"...เมื่อผู้ฟ้องคดียอมรับว่าไม่ได้มีการตรวจสอบทางด้านเทคนิคในการ รับมอบเครื่องดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันถือได้ว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อทําให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน และตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกรณีไม่ทราบว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ใช้งานไม่ได้ ภายหลังจากรับมอบแล้วเพราะไม่ได้ตรวจสอบก่อน รับมอบเครื่องดังกล่าวนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนเอง..."
ประเด็นตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี กองทัพบก ทำสัญญาจ้าง มูลค่ารวม 7,570,000 บาท ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 2 ครั้ง รวม 757 เครื่อง ตกเครื่องละ 10,000 บาท แยกเป็นครั้งแรกเดือนกันยายน 2564 จำนวน 320 เครื่อง วงเงิน 3,200,000 บาท ครั้งสอง จำนวน 437 เครื่อง วงเงิน 4,370,000 บาท ประกาศผลเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2565
อันนำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกองทัพบกในเชิงลบอย่างมาก ดังเช่นคำถามของ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ที่ระบุว่า "การเอาเงินภาษี 7,570,000 บาท ไปจ้างตรวจสอบกล่องพลาสติกเปล่าสีดำ ในราคาชิ้นละ 1 หมื่นบาท ทั้งหมด 757 ชิ้นเพื่ออะไร เพราะทั้งโลกรู้กันว่าข้างในไม่มีอะไร กระทรวงกลาโหมใช้งบได้ไร้สติสตางค์ขนาดนี้เลยหรือ ค่าแงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว 1 หมื่นบาท"
- เปิดหลักฐาน! กองทัพบกจ้างสวทช.ตรวจGT200 ทำตั้งแต่ช่วง ก.ย.64 รวมยอด 757เครื่อง7.57 ล.
- ใช้ประกอบการฟ้องเอกชนในศาลปกครอง! เปิดประกาศเชิญชวน-รายละเอียดกองทัพจ้างตรวจสอบ GT200
- ขมวดเงื่อนปม-ข้อสงสัย กองทัพบก จ้าง สวทช.ตรวจ GT200 เครื่องละ1หมื่น คุ้มค่าหรือ....?
- ฟังเหตุผลตั้งงบ 7 ล.ตรวจไม้ล้างป่าช้า - “จีที 200” ถึง “เรือเหี่ยว” สะเทือนกองทัพ
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นข้อมูลทางคดีความ พบว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาตัดสินคดีกองทัพบก ยื่นฟ้อง บริษัทเอวิเอ แซทคอม จำกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 แะละ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง การทำสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 12 สัญญา รวมจำนวน 757 เครื่อง รวมวงเงิน 682,600,000 บาท ตั้งแต่ช่วงวันที่ 24 ก.ค.2550 -30 กันยายน 2552
โดยขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ดังนี้
1. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการและในฐานะส่วนตัวร่วมกันหรือแทนกันชําระเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดี จํานวน 687,691,975.49 บาท
2. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ร่วมกันรับผิดหรือแทนกันกับ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 คืนเงินตามคําขอท้ายฟ้องข้อ 1 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 คืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หรือชําระเงินตามหลักประกัน สัญญา จํานวน 56,164,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเงิน 60,836,459.40 บาท และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 คืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หรือ ชําระเงินตามหลักประกันสัญญา จํานวน 6,120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเงิน 6,539,516.13 บาท
3. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 682,600,000 บาท ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 56,164,000 บาท และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 6,120,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จให้แก่ผู้ฟ้องคดี
4. ให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ขณะที่ ศาลฯ มีพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชําระเงินจํานวน 683,441,561.64 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจํานวน 682,600,000 บาท นับแต่วันถัด จากวันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และต้องชําระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา ร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ของจํานวนเงิน 682,600,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่ ผู้ฟ้องคดีให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ร่วมรับผิดชําระเงินไม่เกินจํานวน 56,856,432.87 บาท และให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ร่วมรับผิดชําระเงินไม่เกินจํานวน 6,195,452.05 บาท ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ ให้ชําระให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คําพิพากษาถึงที่สุด คืนค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนตามส่วนของการชนะคดีให้แก่ผู้ฟ้องคดี และยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ แนวทางหรือวิธีการดําเนินการให้เป็นไปตามคําพิพากษาว่า หากผู้ฟ้องคดีได้รับชําระหนี้จาก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดําที่ 1350-1352/2562 คดีหมายเลขแดงที่ 15313-15315/2562 เป็นจํานวนเท่าใดให้นํามาหักจากยอดหนี้ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องชําระให้แก่ผู้ฟ้องคดีในคดีนี้
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดคำพิพากษาของศาลฯ พบว่า ในคำฟ้องของกองทัพบก มีการนำผลตรวจสอบเครื่อง GT200 จาก สวทช. มาใช้เป็นข้อมูลประกอบในคำฟ้องคดีด้วย
ระบุว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มีหน้าที่เตรียม กําลังกองทัพบก ป้องกัน ราชอาณาจักร และดําเนินการเกี่ยวกับการใช้กําลังกองทัพบกตามอํานาจหน้าที่ของ กระทรวงกลาโหม ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะจัดซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุ ระเบิดในการสนับสนุนให้แก่หน่วยงานของผู้ฟ้องคดีที่รับผิดชอบการเก็บกู้และการทําลายวัตถุ ระเบิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการเพื่อสนับสนุนภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนปฏิบัติภารกิจพิเศษจึงออกหนังสือเชิญชวนให้บริษัท ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่ทางราชการต้องการซื้อมาเสนอขาย โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับ คัดเลือกให้เข้าทําสัญญากับผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีโดยกรมสรรพาวุธทหารบก ได้ทําสัญญา ซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ GT 200 DETECTION SUBSTANCE กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รวม 12 ฉบับ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นําส่งเครื่อง ค้นหาวัตถุระเบิดดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทุกคณะเห็นว่า ชนิดและลักษณะ ภายนอกถูกต้องตามคุณลักษณะ จํานวนของพัสดุครบถ้วนตามสัญญา เป็นของใหม่ไม่เคยถูก ใช้งานมาก่อน จึงมีมติรับไว้ใช้ในราชการตามสัญญาทั้ง 12 ฉบับ
