"...เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของ มทร.อีสาน ผู้ยืมเงินทางรายการ ได้จัดทำหรือนำหลักฐานการจ่ายในการดำเนินโครงการฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 ตุลาคม 2565 วันที่ 1 - 14,16- 30 พฤศจิกายน 2565 และวันที่ 2-9 ธันวาคม 2565 รวม 40 วัน จำนวน 21,302,400 บาท มาประกอบการส่งใช้เงินยืมของทางราชการ โดยหลักฐานการจ่ายดังกล่าว ระบุจำนวนผู้เข้าอบรม วันเวลาอบรมสถานที่อบรม และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ไม่ตรงตามความเป็นจริง ประกอบกับ ผู้ประกอบการการอาหาร และผู้เข้าอบรมก็มีการยืนยันข้อมูลว่า ลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารไม่ใช่ลายมือชื่อของตน..."
กรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบปัญหาการใช้จ่ายเงินงบประมาณโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ปีประมาณ 2564 วงเงิน 407,229,545 บาท ในส่วนการเบิกจ่ายค่าใช้ในการฝึกอบรมเป็นเท็จ และมีการส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนกฏหมายนั้น
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รับการยืนยันข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ว่าการเบิกจ่ายค่าใช้ในการฝึกอบรมฯ ที่สตง.ตรวจสอบพบเกิดขึ้นในการฝึกอบรมฯ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยกระบวนการตรวจสอบของ สตง. เริ่มต้นภายหลังจากที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 407,229,545 บาท ในปี 2564 แล้ว สตง.นครราชสีมา ได้เข้าทำการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า มีการเบิกจ่ายค่าใช้การฝึกอบรมฯ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเท็จ เนื่องจากไม่มีการฝึกอบรมจริง ตามวันเวลาตารางอบรม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการเป็นจำนวน 29,270,730 บาท เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายฝึกบอรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2549 ข้อ 8 ข้อ 19 พร้อมส่งเรื่องให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 4 จังหวัดนครราชสีมา รับเรื่องไว้ตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ
หลังจากนั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 4 จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำตรวจสอบเอกสารหลักฐาน สอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้อง พบว่า โครงการอบรมฯ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน จำนวนผู้เข้าอบรม วันเวลาอบรมสถานที่อบรมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบางช่วงเวลาไม่ตรงตามความเป็นจริง ประกอบกับผู้ประกอบการอาหารและผู้เข้ารับการอบรมมีการยืนยันข้อมูลว่าลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารไม่ใช่ลายมือชื่อของตน เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 16,923,810 บาท ส่วนโครงการอบรมฯ ภาคเหนือ พบว่ามีปัญหาในลักษณะเดียวกัน เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย จำนวน 13,296,580 บาท รวมวงเงินกว่า 30 ล้านบาท
- อว.หักล้างสตง.! แจ้งสภาฯ มทร.อีสาน ยุติสอบ 'อธิการฯ-พวก' ทำโครงการอบรมอาชีพเกษตรฯ (1)
- เปิดรายงาน อว.หักล้าง สตง.แจ้งยุติสอบวินัย 'อธิการฯมทร.อีสาน-พวก' ใช้งบโครงการอบรมอาชีพฯ (2)
- เบื้องลึก! สตง.สอบมทร.อีสาน ใช้งบ 407 ล.มีเบิกเงินอบรมเท็จเสียหาย 30 ล.- ส่ง ป.ป.ช.ด้วย (3)
- คำต่อคำ : อธิการฯ มทร.อีสาน แจงปมสตง.สอบใช้งบ 407 ล.จัดอบรมอาชีพ-ทำตามข้อบังคับทุกอย่าง (4)
- ข้อมูลลับ! ป.ป.ช.สอบ มทร.อีสานใช้งบ 407 ล. 2 สำนวน จัดอบรมเท็จ-แจกปัจจัยการผลิตส่อทุจริต (5)
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดผลการตรวจสอบการโครงการอบรมฯ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ของ สตง. ดังกล่าว ที่สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันข้อมูลเป็นทางการแล้ว
โดยในตอนนี้ จะขอนำเสนอข้อมูลผลการตรวจสอบ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการตรวจสอบพบหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน จำนวนผู้เข้าอบรม วันเวลาอบรมสถานที่อบรมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบางช่วงเวลาไม่ตรงตามความเป็นจริง ประกอบกับผู้ประกอบการอาหารและผู้เข้ารับการอบรมมีการยืนยันข้อมูลว่าลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารไม่ใช่ลายมือชื่อของตน เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 16,923,810 บาท
ปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้
ตามรายงานผลการตรวจสอบ สตง. ระบุว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดอบรมโครงการฝึกอบรม จำนวน 6 ทักษะอาชีพ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 28 - 31 ตุลาคม 2564 วันที่ 1-14,16-30 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 2 - 9 ธันวาคม 2564 รวม 40 วัน ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 12,000 คน มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามหลักฐานการจ่าย จำนวน 21,302,400 บาท ประกอบด้วย ค่าอาหารและอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 11,520,000 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1,862,400 บาท รวมทั้งค่าอาหารและคำที่พักแบบเหมาจ่ายให้กับผู้เข้าอบรมจำนวน 7,920,000 บาท
แต่จากการตรวจสอบหลักฐานการจ่ายดังกล่าวปรากฏว่า ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ให้ข้อมูลสอดคล้องต้องกันกับพยานบุคคล ว่า เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของ มทร.อีสาน มีการขอใช้สถานที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน เพื่อดำเนินโครงการอบรมและส่งเสริมพัฒนายกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ในช่วงวันที่ 2,3,6,7,8,11,12,15,16,18,19,21,22,24, 25 และ 26 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม 2564 จำนวน 18 วันเท่านั้น
โดยในแต่ละวันเมื่ออบรมเสร็จสิ้นผู้เข้าอบรมจะเดินทางกลับและมีผู้เข้าร่วมอบรมชุดใหม่เข้ามาอบรมต่อในวันถัดไป ซึ่งเจ้าหน้าที่รายหนึ่งของ มทร.อีสาน มีการประสานกับทางศูนย์เพื่อจัดเตรียมข้าวกล่องตามจำนวนผู้เข้าอบรมในแต่ละวัน และสามารถคำนวณจำนวนข้าวกล่องเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมได้ จำนวน 5,430 คน
ส่วนพยานบุคคลรายหนึ่ง - ผู้ประกอบอาหารให้ถ้อยคำสอดคล้องต้องกันว่า เป็นลูกจ้างรายวันของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและประชาชน ลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารหลักฐานการจ่ายในฐานะผู้ประกอบอาหารและอาหารว่างและครื่องดื่ม และผู้รับเงินในใบสำคัญรับเงินทั้งหมด ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลลังกล่าว และไม่เคยรับจ้างทำอาหารให้กับ มทร.อีสาน แต่รับจ้างประกอบอาหารกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชนเท่านั้น
พยานบุคคลอีกราย ให้ถ้อยคำเพิ่มเติมอีกว่า มีการจัดทำอาหารข้าวกล่องและอาหารว่างให้ผู้เข้าอบรมตามจำนวนผู้เข้าอบรมจริง ตามหลักฐานการรับเงินจากมหาวิทยาลัยฯ
จากการสุ่มสอบถามผู้เข้าอบรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามรายชื่อผู้เข้าอบรม มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 72 คน ยืนยันว่า ตนเข้าร่วมอบรมโครงการฯ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน เพียง 1 วัน จำนวน 7 คน และตนไม่ได้เข้าร่วมอบรมและลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารไม่ใช่ของตน มีจำนวน 26 คน
ส่วนพยานบุคคคลหลายราย ในฐานะวิทยากรให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่า มีการอบรมตามวันเวลา และสถานที่ที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินคำสมนาคุณวิทยากรจริง ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าได้รับเงินค่าสมนาคุณของวิทยากรและไปเป็นวิทยากร ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ตามวันเวลาที่ไม่มีการอบรมจริง
จากการพิเคราะห์พยานหลักฐานดังกล่าว มีน้ำหนักเพียงพอให้เชื่ออย่างสมเหตุผลว่า เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของ มทร.อีสาน ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ยืมเงินของทางราชการ ได้จัดอบรมโครงการฝึกอบรมฯ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 2,3,6,7,8,11,12,15,16,18,19,21,22,24,25 และ 26 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม 2564 รวม 18 วัน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นละ 1 วัน ซึ่งสามารถประมาณค่าใช้จ่าย และจำนวนผู้เข้าอบรม ตามถ่อยคำของพยานบุคคล และพยานหลักฐานอื่นในสำนวนได้ว่ามีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 5,430 คน เท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริง เป็นค่าที่พักและค่าอาหารแบบเหมาจ่าย จำนวน 3,149,400 บาท ค่าอาหารและอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 895,950 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 333,600 บาท รวมเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดที่สามารถเบิกจ่ายกับทางราชการได้ จำนวน 4,378,590 บาท
การที่ เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของ มทร.อีสาน ผู้ยืมเงินทางรายการ ได้จัดทำหรือนำหลักฐานการจ่ายในการดำเนินโครงการฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 ตุลาคม 2565 วันที่ 1 - 14,16- 30 พฤศจิกายน 2565 และวันที่ 2-9 ธันวาคม 2565 รวม 40 วัน จำนวน 21,302,400 บาท มาประกอบการส่งใช้เงินยืมของทางราชการ โดยหลักฐานการจ่ายดังกล่าว ระบุจำนวนผู้เข้าอบรม วันเวลาอบรมสถานที่อบรม และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ไม่ตรงตามความเป็นจริง ประกอบกับ ผู้ประกอบการการอาหาร และผู้เข้าอบรมก็มีการยืนยันข้อมูลว่า ลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารไม่ใช่ลายมือชื่อของตน
ดังนั้น พยานหลักฐานจึงว่าเชื่อว่า มหาวิทยาลัยฯ ไม่มีการดำเนินโครงการจัดอบรม ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชนจริง ในช่วงวันที่ 28 - 31 ตุลาคม 2564 วันที่ 1,4,5,9,10,13,14,17,20,23,27,28,29 และ 30 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 2,5,6,7,8 และ 9 ธันวาคม 2564
ส่วนในช่วงวันที่ 2,3,6,7,8,11,12,15,16,18,19,21,22,24,25 และ 26 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม 2564 มีการดำเนินโครงการจัดอบรมจริง
แต่ผู้รับผิดชอบโครงการไม่นำส่งหลักฐานการจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาส่งใช้เงินยืมตามระเบียบของทางราชการหลักฐาน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ (21,302,400 - 4,378,590) จ๋านวน 16,923,810 บาท
**********
ทั้งหมดนี้ เป็นผลการตรวจสอบโครงการอบรมฯ เท็จ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สตง.ตรวจสอบพบ และส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. รับไปดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้ว
ยังมีข้อมูลในส่วนของภาคเหนืออีก ซึ่งพบว่ามีปัญหาในลักษณะเดียวกัน เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย จำนวน 13,296,580 บาท อีก
รายละเอียดเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป