"...มีคณะทหารอากาศ (เครื่องแบบสีกรมท่า) ทําการสาธิตทดสอบ โดยใช้เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะทหารอากาศนํามาทํา การทดสอบ โดยแต่ละบริษัททดลองบริษัทละ 5 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะชี้ทิศทางสามารถชี้ทิศทางชี้เบาะแสไปยังวัตถุต้องสงสัยทุกครั้ง....คณะกรรมการฯ จึงลงมติให้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น ซึ่งเป็นปกติ ไม่มีข้อพิรุธใดแสดงให้เห็นว่าบริษัททั้งสองขาดคุณสมบัติในการเข้าเสนอราคาและต้องถูกคณะกรรมการประกวดราคาตัดสิทธิ การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการประกวดราคา จึงชอบแล้ว..."
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานไปแล้วว่า ในช่วงเดือนมี.ค.2566 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องอดีตข้าราชการจำนวน 8 ราย กรมศุลกากร ซึ่งเป็นคณะกรรมการประกวดราคาการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 6 เครื่อง มูลค่า 2.58 ล้านบาท ทำสัญญากับบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด
โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทําโดยไม่มีเจตนาที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทางราชการ พิพากษายกฟ้อง
เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับคำพิพากษาตัดสินคดีนี้มากขึ้น สำนักข่าวอิศรา สรุปข้อมลรายละเอียดคำพิพากษามานำเสนอ ณ ที่นี้
คดีนี้ โจทก์ ได้แก่ อัยการสูงสุด
จำเลยได้แก่ นายสมพร หลงปาน (จำเลยที่ 1 อดีต ผอ.ส่วนบริการพัสดุ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลกากร))นายพิสิษฐ์ ฉ่อนเจริญ (จำเลยที่ 2 อดีตนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรงานสืบสวนปราบปราม) นายธาตรี วิชิตะกุล (จำเลยที่ 3 อดีตนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ) นายสมชาย โตทรัพย์ (จำเลยที่ 4 อดีตนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ) นายบุญเลิศ โชควิวัฒน (จำเลยที่ 5 อดีตนักวิชาการพัสดุชํานาญการ) นายวิศิษฐ์ พีรพัฒนานนท์ (จำเลยที่ 6 อดีตนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรงานสืบสวนปราบปรามที่ 1) นายสมชาย อัศวตรีรัตนกุล (จำเลยที่ 7 อดีตนักวิชาการศุลกากรชำนาญการพิเศษ) นายชัยวัฒน์ วรปัญญา (จำเลยที่ 8 อดีตนักวิชาการศุลกากรชำนาญการพิเศษ)
เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลย 1 ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการส่วนบริหารการพัสดุปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลกากร ตามคําสั่งกรมศุลกากรที่ 307/2551 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 65 จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่ง นักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 3 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 4 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 5 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการพัสดุชํานาญการ
เมื่อวันที่31 มีนาคม 2552 จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการประกวดราคา การจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 50 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 และข้อ 9 จําเลยที่ 6 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 7 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 8 ดํารงตําแหน่ง นักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีอํานาจและหน้าที่ในการตรวจรับพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 71 จําเลย ทั้งแปดจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มาตรา 4, 192 ซึ่งตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กําหนดว่าข้อ 50 (1) คณะกรรมการพิจารณาประกวดราคามีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของ ผู้เสนอราคา ใบราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการ ละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา
ข้อ 71 (2) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีหน้าที่ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สําหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์จะเชิญผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คําปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 กําหนดว่าข้อ 5 นอกจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้การจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ดําเนินการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบอื่นของ หน่วยงานนั้นๆ ควบคู่ไปด้วย เว้นแต่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จะกําหนดหรือวินิจฉัยเป็นประการอื่น
ข้อ 9 การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค...
(2) เมื่อสิ้นกําหนดเวลาตาม (1) แล้ว ให้คณะกรรมการประกวดราคาดําเนินการ คัดเลือกเบื้องต้น เพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคาโดยพิจารณาว่าครบถ้วนหรือไม่
ก. คุณสมบัติของผู้ประสงค์จะเสนอราคาครบถ้วนหรือไม่ และยื่นเอกสารต่าง ๆ
ค. เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเสร็จแล้วตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือไม่
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2552 จําเลยที่ 1 เมื่อครั้งดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการ ส่วนบริหารการพัสดุปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลกากร ได้อนุมัติจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่องด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และแต่งตั้งจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 3 จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 5 เป็นคณะกรรมการประกวดราคาต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 กรมศุลกากรได้มีเอกสารประกวดราคาซื้อ
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เลขที่ 4/2552 โครงการจัดซื้อเครื่องพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 2,580,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อ 2 คุณสมบัติผู้เสนอราคา ระบุว่า
2.1 ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคล และมีอาชีพขายพัสดุที่ประกวดราคาซื้อ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว...
2.3 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น และ/หรือ
ต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ณ วันประกาศซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 3 หลักฐานการเสนอราคา ระบุว่า ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอเอกสารหลักฐานแยกเป็น 2 ส่วนคือ
3.1 ในส่วนที่ 1 อย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้เสนอราคาเป็นนิติบุคคล....
(ข) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ให้ยื่นสําเนารับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) และบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งสําเนารับรองถูกต้อง
(4) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท หรือสําเนาหนังสือจดทะเบียนพาณิชย์และสําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งสําเนารับรองถูกต้อง
3.2 ในส่วนที่ 2 อย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) แคตตาล็อกและหรือแบบรูปรายการละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ
(3) หนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบที่กําหนด จํานวน 3 ฉบับ พร้อมลงนามโดยผู้เสนอราคา หรือผู้รับมอบอํานาจ
(4) หลักประกันซองตามข้อ 5 (ชนิดและมูลค่าที่กําหนด)
ข้อ 4 การเสนอราคา
4.3 ผู้เสนอราคาจะต้องส่งแคตตาล็อก และ/หรือรูปแบบรายการละเอียดคุณลักษณะ เฉพาะของเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง พร้อมเอกสารส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เพื่อประกอบการพิจารณาหลักฐานดังกล่าวนี้กรมจะยึดไว้เป็นเอกสารราชการขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ แบบพกพาจํานวน 6 ชุด ข้อ 5 ขั้นตอนในการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค (การทดสอบหาสารเสพติด) ระบุว่า ...
