"...ผู้ถูกกล่าวหานําสืบลอย ๆ ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ และชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่าไม่เคยสั่งซื้อทองคําแท่งดังกล่าว ไม่ได้ครอบครองหรือมอบให้ใครครอบครองแทน ทองคําแท่งดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่มีหลักฐานที่ น่าเชื่อถือมาสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง..."
ผู้ถูกกล่าวหานําสืบว่า ทองคําแท่งดังกล่าวมิใช่ของตนโดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน มีน้ำหนักน้อย
พยานหลักฐานของผู้ร้องที่นําสืบมามีน้ำหนัก ดีกว่า
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาซื้อทองคําแท่งในชื่อของผู้ถูกกล่าวหา แบบไม่มีรหัส 15 ครั้ง และผู้ถูกกล่าวหาเข้าครอบครองแล้ว ทองคําแท่งดังกล่าวเป็นของผู้ถูกกล่าวหา
อุทธรณ์ของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น
คือ ประเด็นสำคัญในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีหมายเลขแดงที่ อร 2/2562 ระหว่างอัยการสูงสุด (อสส.) ผู้ร้อง นายสาธิต รังคสิริ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ถูกกล่าวหา คดีร่ำรวยผิดปกติ ให้รายการสั่งซื้อทองคำแท่ง ในชื่อของนายสาธิต กับบริษัท ฮั่วเซงเฮง คอมโมดิทัช จำกัด รวม 15 ราย มูลค่า 607,239,100 บาท โดยเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของนายสาธิต ที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
ต่อปัญหาวินิจฉัยประการแรก ตามอุทธรณ์ของผู้ร้อง ว่า ทรัพย์สินข้อ 1 ในชื่อผู้ถูกกล่าวหา ตามรายการสั่งซื้อทองคําแท่งในชื่อผู้ถูกกล่าวหากับบริษัทฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช จํากัด รวม 15 รายการ เป็นเงิน 607,239,100 บาท เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่
หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2562 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาให้ทรัพย์สินของนายสาธิต ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ยกเว้นในส่วนของทองคำแท่งจำนวน 318 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ
ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอไปแล้ว
ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดประเด็นปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้อง ว่า ทรัพย์สิน ข้อ 1 ในชื่อผู้ถูกกล่าวหา ตามรายการสั่งซื้อทองคําแท่งในชื่อผู้ถูกกล่าวหากับบริษัทฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช จํากัด รวม 15 รายการ เป็นเงิน 607,239,100 บาท เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่
มีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้
คดีนี้ มีผู้ร้อง คือ อัยการสูงสุด
ผู้คัดค้าน คือ มี 6 ราย คือ นางกาญจนา รังคสิริ ผู้คัดค้านที่ 1 นายสฤต รังคสิริ ผู้คัดค้านที่ 2 นายโสฬส รังคสิริ ผู้คัดค้านที่ 3 บริษัท สิริกาญจนา จำกัด ผู้คัดค้านที่ 4 นายธรรมสรรค์ จรัสวุฒิปรีดา ผู้คัดค้านที่ 5 และ นายสาธิติ รังคสิริ ผู้ถูกกล่าวหา
ผู้ร้องอ้างว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธโดยคัดค้านว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ
ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 81 วรรคสอง และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 37
แต่ผู้ถูกกล่าวหานําสืบลอย ๆ ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ และชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่าไม่เคยสั่งซื้อทองคําแท่งดังกล่าว ไม่ได้ครอบครองหรือมอบให้ใครครอบครองแทน ทองคําแท่งดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ถูกกล่าวหา
โดยไม่มีหลักฐานที่ น่าเชื่อถือมาสนับสนุน
จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
ดังนั้น ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า ทรัพย์สินข้อ 1 ในชื่อผู้ถูกกล่าวหา ตามรายการสั่งซื้อทองคําแท่งในชื่อ ผู้ถูกกล่าวหากับบริษัทฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช จํากัด รวม 15 รายการ เป็นเงิน 607,239,100 บาท เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหา
อุทธรณ์ของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น
มีปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปตามอุทธรณ์ของผู้ร้อง ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ว่า ทรัพย์สินรายการอื่นเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่
โดยผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ทรัพย์สินในชื่อของ นางกาญจนา คือ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หลักทรัพย์โกลเบล็ก จํากัด ชื่อบัญชีนางกาญจนา วันที่ 22 เมษายน 2557 หลักทรัพย์ CPNRF จํานวน 28,625 หุ้น มูลค่า 435,100 บาท
ทรัพย์สินในชื่อของนายสฤต เงินลงทุนในบริษัทเอส เอ็น เซอร์วิส โซลูชั่น จํากัด จํานวน 33,334 หุ้น มูลค่า 3,333,400 บาท , ที่ดินโฉนดเลขที่ 48538 ตําบลบางเสาธง อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มูลค่า 16,133,000 บาท , รถยนต์ยี่ห้อ LEXUS รุ่น RX 450h Premium MR (ปี ค.ศ. 2013) เลขทะเบียน 1 กล-0974 กรุงเทพมหานคร มูลค่า 4,590,000 บาท โดยเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวย ผิดปกติ 1,000,000 บาท
ทรัพย์สินในชื่อนายโสฬส คือ เงินฝากในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าวซอย 111 ประเภทประจํา ชื่อบัญชี นายโสฬส จํานวน 1,000,000 บาท, เงินหลักประกันที่มีการนําเงินฝากเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ของบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จํากัด ชื่อบัญชี นายโสฬส จํานวน 4,000,000 บาท , ที่ดินโฉนดเลขที่ 71466 ตําบลขนงพระ อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 6,200,000 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกคําร้องนั้น ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหา
แต่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ปฏิเสธ โดยคัดค้านอ้างว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 81 วรรคสอง และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 37
โดยผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องพิสูจน์ให้ เห็นชัดเจนว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการ่ำรวยผิดปกติ ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาโดยสุจริตอย่างไร
ได้เงินจากทําบุญงานอุปสมบท
ผู้คัดค้านที่ 3 เบิกความว่า เงินฝากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 จํานวน 564,000 บาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 และ ครอบครัวได้จากผู้ร่วมทําบุญงานอุปสมบทของผู้คัดค้านที่ 3 ประมาณ 800,000 บาท แล้วนําเงิน 564,000 บาท ฝากเข้าบัญชีดังกล่าวไว้
ได้เงินจากมรดกตามพินัยกรรม
ส่วนเงินอีกประมาณ 200,000 บาท นําไปซื้อหุ้นของบริษัท ปตท. เงินฝากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) จํานวน 1,000,000 บาท เป็นเงินที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับมรดกตามพินัยกรรมของนางสาวยุพิน รังคศิริ แล้วผู้ถูกกล่าวหามอบเงินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 เงินลงทุนในบริษัทแอลเจิล นูเดิ้ล วัน จํากัด จํานวน 2,500 หุ้น มูลค่า 250,000 บาท ผู้ถูกกล่าวหามอบเงิน 2,000,000 บาท ให้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง โดยเป็นการถอนเงินสด จากบัญชีธนาคารกรุงไทยของผู้ถูกกล่าวหา 1,156,600 บาท และผู้คัดค้านที่ 1 ให้เงิน 500,000 บาท แก่ผู้คัดค้านที่ 3
ส่วนเงิน 400,000 บาท เป็นเงินที่นางกอบกุล บุตรศรี มารดาผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่ความตาย มีผู้ร่วมทําบุญเป็นเงินประมาณ 400,000 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 2,000,000 บาท แล้วนําไปซื้อทองรูปพรรณได้ 174 บาททองคํา ในราคาบาททองคําละ 11,000 บาท
ได้เงินจากการขายทอง - 'สาธิต' ให้เงิน
หุ้นบริษัทอีเทอร์นิตี้ โบรกเกอร์เรจ แอนด์ คอนซัลแทนท์ส จํากัด จํานวน 3,750 หุ้น เป็นเงิน 375,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มาวันที่ 1 สิงหาคม 2555 โดยนําเงินจาก การจําหน่ายทองรูปพรรณส่วนหนึ่งมาซื้อ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 2 ต้องการจะเปิดบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดหาที่ดินมาแล้วจัดสรรจําหน่าย ได้ร่วมกันขอเงินจากผู้ถูกกล่าวหาคนละ 500,000 บาท เป็นเงิน 1,000,000 บาท แล้วตั้งบริษัทผู้คัดค้านที่ 4 เงินลงทุนในบริษัทกรีน เอ็นเนอร์ยี่ เทรดดิ้ง จํากัด จํานวน 90,000 หุ้น มูลค่า 9,000,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ยืมเงินผู้คัดค้านที่ 2 จํานวน 9,000,000 บาท
โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้มาจากการถือหุ้นของบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จํากัด ไม่ได้ทําหลักฐานการกู้ยืมเงินไว้ เนื่องจากไว้ใจกัน
เงินหลักประกันที่มีการนําเงินฝากเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จํากัด จํานวน 4,000,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มา 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นเงิน 2,500,000 บาท ครั้งที่ 2 วันที่ 12 ตุลาคม 2554 เป็นเงิน 1,500,000 บาท โดยยืมมาจากผู้คัดค้านที่ 2
ที่ดินโฉนดเลขที่ 71466 ตําบลขนงพระ อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 6,200,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มาวันที่ 22 กันยายน 2554 โดยนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายทองรูปพรรณ 124 บาท เป็นเงิน 2,700,000 บาท และเงินอีก 3,000,000 บาท ที่ได้รับมาจากผู้ถูกกล่าวหา ที่ดินโฉนดเลขที่ 19219 ตําบลขนงพระ อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 46,000,000 บาท มีชื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านที่ 3 ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนางสาวพัชรี ศิริโชติ เป็นเงิน 46,000,000 บาท เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555
ผู้คัดค้านที่ 2 เบิกความว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) จํานวน 2,299,034.77 บาท นั้น เงิน จํานวน 540,000 บาท เป็นเงินปันผลครั้งที่ 2 ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทฟาสต์ ฟอร์เวิร์ด คอมมิวนิเคชั่น จํากัด ฝากเข้าบัญชีวันที่ 1 ตุลาคม 2556 โดยมีหุ้นอยู่ 14,000 หุ้น มูลค่า 1,500,000 บาท ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มอบเงินให้ไปซื้อหุ้นดังกล่าว
@ นายสาธิติ รังคสิริ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ต้องหาในคดีนี้
ได้เงินมาจากขายกระเช้าของขวัญช่วงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร
ส่วนเงินจํานวน 1,795,034.77 บาท ได้จากการขายหุ้นบริษัทอิชิตัน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเงินที่นํามาซื้อหุ้นดังกล่าวได้มาจากการจําหน่ายกระเช้าของขวัญที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับและมอบให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปลายปี 2556 และต้นปี 2557 เงินจากการจําหน่ายมะนาวและเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ยืมไปและนํามาคืนให้เป็นเงิน 2,000,000 บาท
เงินฝากในบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 1,840,000 บาท นั้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ผู้คัดค้านที่ 2 ฝากเงินเข้าบัญชีเป็นเงิน 540,000 บาท เป็นเงินที่ได้จากการปันผลครั้งแรกของ บริษัทฟาสต์ ฟอร์เวิร์ด คอมมิวนิเคชั่น จํากัด
ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 2555 นําฝากอีก 3,336,000 บาท โดยนําเงินจากการจําหน่ายกระเช้าของขวัญที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับและมอบให้ช่วงปลายปี 2554 และต้นปี 2555 ประมาณ 300,000 บาท
เงินที่ได้จากการจําหน่ายทองรูปพรรณ ที่สะสมไว้และผู้ถูกกล่าวหาให้อีก 2,000,000 บาท เงินลงทุนในบริษัทฟาสต์ ฟอร์เวิร์ด คอมมิวนิเคชั่น จํากัด จํานวน 14,000 หุ้น มูลค่า 1,400,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับจากผู้ถูกกล่าวหา
เงินลงทุนในบริษัทผู้คัดค้านที่ 4 จํานวน 4,999 หุ้น มูลค่า 499,900 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการได้ร่วมกันเปิดบริษัทนี้เพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ขอเงินจากผู้ถูกกล่าวหาเป็นเงิน 1,000,000 บาท แล้วร่วมกันตั้งบริษัทผู้คัดค้านที่ 4 เงินลงทุนในบริษัทอีเทอร์นิตี้ โบรกเกอร์เรจ แอนด์ คอนซัลแทนท์ส จำนวน 3,750 หุ้น มูลค่า 375,000 บาท นําเงินจากการจําหน่ายทองรูปพรรณปี 2554 มาซื้อหุ้น เงินลงทุนในบริษัทเอส เอ็น เซอร์วิส โซลูชั่น จํากัด จํานวน 33,334 หุ้น มูลค่า 3,333,400 บาท
