คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายภายนอก ให้ความเห็นปมแต่งตั้งอธิการบดี มรภ.มหาสารคาม ชี้การแก้คุณสมบัติผู้สมัคร ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ราชภัฎฯ-แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
จากกรณีการร้องเรียนเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาสารคาม ว่ามีการแก้ไขคุณสมบัติผู้สมัครเป็นอธิการบดี เพื่อเอื้อประโยชน์กับบุคคลคนหนึ่งนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รับการเปิดเผยว่า สภามหาวิทยาลัย ได้ทำบันทึกข้อความขอหารือต่อคณะกรรมการด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายประเด็นการดำเนินการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะกรรมการด้านกฎหมายฯ ได้พิจารณาข้อหารือของมหาวิทยาลัยประกอบข้อกฎหมาย มีความเห็นเป็น 4 ประเด็น คือ 1.คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามต้องระบุคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 และข้อ 7 ของข้อบังคับดังกล่าวให้ครบถ้วน เนื่องจากข้อ 12 ของข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุให้คณะกรรมการสรรหาอธิการบดื่มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามกำหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องต้องห้ามได้
2. การถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ย่อมเป็นการพ้นสภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและต้องออกจากราชการไปชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่ง ดังนั้น นางลำดวน ดวงคมหา จึงไม่มีตำแหน่งและหน้าที่ตามข้อ 10 (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้
3.เมื่อการดำเนินการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามตามประกาศคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2565 ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 7 (3) และข้อ 12 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ย่อมทำให้ประกาศคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม พ.ศ. 2565 ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 7 (3) และข้อ 12 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ไปด้วย
4. กรณีดังกล่าวสภามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ได้มีมติแล้วว่า "อนุญาตให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัต ชัยเกียรติธรรรม ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป และมหาวิทยาลัยไม่ต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการสรรหาอธิการบดี จากบุคลากรสายวิชาการ แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีครบถ้วนตามข้อบังคับแล้ว" อันเป็นการใช้อำนาจในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดและให้ถือเป็นที่สุดตามข้อ 15 วรรคสอง ของข้อบังคับมหาวิหยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 แล้ว
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเด็นที่หนึ่ง
คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยกำหนดลักษณะต้องห้ามไว้ในข้อ 2 ของประกาศฉบับดังกล่าวเพียง 9 ข้อ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีไม่นำลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 (3) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 มากำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามในประกาศของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ซึ่งเป็นการกำหนดลักษณะต้องห้ามโดยไม่เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 แนวปฏิบัติตามหลักธรรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 หรือไม่ อย่างไร นั้น
เห็นว่า ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 บัญญัติว่า "อธิการบดีต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรองและได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันอดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์รวมทั้งมีคุณสมบัติอื่นและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย"
สภามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จึงได้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติไว้ในข้อ 6 และคุณลักษณะต้องห้ามไว้ใน ข้อ 7 ของข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
ดังนั้น กรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จะต้องระบุคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 และข้อ 7 ของข้อบังคับดังกล่าวให้ครบถ้วน เนื่องจากอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามตามข้อ 12 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 ไม่ได้กำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องห้าม