5.4 การทดสอบจะต้องสามารถตรวจค้นหายาเสพติดโดยให้ผ่านผลการทดสอบ ไม่น้อยกว่า 50 % โดยมีการเผยแพร่เอกสารประกวดราคาตามที่กฎหมายกําหนด ปรากฏว่ามีเพียงบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เสนอราคามาเพียงรายเดียว
@บทบาทของจำเลย
คณะกรรมการประกวดราคาจึงมีมติเห็นควรยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าว และจะดําเนินการประกาศประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ต่อไป
จําเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้ยกเลิก ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 จําเลยที่ 1 สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุประกอบด้วยจําเลยที่ 6 ประธานคณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ จําเลยที่ 2 กรรมการตรวจรับพัสดุ และจําเลยที่ 8 กรรมการตรวจรับพัสดุนายอดิศร ชินวงค์ กรรมการตรวจรับพัสดุ (ติดราชการไม่ได้เข้าร่วมประชุม) เมื่อระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 ต่อเนื่องกันเวลากลางวัน จําเลยทั้งแปดร่วมกัน กระทําความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยจําเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ เมื่อวันที่30 เมษายน 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่1 ออกเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพาจํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 2,580,000 บาท โดยไม่มีการเผยแพร่เอกสารประกวด ราคาตามที่กฎหมายกําหนด
ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5คณะกรรมการประกวดราคาพิจารณาข้อเสนอการประกวดราคาซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์เครื่องตรวจ พิสูจน์แบบพกพา (Indicator Handset) รุ่น จีที 200 ของบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด และบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
โดยไม่ได้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศ บริษัททั้งสองรายจึงมิใช่ผู้มี อาชีพขายพัสดุโดยตรง รวมทั้งไม่มีหลักฐานใดระบุว่า บริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด และบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด มีวัตถุประสงค์ในการจําหน่ายเครื่องตรวจพิสูจน์ แบบพกพา (Indicator Handset) และบริษัททั้งสองไม่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่างแคตตาล็อก และ/หรือรูปแบบรายการละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา นอกจากนี้ บริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด ไม่ได้ยื่นเอกสารตามเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 3 หลักฐานการเสนอราคาและข้อ 4 หลักฐาน การเสนอราคาที่เกี่ยวข้อง
ทําให้ไม่สามารถตรวจสอบว่าผู้เสนอราคามีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีการขัดขวางการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรม รวมทั้งคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่าเป็น นิติบุคคลซึ่งมีอาชีพขายพัสดุดังกล่าว หรือไม่ ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาฯ ตามระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 50 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 และข้อ 9 จึงไม่มี ผู้เสนอราคารายใดมีคุณสมบัติในการเสนอราคาครั้งนี้
ดังนั้นจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาไม่มีอํานาจพิจารณาผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดเข้าเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาและจะต้องยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าว ในวันเดียวกันเวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5คณะกรรมการประกวดราคาร่วมการชมการสาธิตการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาจีที 200 ของ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด และบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด โดยมีคณะทหารอากาศ (เครื่องแบบสีกรมท่า) ทําการสาธิตทดสอบ โดยใช้เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะทหารอากาศนํามาทําการทดสอบ โดยแต่ละบริษัท ทดลองบริษัทละ 5 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะขี้ทิศทางที่สามารถชี้ทิศทางชี้เบาะแสไปยังวัตถุ ต้องสงสัยทุกครั้ง
@คำฟ้องโจทก์
จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาจึงลงมติให้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นแต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้จริงการตรวจพบสารเสพติดเป็นลักษณะของการสุ่มไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพของเครื่องตรวจพิสูจน์จึงเป็นการทดสอบที่ไม่ได้ ดําเนินการตามวิธีการที่ถูกต้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาได้รายงานผลการประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ งานจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาจํานวน 6 เครื่อง โดยในขั้นตอนการประมูล บริษัท อินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด เสนอราคา 2 ครั้ง ราคาต่ำสุดที่เสนอ 2,579,200 บาท ส่วนบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เสนอราคา 5 ครั้ง ราคาต่ำสุดที่เสนอ 2,500,000 บาท โดย บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เคาะราคาแข่งขันกับตัวเอง ส่วนบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด เคาะราคาครั้งสุดท้ายลดราคาจากครั้งแรก 300 บาท และเคาะราคาสูง กว่าการเคาะราคาครั้งสุดท้ายของ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด จํานวน 19,200 บาท
จึงเห็นได้ ว่าไม่มีเจตนาแข่งขันประมูลราคากันจริง เพื่อให้ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ได้รับเลือกเป็นคู่สัญญา และจําเลยที่ 1 ซึ่งรู้เห็นในการกระทําผิดกฎหมายของจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อนุมัติให้ บริษัท 1 เอวิเอ แซทคอม จํากัด ได้รับเลือกเป็นคู่สัญญา และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 1 ทําสัญญาซื้อขายเครื่องพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง จํานวนเงิน 2,580,000 บาท (ที่ถูกต้อง 2,560,000 บาท) กับบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด
จากการกระทํา ดังกล่าวข้างต้น จําเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอานาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏ แจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ร่วมกันละเว้นไม่ดําเนินการเพื่อให้มี การยกเลิกการดําเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐร่วมกันกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกระทําการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อ เอื้ออํานวยแก่ผู้เข้าทําการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐ เมื่อวันที่31 กรกฎาคม 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุร่วมชมการสาธิตทดสอบเครื่องตรวจ พิสูจน์แบบพกพา จีที 200 ของบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด โดยหน่วยงานของ ฉก.อโณทัย (EOD) ซึ่งเป็นคณะทหารจากกองทัพบก (ชุดสีเขียว) ทําการสาธิตการทดสอบโดยการใช้เครื่อง สาธิตเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะฯ นํามาทําการทดสอบ โดยทําการทดสอบ 10 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะหมุนชี้ทิศทางที่สามารถชี้เบาะแสไปยังวัตถุ ต้องสงสัย 2 ครั้ง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงมีมติตรวจรับและออกใบรายงานผลการตรวจรับ พัสดุ โดยตามขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบ พกพาระบุว่าการทดสอบจะต้องสามารถตรวจค้นหายาเสพติดโดยให้ผ่านผลการทดสอบไม่น้อยกว่า 50% ดังนั้นการทดสอบดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขแนบท้าย สัญญา ข้อ 4.7 ที่ระบุว่าเครื่องต้องสามารถหายาเสพติดได้หลายชนิด สําหรับการตรวจหาแต่ละ เครื่องและต้องสามารถหายาเสพติดชนิดต่อไปนี้ได้ทั้งหมด คือ ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน กัญชา แอมเฟตามีน เอ็กตา และเคตามีน และข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้จริง
การตรวจพบสารเสพติดเป็นลักษณะของการสุ่มไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพของเครื่องตรวจพิสูจน์จึงเป็นการทดสอบที่ไม่ได้ดําเนินการตามวิธีการที่ถูกต้องและเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 71
จึงเป็นการตรวจรับ โดยมิชอบเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินให้แก่คู่สัญญา ซึ่งจําหน่ายอุปกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง จากการกระทําดังกล่าวข้างต้น จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เหตุเกิดที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยแจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลย ทั้งแปด จําเลยทั้งแปดให้การปฏิเสธ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องมายังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10, 12
จำเลยทั้งแปดให้การปฏิเสธ
พิเคราะห์สํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยทั้งแปดแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความนําสืบไม่โต้แย้งกันรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
ขณะเกิดเหตุ จําเลย 1 ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการส่วนบริหาร การพัสดุ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลกากร ตามคําสั่งกรมศุลกากรที่ 307/2551 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 เอกสารหมาย จ.13 มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ตามระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 65 จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการ ศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 3 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 4 ดํารง ตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 5 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการพัสดุชํานาญการ จําเลยที่ 5 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรชํานาญการ จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการ ศุลกากรชํานาญการ และจําเลยที่ 4 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ สืบเนื่องจาก ส่วนสืบสวนปราบปราม 3 สสป. กรมศุลกากร ขอรับการสนับสนุนเครื่องเอกซเรย์ตรวจสอบ สัมภาระหีบห่อที่มีสมรรถนะสูงจากสํานักงาน ป.ป.ส. เพื่อตรวจหาสารเสพติดตามแนวพรมแดน ด่านศุลกากร และทางสํานักงาน ป.ป.ส. ให้การสนับสนุนตัดโอนงบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ ดังกล่าวให้แก่กรมศุลกากร ผู้อํานวยการส่วนสืบสวนปราบปราม 3 ได้ทําบันทึกเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการร่วมเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามบันทึกข้อความ เอกสารหมาย จ.25 ต่อมาคณะกรรมการกําหนดขอบเขตงาน (TOR) ได้จัดทําขอบเขตงานโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาจํานวน 6 ชุด มีรายละเอียดตามเอกสารหมาย จ.28 เมื่อวันที่ มีนาคม 2552 จําเลยที่ 1 มีคําสั่งแต่งตั้งให้ จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นคณะกรรมการประกวดราคา การจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามคําสั่งท้ายบันทึกข้อความเอกสาร หมาย จ.30 ทําให้มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 50 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 และข้อ 9 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 จําเลยที่ 1 แต่งตั้งให้ จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 และนายอดิศร ชินวงศ์ ตําแหน่งนักวิชาการ ปฏิบัติการ ให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ตามคําสั่งท้ายบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ.59 ทําให้มีอํานาจและหน้าที่ในการตรวจรับพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 71 จําเลยทั้งแปดจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญาและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
จําเลยที่ 1 ลงนามในประกาศกรมศุลกากร เรื่อง ประกาศประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อ เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง ลงวันที่ 3 เมษายน 2552 และเอกสารประกวด ราคา ตามเอกสารหมาย จ.31 และ จ.32 โดยฝ่ายพัสดุได้ประกาศทางเว็บไซต์ของกรมศุลกากร และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง ให้ผู้สนใจติดต่อขอรับเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ฝ่ายพัสดุ ส่วนบริหารการพัสดุ กรมศุลกากร จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2552 กําหนดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 24 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุมฝ่ายพัสดุ และกําหนดเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ บริษัทพันธวณิช จํากัด ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกา
แต่มีผู้สนใจติดต่อขอรับเอกสาร ประกวดราคาเพียงรายเดียว คือ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด คณะกรรมการประกวดราคาซื้อ ลงวันที่ ประชุมหารือและมีมติให้ยกเลิกประกาศกรมศุลกากร 3 เมษายน 2552 ดังกล่าวและดําเนินการประกาศประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่องใหม่ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธี ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 9 ส่วนคณะกรรมการประกวดราคาซื้อให้ทําหน้าที่ตามระเบียบ พัสดุต่อไป ต่อมาจําเลยที่ 1 ลงนามในประกาศกรมศุลกากร เรื่อง ประกาศประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง ลงวันที่ 30 เมษายน 2552 และเอกสารประกวดราคา ตามเอกสารหมาย จ.45 และ จ.46
