"...คดีนี้ มีคำพิพากษาชั้นฎีกาออกมาแล้ว โดยมีการแก้โทษ ให้จำเลย จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน จำนวน 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 12 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเนื่องจากแนวคำพิพากษาที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดี กับคดีนี้ ทางไต่สวนข้อเท็จจริงจึงมีน้ำหนักมั่นคง ไม่เป็นพิรุธขัดกันเอง และไม่ขัดแย้งกับเอกสารดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา และแม้การเบิกจ่ายเงินจะมีเจ้าหน้าที่อื่นดูแลดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา แต่จำเลยในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการก็ยังคงมีหน้าที่จัดการและรักษาเงินดังกล่าวด้วย..."
นางสาวจีรวรรณ อุณาพรหม อดีตเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ตกเป็นข่าวดังในช่วงเดือน ก.ค.2563
ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน จำนวน 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 12 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย ในคดีสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจัดทำเอกสารยืมเงินราชการ และค่าใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมเป็นเท็จแล้วเบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว
หลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรากมาร ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญาตาม ป.อ.มาตรา 147 , 151 , 157 และ 161 และมาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 90 และ 91 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
ต่อมาในช่วงเดือนก.พ.2564 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มีคำพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดรวม 8 กระทง รวมจำคุก 24 ปี 32 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 138,106 บาท แก่ผู้เสียหาย
ล่าสุด คดีนี้ มีคำพิพากษาชั้นฎีกาออกมาแล้ว โดยมีการแก้โทษ ให้จำเลย จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน จำนวน 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 12 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เนื่องจากแนวคำพิพากษาที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดี กับคดีนี้ ทางไต่สวนข้อเท็จจริงจึงมีน้ำหนักมั่นคง ไม่เป็นพิรุธขัดกันเอง และไม่ขัดแย้งกับเอกสารดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา และแม้การเบิกจ่ายเงินจะมีเจ้าหน้าที่อื่นดูแลดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา แต่จำเลยในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการก็ยังคงมีหน้าที่จัดการและรักษาเงินดังกล่าวด้วย
การกระทำของจำเลยเป็นวิธีการในการเบียดบังเอาเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดการและรักษาเพื่อให้เงินมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว จำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันป็นการทุจริต
ปรากฏรายละเอียดดังนี้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกุฎหมายอาญา มาตรา 91, 147, 151 ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เสียหาย
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นตันพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (เดิม), 151 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี
ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน จำนวน 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 52 เตือน ให้จำเลยคืนเงิน662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดรวม 8 กระทง รวมจำคุก 24 ปี 32 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 138,106 บาท แก่ผู้เสียหาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นตัน
โจทก์และจำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางไต่สวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดกรมส่งเลริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าตัวยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
การที่จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งสั่งการให้ผู้ใต้บังดับบัญชาขออนุมัติยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการที่ไม่ได้จ่ายจริง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่ไม่ได้ไปจริง เพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่จ่ายเกินความจริง จำเลยเป็นผู้อนุมัติและสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก ซึ่งผิดระเบียบ ให้ผู้ใช้บังคับบัญชานำเช็คเรียกเก็บเงินแล้วนำเงินให้จำเลยหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย และจำเลยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำใบสำคัญส่งใช้เงินยืมอันเป็นเท็จ
แม้การเบิกจ่ายเงินจะมีเจ้าหน้าที่อื่นดูแลดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา แต่จำเลยในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการก็ยังคงมีหน้าที่จัดการและรักษาเงินดังกล่าวด้วย
การกระทำของจำเลยดังวินิจฉัยข้างตันเป็นวิธีการในการเบียดบังเอาเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดการและรักษาเพื่อให้เงินมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้วจำเลยเบียตบังเอาเงินดังกล่าวไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันป็นการทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และการสั่งการและการดำเนินการโดยมิชอบดังกล่าง เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายต่อรัฐและผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2561 ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ทางไต่สวนข้อเท็จจริงจึงมีน้ำหนักมั่นคง ไม่เป็นพิรุธขัดกันเอง และไม่ขัดแย้งกับเอกสารดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา
ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ทุกข้อ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องโจทก์บางส่วนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (เดิม), 151 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่งกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เพียงบทเตียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี
ทางไต่สวนพยานจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 52 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย
*****
ศาลพิพากษาชั้นฎีกาดังกล่าว ถือเป็นปิดฉากคดีนี้เป็นทางการ
ขณะที่คดีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งคดีศึกษาสำคัญของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ให้กระทำความผิด เดินย้ำซ้ำรอยเดียวกันทั้งในปัจจุบันและอนาคตสืบไป รวมถึงแนวทางการต่อสู้คดีในชั้นศาล ของอัยการ ที่สามารถฎีกา กลับมาให้จำเลย โดนลงโทษ จำคุก 39 ปี 52 เดือน ตามเดิม ด้วย