่มือเบิกจ่ายเงิน ฯ เป็นลายมือ ของนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง และมีนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน (ผู้รับเช็ค) เพียงคนเดียว
โดย นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้รับเงินตามเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเลิงนกทา เลขที่เช็ค 0531166 ลงวันที่ 9 กันยายน 2546 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินจ่ายสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำของ อบต.ห้องแซง ประจำปีงบประมาณ 2544 และปีงบประมาณ 2546 และนำเงินจ่ายค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้สำนักงานสรรพากรอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ในส่วนของพยานบุคคลนั้น นางสาว พ. (ตัวย่อ) ซึ่งเป็นประจักษ์พยานให้ถ้อยคำว่า ได้เดินทางไปกับนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ในวันที่นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง นำเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเลิงนกทา เพื่อนำส่งเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ระหว่างเดินทางนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้เล่าให้ตนฟังว่าจะนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเพื่อจะนำจ่ายให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทางไปรษณีย์ธนาณัติ และต้องนำส่งเงินค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ อบต.ห้องแซง ให้สรรพากรอำเภอเลิงนกทา
เมื่อไปถึงที่ทำการไปรษณีย์เลิงนกทา นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อที่จะส่งเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ดังกล่าว ณ ที่ทำการไปรษณีย์เลิงนกทา แต่เพียงผู้เดียวโดยตนได้นั่งรออยู่ในรถยนต์
นอกจากนี้จ่าสิบตำรวจ ส. ปลัด อบต.ห้องแซง ผู้ถูกกล่าวหาในกรณีเดียวกัน ได้ให้ถ้อยคำว่าในวันที่ 10 กันยายน 2546 ได้มีการสอบถามนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง เพื่อขอเอกสารหลักฐานการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำ อบต.ห้องแซง แต่นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง แจ้งว่าลืมเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้ที่บ้าน และไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเอกสารหลักฐานการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำองค์การบริหารส่วนตำบลห้องแซง ผ่านระบบไปรษณีย์ธนาณัติมาแสดงในเวลาต่อมาแต่อย่างใด ซึ่งได้มีการทวงถามอีกหลายครั้ง
ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ได้มีหนังสือสำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ด่วน ที่ มท 0808.5/7730 ลงวันที่ 15 มกราคม 2553 เรื่อง ขอให้แจ้งยืนยันยอดค้างชำระเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ มายังเทศบาลตำบลห้องแซง โดยแจ้งว่าเทศบาลตำบลห้องแซง ค้างชำระการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวนเงิน 26,580.90 บาท และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 34,209.20 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 60,790.10 บาท โดยขอให้เทศบาลตำบลห้องแซงส่งเงินสมทบส่วนที่ขาดดังกล่าวไปยังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ซึ่งไม่ตรงกันกับฎีกาเบิกจ่ายเงินเลขที่ ป.146 และที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546 ที่ตั้งเบิกจ่ายเงินสมทบ กบท. ซึ่งปรากฏยอดเบิกจ่ายตามฎีกาดังกล่าว เป็นเงินจำนวน 65,783.73 บาท
ดังนั้น จึงมีเงินที่เหลือจำนวน 4,993.63 บาท (65,783.73 – 60,790.10+ 4,993.63) ซึ่งนางพรทิพย์ แก้วมิ่งจะต้องนำเงินที่เหลือ 4,993.63 บาท ดังกล่าว ส่งคืนกองคลัง อบต.ห้องแซง โดยต่อมาวันที่ 28 ตุลาคม 2553 นางพรทิพย์ แก้วมิ ได้นำเงินจำนวน 65,784 บาท ส่งคืนให้เทศบาลตำบลห้องแซงรายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับเงินของเทศบาลตำบลห้องแซง เล่มที่ 1 เลขที่ 02 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ซึ่งตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวระบุ “ส่งคืนเงินสมทบ กบท. กรณีสอบความรับผิดทางละเมิดจากนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ” และเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 เทศบาลตำบลห้องแซง จึงได้เบิกจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามหนังสือด่วน ที่ มท 0808.5777 30 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เป็นเงินจำนวน 60,790.10 บาท ให้แก่ สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2554 เลขที่คลังรับ 74 วันที่คลังรับ 29 ตุลาคม 2553
