“...ไม่ปรากฏว่าทางผู้รับจ้างได้ดำเนินการถอดแคร่ (Bogie) ออกจากตัวรถตามเงื่อนไขข้อ 3.1 ขีด 2 ซึ่งต้องดำเนินการที่ ลานพักสินค้า ฟูจิโยเสะโดยต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นควบคุมทางด้านถอด-ประกอบตัวรถดีเซลราง ที่ประเทศญี่ปุ่น กลับปรากฏว่า ได้มีการขนย้ายตัวรถดีเซลรางทั้ง 20 คัน ลงในเรือบรรทุกสินค้า แต่ตามภาพที่ปรากฎไม่ได้มีการแยกตัวรถ(Body)และแคร่(Bogie) ออกจากกันซึ่งผิดเงื่อนไขตามข้อ 3.1…”
เป็นประเด็นร้อนฉ่าไปทั่ววงการคมนาคมขนส่งอีกครั้ง
สำหรับกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างบริษัท กรีน เจเนอเรชั่น เวิลด์ไวด์ จำกัด ขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศ KIHA 40/48 จากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทย
โดยพบว่ามีการขนย้ายขบวนรถไฟทั้ง 20 ตู้ จากท่าเรือนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ถึงท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย.67 ปัจจุบันขบวนรถทั้งหมด ยังจอดอยู่ที่ย่านสถานีรถไฟแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
ขณะที่สัญญา งานงวดที่ 3 ครบกำหนดไปแล้วเมื่อต้นเดือน ก.ย. 2567 และมีค่าปรับเกิดขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีประเด็นที่เอกชนขอแก้ไขสัญญาในรายละเอียดการขนย้ายหลังจากที่ได้ดำเนินการขนย้ายไปแล้ว โดยมีการทำสัญญาแนบท้าย ลงวันที่ 15 พ.ค. 2567
ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการกระทำบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามเอกสารข้อกำหนดรายละเอียดของงานกำหนด สำนักข่าวอิศราขอพาไปทบทวนเงื่อนไขและขอบเขตงานตามที่มีประกาศไว้ ดังนี้
@เปิดขอบเขตงานตาม TOR
ขอบเขตของงานตามข้อ 3.เอกสารข้อกำหนดรายละเอียดของงาน (Term of Reference) สัญญาเลขที่ พด. 012/2566 ดังนี้
3.1 ที่ประเทศญี่ปุ่นให้ผู้รับจ้างที่ได้รับสัญญาจ้างจากการรถไฟฯ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- รับรถดีเซลรางจากย่านสถานีเมืองอาคิตะไปเก็บที่สถานีฟูจิโยเสะเมืองนีงาตะหรือสถานที่อื่นๆที่การรถไฟกำหนด
- ถอดแคร่(Bogie) ออกจากตัวรถ(Body) เพื่อเตรียมขนย้ายไปยังลานพักสินค้าใกล้ท่าเรือนีงาตะหรือสถานที่อื่นๆที่การรถไฟกำหนด
-ขนย้ายรถดีเซลรางและแคร่จากสถานีฟูจิโยเสะไปยังลานพักสินค้าท่าเรือมีงานตากหรือสถานที่อื่นอื่นที่การรถไฟกำหนด
- ดำเนินพิธีการศุลกากรส่งออก
- ยกรถดีเซลรางและแคร่ลงในเรือบรรทุกสินค้า
- ขนส่งรถดีเซลทั้งหมด 20 คันและแคร่ท่าเรือนีงาตะประเทศญี่ปุ่นหรือสถานที่อื่นๆที่การรถไฟฯกำหนดมายังท่าเรือแหลมแหลมฉบัง ประเทศไทย
@พบพิรุธ 1 ไม่ถอดแคร่ตามที่ระบุใน TOR
สำหรับข้อพิจารณาการทำผิดเงื่อนไขขอบเขตของงานตาม TOR
ตามข้อ 3.1
- ให้ผู้รับจ้างต้องถอดแคร่(Bogie) ออกจากตัวรถ(Body) เพื่อเตรียมขนย้ายไปยังลานพักสินค้าใกล้ท่าเรือนีงาตะหรือสถานที่อื่นๆที่การรถไฟกำหนด
