‘การบินไทย’ จ่ายค่าเติมน้ำมันเครื่องบินเป็น ‘เงินสด’ หลังปตท.ปฎิเสธไม่รับบัตร ‘Fleet Card’ พร้อมถก ‘กรุงไทย’ ออกบัตร ‘Prepaid Card’ สำหรับใช้เติมน้ำมัน ขณะที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรฯ แจงเหตุตั้ง ‘SPV’ เช่าเครื่องบินแบบ Operating Lease จำนวน 70 ลำ ด้าน 'รักษาการดีดีบินไทย' เซ็นสั่งลดเงินเดือนพนักงาน 10-50% แล้ว มีผล 1 มิ.ย.-31 ส.ค.63
แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) กรณีสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ปฏิเสธการเติมน้ำมันด้วยบัตร Fleet Card หรือบัตรเติมน้ำมัน ของบริษัท การบินไทย ว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทฯ ได้หารือกับธนาคารกรุงไทยและขอให้ธนาคารฯออกบัตร Prepaid Card หรือบัตรเติมเงิน สำหรับใช้ในการเติมน้ำมันแทนการใช้บัตร Fleet Card
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ธนาคารกรุงไทยยังออกบัตร Prepaid Card ไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงให้หน่วยงานจัดทำหนังสือขอเบิกเงินสด (Cash Advance) เพื่อสำรองจ่ายค่าเติมน้ำมันไปก่อน
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า 31 พ.ค. ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท การบินไทย ชี้แจงกรณีที่มีข่าวในสื่อบางสำนัก และสื่อสังคมออนไลน์ว่า การบินไทยทำสัญญาเช่าเครื่องบินกับนิติบุคคลผู้ให้เช่าเครื่องบินที่ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ในการนำเครื่องบินเข้ามาสู่ฝูงบินของการบินไทยนั้น บริษัทฯ จะกระทำได้ผ่านสัญญาสองประเภท กล่าวคือสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) กับสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) ซึ่งทั้งสองประเภทเป็นธุรกรรมการเงินในการให้สินเชื่อที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรมการบิน
ในส่วนของสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) นั้น เปรียบเทียบได้กับสัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าโดยการบินไทยจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และเมื่อสัญญาครบกำหนดระยะเวลาการเช่า การบินไทยต้องคืนเครื่องบินให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ตกลงกันไว้ (Redelivery Condition) สัญญาประเภทเช่าดำเนินการนั้น มักจะทำกับบริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบิน
แต่ในกรณีที่ผู้ให้เช่าต้องกู้เงินมาซื้อเครื่องบินเพื่อเอามาให้สายการบินเช่านั้น ทางผู้สนับสนุนทางการเงินของผู้ให้เช่าอาจตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle หรือ SPV) ขึ้นมา เพื่อถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินดังกล่าว
ในกรณีของสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) นั้น สายการบินจะทำสัญญาซื้อ-ขายกับผู้ผลิตเครื่องบิน เช่น Boeing หรือ Airbus และเมื่อถึงวันรับมอบเครื่องบิน สายการบินอาจใช้เงินสดหรือจัดหาเงินกู้มาชำระค่าเครื่องบิน ซึ่งมาจากสถาบันการเงินที่ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยอาจให้องค์การเครดิตเพื่อการส่งออก (Export Credit Agency หรือ ECA) มาเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
ทั้งนี้ สถาบันการเงินนั้นจะเป็นผู้รับโอนสัญญาซื้อขายเครื่องบินระหว่างสายการบินกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน ซึ่งสถาบันการเงินที่นำเงินมาจ่ายค่าเครื่องบินนั้น อาจมีมากกว่าหนึ่งรายและอาจมาจากหลายประเทศ กลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าวจึงตั้ง SPV ขึ้น เพื่อร่วมกันถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินดังกล่าว และสายการบินก็จะทำสัญญาเช่าทางการเงินกับ SPV นั้น เมื่อสายการบินชำระเงินกู้ครบถ้วนแล้ว เครื่องบินจะถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของสายการบินต่อไป
ดังนั้น การที่มี SPV มาเกี่ยวข้องในทั้งสองโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) หรือสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) เป็นธุรกรรมทางการเงินที่สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกทั่วไปใช้ดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินหลายๆ สถาบันที่เป็นผู้ให้กู้ร่วม สามารถถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินผ่าน SPV ดังกล่าวได้ ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน SPV ดังกล่าวแต่อย่างใด และการตั้งชื่อ SPV เป็นสิทธิของสถาบันการเงิน แต่บางรายขอให้สายการบินเป็นผู้ตั้งให้ ชื่อ SPV ที่ปรากฏจึงมีทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ การเช่าเครื่องบินที่ปรากฏเป็นข่าวเป็นเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) ทั้งสิ้น และปัจจุบันบริษัทฯ มีเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) จำนวน 31 ลำ และเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) จำนวน 39 ลำ
วันเดียวกัน นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ลงนามประกาศบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ที่ 046 /2563 เรื่อง การจ่ายเงินเดือน รวมค่าตอบแทนรายเดือนระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2563 และมาตรการอื่นๆ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ดังนี้