ครั้งนี้มีผู้สนใจ ติดต่อขอรับเอกสารประกวดราคา 2 ราย คือ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด และบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการประกวดราคา ซื้อได้ไปสังเกตการณ์ในการประมูลราคา ณ บริษัทพันธวณิช จํากัด ผลปรากฏว่าบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เป็นผู้ให้ราคาต่ำสุด 2,560,000 บาท คณะกรรมการประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์จึงรายงานผลการประกวดราคาเสนอต่อจําเลยที่ 1 สั่งอนุมัติให้เลือกซื้อ เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 จากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาตามที่ คณะกรรมการประกวดราคาซื้อเสนอ ตามคําสั่งท้ายบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ.54 โดยบริษัท ดังกล่าวได้เข้าทําสัญญาซื้อขายกับกรมศุลกากร ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ตามเอกสารหมาย จ.60 และบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ได้ส่งมอบของตามสัญญาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ตามหนังสือแจ้งส่งของเอกสารหมาย จ.61 ต่อมาคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ดําเนินการทดสอบและทํารายงานตรวจรับพัสดุเสนอต่อกรมศุลกากร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ตามใบ รายงานผลการตรวจรับพัสดุและบันทึกการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 เอกสารหมาย จ.68 และ จ.69
โดยนายอดิศร ชินวงศ์ หนึ่งในคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ติดราชการ จึงไม่ได้ร่วมลงนามในเอกสารดังกล่าว (ทําให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ชี้มูลความผิด) ต่อมา ปี 2553 มีนายวรัญชัย โชคชนะ แกนนํากลุ่มพิทักษ์ผลประโยชน์ประชาชน นายไชยยงค์ รัตนวัน และนายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทยและเครือข่ายฯ มีหนังสือร้องเรียนกล่าวโทษถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ไต่สวนและดําเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 โดยกล่าวหากรณีหน่วยงานราชการหลายแห่ง จัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัยโดยทุจริต ตามหนังสือร้องเรียน เอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.6 กรมสอบสวนคดีพิเศษแต่งตั้งคณะทํางาน เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงและแสวงหาพยานหลักฐาน
เบื้องต้นพบว่ามีส่วนราชการที่จัดซื้อในราคาที่แตกต่างกันมาก และเมื่อนําข้อมูลผลการตรวจสอบ ประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 และอัลฟา 6 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว เห็นว่าน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
เพราะมีการจัดซื้อในราคาที่แพงแตกต่างกันมาก น่าเชื่อได้ว่าหน่วยงานราชการรวม 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการปกครอง จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดยะลา ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ สถาบัน นิติวิทยาศาสตร์ และกรมสรรพาวุธทหารบก จัดซื้อในราคาที่เกินกว่าความจําเป็น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ซึ่งหน่วยงานที่จัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 และอัลฟา 6 จํานวน 15 หน่วยงาน รวมทั้งกรมศุลกากรด้วย ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดําเนินแก่บริษัท ผู้จําหน่ายเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัยดังกล่าวต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยกรมศุลกากรร้องทุกข์ กล่าวโทษให้ดําเนินคดีแก่บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ประกอบมาตรา 83
โดยส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดดําเนินคดีต่อไป ต่อมาศาลแขวงดอนเมือง มีคําพิพากษาว่า บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด และนายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ กรรมการบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ตามคําพิพากษาเอกสารหมาย จ.82 สําหรับเรื่องการดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคําสั่ง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน และปรับเปลี่ยนอนุกรรมการไต่สวน ตามคําสั่งเอกสารหมาย จ.7 และ จ.8 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติตามเสียงข้างมาก ชี้มูลความผิด จําเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ตามรายงานและสํานวนการไต่สวน เอกสารหมาย จ.118 ส่วนการดําเนินการทางวินัยของกรมศุลกากรต่อจ๋าเลยทั้งแปดนั้น จําเลยที่ 1 ไม่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ร้ายแรง เพราะลาออกจากราชการเมื่อปี 2558 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดเมื่อปี 2564
จําเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นข้าราชการไปเกินกว่า 3 ปีแล้ว จึงต้องยุติการดําเนินการทางวินัย ตามคําวินิจฉัยของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จําเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 พ้นจากการเป็นข้าราชการเกินกว่า 3 ปี จึงยุติการดําเนินการทางวินัย ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังเป็นคุณ
จําเลยที่ 3 กรมศุลกากรใช้สํานวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงโทษทางวินัยร้ายแรง ไล่ออกจากราชการ จําเลยที่ 3 อุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อยู่ระหว่างการพิจารณา อุทธรณ์ จําเลยที่ 4 กรมศุลกากรใช้สํานวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงโทษทางวินัยร้ายแรง ไล่ออกจากราชการ ตามคําสั่งเอกสารหมาย ล.21 จําเลยที่ 5 ได้เกษียณอายุราชการเกินกว่า 3 ปี นับถึงวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด จึงงดดําเนินการทางวินัย จําเลยที่ 5 กรมศุลกากร มีคําสั่งไล่ออกจากราชการ ตามคําสั่งเอกสารหมาย ล.22 จําเลยที่ 5 ยื่นอุทธรณ์ อยู่ระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม จําเลยที่ 2 กรมศุลกากรมีคําสั่งไล่ออก จากราชการ ตามคําสั่งเอกสารหมาย ล.23 จําเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และจําเลยที่ 8 กรมศุลกากรมีคําสั่งไล่ออกจากราชการ ตามคําสั่งเอกสารหมาย ล.24 จําเลยที่ 8 ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางมีคําสั่งรับคําฟ้องไว้พิจารณา ตามเอกสารหมาย ล.25 นอกจากนี้กรมศุลกากรได้มีคําสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา
ซึ่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดพิจารณาเห็นว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและขั้นตอนโดยถูกต้อง มิใช่เป็นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงที่ทําให้ทางราชการเกิด ความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และความ เสียหายที่หน่วยงานรัฐได้รับเกิดจากบุคคลภายนอก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจึงไม่ต้อง รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด ตามบันทึกข้อความที่กรมบัญชีกลางรายงานต่อปลัดกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย ล.11