ข้อเท็จจริง จากภาพที่ออกทางสื่อโซเชี่ยลต่างๆที่ปรากฏออกมา ไม่ปรากฏว่าทางผู้รับจ้างได้ดำเนินการถอดแคร่ (Bogie) ออกจากตัวรถตามเงื่อนไขข้อ 3.1 ขีด 2 ซึ่งต้องดำเนินการที่ ลานพักสินค้า ฟูจิโยเสะโดยต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นควบคุมทางด้านถอด-ประกอบตัวรถดีเซลราง ที่ประเทศญี่ปุ่น กลับปรากฏว่า ได้มีการขนย้ายตัวรถดีเซลรางทั้ง 20 คัน ลงในเรือบรรทุกสินค้า แต่ตามภาพที่ปรากฎไม่ได้มีการแยกตัวรถ(Body)และแคร่(Bogie) ออกจากกันซึ่งผิดเงื่อนไขตามข้อ 3.1 ซึ่งต้องปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง รฟท.ได้คำนวณค่าใช้จ่ายรวมในงานว่าจ้างแล้วให้ปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่น แสดงว่ามีการบิดเบือนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
@พิรุธ 2 ขนมาแหลมฉบังโดยไม่ถอดแคร่ออก
ตามข้อ 4.1.3 เคลื่อนย้ายรถดีเซลรางและแคร่จากลานกองเก็บไปยังบริเวณข้างลำเรือบรรทุกสินค้าดำเนินการโดยใช้ปั้นจั่นยกรถไฟและโบกี้ใส่รถบรรทุกโดยระมัดระวังและใช้รถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษเพื่อทำการขนย้ายตัวดีเซลรางและแคร่ ไปยังลานพักสินค้าของท่าเรือติดตั้งอุปกรณ์บาร์ถ่างเพื่อใช้ในการยกรถไฟเข้ากับปั้นจั่นของเรือใหญ่บรรทุกสินค้า เพื่อเตรียมยกรถไฟลงเรือใหญ่บรรทุกสินค้าโดยผู้รับจ้างต้องดำเนินการโดยให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดตามใบตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากลทั่วไปหลังจากที่รถดีเซลรางถึงท่าเรือใหญ่บรรทุกสินค้าแล้วในการขนย้ายจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยทำการผูกมัดตึงตัวรถและแคร่บนเรือการปฎิบัติตามขั้นตอนใบตรวจสอบของบริษัทเพื่อเน้นเห็นถึงการขนส่งที่ปลอดภัยของตัวรถดีเซลรางและอุปกรณ์ส่วนควบทั้งหมดกรณีที่เกิดความเสียหายทางผู้จ้างตกเป็นผู้รับผิดชอบ
ข้อเท็จจริง จากเงื่อนไขรายละเอียดของงาน (Term of Reference) ข้อ 4.1.3 แสดงว่าต้องมีการแยกตัวรถ(Body)และแคร่(Bogie) ออกจากกัน เพื่อสะดวกและเตรียมความพร้อมเมื่อมาถึงท่าเรือแหลมฉบังในการขนย้ายตัวแคร่ทั้ง 20 คันขึ้น รถ บขน.ไปยังโรงงานมักกะสัน เพื่อบีบอัดล้อ(Re-Gauge) ให้ได้ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ แต่ทางผู้รับจ้างก็หลีกเลี่ยงในการทำตาม TOR
@พิรุธ 3 ไม่ขนขบวนรถไฟไปเก็บในท่าเรือ ขนไปเก็บในสถานีรถไฟ
ข้อ 4.2 หลังจากเรือใหญ่บรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแหลมฉบังประเทศไทยแล้วเรือจะจอดที่อาคารผู้โดยสาร A2 หรือ C0 หรือท่าเรือศรีราชาเบอร์หรือตามความเหมาะสมก่อนที่เรือใหญ่บรรทุกสินค้าจะถึงถ้าเทียบเรือผู้รับจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินพิธีการศุลกากรนำเข้านำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพตัวรถดีเซลรางทั้ง 20 คันและแคร่ทั้งหมดรวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อผ่านการตรวจของศุลกากรและเสียภาษีเสร็จแล้วลูกเรือใหญ่ของเรือบรรทุกสินค้าจะเปิดฝาระวางเรือใหญ่บรรทุกสินค้าเพื่อเตรียมการขนถ่ายรถดีเซลรางต่อไป