การดำเนินการภายในเทศบาลตำบลห้องแซง สำหรับกรณีนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เทศบาลตำบลห้องแซง ได้มีคำสั่ง 303/2551 แต่งตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า กรณีมีมูลเหตุที่น่าเชื่อได้ว่า นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ได้กระทำการอันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ และมีการกระทำความผิดจริง ปรากฏตามบันทึกข้อความคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักปลัด ฯ ที่ ยส 73601/8 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่น และวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เทศบาลตำบลห้องแซง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิดตามคำสั่งเทศบาลตำบลห้องแซง ที่ 214/2553 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 โดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด มีความเห็นว่าการกระทำของนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงต้องรับผิดในความเสียหายเต็มจำนวน แม้นางพรทิพย์ แก้วมิ่ง จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคืน เทศบาลตำบลห้องแซงแล้ว แต่การกระทำของนางพรทิพย์ แก้วมิ่ง ยังมีความผิดทางละเมิดในเวลาต่อมา
สำหรับข้อเท็จจริง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 รับฟังว่า ฎีกาเลขที่ 146 เลขที่คลังรับ 211 ลงวันที่ 8 กันยายน 2546 เป็นการเบิกเงินค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุ ประเภทค่าวัสดุ วิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท และหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุง นั้น ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจริงว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏว่าอยู่ในรายการคุมฎีกาของสำเนาสมุดคู่มือเบิกเงินเพื่อจ่ายในหน่วยราชการ (หน่วยงานย่อย) ของ อบต.ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (แบบอต.14) ฎีกาตามงบประมาณปี 2546 เล่ม 2 และในสำเนาสมุดคู่มือเบิกเงินเพื่อจ่ายในราชการ (หน่วยงานย่อย) ของ อบต.ห้องแซง ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่ามีฎีกาเบิกจ่ายเงินของ อบต.ห้องแซง เพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท หรือหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงแต่อย่างใด
ข้อสังเกต
1. เหตุผลส่วนหนึ่งที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 วินิจฉัยว่า ฎีกาเบิกจ่ายเงินเลขที่ ป.146 เลขที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546 มิได้ทำขึ้นเพื่อเบิกจ่ายเงินของ อบต.ห้องแซง เพื่อจ่ายสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำของ อบต.ห้องแซง ประจำปีงบประมาณ 2544 และประจำปี งบประมาณ 2546 ยอดเงินจำนวน 65,783.73 บาท นั้น เพราะว่าในปีงบประมาณ 2544 และปีงบประมาณ 2546 อบต.ห้องแซง ตั้งงบประมาณเพื่อจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างประจำ อบต.ห้องแซง เพียงปีละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำเลขที่ ป.146 เลขที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2526 นั้น ปรากฏข้อเท็จจริง ว่าในปีงบประมาณ 2545 อบต.ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มีการตั้งงบประมาณเพื่อจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 35,948 บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินงบประมาณที่มีการตั้งสำหรับจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2544 ถึงปีงบประมาณ 2546 แล้วจะมีเงินรวม 75,948 บาท ซึ่งเกินจำนวนยอดเงินตามฎีกาเลขที่ ป.146 เลขที่คลังรับ 211 วันที่คลังรับ 8 กันยายน 2546
