เผยมติ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดคดี จัดซื้อยาฆ่าแมลงอุบลฯ 3 สำนวน 2 ผู้ว่าฯ 'วิชิต ชาตไพสิฐ -สุรพล สายพันธ์' โดนด้วย รวมจำนวนผู้ถูกกล่าวหาเพียบ 179 ราย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2565 ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหาในคดีจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพิช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน (ด้านพืช) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 3 สำนวน คือ
1. คดีกล่าวหา นายวิชิต ชาตไพสิฐ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กับพวก ร่วมกันทุจริตในการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ในท้องที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2554
2. คดีกล่าวหา นายสุรพล สายพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีกับพวก ทุจริตการจัดซื้อสารเคมีเพื่อใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน (ด้านพืช) ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2554
3. คดีกล่าวหา นายสุรพล สายพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กับพวก ร่วมกันทุจริตในการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ในอำเภอสิรินธร และอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2554-2555
โดยคดีแรก คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 49 ราย คดีสอง มีมติชี้มูลความผิด ผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 89 ราย คดีที่สาม มีมติชี้มูลความผิด ผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 41 ราย
รวมจำนวนผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกชี้มูลทั้ง 3 คดี 179 ราย
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพิช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน (ด้านพืช) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นั้น สำนักข่าวอิศรา เคยนำเสนอไปแล้วว่า การจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของทุกอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี น่าเชื่อว่าเป็นขบวนการที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยมีผู้ขายทั้ง 10 ราย ให้การสมรู้ร่วมกันสนับสนุน และมีพฤติการณ์สมยอมกันกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมิให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก
ขณะที่ในรายงานผลการตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในพื้นที่ อำเภอสิรินธร และอำเภอพิบูลมังสาหาร ที่ส่งให้ ป.ป.ช. ระบุว่า การตรวจสอบสืบสวนกรณีการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ของอำเภอสิรินธร และอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2554 และ 2555 ปรากฏว่า การดำเนินการให้มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในเขตพื้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีตามประกาศจังหวัดอุบลราชธานีในปีงบประมาณ 2554 และ 2555 รวมจำนวน 18 ฉบับ (ยกเว้นการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฯ โรคไหม้ใบข้าว ฤดูกาลผลิตที่ 2553 /2554 )
มีการจัดทำเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จ ประกอบด้วยรายงานการระบาด โดยเกษตรอำเภอและรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยจากอำเภอพิบูลมังสาหารและเกษตรอำเภอสิรินธร และการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฯ โดยจังหวัดอุบลราชธานีมิได้เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด และไม่มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการรับรู้รับทราบโดยกว้างขวางตามเจตนารมณ์ของระเบียบ
ดังนั้น การประกาศพื้นที่ภัยพิบัติฯดังกล่าวข้างต้นของจังหวัดอุบลราชธานี จึงน่าเชื่อว่าเป็นการดำเนินการให้ครบขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ โดยมีเจตนาที่จะให้มีการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินการให้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฯ ดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยระเบียบและหลักเกณฑ์ตามนัยหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0617/ว 793 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2553 เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งในการจัดสรรวงเงินทดรองราชการที่ตั้งไว้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีใช้อำนาจจัดสรรวงเงินทดรองราชการให้อำเภอพิบูลมังสาหารและอำเภอสิรินธรและมอบอำนาจอนุมัติจ่ายให้นายอำเภอฯ พร้อมกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