ตามประกาศบริษัทฯ ที่ 043/2563 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนรวมค่าตอบแทนพนักงานและมาตรการอื่นๆ จะครบกำหนดระยะเวลามีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 นั้น
โดยที่บริษัทฯ ประสบภาวะขาดทุน ขาดสภาพคล่องทางการเงิน บริษัทจึงได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ในขณะนี้อยู่ระหว่างการคำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ประกอบกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
และสำนักงานการบินพลเรือนเห่งประเทศไทย ได้ประกาศห้ามอากาศยานขนส่งคนโดขสารทำการบินเข้ามายังท่าอกาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวในเดือนมิถุนายน บริษัทฯจึงไม่สามารถกลับมาดำเนินการบินได้ตามปกติ
จากสถานการณดังกล่าวข้างต้นบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายทุกรายการให้ใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินการตามขั้นตอนการฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จลุล่วง
ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งพิเศษที่ 11/2563 วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 จึงมีมติอนุมัติ ดังนี้
1.จ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนรายเดือน โดยให้พนักงานสมัครใจตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม 2563 ดังนี้
1.1 พนักงานระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) บริษัทฯจ่ายเงินเดือนเละค่าตอบเทนรายเดือนให้ร้อยละ 50
1.2 พนักงานระดับผู้อำนวยการใหญ่ (VP) หรือ กรรมการผู้จัดการ (MD) บริษัทฯจะจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนรายเดือนให้ร้อยละ 60
1.3 พนักงานนอกจากข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 บริษัทฯจะจ่ายเงินเดือนและค่าตอบเทนรายเดือนในอัตราลดแบบขั้นบันไดตามที่กำหนดในประกาศบริษัทฯ ที่ 043/2563 ดังนี้
-พนักงานที่ได้รับเงินคือนรวมค่าตอบแทนรายเดือนไม่กิน 20,000 บาท ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 10
-พนักงานที่ได้รับเงินเดือนรวมค่าตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ 20,001 บาทถึง 40,000 บาทปรับลดลงในอัตราร้อยละ 25
-พนักงานที่ได้รับเงินเดือนรวมค่าตอบเทนรายเดือน ตั้งแต่ 40,001 บาท ถึง 60,000 บาท ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 30
-พนักงานที่ได้รับเงินเดือนรวมค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่ 60,001 บาทถึง 100,000 บาท ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 35
-พนักงานที่ได้รับเงินเดือนรวมค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่ 100,001 บาท ขึ้นไป ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 40
2.บริษัทฯจะจัดทำหนังสือเสดงเจตนายินยอมด้วยความสมัครใของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการรับเงินเดือนรวมค่าตอบแทนรายเดือนตาม ข้อ 1 ข้างต้น ให้พนักงานทุกคนลงนาม หรือแสดงเจตนาผ่านช่องทางอื่นภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 และนำส่งหนังสือดังกล่าวที่ลงนามแล้วให้บริษัทๆในภายหลัง
3.ให้ระงับการจ่ายพาหนะทุกประเภทแก่พนักงานทุกระดับ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
4.ให้พนักงานยังคงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดิมภายหลังจากวันที่ 3 สิงหาคม 2563 และสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ
5.หากพนักงานมีความประสงค์จะไม่รับเงินเดือนรวมค่าตอบแทน หรือยินยอมลดเงินเดือนรวมค่าตอบแทนลงในอัตราที่มากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ หรือ ประสงค์จะใช้สิทธิลาหยุดโคยไม่รับเงินเดือน (Leave without Pay) ด้วยความสมัครใจก็ให้สามารถกระทำได้ โคยเจ้งความจำนงที่ E-mail : [email protected] พร้อมทั้งสำนาเรียน ผู้บังกับบัญชา ต้นสังกัดเพื่อทราบ
6.ให้ฝ่ายบริหารพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ เพิ่มติมแล้วนำสนอเรื่องการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนรายเดือนให้คณะกรรมการบริษัทๆ พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บังกับบัญชาที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงคำสั่งของทางราชการในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วย จึงประกาศมาเพื่อขอความร่วมมือเละถือปฏิบัติ ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563
อ่านประกอบ :
แจ้งเป็นทางการ! ‘การบินไทย’ ลดเงินเดือนพนง.10-50% อีก 3 เดือน-บอร์ดไม่รับค่าตอบแทน
จ่ายเงินช่วยเหลือ 50-90% 'การบินไทย’ สั่ง พนง.หยุดปฏิบัติงาน 2 เดือน
บิ๊กการบินไทยดีลลับซื้อเครื่องยนต์! โชว์ละเอียดสำนวน ป.ป.ช.สอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์
คืนเงินค่าตั๋วไม่ได้! ‘การบินไทย’ ชี้ติดข้อบังคับกฎหมาย หลังยื่นศาลฯฟื้นฟูกิจการ
ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องขอฟื้นฟู‘การบินไทย’-นัดไต่สวนครั้งแรก 17 ส.ค.
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/