2. การจัดซื้อทรายอะเบทและหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุง และการจ้างซ่อมเครื่องพิมพ์ดีดและเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ปรากฏการวินิจฉัยถึงเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของทั้ง 2 โครงการอย่างชัดเจน พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ฟังว่าฎีกาที่ 146 เป็นฎีกาที่เบิกเพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท และน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุง จำนวน 49,500 บาท ตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ปรากฏในชั้นศาล
ส่วนที่จ่าสิบตำรวจ ส. ให้การไว้ในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช.ว่าฎีกาที่ ป.146 เป็นฎีกาที่จำเลยทำเบิกจ่ายค่า (กบท.) นั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ให้การไปโดยดูจากเอกสารทะเบียนคุม (คู่มือเบิกจ่ายเงินในราชการ) เท่านั้น มิได้เห็นเอกสารฎีกาซึ่งเป็นประเด็นนี้ จำเลยให้การว่าเดิมจำเลยตั้งใจจะเบิกเงินช าระ (กบท.) จึงได้เขียนข้อความไว้ล่วงหน้าในคู่มือเบิกจ่ายเงินในรัชกาลดังกล่าวไว้ ว่าเบิกเป็นค่าจ่ายเงินให้ (กบท.) แต่ไม่ได้มีการเบิกเงิน (กบท.) เนื่องจากเงินในหมวดดังกล่าวมีไม่เพียงพอ แต่เมื่อเปลี่ยนมาเบิกค่าทรายอะเบท และน้ำยาพ่นหมอกควัน จำเลยลืมแก้ไขข้อความในคู่มือเบิกจ่ายเงินในราชการที่เขียนไว้ จึงทำให้มีการเข้าใจผิดว่าฎีกาที่ ป.146 เป็นฎีกาการที่จำเลยเบิกเงินเพื่อจ่ายสมทบ (กบท.) ส่วนเงินที่เหลืออีกจำนวน 16,283.73 บาท แม้จะหาฎีกาไม่พบแต่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 อบต.หนองแสง ได้ตั้งฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ ซึ่งปรากฏหลักฐานหักภาษี ณ ที่ จ่าย ของเดือนกันยายน 2546 ประเภทเงินค่าจ้างจำนวน 16,450 บาท จำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย 166.27 บาท ซึ่งเหลือเงินต้องจ่ายให้ผู้รับจ้างเป็นเงิน 16,283.73 บาท ซึ่งมียอดตรงกัน แม้ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเห็นว่าเงินเพื่อจ่ายค่าทรายอะเบท และหัวน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงนั้น ปรากฏการไต่สวนข้อเท็จจริงว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏอยู่ในรายการคุมฎีกา ของสำเนาสมุดคู่มือเบิกจ่ายนั้น เห็นว่าสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาลืมแก้ไขข้อความในคู่มือเบิกจ่ายจึงฟังได้ว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่เบิกจ่ายค่าจ้างซ่อมอุปกรณ์ให้แก่ร้านยโสธรเซอร์วิส ซึ่งรวมยอดเงินค่าทรายอะเบท และยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงกับค่าจ้างค่าซ่อมอุปกรณ์แล้วจะได้เงินจำนวน 65,783.73 บาท ที่กล่าวหาว่าจำเลยเบียดบังเอาไป
กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง จึงเห็นว่า พยานหลักฐานรับฟังว่า เงินตามเช็คเลขที่ 0531166 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเลิงนกทา ลงวันที่ 9 กันยายน 2546 สั่งจ่ายจำนวน 68,278.52 บาท ไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อนำส่งสมทบ (กบท.) ตามฟ้อง แต่เป็นเงินที่นำไปจ่ายรวม 2 รายการ คือ ค่าทรายอะเบท และค่าน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุง จำนวน 49,500 บาท จ่ายค่าซ่อมอุปกรณ์สำนักงาน แก่ร้านยโสธรเซอร์วิส จำนวน 16,283.73 บาท และค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินที่จ่าย 2 รายการ แก่สรรพากรอำเภอเลิงนกทา จำนวน 2,494.79 บาท พยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเงินไปตามฟ้องอันเป็นองค์ประกอบความผิดแต่อย่างใด
อสส.จึงมีความเห็นว่า คำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอฟังลงโทษจึงชอบแล้วและความเห็นที่เสนอไม่อุทธรณ์เดิมชอบแล้ว
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ :
รอโทษคุก3ปี! อดีตปธ.อบต.นามะเขือ นครพนม-พวก แก้ไขโครงการปรับปรุงซ่อมถนนไม่ผ่านสภาฯ
รับสารภาพ-คืนเงิน! รอโทษคุก2ปี อดีตนายกอบต.เกษตรสุวรรณ-พวก เบิกจ่ายดูงานศก.พอเพียงเท็จ
ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก1ปี อดีตปลัดอบต.ป่าแดง-พวก ปกปิดไม่ขายเอกสารสอบราคาก่อสร้าง-ซื้อแอร์
ยอมคืนเงิน11ล.! ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก17ปี6ด. แพทย์สธ.สุโขทัย ทุจริตเบิกเงินบัตรประกันสุขภาพ
ศาลอุทธรณ์ ยืนโทษจำคุก 'อดีตนายกฯท่าบ่อ หนองคาย-พร้อมเมีย' คดีเบิกเงินกลุ่มอาชีพสตรี
ศาลจังหวัดบึงกาฬ สั่งจำคุก 5 ปี อดีตนายก อบต.หนองหัวช้าง เรียกรับเงินตอบแทนบรรจุพนง.
