“…ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม และมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงสมควรเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาดำเนินการจัดทำรัฐธธรรมนูญฉบับใหม่…”
ปี 2568 การประชุมรัฐสภา เปิดศักราชด้วยการเตรียมบรรจุวาระการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... เสนอโดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน พร้อมคณะ ในวันที่ 14-15 มกราคม 2568 โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด 200 คน ประกอบด้วยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ฉบับดังกล่าว มีทั้งหมด 5 มาตรา โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เหตุผล
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม และมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงสมควรเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาดำเนินการจัดทำรัฐธธรรมนูญฉบับใหม่ และด้วยมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แม้ในกรณีที่เป็นฉันทามติในวงกว้างของประชาชนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้
สำหรับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ... มีดังนี้
1.กำหนดซื่อเรียกของรัฐธรรมนูญว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....” (ร่างมาตรา 1)
2.กำหนดวันมีผลใช้บังคับของรัฐธธรรมญให้นับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 2)
3.ให้ยกเลิกความในมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและให้ใช้ความใหม่แทน (ร่างมาตรา 3) ดังนี้
- ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
- ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
- การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
- การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยการออกเสียงในวาระที่สองนี้ ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
- เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
- การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
- เมื่อการลงมติเห็นชอบแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และให้นำความในมาตรา 81 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
- ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนดำเนินการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป (ประชามติครั้งที่ 1)
- ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้สิทธิแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาหรือของทั้งสองสภารวมกัน แล้วแต่กรณีเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่คนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภาว่าร่างรัฐธรรมญขัดต่อมาตรา 255 หรือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธธรรมนูญ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ มิได้
4.ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตั้งแต่มาตรา 256/1 ถึงมาตรา 256/29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ร่างมาตรา 4) ดังนี้
- ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยให้มีสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกดั้ง จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวนหนึ่งร้อยคน (มาตรา 256/1)
- กำหนดวิธีดำเนินการเพื่อกำหนดจำหนดจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี (มาตรา 256/2)
- กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/3)
- กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/4)
- กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/5)
- กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/6)
- กำหนดวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและวิธีการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (มาตรา 256/7)
- กำหนดวิธีการคำนวณเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (มาตรา 256/8)
- กำหนดวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและวิธีการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแบบบัญชีรายชื่อ (มาตรา 256/9)
- กำหนดวิธีการคำนวณเพื่อหาผู้ใด้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแบบบัญชีรายชื่อ (มาตรา 256/10)
- กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่มีเหตุแห่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 256/11)
- กำหนดให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาดรา 256/11)
- กำหนดเหตุของการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาสภาร่างรัฐธรรมนูญและการดำเนินการกรณีตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่างลง (มาตรา 256/13)
- กำหนดตำแหน่งทางการเมืองที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำรงตำแหน่งนั้นได้เป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมญสิ้นสิ้นสุดลง (มาตรา 256/14)
- กำหนดให้การประชุมสภาร่างรัฐธธรรมนูญครั้งแรกต้องจัดให้มีขึ้นไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/15)
- กำหนดให้มีตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญและรองประธานสภาคนหนึ่งหรือสองคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ของประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/16)
- กำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนของประธานและรองประธาน และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 256/17)
- กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมญจัดทำร่างรัฐธธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาสามร้อยหกสิบวัน นับแต่วันที่มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก และจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญญฉบับใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยกำหนดให้การครบวาระของสภาผู้แทนราษฎรหรือการยุบสภาไม่กระทบการทำหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องทำอย่างทั่วถึง (มาตรา 256/18)
- ให้นำข้อบังคับการประชุมรัฐสภา มาใช้กับการดำเนินการของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการ (มาตรา 256/19)
- ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกจำนวนอย่างน้อยสี่สิบห้าคน โดยต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนอย่างน้อยสองในสามจากจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด (มาตรา 256/20)
- กำหนดขั้นตอนภายหลังเมื่อสภาร่างรัฐธรรรมญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น โดยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาเพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างโดยไม่มีการลงมติ ก่อนให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเจ็ดวันเพื่อจัดให้มีการออกเสียงประชามดิ (มาตรา 256/21)
- กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศวันออกเสียงประชามติซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวัน และไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากรัฐสภาโดยให้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร รวมถึงกำหนดให้คำถามที่ใช้ถามประชาชนในการออกเสียงประชามดิจะต้องเป็นกลางต่อทุกฝ่าย และให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี โดยเมื่อการออกเสียงประชามติเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันออกเสียงประชามดิ (มาตรา 256/22)
- กำหนดว่าหากคะแนนการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และไห้ประกาศในราชกิจจานเบกษา (มาตรา 256/23)
- กำหนดว่าหากคะแนนการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป และให้แจ้งผลการออกเสียงประชามติให้ประธานรัฐสภาและประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญทราบโดยเร็ว (มาตรา 256/24)
- กำหนดขั้นตอนภายหลังเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น ให้เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาเพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นและให้ความเห็นชอบ โดยจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นประการใดมิได้ (มาตรา 256/25)
- กำหนดว่าหากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้ประธานรัฐสภานำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย (มาตรา 256/26)
- กำหนดว่าหากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการจัดทำและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว (มาตรา 256/27)
- กำหนดเหตุของการสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256/28)
- กำหนดว่ากรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญตกไป ให้คณะรัฐมนตรี หรือ สส. หรือ สส. และ สว. มีสิทธิร่วมกันเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามหมวดนี้อีกได้ (มาตรา 256/29)
5.กำหนดให้มีการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูนี้ใช้บังคับ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 5)
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดังนั้น เส้นทางจึงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทั้งในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านเอง รวมถึง สว.ที่มีความคิดในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แตกต่างและหลากหลาย ตลอดจนจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