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยทั้งแปดกระทําความผิดตามฟ้อง หรือไม่ โจทก์มี พยานบุคคล คือ พลตรีทวีศักดิ์ จันทราสินธุ์ นางสาวอัฉราวรรณ ซื่อสัตย์ต่อกิจ นายเชิดชัย มีคํา และนายพิพิธ สุขเกษม และมีเอกสารหมาย จ.1 ถึง 1.118 ส่วนจําเลยทั้งแปดอ้างตนเอง นางสาวสุกัลยา นําชัยชนะ และนางธนพรรณ เทียนส่องแสง และมีเอกสารหมาย ล.1 ถึง 3.27 เป็นพยานหลักฐาน โดยมีปัญหาแรกที่ต้องวินิจฉัยก่อนคือ จําเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้อง หรือไม่ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 1ออกเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องพิสูจน์สารเสพติด แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 2,580,000 บาท โดยไม่มีการเผยแพร่เอกสาร ประกวดราคาตามที่กฎหมายกําหนด ได้ความจากพยานโจทก์ปากนางสาวอัฉราวรรณซึ่งทําหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุและได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการประกวดราคา โดยเบื้องต้น พยานเป็นผู้ถูกกล่าวหาด้วยและชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามเอกสารหมาย จ.89 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ชี้มูลความผิดพยาน
โดยพยานเบิกความน่าเชื่อว่าในครั้งแรกได้มีการนําประกาศประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่องและเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เลขที่ 4/2552 ลงวันที่ 3 เมษายน 2552 ไปประกาศทางเว็บไซต์ของกรมศุลกากรและเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง แต่มีผู้สนใจติดต่อขอรับเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียวคือบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด จําเลยที่ 1 จึงมีคําสั่งยกเลิกประกาศประกวดราคาตามข้อเสนอของคณะกรรมการประกวดราคา ต่อมาเมื่อจําเลยที่ 1 ลงนามในประกาศกรมศุลกากรลงวันที่ 30 เมษายน 2552 เรื่อง ประกาศประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง และเอกสาร ประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เลขที่ 9/2552 ลงวันที่ 30 เมษายน 2552
คณะกรรมการประกวดราคาได้นําเอกสารดังกล่าวไปประกาศทางเว็บไซต์ของกรมศุลกากรและ เว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง ในครั้งนี้มีผู้สนใจติดต่อขอรับเอกสารประกวดราคาซื้อ 2 รายคือบริษัท เอวิเอ แซทคอม จํากัด และบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด และพยานยืนยัน ว่าการจัดซื้อจัดจ้างถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย ซึ่งเจือสมกับพยานจําเลยปาก นางธนพรรณ เทียนส่องแสง ที่เบิกความยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุพยานดํารงตําแหน่งหัวหน้าฝ่าย สารบรรณกลาง ส่วนเลขานุการกรม สํานักบริหารกลาง กรมศุลกากร ที่รับผิดชอบในการฝากส่ง ประกาศประกวดราคาโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่พัสดุมาส่งประกาศแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของพยาน และนํามาให้พยานตรวจสอบ ก่อนที่จะส่งประกาศดังกล่าวไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พยานเป็นหัวหน้าได้จัดส่งประกาศประกวดราคาไปยังอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ผู้อํานวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการศูนย์รวมข่าวประกวดราคา ออนไลน์ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยจัดส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
นอกจากนี้พยานโจทก์ปากนายเชิดชัยซึ่งเคยเป็นนิติกรเชี่ยวชาญ ระดับ 9 สังกัดกรมบัญชีกลาง เบิกความด้วยว่าการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
@การพิจารณาของศาล
โดยในการเผยแพร่ประกาศประกวดราคาต้อง ประกาศในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางและกรมศุลกากร เมื่อพยานดูเอกสารหมาย ล.15 (เอกสารเป็นชุด) เห็นว่าได้มีการประกาศโดยชอบตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น พยานหลักฐาน ที่โจทก์นําสืบยังไม่พอฟังว่าจําเลยที่ 1 ออกเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงการจัดซื้อเครื่องพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง โดยไม่มีการเผยแพร่เอกสาร ประกวดราคาตามที่กฎหมายกําหนดดังที่โจทก์ฟ้อง
และที่โจทก์ฟ้องว่าวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาพิจารณาข้อเสนอการประกวด ราคาซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา (Indicator Handset) รุ่นที่ 200 ของบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด และบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยไม่ได้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศ บริษัททั้งสองรายจึงมิใช่ผู้มีอาชีพขายพัสดุโดยตรง รวมทั้งไม่มีหลักฐานใดระบุว่า บริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด และบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัดมีวัตถุประสงค์ในการจําหน่ายเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา (Indicator Handset) และบริษัททั้งสองไม่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ คือ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก และ/หรือรูปแบบรายการละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา
นอกจากนี้บริษัทอินเตอร์เทรดออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด ไม่ได้ยื่นเอกสารตามเอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 3 หลักฐานการเสนอราคา และข้อ 4 หลักฐานการเสนอราคาที่เกี่ยวข้อง ทําให้ไม่สามารถตรวจสอบว่าผู้เสนอราคามีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีการขัดขวางการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรม
รวมทั้งคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่าเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอาชีพขายพัสดุดังกล่าว หรือไม่ ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาฯ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 50 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 และข้อ 9 จึงไม่มีผู้เสนอราคารายใดมีคุณสมบัติ ในการเสนอราคาครั้งนี้
ดังนั้นจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาไม่มีอํานาจพิจารณาผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดเข้าเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาและจะต้องยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวเรื่องนี้ได้ความตามทางนําสืบในชั้นพิจารณาว่า ในชั้นไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนของป.ป.ช. ทางกรมศุลกากรส่งเอกสารให้คณะอนุกรรมการไต่สวนไม่ครบถ้วน
ครั้นเมื่อศาลนี้มีหมายเรียกไปอีกครั้ง กรมศุลกากรส่งเอกสารที่ทางบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด และบริษัท อินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด ยื่นต่อคณะกรรมการประกวดราคาไว้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 ตามเอกสารหมาย ล.15 (เอกสารเป็นชุด) เห็นได้ว่าบริษัททั้งสอง ยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ คือ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก และ/หรือรูปแบบรายการละเอียด คุณลักษณะเฉพาะของเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา มีหนังสือรับรองบริษัทซึ่ง ซึ่งตรวจสอบวัตถุประสงค์ของบริษัทได้
