ข้อมูลจากเอกสารพบว่าการนำเข้าไม้จากประเทศในเอเชียกลางอย่างคาซัคสถานหรือคีร์กีซสถานพุ่งพรวดขึ้นเป็นอย่างมาก จากที่เคยมีมูลค่าแค่ 445,000 ยูโร (16,484,915 บาท) ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ก็พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 30 ล้านยูโร (1,111,342,635 บาท) ในช่วงระหว่างเดือน มิ.ย.-ต.ค.2565 หลังจากที่มาตรการคว่ำบาตรเริ่มมีผลบังคับใช้
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นเรื่องการคว่ำบาตรประเทศรัสเซียกันอีกครังหนึ่ง
โดย เว็บไซต์สำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตคอรัปชั่น” หรือ OCCRP ซึ่งเป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่อต้านคอร์รัปชันได้มีการรายงานข่าวว่าย้อนไปเมื่อสหภาพยุโรปหรือว่าอียูได้ห้ามไม่ให้มีการนำเข้าไม้จากประเทศรัสเซียและประเทศเบลารุส ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองประเทศเคยเป็นซัพพลายเออร์ด้านไม้รายใหญ่ของอียู เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการรุกรานยูเครน โดยหวังว่าจะไม่ทำให้เม็ดเงินจำนวนนับหลายพันล้านยูโรไปสู่รัสเซีย
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการทำข่าวสืบสวนโดยศูนย์ข่าวสืบสวนเบลารุส (BIC), สำนักข่าวเซียนาของประเทศลิทัวเนียและเครือข่ายของ OCCRP กลับตรวจสอบพบว่ามีบริษัทค้าไม้ได้พยายามหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ โดยใช้กระบวนการทางเอกสารทำให้เข้าใจผิดว่าไม้นั้นถูกขนส่งมาจากประเทศอย่างคาซัคสถานหรือคีร์กีซสถาน
ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์ที่มาจากไม้หลายรายการมีราคาที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากมาตรการคว่ำบาตรของอียู ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบว่ามีหลายบริษัทได้รับดำเนินการทำเอกสารปลอมเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าสามารถขายไม้จากรัสเซียและเบลารุสได้อย่างผิดกฎหายในยุโรป
โดยข้อมูลจากเอกสารพบว่าการนำเข้าไม้จากประเทศในเอเชียกลางอย่างคาซัคสถานหรือคีร์กีซสถานพุ่งพรวดขึ้นเป็นอย่างมาก จากที่เคยมีมูลค่าแค่ 445,000 ยูโร (16,484,915 บาท) ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ก็พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 30 ล้านยูโร (1,111,342,635 บาท) ในช่วงระหว่างเดือน มิ.ย.-ต.ค.2565 หลังจากที่มาตรการคว่ำบาตรเริ่มมีผลบังคับใช้
ยิ่งไปกว่านั้นทั้งประเทศคาซัคสถานและประเทศคีร์กีซสถานยังเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าน้อยมาก โดยมีพื้นที่แค่ไม่ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด อีกทั้งทั้งสองประเทศยังได้ยกเลิกการส่งออกไม้ทุกชนิดออกนอกประเทศไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2564