รอโทษคุก3ปี4 ด.คุมความประพฤติ! อดีตนายกฯบ้านเกาะ รื้อไม้ห้องเรียนเด็กไปเก็บไว้บ้านพัก
ศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก2 ปี อดีตปลัดอบต.นาสี หนองบัวลําภู เบิกเงินค่าก่อสร้างระบบประปามิชอบ
คุก1ปี! อดีตปลัดอบต.น้ำบ่อหลวง เชียงใหม่ เบิกจ่ายค่าอาหารที่พักโครงการอบรมศึกษาดูงานปี 55
คุก 6 เดือน รอการลงโทษ2 ปี! นายกอบต.ปากข้าวสาร สระบุรี นํารถหลวงไปใช้ปย.ส่วนตัว
ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก 1 ปี อดีตนายกเทศมนตรีเมืองยาง โคราช ปลอมเอกสารบรรจุ พนง.ส่วนตําบล
ศาลอุทธรณ์ยืนคุก 5ปี! อดีตนายกเทศมนตรีลาดบัวหลวง อยุธยา ทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิงปี 43
คุก7ปี6ด.! อดีตผอ.กองการศึกษาเทศบาลท่ายาง เบียดบังเงินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไปเป็นปย.ส่วนตัว
ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก3ปี4ด.! นายอบต.ด่านจาก โคราช เรียกรับเงินตอบแทนพิเศษจาก พนง.- ลูกจ้าง
คุก10 ปี! อดีตนายกอบต.นาพรุ นครศรีธรรมราช อนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม-จ้างวิธีพิเศษเอื้อปย.
ศาลอุทธรณ์ แก้คำพิพากษาสั่งจำคุก 3 ปี 4 ด. นายกอบต.คลองน้ำไหล ทุจริตฮั้วจ้างเหมา 7 โครงการ
อสส.ขัดป.ป.ช.ไม่อุทธรณ์คดีลักลอบขุดทราย ศาลฯ ยกฟ้องอดีตนายกอบต.ชุมตาบง
คุก 35 ปี ! อดีตผอ.รร.บ้านมะรือโบตก นราธิวาส คดีทุจริตเบิกถอนเงินบัญชีฝากโรงเรียน
คุก 2 ปี ปรับ1หมื่น! อดีตจนท.คณะแพทยศาสตร์ฯ มหิดล เบียดบังโน้ตบุ๊กหลวงไปใช้ปย.ส่วนตน
ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก35 ปี อดีตปลัดเทศบาลป่าอ้อดอนชัย เรียกรับเงินเปอร์เซ็นต์ร้านค้า-คู่สัญญา
คุก 2 ปี! อดีตรองเลขาฯ กสม. นำหนังสือโดนแจ้งล้มละลายออกจากระบบ เลี่ยงถูกอายัดเงินเดือน
ศาลอุทธรณ์ ยืนคุก10 ปี อัยการจว. เรียกรับเงินผู้ต้องหา-เมีย ช่วยสั่งคดี สมัยอยู่อุบลฯ