รายงานข่าวระบุต่อไปว่านายพลกองทัพอากาศจำนวนสองนายได้แก่ พล.อ.อ.ดันแคน แม็คแนบบ์ และ พล.อ.อ.วิลเลียม เฟรเซอร์ที่ 3 นั้นเป็นผู้ที่ดูแลปฏิบัติการณ์ขนส่งเสบียงนับตั้งแต่ปี 2551-2557 และหลังจากที่สองคนนี้เกษียณจากราชการ ก็ยังได้พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ที่มีกับอาเซอร์ไบจานในการหาผลประโยชน์
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น สำนักข่าววอชิงตันโพสต์ได้มีการเผยแพร่บทความข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับกรณีที่มีนายพลทหารอากาศจำนวนสองนายได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับต่างประเทศว่าอาจจะเข้าข่ายเรื่องอื้อฉาวก็เป็นได้ ซึ่งรายละเอียดในบทความนั้นระบุถึงกรณีที่ประเทศอาเซอร์ไบจานได้ว่าจ้างนายพลที่ปลดเกษียณจากกองทัพอากาศจำนวนสองนาย และทางสำนักข่าววอชิงตันโพสต์เองก็ต้องมีประเด็นพิพาททางกฎหมายอย่างกว้างขวางกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อที่จะเปิดเผยรายละเอียดของการทำธุรกรรมอันอื้อฉาวที่ถูกปกปิด
โดยนับตั้งแต่ช่วงปี 2556-2564 วอชิงตันโพสต์ได้มีการยื่นคำขอตามกฎหมายด้านเสรีภาพในการขอข้อมูลข่าวสารหรือ FOIA จำนวนสี่ฉบับไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อขอข้อมูลในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯกลับไม่ตอบสนองหรืออ้างว่าไม่พบเอกสารใดๆที่เกี่ยวข้อง
จนในที่สุดสำนักข่าววอชิงตันโพสต์ก็ต้องไปยื่นฟ้องต่อศาล ส่งผลทำให้ผู้พิพากษาได้ออกคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลเอกสารภายในจำนวนกว่า 400 หน้า เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพลอากาศทั้งสองนายนี้ที่พยายามจะหาผลกำไรกับสัญญาทางทหารกับประเทศอาเซอร์ไบจาน และรายละเอียดเกี่ยวกับว่าเพนตากอนหรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่พยายามจะกำกับดูแลพฤติกรรมของนายทหารดังกล่าว
วอชิงตันโพสต์ได้ระบุต่อไปว่าในช่วงที่สงครามในประเทศอัฟกานิสถานมีความเข้มข้น มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพสหรัฐฯจำนวนหลายนายได้แห่กันเดินทางไปยังประเทศอาเซอร์ไบจาน เพื่อจะไปเจอกับนายอิลฮัม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ซึ่งนายอาลีเยฟคนนี้ถูกสถานทูตสหรัฐฯในอาเซอร์ไบจานเปรียบเทียบว่าเป็นเหมือนกับ “หัวหน้ามาเฟีย” ในภาพยนตร์เรื่อง Godfather
นายอิลฮัม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน (อ้างอิงวิดีโอจาก United Nation Escap)
วอชิงตันโพสต์ระบุในบทความที่เกี่ยวข้องในหัวข้อว่า “การทุจริตนั้นรุ่งเรืองภายใต้การนำของนายอาลีเยฟ” โดยหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯหรือซีไอเอได้เคยกล่าวว่าการทุจริตเป็นเรื่องที่แพร่หลายอย่างมาก ขณะที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ได้ระบุว่าการทุจริตในประเทศมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
แต่ถึงกระนั้นเพนตากอนก็ได้มีการโน้มน้าวให้นายอาลีเยฟเปิดน่านฟ้าประเทศอาเซอร์ไบจานให้สำหรับกองทัพสหรัฐฯและนาโต้เพื่อดำเนินภารกิจการขนส่งเสบียงในอัฟกานิสถาน
“เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯได้รับปากว่าจพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างใกล้ชิดกับนายอาลีเยฟ และได้มีการทำสัญญาด้านความมั่นคงกับบริษัทที่ชื่อว่า Silk Way Airlines หรือสายการบิน Silk Way ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอาเซอร์ไบจาน โดยทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากสหรัฐฯกล่าวว่าบริษัทแห่งนี้นั้นเป็นบริษัทที่แท้จริงแล้วถูกควบคุมโดยรัฐบาลอาเซอร์ไบจาน” รายงานข่าวระบุ
รายงานข่าวระบุต่อไปว่านายพลกองทัพอากาศจำนวนสองนายได้แก่ พล.อ.อ.ดันแคน แม็คแนบบ์ และ พล.อ.อ.วิลเลียม เฟรเซอร์ที่ 3 นั้นเป็นผู้ที่ดูแลปฏิบัติการณ์ขนส่งเสบียงนับตั้งแต่ปี 2551-2557 และหลังจากที่สองคนนี้เกษียณจากราชการ ก็ยังได้พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ที่มีกับอาเซอร์ไบจานในการหาผลประโยชน์
พล.อ.อ.ดันแคน แม็คแนบบ์
โดยกองบัญชาการการขนส่งสหรัฐอเมริกาหรือ Transcom ได้เคยมอบภารกิจการขนส่งทางอากาศให้กับสายการบิน Silk Way คิดเป็นจำนวนกว่า 2,230 ภารกิจในช่วงเวลาที่ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ได้ดูแลปฏิบัติการณ์ และยังมอบภารกิจให้กับสายการบินเพิ่มเติมอีก 1,117 ภารกิจในช่วงเวลาที่ พล.อ.อ.เฟรเซอร์เป็นผู้ดูแลปฏิบัติการณ์ ซึ่งภารกิจทั้งหมดนั้นมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,857,067,000 บาท)
และที่สำคัญก็คือว่าหลังจากพลอากาศทั้งสองนายเกษียณจากราชการไปแล้ว ทั้งสองนายนี้ได้ไปเจรจาเรื่องข้อตกลงการเป็นที่ปรึกษาให้กับสายการบิน Silk Way
ทั้งนี้ที่ผ่านมากองทัพสหรัฐฯ มักอนุมัติให้นายทหารสามารถไปทำงานที่ปรึกษาดังกล่าวได้หากเกษียณอายุจากราชการไปแล้ว ทว่าในกรณีของ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ เอกสารภายในของกองทัพอากาศได้ระบุว่ากองทัพได้ปฏิเสธอย่างชัดเจน โดยแสดงความกังวลว่าการอนุมัติดังกล่าวอาจจะเป็นได้ทั้งความอับอายขายหน้าและเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ เนื่องจากว่าการอนุมัติให้ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ทำงานที่ปรึกษานั้นอาจจะส่งผลทำให้เกิดเรื่องอื้อฉาวตามมาก็เป็นได้
มีข้อมูลจากบันทึกในปี 2558 อีกฉบับระบุว่า พล.อ.อ.เฟรเซอร์ได้ส่งคำเตือนไปยังกองทัพสหรัฐฯ ว่า “ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐฯดำเนินการขัดขวางไม่ให้เขาทำงานให้กับสายการบิน Silk Way นี่อาจจะทำให้รัฐบาลอาเซอร์ไบจานได้ดำเนินการตอบโต้กลับมาอย่างรุนแรงก็เป็นได้ และการตอบโต้ที่ว่ามานี้ก็อาจจะหมายถึงรัฐบาลของนายอาลีเยฟที่อาจจะบล็อกเส้นทางส่งเสบียงของสหรัฐฯและนาโต้เข้าสู่อัฟกานิสถานก็เป็นได้”
ทางด้านของนายฟิลิป ดีเวอร์ พลเรือนที่ทำหน้าที่เป็นทนายความให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เขียนคำคัดค้านของเขาระบุว่า เนื่องจากสหรัฐฯได้มอบเงินให้กับสายการบิน Silk Way ไปกว่า 369 ล้านดอลลาร์ฯแล้ว อีกทั้งการที่นายพลทั้งสองได้เคยเข้าไปมีส่วนดูแลปฏิบัติการณ์การขนส่งเสบียงจากประเทศอาเซอร์ไบจาน ดังนั้นนี่จึงเหมือนว่าทั้ง พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ และ พล.อ.อ.เฟรเซอร์จะรู้ดีว่าสิทธิพิเศษของสัญญาการทำงานเป็นที่ปรึกษาก็คือว่ามันจะเป็นสิ่งที่สร้างความร่ำรวยเมื่อเกษียณอายุไปแล้ว และยังมีรายงานอีกด้วยว่า พล.อ.แม็คแนบบ์ยังได้เคยเดินทางไปเยือนอาเซอร์ไบจานอีกอย่างน้อย 5-6 ครั้ง
พล.อ.อ.วิลเลียม เฟรเซอร์ที่ 3
พล.อ.อ.แม็คแนบบ์เคยให้สัมภาษณ์กับวอชิงตันโพสต์ด้วยว่าเขาได้เคยเชิญผู้บริหารสายการบิน Silk Way มารับประทานอาหารเย็นที่บ้านของเขา ณ ฐานทัพอากาศสก็อตต์ในรัฐอิลลินอยส์ หลังจากที่ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ได้เกษียณอายุราชการไปในเดือน ธ.ค. 2554 ซึ่งรายละเอียดของการพูดคุยก็คือว่า เจ้าหน้าที่ของสายการบิน Silk Way นันต้องการจะหารือกับ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์เกี่ยวกับการร่วมทุนทางธุรกิจที่เป็นไปได้ โดยสายการบิน Silk Way ต้องการปรับปรุงศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงานให้สนามบินนานาชาติ Heydar Aliyev ในกรุงบากู ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
สายการบินยังได้เชิญ พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ไปเยือนอาเซอร์ไบจานในเดือน มิ.ย. 2556 เพื่อที่จะจ้างเขาเป็นที่ปรึกษา และในเดือนเดียวกันนั้นเอง พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษาชื่อว่า Ares Mobility Solutions ซึ่งบริษัทนี้เป็นการร่วมหุ้นกับนาวาอากาศเอกของกองทัพอากาศอีกคนหนึ่งซึ่งเกษียณแล้วและร่วมหุ้นกับผู้กองในกองหนุนกองทัพเรือที่เคยมีประวัติทำงานให้กับอุตสาหกรรมการบินมาก่อน
ต่อมาบริษัท Ares ก็เซ็นสัญญากับสายการบิน Silk Way ซึ่งส่งผลทำให้บริษัท Ares ได้ค่าตอบแทนเพิ่มเติมเดือนละประมาณ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (348,430 บาท) ซึ่งภายใต้ข้อตกลงระบุด้วยว่า พล.อ.อ.แม็คแนบบ์จะเดินทางไปยังกรุงบากูในทุกๆ 3-5 เดือน เพื่อจะทำงานอยู่ที่นั่นเพียงไม่กี่วัน
ส่วนกรณีของ พล.อ.อ.เฟรเซอร์นั้น พบว่าหลังจากที่ พล.อ.อ.เฟรเซอร์ได้เข้ามาคุมปฏิบัติการณ์ใน Transcom ในปี 2554 พล.อ.อ.เฟรเซอร์ก็บินไปยังกรุงบากูและไปพบกับประธานาธิบดีอาลีเยฟ และหลังจากนั้นภายในระยะเวลาสามปี พล.อ.อ.เฟรเซอร์ก็ได้พบกับประธานาธิบดีอาลีเยฟอีกเป็นจำนวนสองครั้งในอาเซอร์ไบจาน และอีกครั้งหนึ่งที่นครนิวยอร์ก ตามรายงานของรัฐบาลอาเซอร์ไบจาน
พอมาถึงเดือน เม.ย. 2557 รายงานจากแถลงข่าวของกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่านายเอลิน ซูเลย์มานอฟ เอกอัครราชทูตอาเซอร์ไบจานประจําสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาเยือนฐานทัพอากาศสก็อตต์ในรัฐอิลลินอยส์ เพื่อเยี่ยมชมกองบัญชาการ Transcom ซึ่งในตอนนั้นนายซูเลย์มานอฟได้กล่าวกับ พล.อ.อ.เฟรเซอร์ที่ใกล้จะเกษียณแล้วว่าเขาได้รับโอกาสที่จะทำงานด้านการทหารและงานบริษัทเอกชนในอนาคต ซึ่งจะเป็นงานร่วมกันระหว่างสหรัฐฯและอาเซอร์ไบจาน
พอหลังจากเกษียณอายุไม่กี่วัน พล.อ.อ.เฟรเซอร์ก็ได้รับข้อเสนองานจากบริษัท Silk Way Group ซึ่งในกรณีนี้ พล.อ.อ.เฟรเซอร์ได้ขออนุญาตกองทัพอากาศล่วงหน้าแล้ว โดยเขาอ้างว่าจะเข้าไปทำงานด้านที่ปรึกษาที่ให้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและจะช่วยพัฒนาโอกาสทางธุรกิจในอนาคต โดยจะรับค่าตอบแทนอยู่ที่วันละ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (174,215 บาท)
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศได้ปฏิเสธคำร้องขออนุญาตของ พล.อ.อ.เฟรเซอร์ ที่แม้จะส่งคำขออนุญาตมาอีกครั้งก็ตาม
มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่าในคำร้องขออนุญาตของ พล.อ.อ.เฟรเซอร์ เขาไม่เคยระบุถึงลูกชายของเขาที่ชื่อว่านายวิลเลียม เฟรเซอร์ที่ 4 ซึ่งมีธุรกิจด้านการบินอยู่ที่ประเทศอาเซอร์ไบจานแม้แต่น้อย
โดยประวัติของนายวิลเลียม เฟรเซอร์ที่ 4 นั้นตรวจสอบพบว่าเขาเคยเป็นจ่าในเหล่านาวิกโยธินสหรัฐฯ แต่ก่อนหน้านั้นสองปี เขาเคยทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยประธานสายการบินอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ซึ่งเป็นสายการบินของรัฐ ในตำแห่งผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
วอชิงตันโพสต์ได้ระบุทิ้งท้ายว่าตามกฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ กำหนดให้บุคลากรทางการทหารที่ดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 20 ปี จะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน พวกเขาจึงจะสามารถรับสิ่งของที่มีค่าจากรัฐบาลต่างชาติหรือว่าบริษัทที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลต่างชาติได้ โดยเมื่อกองทัพอากาศพบว่า พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ไม่ได้ขออนุญาตล่วงหน้าก่อนการทำงานที่อาเซอร์ไบจาน อีกทั้งคำขออนุญาตของเขาหลังจากนั้นก็ถูกปฏิเสธ ก็มีการแจ้งเตือนไปยัง พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ว่าเขาได้ละเมิดกฎหมายของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามกลับไม่มีการกำหนดบทลงโทษทางอาญาต่อฐานความผิดนี้ ซึ่งสิ่งที่กองทัพพอจะทำได้ก็มีเพียงแค่การระงับการจ่ายเงินหลังจากที่เกษียณอายุแล้วเท่านั้น โดย พล.อ.อ.แม็คแนบบ์ได้เคยให้สัมภาษณ์วอชิงตันโพสต์ไปแล้วว่าเขานั้นถูกหักเงินบำเหน็จบำนาญไปแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะตอบว่าถูกหักไปเท่าไร
เรียบเรียงจาก:https://www.washingtonpost.com/investigations/interactive/2022/air-force-azerbaijani-consulting/,https://armenianweekly.com/2022/12/14/washington-post-reveals-azerbaijans-hiring-of-two-retired-us-generals/
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการเบลเยียมสั่งสอบสมาชิกสภายุโรปถูกกาตาร์ 'ล็อบบี้' ปมบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: สารพัดปัญหาสิทธิคนงานเย็บเสื้อบอลโลก 2022 ค่าแรงต่ำสุดแค่วันละ 80 บ.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธ.ยักษ์ใหญ่ออสเตรเลีย เอี่ยวเส้นทางการเงินทหารเมียนมา ก่อนถอนกิจการต้นปี 66
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากข้อหาสินบนถึงละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อพิรุธ กาตาร์จัดบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต ทอ.แฉ นายกฯมาเลเซียเอี่ยวจัดซื้อ บ.รบ-โดรนหมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64