มีรายงานว่าไม้จากเอเชียกลางส่วนใหญ่แล้วจะมีปลายทางอยู่ที่ที่ลิทัวเนีย โปแลนด์ เยอรมนี เดนมาร์ก และลัตเวีย ตามข้อมูลการค้าจากสํานักงานสถิติยุโรป (Eurostat) ซึ่งในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ต.ค. พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ของไม้ทั้งหมดที่มีการนำเข้ามาในยุโรป พบว่ามาจากคาซัคสถานและคีร์กีซสถานส่งไปยังห้าประเทศนี้
ปริมาณไม้ที่ยุโรปนำเข้าจากเอเชียกลาง
โดยในลิทัวเนียและลัตเวียที่มีพรมแดนติดกับเบลารุส พบว่าทั้งสองประเทศนี้เคยมีประวัติว่าเป็นช่องทางขนาดใหญสำหรับสินค้าจากเบลารุสส่งตรงไปถึงยุโรป ซึ่งในตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานศุลกากรก็กำลังติดตามการไหลบ่าเข้ามาเป็นจำนวนมากของไม้ต้องสงสัยอย่างกะทันหัน
“มีเรื่องที่เป็นความลับอย่างปฏิเสธไม่ได้แน่นอน” นายวีกันตัส ไพโกซินาส (Vygantas Paigozinas) รองผู้อํานวยการฝ่ายศุลกากรของลิทัวเนียให้สัมภาษณ์กับ OCCRP
โดยจากการตรวจสอบการขนส่งไม้มีการอ้างว่ามาจากเอเชียกลาง อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครื่องหมายที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์กลับมีชุดเอกสารเพิ่มเติมระบุว่าแท้จริงแล้วสินค้ามาจากรัสเซียหรือไม่ก็เบลารุส
ย้อนไปเมื่อกลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ศุลกากรลิทัวเนียออกประกาศว่าได้มีการจำกัดการนำเข้าไม้ที่อ้างว่ามาจากคาซัคสถานหรือคีร์กีซสถานแล้ว เพื่อเป็นการรับมือกับความพยายามที่จะหลบเลี่ยงมาตรการการคว่ำบาตร ทว่านายไพโกซินาสกล่าวว่ากลุ่มผู้ลักลอบขนไม้ได้ดำเนินการปรับตัวกับมาตรการข้อจำกัดของศุลกากรลิทัวเนียแล้วด้วยเช่นกัน
รถลักลอบขนไม้ที่ทางการลิทัวเนียสามารถยึดได้เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
“เราพบหลายกรณีการลักลอบมาก แต่อีกฝ่ายก็พยายามจะปรับปรุงวิธีการของตัวเอง เพื่อจะใช้ความพยายามหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรให้มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นกัน เราต้องพิสูจน์ให้ชัดเจน แต่ว่าความชัดเจนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพิสูจน์” นายไพโกซินาสกล่าว
ส่วนในประเทศลัตเวีย เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่นั่นได้ให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขาเคยหยุดการขนส่งไม้เป็นจำนวนสามครั้งการขนส่งได้ ซึ่งในการขนส่งพบว่ามีเอกสารสำแดงอันน่าสงสัยจากคาซัคสถานและคีร์กีซสถาน ในขณะที่รถขนส่งสินค้าพยายามที่จะข้ามพรมแดนจากรัสเซียเข้าไปในยุโรป โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรกล่าวยอมรับว่าเป็นการยากมากที่จะพิสูจน์ที่ไปที่มาของสินค้า
“กรอบกฎหมายเกี่ยวกับการคว่ำบาตรแบนไม่ให้มีการนำเข้าไม้จากรัสเซียและก็เบลารุสเท่านั้น แต่ว่าไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะแบนสินค้าจากประเทศอื่นๆ ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ พวกเขา(ผู้ขนส่ง) ไม่จำเป็นซ่อนเร้นสินค้าที่นำเข้ามาจากคาซัคสถานและคีร์กีซสถานภายใต้รหัสศุลกากรอื่นๆแต่อย่างใด” ศุลกากรลัตเวียระบุ
@ทำในคีร์กีซสถาน
นายซอลิอุส เกอร์เซ่ (Saulius Girčys) นักธุรกิจและอดีตสมาชิกคณะกรรมการปกครองท้องถิ่นของพรรคสังคมประชาธิปไตยของลิทัวเนียหรือพรรค LSDP ได้ให้เคยแสดงให้ดูถึงภาพของผ้าใบกันน้ำที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ โดยผ้าใบนั้นปกคลุมถุงเม็ดไม้ซึ่งอยู่ในโกดังของเขา ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงของลิทัวเนีย โดยถุงคลุมเหล่านี้ส่วนมากแล้วแสดงฉลากบริษัทของคีร์กีซสถานที่ชื่อว่าบริษัท Agro KG
“คุณเห็นใช่ไหม มันบอกว่าประเทศคีร์กีซสถาน แต่แท้จริงแล้วพวกนี้มันทำในเบลารุส แต่เพราะว่านี่เป็นสินค้าที่ถูกห้าม พวกเขาก็เลยทำเอกสารของประเทศคีร์กีซสถาน” นายเกอร์เช่กล่าวกับผู้สื่อข่าวสองคนที่แฝงตัวไปติดเขา โดยอ้างว่าเป็นลูกค้าที่ต้องการจะซื้อสินค้า
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่านายเกอร์เซ่เคยขายเม็ดไม้ที่มาจากรัสเซียผ่านบริษัทที่เขาร่วมเป็นเจ้าของชื่อว่าบริษัทวิวาลซา (Vivalsa) ทว่าหลังจากที่มาตรการคว่ำบาตรมีผลบังคับใช้ วิวาลซาก็ถูกบังคับให้หาไม้จากที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ของบริษัทไม่ได้อ้างชัดเจนว่าไม้นั้นมาจากคีร์กีซสถานและคาซัคสถาน
“เราทุกคนเข้าใจว่าคีร์กีซสถานไม่ได้ทำเม็ดไม้เหล่านั้น” นายเกอร์เซ่ระบุ
แผ่นไม้ที่ศุลกากรลิทัวเนียสามารถยึดได้
ทั้งนี้ก่อนหน้าการคว่ำบาตร เบลารุสเคยเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ด้านไม้รายใหญ่ที่สุดของยุโรป โดยในช่วงปี 2564 เบลารุสสามารถขายไม้ให้กับยุโรปได้คิดเป็นมูลค่า 1.37 พันล้านยูโร (50,751,313,665 บาท) ส่วนการส่งออกไม้จากรัสเซียไปยังยุโรปนั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก ซึ่งในปี 2564 พบว่ารัสเซียสามารถขายไม้ให้กับยุโรปคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.12 พันล้านยูโร (115,579,634,040 บาท) และพอมาถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 มูลค่าสินค้าไม้นำเข้าของรัสเซียก็ไปอยู่ที่ประมาณ 1.4 พันล้านยูโร (51,862,656,300 บาท) ก่อนที่มาตรการคว่ำบาตรห้ามไม่ให้มีการนำเข้าไม้จากรัสเซียจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ทางด้านของนายเกอร์เช่ให้สัมภาษณ์ในภายหลังยืนยันว่าเขาได้ซื้อเม็ดไม้มาจากบริษัทสัญชาติโปแลนด์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งบริษัทที่ว่านี้ได้นำไม้มาส่งตรงถึงเขาในประเทศลิทัวเนีย
โดยเมื่อผู้สื่อข่าว (ที่แฝงตัวว่าเป็นผู้สนใจซื้อไม้)ได้สอบถามว่าแล้วจะไม่มีปัญหาหรือ ถ้าหากจะต้องซื้อเม็ดไม้จากประเทศซึ่งถูกคว่ำบาตร นายเกอร์เซ่กล่าวว่าเขาสามารถเสนอบริการด้านเอกสารที่จะปกปิดตัวตนที่มาของไม้เหล่านี้ได้
“ผมจะเขียนอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ สำหรับผมแล้วมันไม่มีความแตกต่างเลย ไม่มีการเขียนบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าเม็ดไม้นี้มาจากไหน นอกจากนี้ในเอกสารการได้มาของไม้ มันก็ไม่ได้มีการเขียนบอกที่มาของเม็ดไม้นี้เช่นกัน คือคุณกำลังซื้อไม้จากผม ที่เป็นผู้ขายจากลิทัวเนีย ถ้าคุณต้องการ ผมสามารถเขียนว่าเม็ดไม้นี้มาจากลิทัวเนียได้ด้วยซ้ำ” นายเกอร์เซ่กล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปหานายเกอร์เซ่ในภายหลัง นายเกอร์เซ่ก็ได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยเขายืนยันว่าไม้ที่เขาได้เคยแสดงให้ผู้สื่อข่าวดูก่อนหน้านี้นั้นมาจากประเทศในเอเชียกลาง แต่เขาก็ไม่ได้เจาะจงว่าประเทศไหน และยังยืนยันต่อไปอีกว่าเขาไมได้ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรแต่อย่างใด
“เท่าที่ผมรู้ คือผมทำแค่เขียนเอกสาร ทุกเอกสารนั้นมีใบรับรองในการปฏิบัติตาม และมันก็มีเม็ดไม้ที่มาจากคาซัคสถาน.... ผมหมายถึงมาจากคีร์กีซสถาน ผมไม่ได้ละเมิดอะไรเลย” นายเกอร์เซ่กล่าว
เมื่อถามต่อเกี่ยวกับบริการของนายเกอร์เซ่ ที่บอกว่าจะรับทำเอกสารให้ โดยระบุตอนหนึ่งว่าเขาสามารถเขียนได้ว่าไม้นั้นมาจากลิทัวเนีย นายเกอร์เซ่กล่าวว่าเขายืนยันว่าเขาไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบข้อไหนแต่อย่างใด
“ผมไม่ได้เสนอบริการการปลอมแปลงเอกสาร ผมบอกว่าถ้าคุณบอกว่าต้องการให้ผมเขียน (ที่มาของไม้) ว่ามันมาจากลิทัวเนีย ผมก็สามารถทำได้ ผมไม่สนใจว่าจะเขียนอะไรไป” นายเกอร์เซ่กล่าวกับผู้สื่อข่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามคำถามที่มีลักษณะกดดันมากขึ้น โดยถามไปว่าเขาสนับสนุนสงครามในยูเครนด้วยการหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรหรือไม่ นายเกอร์เซ่กล่าวว่าเขาไม่เห็นว่าไม้จากเบลารุสจะเป็นปัญหาตรงไหน เพราะแม้ว่ารัฐบาลเผด็จการเบลารุสจะเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับรัสเซียและยังเป็นผู้สนับสนุนสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ด้วยการอนุญาตให้กองทัพรัสเซียเคลื่อนทัพผ่านประเทศตัวเอง แต่ว่าตอนนี้เบลารุสก็ยังไม่ได้ยกกองทัพของตัวเองเข้าสู่สงครามแต่อย่างใด
“แม้ว่าเม็ดไม้จะมาจากเบลารุสจริง แต่เบลารุสก็ยังไม่ได้เข้าร่วมในสงคราม ดังนั้นผมไม่คิดว่ามือผมจะเปื้อนเลือดแต่อย่างใด” นายเกอร์เซ่กล่าว
โกดังเก็บไม้ของนายซอลิอุส เกอร์เซ่ นักธุรกิจชาวลิทัวเนีย ที่ได้แสดงให้กับผู้สื่อข่าวที่แฝงตัวเป็นผู้สนใจซื้อไม้ โดยนายเกอร์เซ่อ้างชัดเจนเกี่ยวกับไม้จากเบลารุสที่มีการเปลี่ยนสลากที่มาของไม้ว่ามาจากเอเชียกลาง
@ด้วยรถบรรทุกและด้วยรถไฟ
ผู้สื่อข่าวจาก BIC ได้พยายามติดต่อไปยังบริษัทสัญชาติคีร์กีซสถานที่ปรากฏอยู่บนถุงเม็ดไม้ในโกดังของนายเกอร์เซ่ ซึ่งชื่อว่าบริษัท Agro KG โดยคราวนี้ผู้สื่อข่าวได้อ้างตัวว่าเป็นผู้ขายชาวเบลารุส ซึ่งทางด้านของตัวแทนบริษัท Agro KG ได้กล่าวว่าบริษัทแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะดำเนินการขนส่งไม้เท่านั้นแต่บริษัทยังมองหาช่องทางที่จะขยายกิจการด้วย
“เราดำเนินการขนส่งไม้ด้วยรถบรรทุก และตอนนี้เราต้องการจะใช้รถไฟ” ตัวแทนบริษัทกล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สื่อข่าวจาก OCCRP ได้ติดต่อย้ำไปอีกรอบกับทางบริษัท Agro KG ตัวแทนบริษัทกับปฏิเสธความเกี่ยวข้องในทุกๆประการ
อนึ่งบริษัท Agro KG ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทสัญชาติคีร์กีสและเบลารุสจำนวนหลายแห่งที่เสนอบริการทำเอกสารเท็จให้กับผู้สื่อข่าว (ที่แฝงตัวอ้างว่าเป็นลูกค้า) ซึ่งเอกสารเท็จจะทำให้พวกเขาสามารถหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรในการขายไม้เบลารุสให้กับประเทศในอียูได้
ตัวอย่างใบรับรองว่าไม้มาจากคีร์กีซสถาน
กลับมาที่ในเบลารุส ผู้สื่อข่าวได้พบกับบริษัทรับรองเอกสารจำนวนหลายแห่งที่รับจัดหาเอกสารหลายรายการเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร อาทิ บริษัทชื่อว่า StandartnoBy เสนอว่าจะให้ใบรับรองสัญชาติคีร์กีซกับผู้สือข่าวที่ติดต่อไปโดยอ้างมาจากบริษัทโปแลนด์ที่ต้องการจะซื้อไม้จากเบลารุส
“ด้วยใบรับรองเหล่านี้ ผู้ผลิตไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆสามารถจะยืนยันกับศุลกากรยุโรปได้เลยว่าทุกอย่างนั้นมาจากคีร์กีซสถาน” ตัวแทนบริษัท tandartnoBy กล่าวผ่านข้อความบนแอปพลิเคชัน Telegram พร้อมแนบตัวอย่างเอกสารประกอบมาด้วย
สำหรับรายละเอียดของใบรับรองนั้นพบว่าออกในนามของบริษัทคีร์กีซที่ชื่อว่าบริษัท Sertifikat KG ในนามของบริษัทอีกแห่งที่ชื่อว่าบริษัท KSK Torg ซึ่งบริษัท KSK นั้นมีเจ้าของร่วมบริษัทได้แก่นายอเลห์ นาร์ชุค (Aleh Narchuk) จากเบลารุสร่วมกับนักธุรกิจคีร์กีซรายหนึ่ง ส่วนบริษัท Sertifikat KG ก็มีผู้ก่อตั้งคือนายนาร์ชุคเช่นกัน และตอนนี้บริษัทแห่งนี้ก็มีเจ้าของส่วนหนึ่งเป็นนักธุรกิจสัญชาติคีร์กีซคนดังกล่าว ซึ่งจนถึงตอนนี้ผู้สื่อข่าวยังไม่สามารถติดต่อนักธุรกิจคีร์กีซคนนี้ได้
ห้าประเทศในยุโรปที่ถูกระบุว่ารับไม้มาจากคาซัตสถานและคีร์กีซสถานมากที่สุด
ทางด้านของนายนาร์ชุกได้ปฏิเสธโดยกล่าวว่าบริษัทที่มีส่วนเชื่อมโยงกับเขาไม่ได้ไปมีส่วนกับการหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรแต่อย่างใด และยืนยันว่าเขาปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และจะไม่มีการพฤติกรรมเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสารอย่างแน่นอน
แต่เมื่อถามว่าบริษัทของเขาเคยเสนอบริการเกี่ยวกับการสร้างเอกสารเท็จ นายนาร์ชุกกล่าวว่าคาดว่าพวกเขา (พนักงานบริษัท) ต้องการที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต 2 แม่ทัพฟ้าสหรัฐฯ ถูกจ้างเป็นที่ปรึกษา บ.อาเซอร์ฯ ส่อไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการเบลเยียมสั่งสอบสมาชิกสภายุโรปถูกกาตาร์ 'ล็อบบี้' ปมบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: สารพัดปัญหาสิทธิคนงานเย็บเสื้อบอลโลก 2022 ค่าแรงต่ำสุดแค่วันละ 80 บ.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธ.ยักษ์ใหญ่ออสเตรเลีย เอี่ยวเส้นทางการเงินทหารเมียนมา ก่อนถอนกิจการต้นปี 66
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากข้อหาสินบนถึงละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อพิรุธ กาตาร์จัดบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต ทอ.แฉ นายกฯมาเลเซียเอี่ยวจัดซื้อ บ.รบ-โดรนหมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64