การที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทุกคณะพบว่า ชนิดและลักษณะภายนอก ถูกต้องตามคุณลักษณะ จํานวนของพัสดุครบถ้วนตามสัญญา เป็นของใหม่ ไม่เคยถูกใช้งาน มาก่อน แต่ในการตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน เนื่องจากมีข้อจํากัดในการหาสสารมาทดสอบได้ ทุกรายการ จึงไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่านํามาใช้งานได้ตรงตามคุณสมบัติ ตามที่ระบุไว้ใน สัญญาหรือไม่ เพียงใด
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงเชื่อว่าตัวเครื่องและอุปกรณ์มีลักษณะและ ประสิทธิภาพตามที่กําหนดไว้ในสัญญาจริง จึงมีมติรับไว้ใช้ในราชการซึ่งผู้ฟ้องคดีได้จ่ายเงินให้แก่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ครบถ้วนตามสัญญาทั้ง 12 ฉบับ
หลังจากได้รับเครื่อง ตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ไว้ในราชการ ผู้ฟ้องคดีดําเนินการแจกจ่ายให้แก่ หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่จากการที่ผู้ฟ้องคดี โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้ทดลองเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จํานวน 757 เครื่อง โดยเข้าใจว่ามีคุณลักษณะเฉพาะ มีคุณสมบัติและมีประสิทธิภาพถูกต้อง ตามที่กําหนดไว้ในสัญญา จึงคืนหนังสือค้ําประกันให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4
ต่อมา สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีหนังสือ ด่วน ที่ ตผ 0012/163 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 แจ้งให้ผู้บัญชาการของผู้ฟ้องคดีพิจารณาดําเนินการ ตรวจสอบกรณีการเสนอขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (จีที 200) ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งมีการเสนอราคาให้กับหน่วยงานของรัฐ ในราคาที่แตกต่างกัน และ ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะของการใช้งานอันเป็นสาระสําคัญ และมีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อ หากมีพฤติกรรมเข้าข่ายหลอกหลวงหน่วยงานรัฐด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการเสนอราคาและคุณลักษณะเฉพาะและประสิทธิภาพการใช้งาน ของเครื่อง จีที 200 ซึ่งเป็นการกระทําโดยทุจริต และผลโดยตรงของการหลอกลวงทําให้ ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากหน่วยงานรัฐ อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ให้ดําเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดําเนินคดีอาญาแก่กรรมการผู้มีอํานาจ กระทําการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ที่เกี่ยวข้องในความผิดฐานฉ้อโกงภายในกําหนด อายุความ เนื่องจากเป็นความผิดอันยอมความได้และดําเนินคดีทางแพ่งกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
ต่อมา เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ผู้ฟ้องคดีมอบอํานาจให้ พันเอก รุ่งอรุณ ซุ่นทรัพย์ เป็นผู้แทนผู้ฟ้องคดีไปดําเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ให้สอบสวน ดําเนินคดีอาญากับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และ วัตถุระเบิดดังกล่าว ไปให้ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศอท. หรือ PTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานทดสอบโดยใช้วิธีการสุ่มตรวจตาม สัญญาซื้อขาย
ส่วนเครื่องที่ไม่ได้ทําการทดสอบ เนื่องจากเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ ลักษณะ ชนิด ประเภทและรุ่นเดียวกันกับเครื่องที่สุ่มตรวจ อีกทั้ง ยังเป็นการจัดซื้อเครื่องทั้งหมดจาก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 บริษัทเดียวเท่านั้น
ต่อมา วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ศูนย์ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหนังสือถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รายงานผล การทดสอบการตรวจวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 จํานวน 12 สัญญา ให้ทราบว่า จากการทดสอบด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานในการทดสอบ โดยทําการทดสอบทั้งในด้านของประสิทธิภาพและความสามารถในการใช้วัตถุต้องสงสัย ตามที่ผู้ผลิตในต่างประเทศและผู้แทนจําหน่ายในประเทศไทยกล่าวอ้างและด้าน คุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดังกล่าวที่อ้างว่า สามารถตรวจวัตถุต้องสงสัยจากการจับ กระแสไฟฟ้าสถิตของโมเลกุลของวัตถุต้องสงสัยได้ ซึ่งผลปรากฏว่า
1. การทวน สอบคุณสมบัติของเครื่องมือวัดก่อนดําเนินการทดสอบประสิทธิภาพ สรุปว่า เครื่องวัดประจุไฟฟ้า สถิตสะสมบนพื้นผิววัสดุที่จะนํามาใช้กับการวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 มีความไวเพียงพอที่จะใช้วัดประจุไฟฟ้าสถิตปริมาณน้อย ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนผิวของเครื่อง จีที 200 ซึ่งทําด้วยพลาสติก
2. การทวนสอบเครื่องวัดระดับความแรงของ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Non - directionprobe,EMI receiver) สรุปว่า เครื่องวัดระดับ ความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะใช้ในการวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 มีความไวเพียงพอที่จะใช้วัดระดับของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นจากการทํางาน ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในห้องทดสอบ
3. การทวนสอบการทํางานของ เครื่องมือวัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบสเปกตรัม (Spectrum analyzer) สรุปว่า การตั้งค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่สําคัญของสเปกตรัมที่ใช้ปฏิบัติ มีความไวเพียง พอที่จะใช้วัดค่าความแรงของสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะแผ่ออกมาจากการทํางานของ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน (จีที 200)