โดยให้ทำการจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตามที่กำหนดไว้ในบัญชีรายละเอียดและค่าใช้จ่ายแนบท้ายคำสั่งจัดสรรวงเงินทดรองราชการโดยได้กำหนดอัตราส่วนการใช้ชนิดราคาและปริมาณของสารเคมีที่ต้องซื้อกำหนดพื้นที่ให้การช่วยเหลือและวงเงินที่จัดสรรให้ มีเจตนาให้ผู้รับมอบอำนาจทำการจัดซื้อสารเคมีตามที่กำหนดซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาตลาดของสารเคมีชนิดเดียวกันในพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานีประกอบกับสารเคมีดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 74.12 ล้านบาท
นอกจากนี้ในการดำเนินการจัดซื้อจัดหาสารเคมีของอำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอสิรินธร จะมีกลุ่มนิติบุคคลผู้ขายหรือผู้ร่วมเสนอราคาขายจำนวน 10 ราย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีตัวแทนหนึ่งหรือสองคน บางครั้งทำการเสนอราคาผ่านตัวกลาง คือ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อประสานงานกับแต่ละอำเภอ
มีการกำหนดผู้ขายที่เป็นคู่สัญญาและคู่เทียบเสนอราคาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เสมียนตราแต่ละอำเภอจัดทำร่างสัญญาซื้อแล้วนำมาให้ตัวแทนผู้ขายลงนามในสัญญาซื้อ ประกอบกับในบางอำเภอมีการส่งมอบสินค้าสารเคมีทันทีที่มีคำสั่งจัดสรรโดยที่ยังไม่มีมติก.ช.ภ.อ. หรือมีการเจรจาต่อรองรวมทั้งก่อนทำสัญญาซื้อ
พฤติกรรมจึงน่าเชื่อว่าการจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของทุกอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นขบวนการที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยมีผู้ขายทั้ง 10 ราย ให้การสมรู้ร่วมกันสนับสนุน และมีพฤติการณ์สมยอมกันกระทำผิด กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมิให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก
ขณะที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม อายัดทรัพย์ นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางนฤมล มะลิวัลย์ และนายเกรียงไกร วรรณเสริมสกุล กับพวก จำนวน 229 รายการ อาทิ เงินฝากในบัญชีธนาคาร รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงเรือน ห้องชุด เป็นต้น รวมราคาประเมินทรัพย์สินที่ถูกอายัดไว้เบื้องต้น คิดเป็นมูลค่า 384,129,127.73 บาทไปแล้ว
อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด ยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
อ่านประกอบ:
- EXCLUSIVE : ผลสอบลับคดีจัดซื้อยาฆ่าแมลงอุบลฯ เชิดผู้ขาย 10 ราย สมรู้ร่วม 'ฮั้ว' จนท.รัฐ
- EXCLUSIVE(2): เบื้องหลังซื้อยาฆ่าแมลงอ.เขมราฐ -จนท.'อุปโลกน์' ภัยพิบัติ-จัดฉากฮั้วประมูล
- EXCLUSIVE(3) :เสมียนตราอ.นาตาล 'คีย์แมน' จัดฉากซื้อยาฆ่าแมลง-ปลอมชื่อ 'เกษตรกร' รับของ
- EXCLUSIVE(4) :พฤติการณ์ฮั้วซื้อยาฆ่าแมลงอ.โขงเจียม-กำหนดตัว'ผู้ขาย'ลงนามล่วงหน้าที่ ปภ.
- EXCLUSIVE(5) : ถึงคิวอำนาจเจริญ! เปิดพฤติการณ์ฮั้วซื้อยาฆ่าแมลง 2 อำเภอ-รัฐเสียหาย 112 ล.
- EXCLUSIVE(6):ครบชุด! ข้อมูลทุจริตฮั้วซื้อยาฆ่าแมลง 5 อำเภอ อำนาจเจริญ-รัฐเสียหาย 215 ล.
- เปิดคำสั่ง ป.ป.ช.ไต่สวนอดีตผู้ว่าฯมุกดาหาร 4 รองฯ พวก 23 ราย คดีทุจริตจัดซื้อสารเคมี
- ป.ป.ช.โชว์คำสั่งไต่สวน ‘สุรพล’ อดีตผู้ว่าฯอุบลฯ 22 ขรก. คดีจัดซื้อสารเคมี
- ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
- สาว 24 ปี เจ้าของบ้านหรู 55 ล. ที่แท้ลูกผู้รับเหมากลุ่มอดีตผู้ว่าฯคดีฟอกเงิน
- 55 ล.บ้านหรู ถ.รัตนาธิเบศร์ สาว 24 ปี คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ
- โชว์โฉนด 55 ล.‘วิมลสิริ’สาว 24 ปี คดีฟอกเงิน ถูก ปปง.อายัดลอตใหม่
- ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
- ตามไปดู ที่ดินผืนงาม 2 สาว คดีฟอกเงิน จำนอง 15 ล. ตรงข้ามห้างดัง
- ที่แท้ ‘พัชรีย์’ เป็นผู้รับมอบอำนาจ ‘เกรียงไกร’ คดีฟอกเงินจัดซื้อสารเคมี
- เปิดโฉนด-สัญญาจำนอง 15 ล.ที่ดินปากเกร็ด สาว 22 ปี คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ
- 16 รายชื่อถูก ปปง.อายัดทรัพย์คดีฟอกเงิน งบภัยพิบัติจัดซื้อสารเคมี 3 จว.
- เปิดตัว ‘เกรียงไกร’ คดีทุจริตงบภัยพิบัติจัดซื้อสารเคมีกลุ่มอดีตผู้ว่าฯ
- ล้มละลาย! เจาะเครือข่ายนักธุรกิจขอนแก่น ถูกปปง.อายัดทรัพย์พร้อมอดีตผู้ว่าฯอุบล
- บ.โชคอนันต์ กวาด 643 ล. ก่อนถูกอายัดทรัพย์ 4 คน คดีฟอกเงิน
- นักธุรกิจกลุ่มลูกอดีต รมต.รับโอนหุ้น 50 ล. บ.คดีฟอกเงิน อยู่ทาวน์เฮ้าส์
- ‘นิชานันท์’ผู้ถูกอายัดทรัพย์คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ มีเงินฝาก 19 บัญชี 80 ล.