ข้อ 4.2.4 ย้ายรถดีเซลรางและแคร่ทั้งหมดไปยังลานกองเก็บของท่าเรือแหลมฉบังโดยรถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษลากไปยังพื้นที่ลานจัดเก็บสินค้าของถ้าเทียบเรือสินค้าโดยท่อนบนของรถดีเซลราง(ตู้รถดีเซลราง) ตัวรถจะถูกยกด้วยเครนโดยใช้เหล็กเส้น2ตัวพร้อมลวดสลิงดึงตัวสายสลิงแตะลงบนจุดที่เตรียมไว้ (Lifting point)
ส่วนล่างของตู้รถดีเซลรางหรือแคร่ที่มีจำนวน 2 ยูนิตต่อตู้ดีเซลราง แต่ละคันจะยกขึ้นด้วยเครนของเรือใหญ่บรรทุกสินค้าขนย้ายไปบรรทุกลงบนขบวนรถไฟขนบรรทุกสินค้า บขน. ของการรถไฟฯ เพื่อขนส่งไปดำเนินการดัดแปลงแค่ในการรีเกรดล้อ เมื่อแคร่ดัดแปลงเสร็จเรียบร้อย รฟท.จะขนส่งกลับมามายังสถานีรถไฟแหลมฉบังโดยใช้ระยะเวลาในการดัดแปลงสูงสุดไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ผู้รับจ้างต้องจัดหารถบรรทุกที่เหมาะสมในการขนย้ายและบอดี้ตู้รถดีเซลราง จากท่าเรือไปยังสถานีรถไฟแหลมฉบังและต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับรองรับตัวรถตู้รถไฟทั้ง 20 คันที่ไม่มีโบกี้ที่วางบนลานกองเก็บของท่าเรือแหลมฉบัง
ข้อเท็จจริง จากภาพที่ปรากฏในข่าวหรือสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทางผู้รับจ้างไม่ได้มีการขนตัวรถไปยังลานกองสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบังซึ่งทางผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบนพื้นที่ ของลานท่าเรือแหลมฉบัง แต่กลับใช้รถบรรทุกเทรลเลอร์ทั้งคันบรรทุกนำรถดีเซลรางมากองเก็บที่ ลานย่านสถานีรถไฟแหลมฉบัง ผิดจากเงื่อนไข TOR ข้อ 4.2.4 ที่ต้องนำแคร่(Bogie)ไปทำการรีเกรดล้อโดยขนย้ายขึ้นรถบรรทุกยกขึ้นรถ บขน.ของการรถไฟฯ ทั้งนี้ นอกจากผิดเงื่อนไขแล้วที่ต้องวางตัวรถที่ย่านสินค้าท่าเรือแหลมฉบังแล้ว ได้มีการใช้พื้นที่ลานที่ย่านสถานีของการรถไฟฯวางตัวรถดีเซลรางทั้ง 20 คันอีกด้วย ซึ่งผิดจากเงื่อนไข TOR
จากกรณีที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะพบว่า ทางผู้รับจ้างได้ทำผิดเงื่อนไขตาม TOR ในการปฏิบัติงานตามข้อต่างๆที่ได้กล่าวมา และคณะกรรมการตรวจรับงานพัสดุในงานจ้างได้มีการทักท้วงหรือไม่ กรณีที่ปล่อยให้มีการกระทำผิดจากเงื่อนไข TOR ทั้งที่มีการว่าจ้างตามวงเงินที่ปรากฏตามประกาศของการรถไฟฯ กรณีที่ทางผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม TOR ย่อมเป็นการเอื้อประโยชน์ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ต่อ ผู้รับจ้าง โดยตั้งข้อสังเกตเพื่อให้ทางการรถไฟฯพิจารณาดังนี้
1.ไม่ได้มีการแยกตัวรถ(Body) กับ แคร่(Bogie) ออกจากกันที่ลานพักสินค้าฟูจิโยเสะ จังหวัด นีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะยกขึ้นเรือมายังท่าเรือแหลมฉบัง
2.มีการนำรถดีเซลรางทั้ง 20 คันมาวางกองเก็บที่ ย่านสถานีรถไฟแหลมฉบัง ผิดจากเงื่อนไข TOR ที่ต้องวางที่ย่านท่าเรือแหลมฉบัง จนกว่าที่จะรีเกรดล้อเสร็จและยกตัวรถนำมามาประกอบกับแคร่ที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง
3.มีการสมยอมและเจตนาที่จะใช้พื้นที่ย่านสถานีรถไฟแลมฉบังเพื่อทำการยกตัวรถดีเซลรางเพื่อถอดแคร่(Bogie)ออกจากตัวรถ(Body) ที่ย่านสถานีรถไฟแหลมฉบัง ซึ่งไม่เป็นไปตาม TOR และมาตรฐานงานซ่อมบำรุงล้อเลื่อนของการรถไฟฯ และมาตรฐานความปลอดภัย และไม่ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแยกตัวรถ
4.มีการพยามลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นและที่ท่าเรือแหลมฉบัง
5.มีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจากโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง
@พิรุธขอแก้สัญญาจ้าง
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการขอแก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้าง เป็นข้อตกลงเพิ่มเติม ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ดังนี้
1.คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ได้ทำหนังสือขออนุมัติแก้ไขสัญญาฯ โดยอ้างว่าไม่สามารถที่จะรื้อแคร่(Bogie) ออกจาก ตัวรถ (Body) เพื่อทำการขนย้ายจากท่าเรือ นีงาตะมายัง ท่าเรือแหลมฉบังได้ จากสาเหตุ
1.1 อ้างว่าลานเก็บสินค้าที่ ท่าเรือที่ นีงาตะไม่เพียงพอ โดยไม่ได้แสดงหลักฐานจากทางท่าเรือนีงาตะว่าเหตุใดจึงปฏิบัติงานที่ท่าเรือ นีงาตะไม่ได้ ทั้งๆที่ ตาม TOR สัญญาว่าจ้างฉบับลงวันที่ 15 มกราคม ทาง JR East เป็นผู้กำหนดว่าจะต้องถอดแคร่จากญี่ปุ่นมาที่ไทย เพราะขนาดรางกว้างไม่เท่ากัน (ไทยกว้าง 1.00 เมตร ญี่ปุ่นกว้าง1.067เมตร) เมื่อมาถึงเมืองไทย ทาง รฟท.จะต้องขนไปรีเกรดล้อที่โรงงานมักกะสัน
1.2 อ้างว่ามีแผ่นดินไหวที่จังหวัดอิชิคาวะ ที่อยู่ห่างจากท่าเรือ นีงาตะถึง 376 กิโลเมตร โดยไม่มีเอกสารอ้างอิงว่าทางผู้รับจ้างจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้จากทางญี่ปุ่น
โดยการพิจารณาจากเอกสารบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้าง ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 67 ตามสัญญาเลขที่ พด.102/2566 ลงวันที่ 15 มกราคม 67 โดยมีการแก้ไขดังนี้
@ผ่าไส้ในสัญญาที่ขอแก้
รายละเอียดของงานที่มีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญา
4.1 ขั้นตอนการปฏิบัติงานในญี่ปุ่น ให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงานดังต่อไปนี้:-
4.1.1 นำรถดีเซลรางทั้ง 20 คัน ที่ถูกเก็บที่เมืองอาคิตะขนส่งไปยังเมืองนีงาตะ โดยการขนส่งโดยทาง - รถไฟ ระยะทางจากเมืองอาคิตะ ถึงเมืองนีงาตะ หรือสถานที่อื่นๆ ที่การรถไฟฯ กำหนด
4.1.2 ให้ผู้รับจ้างขนส่งรถดีเซลราง Kiha 40 และ Kiha 48 จากท่าเรือนีงาตะ หรือสถานที่อื่นๆ ที่การรถไฟฯ กำหนด มาที่ท่าเรือแหลมฉบัง
4.1.3 เคลื่อนย้ายรถดีเซลรางจากลานกองเก็บไปยังบริเวณข้างลำเรือใหญ่บรรทุกสินค้า ดำเนินการโดยใช้ ปั้นจั่นยกรถไฟและโบกี้ใส่รถบรรทุกโดยระมัดระวัง และใช้รถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษเพื่อทำการขนย้าย ตัวรถดีเซลรางไปยังลานพักสินค้าของท่าเรือฯ ติดตั้งอุปกรณ์บาร์ถ่างเพื่อใช้ในการยกรถไฟเข้ากับปั้นจั่นของเรือใหญ่ บรรทุกสินค้า เพื่อเตรียมยกรถไฟลงเรือใหญ่บรรทุกสินค้า โดยผู้รับจ้างต้องดำเนินการโดยให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดตาม ใบตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสากลทั่วไป หลังจากที่รถดีเซลรางถึงข้างเรือใหญ่บรรทุก สินค้าแล้ว การขนย้ายจะต้องมีการรักษาความปลอดภัย, การทำผูกรัดตึงตัวรถบนเรือ, การปฏิบัติตามขั้นตอน ใบตรวจสอบของบริษัทฯ เพื่อเน้นย้ำถึงการขนส่งที่ปลอดภัยของตัวรถดีเซลรางและอุปกรณ์ส่วนควบทั้งหมด กรณีที่เกิด ( ความเสียหายทางผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