4. การตรวจวัดการแผ่ ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMF measurement procedure)
4.1 การวัดระดับความแรงของ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่จากเครื่อง จีที 200 ขณะทํางาน สามารถสรุปได้ ดังนี้
4.1.1 ระดับความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่จากเครื่อง จีที 200 โดยใช้ เครื่องวัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ค่าน้อยกว่า 0.2 V/m ในทุกสภาวะ การทดสอบ หมายความว่า ในขณะเครื่อง จีที 200 กําลังทํางาน ไม่มีการแผ่คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าออกจากตัวเครื่อง
4.1.2 ขณะที่ทําการตรวจวัดประสิทธิภาพการทํางานของ เครื่อง จีที 200 ในสภาวะการทดสอบแบบต่าง ๆ ตัวเข็มทิศชี้ของเครื่อง ไม่มีการเคลื่อนที่ ในทิศทางใด
4.2 การวัดประจุไฟฟ้าสถิตที่สะสมบนพื้นผิวของเครื่อง จีที 200 ในสภาวะต่าง ๆ โดยใช้เครื่องวัดประจุไฟฟ้าสถิตที่สะสมบนพื้นผิว สามารถสรุปได้ดังนี้
4.2.1 ผลการวัด ประจุไฟฟ้าสถิตที่สะสมบนพื้นผิวจากตัวเครื่อง จีที 200 ในสภาวะต่าง ๆ นั้น มีค่าเป็น 0.003 kV หมายความว่า ไม่มีประจุไฟฟ้าสถิตสะสมบนเครื่อง จีที 200 ซึ่งทําด้วย พลาสติกในทุก ๆ สภาวะการทดสอบ
4.2.2 ขณะที่ทําการตรวจวัดประสิทธิภาพ การทํางานของเครื่อง จีที 200 ในสภาวะการทดสอบแบบต่าง ๆ ตัวเข็มทิศชี้ของเครื่อง ไม่มีการเคลื่อนที่ในทิศทางใด
4.3 การวัดความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจาก ตัวเครื่อง จีที 200 ในสภาวะต่าง ๆ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์สัญญาณความถี่ (Spectrum analyzer) สามารถสรุปได้ ดังนี้
4.3.1 ผลการวัดการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกจาก ตัวเครื่อง จีที 200 ในทุก ๆ สภาวะการทดสอบ นั้น มีค่าน้อยมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับผล การวัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในห้องทดสอบขณะไม่มีเครื่อง จีที 200 ทําให้สามารถสรุปได้ว่า ไม่มีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกจากตัวเครื่อง จีที 200 ในทุก ๆ สภาวะการทดสอบ
4.3.2 ขณะที่ทําการตรวจวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 ในสภาวะการทดสอบแบบต่าง ๆ ตัวเข็มทิศชี้ของเครื่องไม่มีการเคลื่อนที่ ในทิศทางใด
4.4 การวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน พบว่า เครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็ก (gauss) อ่านค่าสนามแม่เหล็กได้คงที่ในทุกสภาวะการทดสอบ (หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น) และเมื่อสังเกตตัวเข็มทิศชี้ของเครื่อง จีที 200 ขณะทําการทดสอบ ไม่พบ การเคลื่อนที่ในทิศทางใด
จากผลการวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง จีที 200 โดยการนําหลัก ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และเน้นการควบคุมปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผล กระทบต่อการวัด ประสิทธิภาพการทํางานของเครื่องมือดังกล่าว อาทิเช่น อุณหภูมิ ความชื้น ไฟฟ้าสถิต และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยขณะทําการวัดได้มีการเปลี่ยนสารวัตถุระเบิดและสารเสพติด และใช้บุคคลเป็นผู้ถือจับเครื่องวัดตามเงื่อนไขการใช้งาน
สามารถสรุปผลการทดสอบ ดังนี้
1. ไม่พบว่ามีการแผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electric field) จากเครื่อง จีที 200 ในทุกสภาวะ การทดสอบ
2. ไม่พบประจุไฟฟ้าสถิตสะสมบนผิวของเครื่อง Alpha ในทุกสภาวะการทดสอบ
3. ไม่พบว่ามีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic emission) จากตัวเครื่อง จีที 200 ในทุกสภาวะการทดสอบ
4. ไม่พบการเคลื่อนที่ของเข็มชี้ทิศทางของเครื่อง จีที 200 ที่ทํางาน ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน
5. ไม่พบการเคลื่อนที่บอกทิศทางของเครื่อง จีที 200
กรณีถือว่า เครื่อง จีที 200 ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถใช้งานได้ตามที่ ผู้ผลิตในต่างประเทศหรือผู้แทนจําหน่ายในประเทศไทยกล่าวอ้างถึงประสิทธิภาพว่า สามารถใช้ ตรวจวัตถุต้องสงสัยต่าง ๆ เช่น การตรวจหาสารเสพติด วัตถุระเบิด ฯลฯ เป็นเหตุให้หน่วยงาน ของรัฐได้รับความเสียหายจากการหลงเชื่อที่ผู้ผลิตในต่างประเทศและผู้แทนในประเทศไทย เสนอขายเครื่องดังกล่าว จากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 นําเสนอข้อมูล ได้กล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติและประสิทธิภาพตามเอกสารแนบท้ายสัญญาตรงกับเงื่อนไข ที่ทางราชการกําหนด จนผู้ฟ้องคดีเข้าทําสัญญากับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งได้รับผลการทดสอบในภายหลังพบว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายไม่มีคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอันเป็นสาระสําคัญที่พึ่งมีตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กล่าวอ้าง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักที่สําคัญเพื่อนํามาปฏิบัติภารกิจในการตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด เพื่อรักษาความสงบ มั่นคงและความเรียบร้อยของประเทศ อันเป็นสาระสําคัญ อย่างยิ่งในการปฏิบัติตามสัญญา
กรณีจึงถือได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นฝ่าย ผิดสัญญาตามข้อ 1 และทําให้ผู้ฟ้องคดีต้องสูญเสียเงินจํานวน 682,600,000 บาท ผู้ฟ้องคดี จึงมีหนังสือกรมสรรพาวุธทหารบก ที่ กห 0443/1276 และที่ กห 0443/1275 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 บอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาทั้ง 12 ฉบับ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามลําดับ โดยให้ชําระค่าเสียหาย จํานวน 682,600,000 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือ ดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 และผู้ฟ้องคดีมีหนังสือกรมสรรพาวุธทหารบก ที่ กห 0443/1274 และที่ กห 0443/1273 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 เรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 คืนหลักประกันปฏิบัติตามสัญญา หรือชําระเงินตามหลักประกันตามสัญญา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 และ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 ตามลําดับ
แต่เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับทราบแล้วเพิกเฉย ไม่ชําระ ค่าเสียหายและคืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงนําคดีมาฟ้องต่อศาล
@ คำให้การต่อสู้คดี ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และที่ 2