- เผยโฉมที่ดิน 4 แปลง ‘หนุ่ม 27 ปี’ คดีฟอกเงิน จำนอง 100 ล.นักธุรกิจหญิง
- คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ‘หนุ่ม 27 ปี’โอนหุ้น 50ล.ให้นักธุรกิจกลุ่มลูกอดีต รมต.
- เปิดทรัพย์สิน 28 รายการ‘หนุ่ม 27ปี’คดีฟอกเงิน ที่ดิน 4 แปลงจำนอง100 ล.
- 2 บ.หนุ่ม 27-สาว 24 ปี คดีฟอกเงิน ถูกสรรพากรสอบภาษี ก่อน ป.ป.ง.อายัด
- ตามหา'วิมลสิริ'สาววัย 24 ปี ผู้ถูก ป.ป.ง.อายัดทรัพย์ ถือหุ้น 60 ล.บ้านหลังโต
- พบ บ.ใหม่-นอกบัญชีอายัด ป.ป.ง. คดีทุจริตงบภัยพิบัติ สาววัย 24 ปี หุ้นใหญ่
- 3 บ.ถูกอายัดทรัพย์คดีฟอกเงินทุจริตซื้อสารเคมี ‘ผู้รับมอบอำนาจ’คนเดียวกัน
- หนุ่มวัย 27 ปี หุ้นใหญ่ บ.100 ล.คดีซื้อสารเคมี อยู่บ้านชั้นเดียว-เจ้าของอดีตนายทหาร
- พบอีกคน! สาววัย 24 ปี ถูกอายัดทรัพย์กลุ่มอดีตผู้ว่าฯ โผล่ซื้อหุ้น บ.รับเหมา 60 ล.
- หนุ่มวัย 27 ปี ผู้ถูกอายัดทรัพย์คดีทุจริตซื้อสารเคมี ขนเงินสด 68 ล. ตั้ง บ.รับเหมา
- บ.ทรัพย์การัณย์ ผู้ถูกอายัดทรัพย์กลุ่มอดีตผู้ว่าฯ ‘หุ้นใหญ่’โยงจัดซื้อสารเคมี 102 ล.
- เช็คสถานะคดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง12จว. ใครจ่อคิวถูกอายัด ซ้ำรอยอดีต'ผู้ว่าฯอุบล'
- โชว์รายได้308ล.!เปิดตัวบ.นิลธารฯ ถูกปปง.อายัดทรัพย์พร้อมก๊วนอดีตผู้ว่าฯอุบล
- ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
- คำสั่งปลดอดีตผู้ว่าฯออกจากราชการ พันจัดซื้อสารเคมีปราบศัตรูพืช จว.อีสาน
- เปิด 31 ‘ตัวละคร-โครงข่าย' คดีจัดซื้อยาปราบศัตรูพืช 4 จว. 25 อำเภอ 1.5 พันล้าน
- เบ็ดเสร็จ 25 อำเภอ'จัดซื้อยาปราบศัตรูพืช' เฉพาะ จ.ร้อยเอ็ด 3 บริษัท 19.7 ล.
- พบ บ.ที่ 8 ฟันขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’ 524 ล. -ลาม สนง.เกษตรฯด้วย 43 ล.
- เจาะปมจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’จ.มุกดาหาร ขุมข่าย‘2 บ. -4 หจก.’เหมา 408 ล้าน
- เจาะ‘อำนาจเจริญ’ ขุมข่าย‘2 บ. -4 หจก.’กวาดจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’379 ล้าน
- เปิด 173 สัญญาจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’ จ.อุบลฯ 14 อำเภอ ‘2 บ.- 6 หจก.’ 674 ล.
- ‘สรรพากร’ส่งหนังสือยิบ 65 ฉบับ ‘แช่เข็ง-สอบภาษี’8 ผู้ขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’
- หลักฐาน-ชื่อ'หญิงสาว'มัด! 8 ผู้ขายยาปราบศัตรูพืช 1.4 พันล. ที่แท้‘เครือข่ายเดียวกัน’
- 2 บ.-6 หจก.ยาปราบศัตรูพืช โชว์รายได้ 4.2 พันล.-ส่งหนุ่มวัย 22 ปีแจ้งเลิกกิจการ
- พบ‘หุ้นใหญ่’หจก.ขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’อายุแค่ 22-25 ปี รับ 446.3 ล้าน
- เปิดชื่อขรก.-เอกชนยกจ.บึงกาฬ! ป.ป.ช.ลุยสอบพันปมจัดซื้อสารป้องเชื้อราข้าว
- พบ บ.ที่ 8 ฟันขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’ 524 ล. -ลาม สนง.เกษตรฯด้วย 43 ล.
- เปิดอีก 3 บ. พันคดี'ยาปราบศัตรูพืช’ ฟันอื้อ 469.9 ล - แจ้งเลิกกิจการ ‘วันเดียวกัน’
- เปิด 4 หจก.ซื้อขาย‘ยาฆ่าแมลง’ 87 ครั้ง 490 ล. ชนวนสอบผู้ว่าฯกับพวก 41 ราย