ผู้คัดค้านที่ 2 นําเงินที่ได้จากผู้ถูกกล่าวหามาซื้อ ที่ดินโฉนดเลขที่ 62279 เลขที่ 62280 และเลขที่ 62281 ตําบลวัดธาตุ อําเภอเมือง หนองคาย จังหวัดหนองคาย ผู้คัดค้านที่ 2 ประมูลซื้อเป็นเงินประมาณ 221,000 บาท เงินที่นํามาซื้อมาจากหลายแห่งส่วนหนึ่งเกี่ยวกับเงินที่ได้จากการจําหน่ายกระเช้า
ที่ดินโฉนดเลขที่ 48538 ตําบลบางเสาธง อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มูลค่า 16,133,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 ยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 5 เป็นเงิน 15,900,000 บาท และขอจากผู้ถูกกล่าวหาอีก 2,000,000 บาท นํามาซื้อ รวมเป็นเงิน 17,900,000 บาท ตามสัญญากู้ยืม การชําระราคาผู้คัดค้านที่ 2 จ่ายเงินสด 2,000,000 บาท ส่วนที่เหลือซื้อแคชเชียร์เช็คชําระ
ได้มาจากการจําหน่ายมะนาว-ขายที่ดิน
รถยนต์ยี่ห้อ LEXUS รุ่น RX 450h Premim MR หมายเลขทะเบียน 9 กล - 0974 กรุงเทพมหานคร ผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อมาราคา 4,540,000 บาท โดยนําเงิน 1,000,000 บาท ที่ได้ จากการจําหน่ายมะนาว เงินจากการขายที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 5 จํานวน 1,500,000 บาท และถอนมาจากธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) บัญชีเป็นเงิน 500,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้เงินส่วนตัว 1,000,000 บาท รวมกับเงินที่ขอจากผู้ถูกกล่าวหาอีก 3,590,000 บาท นํามาซื้อรถคันนี้
ผู้คัดค้านที่ 1 เบิกความว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) จํานวน 3,570,000 บาท นั้น เงินจํานวน 1,000,000 บาท นําเข้าบัญชีวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ได้มาจากการถอนเงินจากบัญชีของผู้ถูกกล่าวหาเพื่อใช้ซื้อหุ้นรายการเงินฝากวันที่ 16 มีนาคม 2554 จํานวน 2,000,000 บาท วันที่ 30 มีนาคม 2554 จํานวน 670,000 บาท และวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 จํานวน 1,000,000 บาท ถอนจากบัญชีของผู้ถูกกล่าวหาเช่นกัน
มูลนิธิโอนเงินคืนให้
เงินฝากบัญชี ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 200,000 บาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 สํารองจ่ายทําบุญเนื่องจากวัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี กําลังก่อสร้างศาลาร้อยปีในงานอุปสมบทของผู้คัดค้านที่ 2 แทนมูลนิธิกาญจนศิริ ภายหลังมูลนิธิโอนเงินดังกล่าวคืน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จํากัด เลขที่ 915897-0 รายการวันที่ 22 เมษายน 2557 หลักทรัพย์ CPNRF ผู้คัดค้านที่ 1 ปิดบัญชีธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) วันที่ 18 มิถุนายน 2556 แล้วฝากไว้เพื่อซื้อหลักทรัพย์
****************************
ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่จบ ยังมีรายละเอียดทรัพย์สินส่วนอื่น ๆ รวมถึงคำเบิกความของ นายสาธิติ รังคสิริ และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เพิ่มอีก
รายละเอียดเป็นอย่างไร สำนักข่าวอิศรา จะขอนำมาเสนอในตอนต่อไป
อ่านประกอบ :
อัยการส่งฟ้อง‘สาธิต-พวก’คดีแวต 4.3 พันล.-ศาลสั่งยึดทรัพย์‘สุวัฒน์’ 596 ล.ของแผ่นดิน
ทองปริศนา 600 ล.โผล่? เบื้องหลังคดีรวยผิดปกติ‘สาธิต’-ป.ป.ช.ส่งเก็บที่ ธปท.
ครั้งแรก! ป.ป.ช.ตรวจนับทองแท่ง 594 ล.‘สาธิต รังคสิริ’ของกลางคดีรวยผิดปกติ
อัยการส่งฟ้อง‘สาธิต-พวก’คดีแวต 4.3 พันล.-ศาลสั่งยึดทรัพย์‘สุวัฒน์’ 596 ล.ของแผ่นดิน
สั่ง‘สาธิต-อดีตซี 8-9’ชดใช้ 4 พันล.! เปิดผลสอบ กก.รับผิดทางละเมิด ก.คลังคดีคืนภาษี
พิพากษายึด 31 ล.‘อดีตซี 9’รวยผิดปกติคดีคืนภาษี-อสส.สั่งฟ้องอาญา‘สาธิต-พวก’แล้ว
ป.ป.ช.-อัยการตั้งคณะทำงานร่วมฯ ‘สาธิต-พวก’คดีทุจริตคืนภาษี ปมรวยผิดปกติไต่สวนในศาลแล้ว
EXCLUSIVE: พฤติการณ์ 32 บ.คืนภาษีเท็จในสำนวน ก.คลังก่อนสั่ง ‘สาธิต-พวก’ชดใช้ 4 พันล.
ป.ป.ช.-อัยการตั้งคณะทำงานร่วมฯ ‘สาธิต-พวก’คดีทุจริตคืนภาษี ปมรวยผิดปกติไต่สวนในศาลแล้ว
สั่ง‘สาธิต-อดีตซี 8-9’ชดใช้ 4 พันล.! เปิดผลสอบ กก.รับผิดทางละเมิด ก.คลังคดีคืนภาษี
ปิดคดีทุจริตคืนภาษี 4.3 พันล.ฟัน 6 ขรก. 28 เอกชน-4 บิ๊กรวยผิดปกติ 1.3 พันล.
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/