ดังนั้น คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามต้องระบุคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 และข้อ 7 ของข้อบังคับดังกล่าวให้ครบถ้วน เนื่องจากข้อ 12 ของข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุให้คณะกรรมการสรรหาอธิการบดื่มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามกำหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะต้องต้องห้ามได้
ประเด็นที่สอง
กรณีคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามอนุญาตให้นางลำดวน ดวงคมทา ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ต่อไปได้ เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอดมศึกษา ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 หรือไม่ อย่างไร นั้น
เห็นว่า การถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ย่อมเป็นการพ้นสภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและต้องออกจากราชการไปชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่ง ดังนั้น นางลำดวน ดวงคมหา จึงไม่มีตำแหน่งและหน้าที่ตามข้อ 10 (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้
ประเด็นที่สาม
กรณีคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ได้ออกประกาศ รายชื่อผู้สมัครที่มีสิทธิเข้ารับการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยปรากฏชื่อของนางเนตรชนก จันทร์สว่าง ผู้ถูกสั่งพักราชการไว้ก่อน ซึ่งเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 2 (3) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 256564 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 หรือไม่ อย่างไร นั้น
เห็นว่า เมื่อการดำเนินการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามตามประกาศคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2565 ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 7 (3) และข้อ 12 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ย่อมทำให้ประกาศคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม พ.ศ. 2565 ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 7 (3) และข้อ 12 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ไปด้วย
ประเด็นที่สี่
กรณีมีกรรมการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน 1 ราย โดยที่สภามหาวิทยาลัยไม่ได้แต่งตั้งกรรมการสุรรหาอธิการบดี แทนตำแหน่งที่ว่าง นั้น ถือว่าคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ครบองค์ประกอบตามข้อ 10 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 หรือไม่ อย่างไร นั้น
เห็นว่า กรณีดังกล่าวสภามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ได้มีมติแล้วว่า "อนุญาตให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัต ชัยเกียรติธรรรม ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป และมหาวิทยาลัยไม่ต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการสรรหาอธิการบดี จากบุคลากรสายวิชาการ แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีครบถ้วนตามข้อบังคับแล้ว" อันเป็นการใช้อำนาจในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดและให้ถือเป็นที่สุดตามข้อ 15 วรรคสอง ของข้อบังคับมหาวิหยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2565 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) ได้มีการตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้บริหาร มรภ.มหาสารคามรายหนึ่ง ว่าเข้าข่ายกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากการออกคำสั่งยุติเรื่องการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงอาจารย์รายหนึ่งที่เข้าไปเกี่ยวกับกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรที่มีการดำเนินการไม่ถูกต้องระเบียบ ปัจจุบันอาจารย์รายนี้ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการตรวจสอบ
ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:
- ปปป.ลุยสอบปมบิ๊กมรภ.สารคาม สั่งยุติสอบวินัยร้ายแรงเอื้อ อ.เอี่ยวคดีขอตำแหน่งวิชาการ
- ขมวด 3 คำสั่ง! 'สอบวินัย-พักราชการ-ยุติเรื่อง' เอื้อ ปย.บิ๊ก มรภ.สารคาม?-ก่อน ปปป.ลุยสอบ
- ทำตามกรอบอำนาจกม.! อดีตรษก.อธิการ มรภ.สารคาม แจงปมสั่งยุติสอบวินัยฯ-ปปป.จ่อทวงถามรอบ 2
- ขีดเส้น 2 สัปดาห์! ปปป.ให้เวลามรภ.สารคาม แจงปมยุติสอบวินัยร้ายแรง อ.คดีตำแหน่งวิชาการ
- ครั้งที่ 5 แล้ว! สภาฯ มรภ.มหาสารคาม ลงนามตั้ง 'เนตรชนก' นั่ง รษก.อธิการฯ ต่อเนื่อง
- โดนเก็บภาษี 27 ล.! ปธ.สหกรณ์ฯโกสุมพิสัยแจ้งความถูกปลอมลายมือร่วมโครงการวิจัย มรภ.สารคาม
- ไม่รู้เรื่องซื้อขาย 279 ล.! สหกรณ์ฯ ร้อง อว. สอบถูกปลอมลายมือร่วมโครงการวิจัย มรภ.สารคาม
- ป.ป.ช.ตีกลับปมร้องเรียนทุจริตวิจัยฯ 408 ล.ให้อธิการบดี มรภ.มหาสารคามดำเนินการ
- หาคนรับผิดชอบ! ร้องนายกสภา มรภ.สารคาม สอบปมปลอมลายมือร่วมโครงการวิจัยซื้อขาย 279 ล.
- ร้อง รมว.อว.ใช้อำนาจ ม.51 จัดระเบียบ มรภ.สารคาม เผยมีหลายปมต้องสะสาง