โดยพยานโจทก์ปากนางสาวอัฉราวรรณเบิกความว่าพยานช่วยพิมพ์ เอกสารของคณะกรรมการประกวดราคา เห็นว่าทั้งสองบริษัทมีคุณลักษณะตรงตามประกาศประกวดราคา และพยานโจทก์ปากนายเชิดชัยก็เบิกความว่าเมื่อดูประกาศประกวดราคาในเอกสาร หมาย ล.15 แล้ว เบื้องต้นเห็นว่าเป็นไปตามแบบที่กรมบัญชีกลางกําหนดถูกต้อง ในเรื่องของ คุณสมบัติของผู้เสนอราคาจะต้องดูการจดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและหนังสือรับรองของบริษัทซึ่งจะมีวัตถุประสงค์แนบท้าย
การกําหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาเป็นไปตามดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะกําหนดในประกาศประกวดราคา เมื่อตรวจดูหนังสือรับรองบริษัทเห็นได้ว่าทั้งสองบริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์ในการขายเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาและมีแคตตาล็อกแนบมาด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานตรวจดูประกาศประกวดราคาแล้ว ไม่ได้กําหนดว่าผู้เสนอราคาซึ่งจําหน่ายพัสดุอันเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศจะต้องยื่นหนังสือแต่งตั้งจากตัวแทนบริษัทผู้ผลิตต่างประเทศมาด้วย
จากพยานหลักฐานดังกล่าวจึงเชื่อว่าคณะกรรมการประกวดราคาได้ตรวจสอบเอกสารของบริษัททั้งสองก่อนดําเนินการประกวดราคาครบถ้วนตามประกาศประกวดราคาจนมีหลักฐานเพียงพอว่าทั้งสองบริษัทมีคุณสมบัติตรงตามประกาศประกวดราคาและมีเอกสารครบถ้วนแล้ว
ส่วนในเรื่องของการจําหน่ายพัสดุอันเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ เมื่อในการประกาศประกวดราคามิได้กําหนดว่าจะต้องยื่นหนังสือแต่งตั้งจากตัวแทนบริษัทผู้ผลิตต่างประเทศมาด้วย คณะกรรมการประกวดราคาก็ไม่มีความจําเป็นต้องเรียกเอกสารนอกเหนือจากประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นดุลพินิจที่จะทําได้
ทั้งรายละเอียดและขอบเขตของงาน (TOR) ตามเอกสารหมาย จ.32 ในข้อ 2 เรื่องวัตถุประสงค์ คือให้ซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 ชุด ไม่ได้ระบุยี่ห้อและรุ่นของพัสดุเป็นการเฉพาะเจาะจงไว้ และไม่ได้ระบุด้วยว่าผู้ค้า จะต้องนําสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศมาจําหน่ายและไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นตัวแทนผู้ผลิตในต่างประเทศที่นําสินค้ามาจําหน่ายในประเทศไทย
คณะกรรมการประกวดราคาย่อมเชื่อโดยสุจริตว่าบริษัททั้งสองรายเป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุโดยตรง พยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่พอฟังว่า จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีพฤติการณ์กระทําความผิดในเรื่องนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาร่วมการชม การสาธิตการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 ของ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด และบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด
โดยมีคณะทหารอากาศ (เครื่องแบบสี กรมท่า) ทําการสาธิตทดสอบ โดยใช้เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัย ที่คณะทหารอากาศนํามาทําการทดสอบ โดยแต่ละบริษัททดลองบริษัทละ 5 ครั้ง ผลปรากฏว่า เข็มโลหะชี้ทิศทางที่สามารถชี้ทิศทางชี้เบาะแสไปยังวัตถุต้องสงสัยทุกครั้ง จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 คณะกรรมการประกวดราคาจึงลงมติให้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้จริง การตรวจพบสารเสพติดเป็นลักษณะของการสุ่มไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพของเครื่องตรวจพิสูจน์จึงเป็นการทดสอบที่ไม่ได้ดําเนินการตามวิธีการที่ถูกต้องนั้นเห็นว่า จากบันทึกการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา เอกสารหมาย ส.51 ระบุว่าคณะกรรมการประกวดราคาร่วมการชมการสาธิตการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาจีที 200 ของทั้งสองบริษัท
โดยมีคณะทหารอากาศ (เครื่องแบบสีกรมท่า) ทําการสาธิตทดสอบ โดยใช้เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะทหารอากาศนํามาทํา การทดสอบ โดยแต่ละบริษัททดลองบริษัทละ 5 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะชี้ทิศทางสามารถชี้ทิศทางชี้เบาะแสไปยังวัตถุต้องสงสัยทุกครั้ง
คณะกรรมการฯ จึงลงมติให้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น ซึ่งเป็นปกติ ไม่มีข้อพิรุธใดแสดงให้เห็นว่าบริษัททั้งสองขาดคุณสมบัติในการเข้าเสนอราคาและต้องถูกคณะกรรมการประกวดราคาตัดสิทธิ การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการประกวดราคา จึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5คณะกรรมการประกวดราคาได้รายงานผลการประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ งานจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง โดยในขั้นตอนการประมูล บริษัท อินเตอร์เทรด ออฟเซ็ท ดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด เสนอราคา 2 ครั้ง ราคาต่ำสุดที่เสนอ 2,579,200 บาท ส่วนบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เสนอราคา 5 ครั้ง ราคาต่ำสุดที่เสนอ 2,500,000 บาท โดยบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เคาะราคาแข่งขันกับตัวเอง
ส่วนบริษัทอินเตอร์เทรด ออฟเซ็ทดีเวลลอพเม้นท์ จํากัด เคาะราคาครั้งสุดท้ายลดราคาจากครั้งแรก 300 บาท และเคาะราคาสูง กว่าการเคาะราคาครั้งสุดท้ายของ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด จํานวน 19,200 บาท จึงเห็นได้ ว่าไม่มีเจตนาแข่งขันประมูลราคากันจริง เพื่อให้บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ได้รับเลือกเป็น คู่สัญญา ปรากฏตามทางไต่สวนโดยเฉพาะได้ข้อเท็จจริงจากพยานจําเลยปากนางสาวสุกัลยา นําชัยชนะ ความว่าขณะเกิดเหตุพยานเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการประมูลของบริษัทพันธวณิช จํากัด โดยกรมศุลกากรคัดเลือกบริษัทพันธวณิช จํากัด เป็นตลาดกลางในการจัดซื้อครั้งนี้ ซึ่งบริษัท จะต้องสมัครที่กรมบัญชีกลาง และกรมบัญชีกลางจะเข้าตรวจสอบระบบประมูลออนไลน์ของบริษัทซึ่งต้องได้มาตรฐานจึงจะได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดกลาง การประมูลเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552
โดยกรมศุลกากรจัดส่งรายชื่อผู้เสนอราคามาให้ทางบริษัทนัดหมายประกวดราคา เวลา 10.45 นาฬิกาถึงเวลา 11 นาฬิกาเพื่อทดสอบระบบ
เริ่มประมูลจริงเวลา11 นาฬิกาถึงเวลา 11.30 นาฬิกา ในระหว่างประมูลผู้เสนอราคาจะไม่ทราบชื่อของผู้เสนอราคารายอื่นว่า มีใครบ้าง มีกี่ราย ในวันนั้นมีผู้เสนอราคาเพียง 2 ราย โดยกรมศุลกากรจัดส่งผู้สังเกตการณ์ ทดสอบงานประมูลระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีประสิทธิภาพพร้อมที่จะทําการเสนอราคาได้หรือไม่
ซึ่งผู้สังเกตการณ์จะไม่ใช่คณะกรรมการประกวดราคา คณะกรรมการประกวดราคาจะถูกแยกไปนั่ง อีกห้องหนึ่ง ในห้องนั้นจะมีจอมอนิเตอร์ปรากฏอยู่ จะใช้นามสมมุติของผู้เสนอราคา
คณะกรรมการประกวดราคาจะเห็นราคาของผู้เสนอที่เป็นนามสมมุติทั้งสองบริษัทโดยไม่ทราบชื่อ บริษัทที่แท้จริง ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอราคาครั้งแรกต่ำกว่าราคาเริ่มต้นคือราคา 2,580,000 บาท ผู้เสนอราคาจะไม่เห็นราคาของผู้เสนอราคารายอื่น เสนอราคาได้หลายครั้ง หากเสนอราคาสูงกว่า ราคาที่เสนอก่อนหน้านั้น ระบบจะไม่แสดงราคาหรือรับราคานั้น จะมีกล่องข้อความเตือนว่าจะต้องเสนอราคาต่ำกว่าราคาล่าสุด
เมื่อดําเนินการประมูลเสร็จเรียบร้อย พยานจะเป็นผู้จัดพิมพ์รายงาน การประมูลทันที พร้อมใบยืนยันราคาสุดท้าย นอกจากนี้จะต้องมีใบแจ้งนามสมมุติให้ คณะกรรมการประกวดราคาทราบ พยานจะลงชื่อเป็นผู้จัดทําเอกสารดังกล่าว แต่ไม่ต้องให้ คณะกรรมการประกวดราคาลงชื่อ ส่วน บก 008 คือใบยืนยันราคาสุดท้ายคือเอกสารหมาย จ.58 ประธานคณะกรรมการประกวดราคาจะนําไปแจกให้แก่บริษัทที่เข้าเสนอราคาเพื่อให้บริษัทผู้เสนอราคายืนยันราคาที่เสนอ
คณะกรรมการประกวดราคาจะลงนามเฉพาะเอกสารที่เรียกว่าหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ในวันดังกล่าวพยานไม่พบพฤติการณ์ผิดปกติในการประมูลแต่อย่างใด เห็นว่า การจัดระบบการประมูลทางออนไลน์ ของบริษัทพันธวณิช จํากัด ซึ่งกรมศุลกากรได้คัดเลือกให้เป็นตลาดกลางในการประมูลจัดซื้อครั้งนี้ มีความรัดกุมรอบคอบ ยากแก่การที่คณะกรรมการประกวดราคาจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เสนอ ราคารายใด ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ไม่ปรากฏชัดเจนว่าบริษัททั้งสองนั้นมีผลประโยชน์ ร่วมกันในการจัดซื้อครั้งนี้
เมื่อคณะกรรมการประกวดราคาไม่พบเหตุการณ์ผิดปกติย่อมไม่มี เหตุผลเพียงพอที่จะเสนอจําเลยที่ 1 ให้มีคําสั่งยกเลิกการประกวดราคา ยิ่งไปกว่านั้นนายพิพิธ พยานโจทก์ซึ่งขณะเกิดเหตุได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามคําสั่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็เบิกความว่าในเรื่องนี้ที่ไม่ได้ชี้มูลว่าบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เป็นผู้สนับสนุนในการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ําหนักพอที่จะฟังได้ว่าบริษัทดังกล่าวร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการกระทําความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
และที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 รู้เห็นในการกระทําผิดกฎหมายของจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยสั่งอนุมัติให้บริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด ได้รับเลือกเป็นคู่สัญญา และเมื่ และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน2552 เวลากลางวัน
จําเลยที่ 1 ทําสัญญาซื้อขายเครื่องพิสูจน์สารเสพติดแบบพกพา จํานวน 6 เครื่อง จํานวนเงิน 2,500,000 บาท กับบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เป็นความผิด
เห็นว่า เมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดแจ้งว่า คณะกรรมการประกวดราคาคือจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5มีพฤติการณ์กระทําผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอํานาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ร่วมกันละเว้นไม่ดําเนินการเพื่อให้มี การยกเลิกการดําเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐร่วมกันกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทําการใด ๆ
โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออํานวยแก่ผู้เข้าทําการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐและฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามฟ้องแล้ว
การที่จําเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ประมูลด้วย แต่พิจารณาเห็นชอบไป ตามความเห็นของจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งกระทําโดยชอบ และเข้าทําสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่ชนะ การประมูล จําเลยที่ 1 ย่อมไม่มีเจตนากระทําความผิดฐานดังกล่าวด้วยเช่นกัน ปัญหาต่อไปมีว่า จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้อง หรือไม่
ที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เวลากลางวัน จําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือจําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุร่วมชมการสาธิตทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 ของบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด โดยหน่วยงานของ ฉก.อโณทัย (EOD) ซึ่งเป็นคณะทหารจากกองทัพบก (ชุดสีเขียว) ทําการสาธิตการทดสอบโดยการใช้เครื่องสาธิต เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา จีที 200 หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะฯ นํามาทําการทดสอบ โดยทํา การทดสอบ 10 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะหมุนชี้ทิศทางสามารถชี้เบาะแสไปยังวัตถุต้องสงสัย 7 ครั้ง
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงมีมติตรวจรับและออกใบรายงานผลการตรวจรับพัสดุ โดยขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ตามโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา ระบุว่า การทดสอบจะต้องสามารถตรวจค้นหายาเสพติดโดยให้ผ่านผลการทดสอบไม่น้อยกว่า 50% ดังนั้นการทดสอบดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขแนบท้าย สัญญา ข้อ 4.7 ที่ระบุว่าเครื่องต้องสามารถหายาเสพติดได้หลายชนิด สําหรับการตรวจหาแต่ละ เครื่องและต้องสามารถหายาเสพติดชนิดต่อไปนี้ได้ทั้งหมด คือ ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน กัญชา แอมเฟตามีน เอ็กตาซี และเคตามีน และข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้จริง
การตรวจพบสารเสพติดเป็นลักษณะของการสุ่มไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพของเครื่องตรวจพิสูจน์ จึงเป็นการทดสอบที่ไม่ได้ดําเนินการตามวิธีการที่ถูกต้องและเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 71
จึงเป็นการตรวจรับ โดยมิชอบเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินให้แก่คู่สัญญา ซึ่งจําหน่ายอุปกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพเกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงจากการกระทําดังกล่าวข้างต้นนั้น ได้ความจากทางไต่สวนชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าก่อนที่คณะกรรมการกําหนดขอบเขตของงาน (TOR) จะจัดทํารายละเอียดของเขตขอบเขตงานตามเอกสารหมาย จ.28 เพื่อนํามาใช้ประกาศคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคาและคุณลักษณะของพัสดุที่ต้องจัดซื้อ
คณะกรรมการกําหนดขอบเขตของงาน (TOR) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทดสอบและแนะนําการใช้งานแล้วชั้นหนึ่ง ครั้นจําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 เข้าทําหน้าที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ร่วมชมการสาธิตทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา (GT200) ของบริษัทเอวิเอ แซทคอม จํากัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยหน่วยงานของ ฉก.อโณทัย (EOD) ซึ่งเป็นคณะทหารจากกองทัพบก (ชุดสีเขียว) ทําการสาธิตการทดสอบโดยการใช้ เครื่องสาธิตเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพา (GT200) หาวัตถุต้องสงสัยที่คณะฯ น่ามาทํา การทดสอบ โดยทําการทดสอบ 10 ครั้ง ผลปรากฏว่าเข็มโลหะหมุนชี้ทิศทางสามารถชี้เบาะแส ไปยังวัตถุต้องสงสัย 7 ครั้ง
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงมีมติตรวจรับ ตามบันทึกเอกสารหมาย จ.69 โดยพยานโจทก์ปากพลตรีทวีศักดิ์มาเบิกความว่า ขณะที่กรมศุลกากรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้มีหนังสือถึงกองทัพบก ขอให้จัดคณะไปแนะนําและฝึกสอนวิธีการใช้เครื่อง
ซึ่งกองทัพบกส่งบุคลากรไปช่วยแนะนําฝึกสอนการใช้เครื่องดังกล่าว ตลอดจนร่วมสังเกตการณ์ ในการตรวจรับพัสดุ มีพยานเป็นหัวหน้าครูฝึกด้วย ขณะที่มีการทดสอบวิธีใช้ก่อนที่จะมีการตรวจรับ พัสดุ เห็นว่าเครื่องดังกล่าวที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจัดซื้อนั้นมีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายพึงพอใจ ทั้งคณะกรรมการประกวดราคาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุมาร่วมกันดูการสาธิตวิธีใช้ ปรากฏว่าเครื่องมีความแม่นยําเกือบ 100% หมายความว่าเครื่องดังกล่าวสามารถ ค้นหาวัตถุระเบิดและสารเสพติดได้ถูกต้องตรงจุดที่ซ่อนไว้ จึงมีการตรวจรับ กรมศุลกากรใช้งาน เครื่องที่จัดซื้อนั้นประมาณ 1 ปี จึงได้มีการร้องเรียน
เมื่อสื่อมวลชนออกข่าว ผู้บังคับบัญชาการ ทหารบกขณะนั้น คือ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา มีคําสั่งแต่งตั้งพยานกับพวกให้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง
โดยจําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 นําสืบต่อสู้ในทํานองว่า เครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพาเป็น เครื่องมือใหม่ จําเลยที่ 6 ถึงที่ 4 ไม่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญที่จะตรวจสอบด้วยตนเอง ทําให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเชื่อโดยสุจริตว่าผลจากการสาธิตดังกล่าวกระทําโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วและเชื่อในผลของการทดสสอบนั้น
เมื่อเครื่องตรวจพิสูจน์มีคุณสมบัติไม่ขัดกับรายละเอียดขอบเขต ของงาน (TOR) ตามเอกสารหมาย จ.28 และสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.60 จึงเสนอรายงานผลการตรวจรับพัสดุและใบรายงานผลการตรวจรับพัสดุมีความว่า คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจสอบรายการจัดซื้อแล้ว เห็นว่าผู้ขายดําเนินการตามข้อกําหนดในสัญญาถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว
โดยผู้ขายดําเนินการส่งมอบแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 จึงออกหนังสือ รับรองเพื่อให้ผู้ขายไปดําเนินการวางฎีกาในการเบิกจ่ายเงินต่อไป และเห็นว่าผู้ขายส่งมอบงาน ตามสัญญาซื้อขายเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมควรจ่ายเงินตามจํานวนดังกล่าวได้ ตามเอกสารหมาย จ.67และ จ.68
ส่วนกรณีที่มีการทดสอบเครื่องตรวจพิสูจน์แบบพกพากับสารเสพติดไม่ครบทุกชนิดไม่ถูกต้องครบถ้วนตามคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขแนบท้ายสัญญา ข้อ 4.7 ที่ระบุว่าเครื่องต้อง สามารถหายาเสพติดได้หลายชนิด
สําหรับการตรวจหาแต่ละเครื่องและต้องสามารถหายาเสพติด ชนิดต่อไปนี้ได้ทั้งหมด คือ ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน กัญชา แอมเฟตามีน เอ็กตาซี่ และเคตามีน นั้น ได้ให้เหตุผลตามทางนําสืบว่าตัวสารเสพติดหายาก คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงมิอาจหามาครบทุกชนิดได้ ซึ่งเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในส่วนนี้เป็นความบกพร่อง
แต่ก็เพียงพอรับฟังเหตุผลได้ว่าคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้พยายามทําหน้าที่ของตนแล้วเป็นการกระทําโดยไม่มีเจตนาที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทางราชการ ทั้งพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังได้ว่าจําเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตด้วย
พิพากษายกฟ้อง
อนึ่งเกี่ยวกับคดีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด GT200 และ Alpha6 ของหน่วยงานต่าง ๆ นั้น สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 20 สำนวน จากการไต่สวนทั้งหมด 25 สำนวน
บางหน่วยงานศาลฯมีคำพิพากษาตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรวมถึงเอกชนด้วย ขณะที่อดีตข้าราชการจำนวน 8 ราย กรมศุลกากร ศาลมีคำพากษาให้ยกฟ้อง
ท้ายที่สุดบทสรุปการต่อสู้คดีนี้ และคดีอื่นๆ จะออกมาเป็นอย่างไร ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: GT200-Alpha6! อสส.สั่งฟ้องไปแล้ว 15 คดี 'ปค.-ทอ.-สถาบันนิติฯ' สะดุดเจอตั้งข้อไม่สมบูรณ์
เปิดครบ! 20 หน่วยงานถูก ป.ป.ช.ชี้มูลอาญา-วินัยกราวรูดคดีจัดซื้อ GT200-Alpha6
อ่านประกอบ :
- เปิด 4 แห่งสุดท้าย! ถูกชี้มูลคดีซื้อจีทีฯ ‘อดีต ผช.ผบ.ทร.-2 เลขาฯ ป.ป.ส.’โดนด้วย
- ถึงคิว ตร.! เปิด 5 หน่วยงานถูกชี้มูลคดีซื้อจีทีฯ-‘4 อดีต ผบก.’ผิดวินัยร้ายแรง
- จำแนกชัด! 7 หน่วยงาน มท.ถูกชี้มูลจัดซื้อจีทีฯ อดีตรองปลัด-ผู้ว่าฯโดนด้วย-รมต.รอด?
- เจาะสัญญาซื้อจีทีฯ กองบัญชาการทัพไทย-ป.ป.ช.ชี้มูล‘2 อดีต ผบ.ศรภ.’ผิดวินัยร้ายแรง
- เผยโฉมสัญญาซื้อจีทีฯกรมสรรพาวุธ ทอ.-ป.ป.ช.ชี้มูลวินัยร้ายแรง‘อดีตรอง ผบ.ทอ.’
- ถึงคิว! กรมสรรพาวุธ ทบ.ซื้อจีทีฯ 12 สัญญา-ป.ป.ช.ชี้มูล‘2อดีตเจ้ากรมฯ’ผิดวินัยร้ายแรง
- เตรียมปิดฉากคดี GT200-Alpha6 ป.ป.ช.ชี้มูลกราวรูดกว่า 100 คน 20 สำนวน-ระดับ‘บิ๊ก’ด้วย
- หมอพรทิพย์โดนด้วย! ป.ป.ช.ชี้มูลคดีจีที-อัลฟ่า 100 ราย - เจ้าตัวยันไม่เคยเรียกแจง ม.157
- เปิดครบ! 20 หน่วยงานถูก ป.ป.ช.ชี้มูลอาญา-วินัยกราวรูดคดีจัดซื้อ GT200-Alpha6
- ตามไปดูบ.เอวิเอ หลังแพ้คดีขายจีที200 -รปภ.ปัดไม่รู้จักผู้บริหารโดนโทษจำคุกคนเดียว19 ปี
- ป.ป.ช.แจ้งข้อหากราวรูด 200 ราย! จนท.รัฐพันจัดซื้อ GT200-‘อิศรา’พบมี 10 แห่ง 767 ล.
- ย้อนข้อมูล บ.แจ๊คสันฯ ชนะคดีขายจีที200 กองบัญชาการกองทัพไทย-อัยการอุทธรณ์สู้ต่อ!
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- ข้อมูลธุรกิจล่าสุด สุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ผู้บริหารบ.ขายจีที200 โดนโทษจำคุกคนเดียว 19 ปี
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- จำคุก 9 ปี!ผู้บริหาร บ.เอวิเอฯขาย GT200 ให้กรมราชองครักษ์-ยื่น 9 แสนประกันตัวสู้ต่อ
- เช็คท่าที 'กองทัพบก-กองทัพเรือ-2อบจ.' หลังกรมราชองครักษ์ฟ้องชนะคดีซื้อจีที 200
- สัญญาโมฆะ-ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้!ชนวน บ.เอวิเอฯแพ้คดีGT200 ชดใช้9ล.
- ไม่รับฎีกา! หลังศาลแพ่งสั่งเอวีเอฯ ชดใช้กรมราชองครักษ์9 ล. ซื้อเครื่องจีที200
- 19 สัญญา 688 ล.!เจาะข้อมูล7 หน่วยงานรัฐซื้อจีที200 ก่อนผู้ผลิตโดนยึดทรัพย์
- ปิดฉากคดีขึ้นบัญชีดำบ.ขายจีที-อัลฟ่า! คกก.วินิจฉัย ประเดิมแจ้ง 'กองทัพ' ชงชื่อผู้ทิ้งงาน
- บ.เอ็ม-แลนดาร์ช เปิดเบื้องหลังข้อหาฉ้อโกงอัลฟ่า 6 เป็นห่วงโซ่ลำดับท้ายๆ-ชดใช้ครบแล้ว