4.1.4 การดำเนินการพิธีการศุลกากรส่งออก หลังจากที่เรือใหญ่บรรทุกสินค้าเทียบท่าเรือเรียบร้อยแล้ว ตู้รถไฟจะถูกขนส่งขนย้ายไปยังรถบรรทุกสินค้าเพื่อนำสินค้าไปส่งข้างเรือใหญ่บรรทุกสินค้าต่อไป เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้าง
4.1.5 กระบวนการโหลดรถดีเซลรางลงในระวางเรือใหญ่บรรทุกสินค้า และการผูกรัดตัวรถดีเซลรางและ แคร่รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบทั้งหมดในระวางเรือใหญ่ บรรทุกสินค้า ดำเนินการโดยใช้ปั้นจั่นของเรือใหญ่บรรทุกสินค้า ใน การยกรถดีเซลรางจากรถบรรทุกที่มีหางรถบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษเพื่อการขนย้ายรถดีเซลราง และใช้บาร์ถ่างเพื่อการ ขยายระยะบีบและจุดยกที่เหมาะสมในการยกรถดีเซลราง ใช้เชือกโลหะชนิดพิเศษ ในการยึดและผูกรัดรถดีเซลรางและ แคร์ในระวางเรือใหญ่บรรทุกสินค้า
4.1.6 รถไฟ 20 ตู้ จะถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและลำดับการขนถ่ายของ สินค้าอย่างมีประสิทธิภาพเรือออกจากท่าเรือประเทศญี่ปุ่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย
4.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย
หลังจากเรือใหญ่บรรทุกสินค้า มาถึงท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทยแล้ว เรือจะจอดที่อาคารผู้โดยสาร A2 หรือ Co หรือท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ หรือตามความเหมาะ ก่อนที่เรือใหญ่บรรทุกสินค้าจะถึงท่าเทียบเรือ ผู้รับจ้างเป็น ผู้รับผิดชอบการดำเนินพิธีการศุลกากรนำเข้า นำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพตัวรถดีเซลรางทั้ง 20 คัน ทั้งหมด รวมถึง อุปกรณ์ส่วนควบและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผ่านการตรวจของศุลกากรและเสียภาษีเสร็จสิ้นแล้ว ลูกเรือของเรือใหญ่บรรทุกสินค้าจะเปิดฝาระวางเรือใหญ่บรรทุกสินค้าเพื่อเตรียมการขนถ่ายรถดีเซลรางต่อไป
4.2.1 ให้ผู้รับจ้างถอดอุปกรณ์ผูกรัดและอุปกรณ์ป้องกันการไหลออกจากตัวรถดีเซลรางแรงงานบนเรือใหญ่ บรรทุกสินค้า ประกอบบาร์ถ่างและติดตั้งเข้ากับปั้นจั่นเรือ
4.2.2ให้ผู้รับจ้างจัดเตรียมรถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษ เตรียมรอรับอยู่ข้างเรือใหญ่บรรทุก สินค้า เพื่อรอรับรถดีเซลราง
4.2.3 ให้ผู้รับจ้างรับผิดชอบแรงงานเรือใหญ่บรรทุกสินค้า เพื่อเกี่ยวตะขอของอุปกรณ์ยกเข้ ใช้ปั้นจั่นของเรือใหญ่บรรทุกสินค้า ในการยกตัวรถดีเซลรางออกจากระวางเรือใหญ่บรรทุกสินค้า ที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษ
4.2.4 ให้ผู้รับจ้างจัดแรงงาน ปฏิบัติงานข้างเรือใหญ่ เพื่อทำการผูกรัดตัวรถดีเซลรางเข้าก็จะหาสาระทุ สินค้าเพื่อความปลอดภัยในการขนย้ายส่วนบนของตัวรถดีเซลรางจะถูกยกขึ้นด้วยลวดสลิง และส่วนบนของตู้รถดีเซลราง ถูกวางลงบนรถ-- ถูกวางลงบนรถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษข้างเรือใหญ่ที่จัดหาโดยผู้รับจ้าง(รถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้า ชนิดพิเศษต้องมีไม้หมอนกันกระแทก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของตัวรถ)
4.2.5 ย้ายรถดีเซลรางทั้งหมดไปยังลานกองเก็บของท่าเรือแหลมฉบัง โดยรถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้า ชนิดพิเศษลากไปยังพื้นที่สถานีรถไฟแหลมฉบังส่วนล่าง ของตู้รถดีเซลรางหรือแคร่ (Bogie) ที่มีจำนวน 2 ยูนิต ต่อ ตู้รถดีเซลราง แต่ละคัน จะยกขึ้นด้วย เครน ขนย้ายไปบรรทุกลงขบวนรถไฟรถไฟบรรทุกสินค้า (บขน) ของการรถไฟฯ เพื่อขนส่งไปดำเนินการดัดแปลงแคร่ใน การรีเกรดล้อ เมื่อแคร่ดัดแปลงเสร็จเรียบร้อยแล้วการรถไฟฯ ขนส่งกลับมายังสถานีรถไฟแหลมฉบัง โดยใช้ระยะในการ ดัดแปลงสูงสุด ไม่เกิน 90 วัน และต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับรองรับตัวตู้รถไฟ ทั้ง 20 คัน ที่ไม่มีโบกี้ ที่วางบนลานกอง เก็บของสถานีรถไฟแหลมฉบัง
4.2.6 การขนย้ายแคร่ (Bogie) (2 ยูนิต ต่อ ตู้รถดีเซลรางแต่ละคัน) รวมทั้งหมด 20 คัน (40 แคร่) เพื่อให้การรถไฟฯ ไปดำเนินการดัดแปลง ผู้รับจ้างต้องดำเนินการยกแคร่ (Bogie) วางลงบนรถบรรทุกสินค้าที่การรถไฟฯ ได้จัดเตรียมไว้จนครบทั้ง 20 คัน โดยผู้รับจ้างต้องดำเนินการยึดตรึงแคร่ (Bogie) ทั้งหมดกับตัวรถไฟบรรทุกสินค้า โดยมี เจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ร่วมตรวจสอบ
4.2.7 เมื่อการรถไฟฯ ดำเนินการดัดแปลงแคร่ (Bogie) เสร็จเรียบร้อย การรถไฟฯ จะขนส่งแคร์ (Bogie) ทั้ง 20 คัน ใส่รถไฟบรรทุกสินค้ามายังสถานีรถไฟแหลมฉบัง ผู้รับจ้างจะทำการปลดอุปกรณ์ยึดตรึงแคร่ (Bogie) กับตัว รถไฟบรรทุกสินค้าออก และใช้เครนยกแคร่ (Bogie) ลงจากรถไฟบรรทุกสินค้า วางลงบนรางที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง ตามที่การรถไฟฯ กำหนดเพื่อรอประกอบแคร่ (Bogie) เข้ากับตัวตู้รถไฟ (Body) โดยมีผู้ควบคุมงานที่เป็นวิศวกรที่ได้รับ การรับรองจาก JR EAST และมีเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ร่วมตรวจสอบ
4.2.8 การขนย้ายตัวรถดีเซลราง (Body) จากพื้นที่จัดเก็บที่เก็บรถดีเซลรางทั้งหมดจำนวน ๒๐ คัน เพื่อ วางลงบนแคร่ (Bogie) ที่ดัดแปลงแล้วของการรถไฟฯ รวมไปถึงการเตรียมปั้นจั่น (Mobile Crane) และแรงงานเพื่อยก และบรรทุกบนรถพ่วงและรถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษ เป็นความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
4.2.9 การยกตัวรถดีเซลราง (Body) ประกอบกับแคร่ (Bogie) ที่ดัดแปลงแล้วของการรถไฟฯ ผู้รับจ้างใช้ ปั้นจั่นยกตัวรถ (Body) ใส่รถบรรทุกที่มีหางบรรทุกสินค้าชนิดพิเศษ พร้อมยึดตรึง ผู้รับจ้างใช้เครนทำการยกตัวตู้รถไฟ (Body) ลงจากรถบรรทุก นำไปวางประกอบลงบนแคร่ (Bogie) ที่ดัดแปลงแล้ว คันละ ๒ แคร่ ที่เตรียมวางรออยู่บนรางรถไฟ แล้วจนครบทั้ง 20 คัน โดยมี ผู้ควบคุมงานที่เป็นวิศวกรที่ได้รับการรับรองจาก JR EAST และมีเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ร่วมตรวจสอบ