ขณะที่ ในการต่อสู้คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และที่ 2 ให้การแยกเป็นประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประกอบ กิจการค้าขายอุปกรณ์อะไหล่อากาศยาน อาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพไทยไม่เคยมีประวัติ เสียหายใด ๆ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องรับเป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องตรวจจับ สารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด รุ่น จีที 200 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550 และทราบ รายละเอียดของสินค้าจากแผ่นพับโฆษณาของบริษัท GLOBAL TECHNICAL LTD. เท่านั้น ไม่เคยมีเครื่องดังกล่าวไว้ในครอบครองและไม่เคยใช้มาก่อน ในการซื้อขายตามปกติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะนําอุปกรณ์ประเภทที่ผู้ซื้อต้องการมาขายเหมือนกับที่ผู้ฟ้องคดีต้องการซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดชนิดพกพา โดยล็อกสเปกว่าต้องเป็นเครื่องรุ่น จีที 200 มีภาพถ่ายและแผ่นพับรายละเอียดของเครื่องรุ่นดังกล่าวแสดงประกอบความต้องการ ซึ่งตาม ประเพณีการค้าขายแบบซื้อมาขายไป หากสินค้ามีปัญหาการใช้งาน เจ้าของผลิตภัณฑ์ จะรับผิดชอบแก้ไขซ่อมแซม โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานเท่านั้น และมีหน้าที่ทางธุรการในการประสานงานการขายระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ โดยจะต้องส่งมอบ ของใหม่และของแท้และให้บริการนําส่งสินค้าที่ชํารุดบกพร่องต่อผู้ผลิตทําการซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนอะไหล่หรือเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น
ในการเป็นตัวแทนขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้เป็นหุ้นส่วนกับบริษัท GLOBAL TECHNICAL LTD. ประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้า และเครื่องตรวจจับสาร เสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 นั้น เป็นสินค้าที่มีเทคนิคพิเศษซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่อาจ ทราบถึงคุณลักษณะพิเศษเฉพาะและวิธีการทํางานอย่างไร ในการซื้อขายผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับรองเพียงเอกสารคําโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดังกล่าวว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงของ บริษัทผู้ผลิตเท่านั้น
การที่ผู้ฟ้องคดีจะผลักภาระให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับผิดชอบทั้งหมด ย่อมไม่เป็นธรรมและจะถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประพฤติปฏิบัติผิดสัญญามิได้
2. ในการรับมอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 มีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เห็นชอบทุกครั้งและผู้ฟ้องคดีทราบราคาต้นทุนของเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุ ระเบิด จีที 200 ดีอยู่แล้วว่ามีราคาขายเครื่องละประมาณ 900,000 บาท เนื่องจาก กองทัพอากาศเคยซื้อเครื่อง จีที 200 โดยตรงจากบริษัท GLOBAL TECHNICAL LTD. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้ค้ากําไรเกินควร และไม่มีพฤติกรรมใด ๆ ที่จะถือได้ว่าหลอกลวงขาย เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 โดยกล่าวอ้างคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพการใช้งานอันเป็นเท็จจริงจนผู้ฟ้องคดีเข้าทําสัญญาซื้อขายตามที่กล่าวอ้างในคําฟ้อง แต่อย่างใด
3. การซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ดังกล่าว เป็นการดําเนินการระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยมีความประสงค์ที่จะจัดซื้อเครื่อง ดังกล่าวเพื่อใช้งานในการดําเนินภารกิจของผู้ฟ้องคดี โดยมีการจัดทําสัญญาซื้อขายรวมจํานวน 12 ฉบับ ตามที่ปรากฏในคําฟ้องของผู้ฟ้องคดี รวมเป็นวงเงินซื้อขายทั้งสิ้นจํานวน 682,600,000 บาท ซึ่งในการทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวโดยในครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 5 ถึงครั้งที่ 12 รวม 11 สัญญา มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ําประกันในอัตรา ร้อยละ 10 ของวงเงินตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับมอบให้ไว้แก่ผู้ฟ้องคดียึดถือไว้ และในการทําสัญญาซื้อขายครั้งที่ 4 มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันในอัตราร้อยละ 90 ของวงเงินตามสัญญาซื้อขายมอบให้ไว้แก่ผู้ฟ้องคดียึดถือไว้ และในการทําสัญญาทั้ง 12 ฉบับ มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นผู้มอบอํานาจให้ผู้อื่น ลงนามในสัญญาแทนและเป็นผู้ลงนามในสัญญา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มิได้กระทําการในฐานะ ส่วนตัว แต่กระทําการในฐานะกรรมการผู้จัดการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และในการชําระเงิน ค่าสินค้าของผู้ฟ้องคดีทุกครั้งชําระเป็นเช็คให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้กระทํา การแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น
ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอํานาจฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นการส่วนตัว แต่ประการใด
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ส่งมอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีภายในกําหนดระยะเวลาตามสัญญาทั้ง 12 ฉบับ และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ทําการตรวจรับโดยวิธีนับจํานวน ตรวจตามแบบรูป รายละเอียดของผู้ซื้อ ชนิด ขนาด ลักษณะพัสดุ ถูกต้องตามสัญญา จํานวนเครื่องครบถ้วน คุณภาพถูกต้องตามสัญญาเป็นของใหม่ ไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถบอกเลิก สัญญาได้ สัญญาซื้อขายมิได้กําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องรับผิดชอบเพราะของที่ส่งมอบ ใช้งานไม่ได้ และผู้ฟ้องคดีได้คืนหนังสือค้ำประกันให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ภายหลังจากที่ได้รับมอบเครื่องตรวจพิสูจน์ดังกล่าวแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายครบถ้วนแล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายแล้ว
4. นอกจากนี้ ในการตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของผู้ฟ้องคดีก็ไม่มีการตรวจสอบในด้าน คุณลักษณะเฉพาะตามภาคผนวก 1 และแคตตาล็อกตามภาคผนวก 2 คณะกรรมการจึงไม่อาจทราบได้ว่าเครื่องดังกล่าวมีคุณสมบัติเฉพาะและมีเทคโนโลยีในการใช้งานได้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ได้กําหนดขั้นตอนและวิธีการ ในการตรวจรับพัสดุไว้แล้ว
เมื่อผู้ฟ้องคดียอมรับว่าไม่ได้มีการตรวจสอบทางด้านเทคนิคในการ รับมอบเครื่องดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันถือได้ว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อทําให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน และตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกรณีไม่ทราบว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ใช้งานไม่ได้ ภายหลังจากรับมอบแล้วเพราะไม่ได้ตรวจสอบก่อน รับมอบเครื่องดังกล่าวนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
5. และการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชําระค่าเสียหายเท่ากับราคาเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 พร้อม ดอกเบี้ยจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504 หรือหากสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ถ้าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยใช้ราคา คืนของสินค้าตามฟ้อง ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือเงินค่าสินค้าคืนภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ผู้ฟ้องคดีรู้ว่ามีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นมีขึ้น
แต่คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทราบว่าสินค้าใช้การไม่ได้ตามคุณลักษณะเฉพาะตามเอกสารแนบท้ายสัญญาซื้อขาย ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2555 ที่ได้รับแจ้งจากสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินที่มีรายงาน การตรวจสอบการใช้งานของบริษัท GLOBAL TECHNICAL LTD. นับจากวันดังกล่าวถึงวันฟ้อง เป็นเวลาเกินกว่า 4 ปีเศษ การที่ผู้ฟ้องคดีเพิ่งมีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2560 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ทําให้อายุความขยายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะอายุความเริ่มนับ แต่ขณะที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา 193/ 12 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
ซึ่งข้อพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในเรื่องการซื้อขายมีกฎหมายกําหนด อายุความไว้ชัดแจ้งแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่จําต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี เนื่องจากผู้ฟ้องคดี ใช้สิทธิเรียกร้องนําคดีมาฟ้องหลังจากทราบว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ใช้การไม่ได้เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด สิทธิเรียกร้องผู้ฟ้องคดีขาด อายุความแล้ว และสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ทั้ง 12 ฉบับ นั้น มิใช่เป็นสัญญาทางปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่ง ศาลปกครองกลาง จึงไม่มีอํานาจในการพิจารณาพิพากษา ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
6. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังให้การเพิ่มเติมว่า ผู้ฟ้องคดีทราบดี อยู่แล้วว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่มีคุณสมบัติที่จะรับรองการใช้งานของสินค้า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพียงรับรองว่าแคตตาล็อกที่เป็นภาษาต่างประเทศเป็นของผู้ผลิตและรับรองคําแปลถูกต้อง เท่านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่เคยมีเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ไว้ในครอบครอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่อาจทราบได้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้งานได้ดีเพียงใด หรือไม่ และกลไกระบบการทํางานอย่างไร เพราะผู้ผลิตแจ้งว่ากรรมวิธีการผลิตและเทคโนโลยี ของเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท GLOBAL TECHNICAL LTD. และถือเป็นความลับทางการค้าไม่ถ่ายทอดให้กับผู้ใดรวมทั้งตัวแทน จําหน่าย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะผู้ขายได้ทําหน้าที่โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ฟ้องคดีครบถ้วน และผู้ฟ้องคดีได้ทําการตรวจรับสินค้าไว้ และได้เวนคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่ต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาซื้อขายทั้ง 12 ฉบับ แต่อย่างใด
7. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังได้ยื่นคําชี้แจงลงวันที่ 29 มิถุนายน 2564 โดยมีสาระสําคัญเช่นเดียวกับคําให้การและคําให้การเพิ่มเติมที่ได้ยื่นไว้แล้ว และเพิ่มเติมว่า หลังจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับเงินค่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ตามสัญญาซื้อขายรวม 12 ฉบับ หลังจากหักค่าใช้จ่ายโดยสุจริตแล้ว คงเหลือเงินจํานวน 94,697,406.09 บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ใช้จ่ายหมดไปกับการบริหารจัดการธุรกิจของตนเอง นับแต่วันที่ได้รับเงินมาจนถึงวันที่ได้รับหนังสือทวงถามจากผู้ฟ้องคดี และในข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ กองทัพบกเคยแจ้งความดําเนินคดีอาญากับบริษัท เอวิเอ แซทคอม จํากัด ที่ 1 กับพวก รวม 5 คน ต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้มีคําพิพากษาตามคดีหมายเลขดําที่ 1350-1352/2562 คดีหมายเลขแดงที่ 15313-15315/2562 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ความอาญาและ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ระหว่าง พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการสูงสุด โจทก์ บริษัท เอวิเอ แซทคอม จํากัด ที่ 1 นายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ที่ 2 นายเดชพิภัทร์ วัฒนกิจ ที่ 3 นางศศกร ปลื้มใจ ที่ 4 นางสาวพันธวีทรัพย์ สุดยาใจ ที่ 5 จําเลย
กองทัพบก ผู้ร้อง โดยสรุปว่า จําเลยที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 (เดิม) ประกอบ มาตรา 83 การกระทําของจําเลยที่ 4 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไปตามมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 12 กระทง จําคุกจําเลยที่ 4 กระทงละ 3 ปี รวมจําคุก 36 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงจําคุกจําเลยที่ 4 มีกําหนด 10 ปี ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 91 (1) ให้จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 4 ร่วมกันคืนเงิน 682,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชําระเสร็จแก่ผู้ร้อง นอกจาก ที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นพับ
ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีได้เข้าเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าวและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ใช้เงิน ค่าขายเครื่อง จีที 200 หมดแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอํานาจฟ้องและดําเนินคดีนี้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อีกต่อไป ประกอบกับกรณีปัญหาด้านประสิทธิภาพของเครื่อง จีที 200 ที่ไม่สามารถใช้งานได้ กรมราชองครักษ์ โจทก์ ได้ยื่นฟ้อง บริษัท เอวิเอ แซทคอม จํากัด ที่ 1 กับพวกรวม 5 คน จําเลย ต่อศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ได้มีคําพิพากษาถึงที่สุด ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2559 ความแพ่ง โดยสรุปว่า การที่โจทก์ทําสัญญาซื้อขายเครื่อง จีที 200 จากจําเลย ที่ 1 ถือว่าโจทก์สําคัญผิดในสาระสําคัญของตัวทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ทั้งถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อนรับมอบเครื่อง จีที 200 เนื่องจากมีคํารับรอง ประสิทธิภาพการใช้งานตามที่ระบุไว้ท้ายในเสนอราคาของจําเลยที่ 1 ทําให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า สามารถใช้งานได้ตามคํารับรองดังกล่าวจริง เมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะมีผลเท่ากับว่าสัญญา ซื้อขายมิได้เกิดมีขึ้นและไม่ก่อสิทธิใด ๆ แก่จําเลยที่ 1 ที่จะยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้ได้ จําเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขายต้องคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในฐานลาภมิควรได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 406
@ การพิจารณาคดีของศาล
คดีนี้ศาลปกครองกลางมีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาและให้จําหน่ายคดี ออกจากสารบบความ คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คําสั่ง ดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วมีคําสั่งที่ 164/2561 กลับคําสั่งของศาลปกครองกลางเป็นให้รับคําฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา
ในการพิจารณาคดีของศาลฯ ระบุว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยรวมสองประเด็น คือ 1. คำฟ้องนี้เป็นคําฟ้องที่ศาลรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ 2. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขาย เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด (GT 200 DETECTION SUBSTANCE) ตามสัญญาซื้อขายรวม 12 ฉบับ หรือไม่ หากปฏิบัติผิดสัญญาจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จะต้องรับผิด ชําระเงินในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่ผู้ฟ้องคดี หรือไม่ เพียงใด
ศาลฯ ระบุว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้นําคดีมาฟ้องเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ชําระเงินและคืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยกล่าวอ้างว่ามีเหตุ สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีได้ทําสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ GT 200 DETECTION SUBSTANCE จํานวน 757 เครื่อง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายรวมทั้งสิ้น 12 ฉบับ ซึ่งเมื่อมีการส่งมอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีเชื่อว่า เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 รวมทั้งอุปกรณ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งมอบ นั้น มีคุณลักษณะ เฉพาะและประสิทธิภาพตามที่ได้กําหนดไว้ในสัญญา ผู้ฟ้องคดีจึงได้รับไว้และเบิกจ่ายเงินให้แก่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รวมจํานวน 682,600,000 บาท และคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4
แต่เมื่อมีการตรวจสอบโดยสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมอบหมายให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ทําการทดสอบ กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่า เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะของการทํางาน อันเป็นสาระสําคัญ และมีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย และต่อมา สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีหนังสือ ด่วน ที่ ตผ 0012/163 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 แจ้งผู้บัญชาการของผู้ฟ้องคดีว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดซื้อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะ ของการใช้งานอันเป็นสาระสําคัญ และมีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ซื้อขายและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีไปดําเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดําเนินคดีอาญาแก่ กรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ที่เกี่ยวข้อง
และถึงแม้ข้อเท็จจริง จะปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทําสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 จํานวน 757 เครื่อง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และได้มีการตรวจรับตามแนวทางปฏิบัติทั่วไปในระบบ การจัดซื้อพัสดุแล้วก็ตาม แต่เมื่อวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีลักษณะทางเทคนิค ที่ไม่อาจตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะในการใช้งานได้โดยทางปฏิบัติทั่วไป และผู้ฟ้องคดีรวมทั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต่างเข้าใจตรงกันว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนาจัดซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และ วัตถุระเบิด จีที 200 ที่สามารถใช้งานได้จริง
แต่ต่อมา เมื่อมีหน่วยงานอื่นที่มีขีดความสามารถ ในการตรวจสอบและพิสูจน์เครื่องดังกล่าวจึงได้พบข้อเท็จจริงว่า วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมิใช่ เป็นเพียงวัสดุที่ชํารุดบกพร่อง หรือมิใช่ของแท้ หรือของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อนเท่านั้น หากแต่ ถึงขนาดเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่อาจใช้เป็นเครื่องตรวจตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ได้อย่างสิ้นเชิง
กรณีตามคําฟ้องจึงเป็นการอ้างว่าผู้ฟ้องคดีเข้าทําสัญญา และต่อมาจึงเพิ่งทราบผล ว่า สิ่งของที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งมอบไม่ตรงตามข้อสัญญาข้อ 1 ซึ่งตามสัญญาข้อ 6 มีเจตนารมณ์ ที่จะให้คู่สัญญารักษาข้อสัญญาระหว่างกันโดยส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้อง เมื่อความปรากฏว่า สิ่งของ - ที่ส่งมอบเป็นสิ่งของที่ไม่อาจใช้งานได้อย่างสิ้นเชิง
กรณีจึงรับฟังได้ว่า เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งมอบให้แก่ผู้ฟ้องคดี จํานวน 757 เครื่อง เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามเอกสารแสดงคุณสมบัติของเครื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้นํามาใช้อ้างในการเสนอราคาและเข้าทําสัญญา
ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะลูกหนี้มิได้ชําระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริง แห่งมูลหนี้ เป็นการปฏิบัติผิดสัญญา
ผู้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ตามมาตรา 215 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ค่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ผู้ฟ้องคดีได้จ่ายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไป เป็นเงินจํานวน 682,600,000 บาท ซึ่งผู้ฟ้องคดี ได้มีหนังสือ ที่ กห 0443/1276 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 และ ที่ กห 0443/1275 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 บอกเลิกสัญญาเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาทั้ง 12 ฉบับ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามลําดับ โดยให้ชําระค่าเสียหายจํานวน 682,600,000 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือ ดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะชําระเงิน จํานวนดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีภายในวันที่ 21 เมษายน 2560 แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพิกเฉยไม่ชําระค่าเสียหาย กรณีจึงย่อมถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2560 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิเรียกให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชําระค่าเสียหายเป็นเงินจํานวน 682,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจํานวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่า จะชําระเสร็จสิ้น ซึ่งดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2560 จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 27 เมษายน 2560 รวมจํานวน 6 วัน คิดดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเงินจํานวน 841,561.64 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินทั้งสิ้น 683,441,561.64 บาท
สําหรับความรับผิดของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 หรือไม่ เพียงใด นั้น เห็นว่า ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือ สัญญา ซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลง จะทําการดังนั้น วรรคสอง บัญญัติว่า อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยแต่งตั้งแสดงออกชัดหรือ โดยปริยายก็ย่อมได้ มาตรา 820 บัญญัติว่า ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก ในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน และ มาตรา 1167 บัญญัติว่า ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก นั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน คดีนี้เมื่อพิจารณาจาก สัญญาซื้อขายทั้ง 12 ฉบับ ระหว่างผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้ซื้อกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะผู้ขาย โดยมี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าสัญญา ทั้ง 12 สัญญา นั้น มีผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นคู่สัญญา ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 นั้น เป็นเพียงผู้แทนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น
การที่ผู้ฟ้องคดีทําสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับ สารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนบริษัท ในประเทศไทยและมีภูมิลําเนาในประเทศไทย โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม ผูกพันบริษัทในการติดต่อเพื่อทําสัญญาซื้อขายนั้น ตามนัยมาตรา 1167 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ความเกี่ยวพันกันในระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และ ผู้ฟ้องคดีนั้น จึงเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน เท่านั้น และตามคําฟ้องผู้ฟ้องคดีได้กล่าวถึง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่า ในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทนิติบุคคล และ ประทับตราสําคัญของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และในฐานะส่วนตัว แต่ไม่ได้ ระบุว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้กระทําการใด ๆ ในฐานะส่วนตัวนอกเหนือจากที่ได้กระทําการแทน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น
ฉะนั้น ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงกระทําการตัวแทนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการ ทําสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ทั้ง 12 ฉบับ เท่านั้น ไม่ได้เป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับผู้ฟ้องคดี แต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิด กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการคืนเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว
จากข้อมูลในคำพิพากษาที่นำเสนอไปทั้งหมด หากนำมาพิจารณาประกอบข้อมูลเรื่องการจ้าง สวทช. ตรวจสอบเครื่อง GT 200 ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริง ใน 3 ส่วนหลัก คือ
หนึ่ง.
ในการฟ้องคดีนี้ ที่กองทัพบก ชนะไปแล้ว มีการนำผลตรวจสอบเครื่อง GT200 จาก สวทช. มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการฟ้องร้องคดีด้วย โดยมีการระบุชัดเจนว่าใช้วิธีการสุ่มตรวจสินค้าตามสัญญาซื้อขาย ส่วนเครื่องที่ไม่ได้ทําการทดสอบ เนื่องจากเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ ลักษณะ ชนิด ประเภทและรุ่นเดียวกันกับเครื่องที่สุ่มตรวจ อีกทั้ง ยังเป็นการจัดซื้อเครื่องทั้งหมดจาก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 บริษัทเดียวเท่านั้น
สอง.
ขณะที่ ในการพิจารณาคดีของศาลฯ มิได้ระบุถึงเรื่องความจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพเครื่อง จีที 200 ทั้ง 757 เครื่อง
แต่ระบุชัดเจนไว้ว่า แม้ข้อเท็จจริง จะปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทําสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 จํานวน 757 เครื่อง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และได้มีการตรวจรับตามแนวทางปฏิบัติทั่วไปในระบบ การจัดซื้อพัสดุแล้วก็ตาม แต่เมื่อวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีลักษณะทางเทคนิค ที่ไม่อาจตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะในการใช้งานได้โดยทางปฏิบัติทั่วไป และผู้ฟ้องคดีรวมทั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต่างเข้าใจตรงกันว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนาจัดซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และ วัตถุระเบิด จีที 200 ที่สามารถใช้งานได้จริง
แต่ต่อมา เมื่อมีหน่วยงานอื่นที่มีขีดความสามารถ ในการตรวจสอบและพิสูจน์เครื่องดังกล่าวจึงได้พบข้อเท็จจริงว่า วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมิใช่ เป็นเพียงวัสดุที่ชํารุดบกพร่อง หรือมิใช่ของแท้ หรือของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อนเท่านั้น หากแต่ ถึงขนาดเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่อาจใช้เป็นเครื่องตรวจตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด ได้อย่างสิ้นเชิง
กรณีตามคําฟ้องจึงเป็นการอ้างว่าผู้ฟ้องคดีเข้าทําสัญญา และต่อมาจึงเพิ่งทราบผล ว่า สิ่งของที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งมอบไม่ตรงตามข้อสัญญาข้อ 1 ซึ่งตามสัญญาข้อ 6 มีเจตนารมณ์ ที่จะให้คู่สัญญารักษาข้อสัญญาระหว่างกันโดยส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้อง เมื่อความปรากฏว่า สิ่งของ - ที่ส่งมอบเป็นสิ่งของที่ไม่อาจใช้งานได้อย่างสิ้นเชิง
กรณีจึงรับฟังได้ว่า เครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งมอบให้แก่ผู้ฟ้องคดี จํานวน 757 เครื่อง เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามเอกสารแสดงคุณสมบัติของเครื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้นํามาใช้อ้างในการเสนอราคาและเข้าทําสัญญา ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะลูกหนี้มิได้ชําระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริง แห่งมูลหนี้ เป็นการปฏิบัติผิดสัญญา
สาม.
อย่างไรก็ดี ในการต่อสู้คดีของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และที่ 2 มีการระบุถึงข้อบกพร่องในกระบวนการทำงานของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ไว้ว่า ในการตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของผู้ฟ้องคดีก็ไม่มีการตรวจสอบในด้าน คุณลักษณะเฉพาะตามภาคผนวก 1 และแคตตาล็อกตามภาคผนวก 2 คณะกรรมการจึงไม่อาจทราบได้ว่าเครื่องดังกล่าวมีคุณสมบัติเฉพาะและมีเทคโนโลยีในการใช้งานได้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ได้กําหนดขั้นตอนและวิธีการ ในการตรวจรับพัสดุไว้แล้ว
เมื่อผู้ฟ้องคดียอมรับว่าไม่ได้มีการตรวจสอบทางด้านเทคนิคในการ รับมอบเครื่องดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันถือได้ว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อทําให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน และตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกรณีไม่ทราบว่าเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด จีที 200 ใช้งานไม่ได้ ภายหลังจากรับมอบแล้วเพราะไม่ได้ตรวจสอบก่อน รับมอบเครื่องดังกล่าวนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
สี่.
ล่าสุด มีคำอธิบายจาก แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นกรรมการตรวจการจ้างโครงการนี้ ยืนยันสำนักข่าวอิศราว่า สาเหตุที่ต้องตรวจสอบ เครื่อง จีที 200 ว่าใช้การไม่ได้จริงๆ เพื่อนำผลการตรวจที่ได้ไปประกอบการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่เป็นคนตรวจรับเครื่อง จีที 200 อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา ถือเป็นกระบวนการที่ต้องทำเพื่อความชัดเจน เพื่อไม่ให้มีช่องโหว่ในทางคดี หรือเป็นช่องในการต่อสู้คดีของหน่วยงานที่ตรวจรับเครื่อง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับราชการ กระบวนการตรวจเพื่อใช้เป็นหลักฐานในทางคดีนั้น ไม่สามารถตรวจแค่บางเครื่องได้ แต่ต้องตรวจทุกเครื่องเพื่อความชัดเจน เพราะใช้ความรู้สึกไม่ได้ ต้องมีข้อมูลรองรับจากอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือ
จากคำชี้แจงดังกล่าว น่าจะสรุปได้ว่า
การจ้างตรวจสอบเครื่องจีที 200 ทั้ง 757 เครื่อง เป็นการจ้างเพื่อเตรียมความพร้อม ในการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่เป็นคนตรวจรับเครื่อง จีที 200 อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา ไม่ใช่กับเอกชน และนั้นอาจเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ หลังจาก ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาคดีนี้ ออกมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 กระบวนการว่าจ้าง สวทช. เข้ามาตรวจสอบเครื่องจีที 200 ทั้ง 757 เครื่อง วงเงินรวมกว่า 7.57 ล้านบาท ก็เริ่มต้นดำเนินการทันที
แต่การลงทุนไปกับกระบวนนี้ ที่ใช้งบประมาณสูงถึง 7.57 ล้านบาท ดังกล่าว อันมีที่มาจากเงินภาษีประชาชน แท้จริงแล้ว จะมีความคุ้มค่าและจำเป็นมากน้อยเพียงใด
เพราะปัจจุบันกระบวนการตรวจสอบทางคดีอาญา กลุ่มผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องจีที 200 ก็อยู่ระหว่างการดำเนินไต่สวนคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และใกล้จะสรุปผลการไต่สวนออกมาแล้ว
ทำไมกองทัพบก จะต้องมาขยันเร่งรีบตรวจสอบหาหลักฐานอะไรเพิ่มเติมตอนนี้ ทั้งที่ เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นมายาวนานนับสิบปีแล้ว?
หรือเรื่องนี้จะมีกระบวนการอะไรที่ซับซ้อนมากกว่าสิ่งที่เห็น? ผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่ายถูกฟ้องร้องล้วนเป็นบุคคลสำคัญใหญ่โตมาก ข้อมูลหลักฐานประกอบ จึงต้องละเอียดครบถ้วนกันมากขนาดนี้?
คำตอบของคำถามนี้เป็นอย่างไร คงจะต้องรอให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบออกมาชี้แจงทำความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยเร็วอีกครั้ง