4.2.10 ผู้รับจ้าง ต้องประกอบอุปกรณ์ส่วนควบ ระหว่างตัวรถดีเซลราง (Body) ประกอบกับแคร่ (Bogie) ตามที่การรถไฟฯ กำหนดโดยมีผู้ควบคุมงานที่เป็นวิศวกรที่ได้รับการรับรองจาก JR EAST ร่วมตรวจสอบ ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุในบันทึกต่อท้ายสัญญาจ้างฯ ฉบับนี้ ให้เป็นไปตาม GGW GENERAT DWIDE
เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้วให้ผู้รับจ้างขนย้าย รถไฟจากข้างเรือลำใหญ่ไปยังลานพักสินค้าของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรอการนำส่ง
กรณีนี้ เมื่อได้มีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญาแล้วยังคงระบุให้ทางผู้รับจ้างนำรถไฟไปจอดลานพักสินค้าของท่าเรือแหลมฉบัง จากข้อ 3.2 เพื่อรอการนำส่ง แต่เหตุใดจึงนำรถไฟทั้ง 20 คันไปจอดที่สถานีแหลมฉบัง และ มีการจ่ายค่าเช่าที่หรือไม่
-ก่อนวันนำส่งรถดีเซลราง ให้ผู้รับจ้างขนย้ายตัวรถดีเซลรางและทำการถอดแคร่ (Bogie) ออกจากตัวรถ (Body) โดยมีผู้ควบคุมงานที่เป็นวิศวกรที่ได้รับการรับรองจาก JR East ที่สถานีรถไฟแหลมฉบังของการรถไฟฯ
กรณีนี้แสดงว่าต้องมีการรื้อตัวแคร่ (Bogie) ออกจากตัวรถ (Body) ที่ย่านพักคอยสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบังไม่ใช่ที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง และต้องมีวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ได้รับรองจาก JR East ควบคุมงาน ก่อนจะขนย้ายตัวรถ
1)มีการตรวจรับงวดที่ 1 ตามสัญญางวดที่ 1 เมื่อขนรถจากย่านสถานี อาคิตะมาท่าเรือนีงาตะโดยมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างเดินทางไปปตรวจที่ ท่าเรือนีงาตะประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ใครเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ไปกี่วัน ไปกี่คน
2)หลังจากไปตรวจรับตามสัญญางวดที่1 แล้วได้กลับมาแก้ไขสัญญาแนบท้าย เพื่อไม่ต้องรื้อแคร่และตัวรถออกจากกันโดยอ้างว่าเหตุแผ่นดินไหว ทั้งที่แผ่นดินไหวอยู่ห่าง 376 กิโลเมตร และระยะเวลาห่างจากวันรื้อแคร่และตัวรถถึง 4 เดือน
3)มีการตรวจรับงวดที่ 2 หลังจากที่มีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญา โดยยังคงไม่ปฏิบัติตาม เอกสารแนบท้ายสัญญา โดยนำรถไปจอดกองที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง และไม่มีการเสียค่าใช้จ่าย
4)รถดีเซลรางทั้ง 20 คันยังคงถูกจอดทิ้งที่ สถานีรถไฟ แหลมฉบัง ตั้งแต่วันที่ 2มิถุนายน 2567 กระทั่งถึงปัจจุบัน
แม้ตอนนี้การขอแก้ไขสัญญาจะยังไม่ได้รับการอนุมัติ
และจะเรียกได้ว่าเป็นเผือกร้อนที่มาต้อนรับและวัดฝีมือผู้ว่าฯรฟท.คนใหม่หมาดอย่าง 'วีริศ อัมระปาล' พอดี
ต้องจับตาดูว่า อดีตผู้ว่ากนอ.ที่ข้ามห้วยมาคุม 'ม้าเหล็ก' จะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร?