"...จากการตรวจสอบการจัดซื้อสารเคมีในส่วนของคณะกรรมการจัดหาและเจรจาต่อรองราคา นั้น เสมียนตราอำเภอ ยอมรับว่าเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด..เมื่อได้ผู้รับจ้างและวงเงินในการจัดจ้าง เสมียนตราอำเภอ ได้จัดทำสัญญาซื้อขายเพื่อให้ผู้ขายลงลายมือชื่อ ในวันที่มีการจ่ายเงินและรับเช็คจากอำเภอฯ ส่วนใหญ่คือผู้แทนรายเดียวกันทุกครั้ง..."
ใน 2 ตอนก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำรายละเอียดผลการสอบสวนโครงการจัดซื้อสารเคมีช่วยเหลือเกษตรกรในการกำจัดศัตรูพืชที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (การเกิดโรคหรือการระบาดของแมลงศัตรูพืช) ปีงบประมาณ 2554-2555 จ.อุบลราชธานี ในส่วนพื้นที่ อำเภอสิรินธร อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขมราฐ ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่นำส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. สอบสวนตามขั้นตอนทางกฎหมายอยู่ในปัจจุบัน มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
โดยผลสอบในส่วนพื้นที่ อำเภอสิรินธร อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขมราฐ ระบุชัดเจนว่า การจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช น่าเชื่อว่าเป็นขบวนการที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยมีผู้ขายทั้ง 10 ราย ให้การสมรู้ร่วมกันสนับสนุน และมีพฤติการณ์สมยอมกันกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมิให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก
ส่วนพื้นที่ อำเภอเขมราฐ มีข้อมูลปรากฎว่า ในการรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยเริ่มต้นมาจากหัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี ได้ประสานกับปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง และเป็นกรรมการ/เลขานุการ ก.ช.ภ.อ. ให้อำเภอเขมราฐจัดทำแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยส่งให้จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายมั่นคง นำเรียนให้นายอำเภอเขมราฐทราบ และสำนักงานเกษตรอำเภอเขมราฐได้สำรวจพื้นที่การเกิดโรคระบาด แต่ผลการสำรวจพบว่าเป็นโรคของพืชบ้าง แต่เป็นไม่มาก และความเสียหายไม่ถึงระดับเป็นโรคระบาด (ด้านพืช) ในพื้นที่อำเภอเขมราฐ การดำเนินงานโครงการฯ จึงไม่ได้เกิดจากความต้องการของเกษตรกร แต่หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย กับให้อำเภอเขมราฐจัดทำรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยแจ้งต่อจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งที่ข้อเท็จจริงมิได้เกิดภัยพิบัติเช่นว่านั้น
สำหรับการดำเนินการจัดซื้อสารเคมีนั้น จากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของการจัดหาเจรจาต่อรองในการจัดซื้อสารเคมีของอำเภอเขมราฐในแต่ละครั้ง เสมียนตราอำเภอเขมราฐ(ในขณะนั้น) ได้ประสานกับหัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัยฯสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีในเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อสารเคมี เช่น หนังสือแจ้งจัดสรรวงเงินทดรองราชการฯ คำสั่งจังหวัดอุบลราชธานีเรื่องจัดสรรวงเงินและการมอบอำนาจ ประกาศจังหวัดอุบลราชธานีเรื่องประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฯ บัญชีรายละเอียดและค่าใช้จ่ายที่มีเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีและผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีลงนาม รวมไปถึงบัญชีรายละเอียดและค่าใช้จ่ายที่กำหนดชื่อสารเคมีราคาต่อหน่วยของสารเคมีที่ต้องการให้จัดซื้อ ,หนังสือใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน หนังสือรับรองใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นเอกสารของผู้ที่จะเสนอราคาที่เป็นของคู่ประกบและผู้ที่จะได้เป็นผู้ขายสารเคมีกับที่ทำการปกครองอำเภอเขมราฐ มาจัดทำใบเสนอราคา และเอกสารเจรจาต่อรองราคา
โดยไม่ได้มีการเจรจาต่อรองราคากันจริงและจัดทำสัญญาซื้อขายขึ้นให้นายอำเภอลงนาม ก่อนจะนำปให้ตัวแทนรายหนึ่งลงลายมือชื่อในเอกสารทั้งหมดที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าให้กับบริษัทและห้างฯ ที่กำหนดให้เป็นคู่สัญญาที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ได้สืบราคาตลาดของท้องที่ในช่วงเวลาที่ภัยพิบัติเกิดขึ้น
ในตอนนี้ สำนักข่าวอิศรา จะขอนำเสนอข้อมูลผลการสอบสวนโครงการจัดซื้อสารเคมีช่วยเหลือเกษตรกรในการกำจัดศัตรูพืชที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (การเกิดโรคหรือการระบาดของแมลงศัตรูพืช) ปีงบประมาณ 2554-2555 จ.อุบลราชธานี ในส่วนพื้นที่ นาตาล ซึ่งเป็นพื้นที่อีกแห่งหนึ่ง ที่สตง.ตรวจสอบพบปัญหาความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินงานโครงการเช่นกัน
ปรากฎรายละเอียดดังนี้
ในการตรวจสอบสืบสวนกรณีการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ประจำปีงบประมาณ 2554 - 2555 ของอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏข้อมูลว่า อำเภอนาตาล ได้รายงานเหตุด่วนสาธารณภัยเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืชในปีงบประมาณ 2554 - 2555 จำนวน 11 ครั้ง ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการให้ความเชื่อเหลือได้แก่ โรคราสีชมพูในยางพารา โรคไหม้ใบข้าว โรคหนอนกอข้าว โรคขอบใบแห้ง โรคหนอนห่อใบข้าว โรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและโรคเส้นดำยางพารา โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีจะพิจารณาอนุมัติประกาศภัยฯ พร้อมจัดทำประกาศจังหวัดอุบลราชธานี(ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯลงนามประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติในเขตอำเภอฯและจัดทำคำสั่งจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อจัดสรรวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือฯ แจ้งจัดสรรวงเงินให้อำเภอดำเนินการ เป็นครั้งๆ ไป
ทั้งนี้ ในระหว่างปีงบประมาณ 2554 -2555 อำเภอนาตาลได้รับจัดสรรวงเงินทดรองราชการฯ รวม 11 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 33 ล้านบาท โดยได้จัดซื้อสารเคมีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯจำนวน 11 ครั้ง รวมเป็นเงิน 32.99 ล้านบาท ดังนี้
- สารเคมีBenomyl 50% WP เพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคราสีชมพูในยางพาราและโรคไหม้ใบข้าว
- สารเคมีBenfuracarb 3% GRเพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคหนอนกอข้าวสารเคมีCopperoxychloride 62% WP เพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคขอบใบแห้ง
-สารเคมีCarbosulfan 20% EC เพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคหนอนห่อใบข้าว
- สารเคมีPirimiphos-methyl 50% EC เพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
- สารเคมีMetalaxyl 25% WP เพื่อป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคเส้นดำยางพารา
จากการตรวจสอบการจัดซื้อสารเคมีในส่วนของคณะกรรมการจัดหาและเจรจาต่อรองราคา นั้น เสมียนตราอำเภอ ยอมรับว่าเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด (รวมทั้งขณะที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการฯ ตามคำสั่งที่ 198/2554 สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2554) โดยจัดทำใบเสนอราคาให้ผู้รับจ้างและจัดทำรายงานผลการเจรจาต่อรองราคา ให้กรรมการฯ ลงลายมือชื่อ โดยไม่ได้มีการสืบราคาตลาดของสารเคมีตามท้องที่ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติมาเป็นข้อมูลในการเจรจาต่อรองราคา และไม่ได้มีการเจรจาต่อรองราคาจริงกับผู้เสนอราคาแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ทราบว่าผู้เสนอราคาเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสารเคมีหรือไม่ โดยมีหัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสารธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้ประสานเรื่องเอกสารของผู้เสนอราคาเช่น หนังสือ ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน หนังสือรับรองใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งจะเป็นเอกสารของผู้ที่จะเสนอราคาหลายราย และเอกสารการกำหนดผู้ที่จะได้เป็นผู้รับจ้างรวมทั้งราคาในการจัดซื้อสารเคมีกับที่ทำการปกครองอำเภอนาตาล
เมื่อได้ผู้รับจ้างและวงเงินในการจัดจ้าง เสมียนตราอำเภอ ได้จัดทำสัญญาซื้อขายเพื่อให้ผู้ขายลงลายมือชื่อ ในวันที่มีการจ่ายเงินและรับเช็คจากอำเภอฯ ส่วนใหญ่คือผู้แทนรายเดียวกันทุกครั้ง
กรณีดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ทางราชการเสียหายจากการจัดซื้อสารเคมีสูงกว่าราคาตลาดของท้องที่ในช่วงเวลาที่ภัยพิบัติเกิดขึ้น คิดเป็นเงิน 27.42 ล้านบาท และในส่วนของเสมียนตราอำเภอ มีพฤติการณ์เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
สำหรับกรณีของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุนั้นยอมรับว่าการตรวจรับพัสดุในแต่ละครั้งไม่ได้นำพัสดุไปทดสอบหาคุณสมบัติของสารเคมีแต่อย่างใด เมื่อตรวจรับแล้วได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการแจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบภัยฯ ต่อไป
ขณะที่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบไม่ปรากฏพบสารเคมีCopperoxychloride 62% WPสารเคมีCarbosulfan 20% EC และสารเคมีMetalaxyl 25 WP จึงตรวจสอบเอกสารรายชื่อเกษตรกรที่รับสารเคมีพบว่าลายมือชื่อของผู้รับสารเคมีตามเอกสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียว จึงทำการสอบยันการรับมอบสารเคมีจากเกษตรกรทั้ง 4 ตำบลตามเอกสารรายชื่อเกษตรที่รับสารเคมีป้องกันการแพร่ระบาดของโรคขอบใบแห้ง (รับสารเคมีCopperoxychloride 62% WP) จำนวน 18 ราย โรคหนอนห่อใบข้าว (รับสารเคมีCarbosulfan 20% EC) จำนวน 18 ราย และโรคเส้นดำในยางพารา (รับสารเคมีMetalaxyl25% WP) จำนวน 20 ราย รวมทั้งสิ้น 56 ราย ปรากฏว่า เกษตรกรตามรายชื่อดังกล่าวยืนยันไม่ได้ลงลายมือชื่อรับสารเคมีและไม่ได้รับสารเคมีแต่อย่างใด ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 3.72 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นจำนวน 31.14 ล้านบาท (27.42+3.72 ล้านบาท)
นอกจากนี้จากการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกยางพารา ในเขตอำเภอฯ พบว่าในปี 2554 เกษตรกรปลูกยางพารารวม 2,735.60 ไร่ (ยังไม่เปิดกรีด 1,976.40ไร่และเปิดกรีด 759.20 ไร่)
แต่อำเภอฯรายงานราษฎรที่ประสบภัยจากโรคเส้นดำในยางพารา ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 จำนวน 6,820 ไร่ และได้รับการจัดสรรวงเงินทดรองฯ/คณะกรรมการก.ช.ภ.อ. มีมติให้ความช่วยเหลือจำนวน 6,486 ไร่ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือมากกว่าพื้นที่การปลูกยางพาราจริงถึง 3,750.40 ไร่
เบื้องต้น สตง. ได้ชี้มูลให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งผลการดำเนินการทางอาญา ทางแพ่งและทางวินัยไปแล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลปัญหาการดำเนินงานโครงการจัดซื้อสารเคมีช่วยเหลือเกษตรกรในการกำจัดศัตรูพืชที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (การเกิดโรคหรือการระบาดของแมลงศัตรูพืช) ปีงบประมาณ 2554-2555 จ.อุบลราชธานี ในส่วนพื้นที่ อำเภอสิรินธร
ยังมีข้อมูลในส่วนพื้นที่ อำเภอโขงเจียม ที่เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน รายละเอียดเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนหน้า
อ่านประกอบ:
EXCLUSIVE : ผลสอบลับคดีจัดซื้อยาฆ่าแมลงอุบลฯ เชิดผู้ขาย 10 ราย สมรู้ร่วม 'ฮั้ว' จนท.รัฐ
EXCLUSIVE(2): เบื้องหลังซื้อยาฆ่าแมลงอ.เขมราฐ -จนท.'อุปโลกน์' ภัยพิบัติ-จัดฉากฮั้วประมูล
เปิดคำสั่ง ป.ป.ช.ไต่สวนอดีตผู้ว่าฯมุกดาหาร 4 รองฯ พวก 23 ราย คดีทุจริตจัดซื้อสารเคมี
ป.ป.ช.โชว์คำสั่งไต่สวน ‘สุรพล’ อดีตผู้ว่าฯอุบลฯ 22 ขรก. คดีจัดซื้อสารเคมี
ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
สาว 24 ปี เจ้าของบ้านหรู 55 ล. ที่แท้ลูกผู้รับเหมากลุ่มอดีตผู้ว่าฯคดีฟอกเงิน
55 ล.บ้านหรู ถ.รัตนาธิเบศร์ สาว 24 ปี คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ
โชว์โฉนด 55 ล.‘วิมลสิริ’สาว 24 ปี คดีฟอกเงิน ถูก ปปง.อายัดลอตใหม่
ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
ตามไปดู ที่ดินผืนงาม 2 สาว คดีฟอกเงิน จำนอง 15 ล. ตรงข้ามห้างดัง
ที่แท้ ‘พัชรีย์’ เป็นผู้รับมอบอำนาจ ‘เกรียงไกร’ คดีฟอกเงินจัดซื้อสารเคมี
เปิดโฉนด-สัญญาจำนอง 15 ล.ที่ดินปากเกร็ด สาว 22 ปี คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ
16 รายชื่อถูก ปปง.อายัดทรัพย์คดีฟอกเงิน งบภัยพิบัติจัดซื้อสารเคมี 3 จว.
เปิดตัว ‘เกรียงไกร’ คดีทุจริตงบภัยพิบัติจัดซื้อสารเคมีกลุ่มอดีตผู้ว่าฯ
ล้มละลาย! เจาะเครือข่ายนักธุรกิจขอนแก่น ถูกปปง.อายัดทรัพย์พร้อมอดีตผู้ว่าฯอุบล
บ.โชคอนันต์ กวาด 643 ล. ก่อนถูกอายัดทรัพย์ 4 คน คดีฟอกเงิน
นักธุรกิจกลุ่มลูกอดีต รมต.รับโอนหุ้น 50 ล. บ.คดีฟอกเงิน อยู่ทาวน์เฮ้าส์
‘นิชานันท์’ผู้ถูกอายัดทรัพย์คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ มีเงินฝาก 19 บัญชี 80 ล.
เผยโฉมที่ดิน 4 แปลง ‘หนุ่ม 27 ปี’ คดีฟอกเงิน จำนอง 100 ล.นักธุรกิจหญิง
คดีฟอกเงินงบภัยพิบัติ‘หนุ่ม 27 ปี’โอนหุ้น 50ล.ให้นักธุรกิจกลุ่มลูกอดีต รมต.
เปิดทรัพย์สิน 28 รายการ‘หนุ่ม 27ปี’คดีฟอกเงิน ที่ดิน 4 แปลงจำนอง100 ล.
2 บ.หนุ่ม 27-สาว 24 ปี คดีฟอกเงิน ถูกสรรพากรสอบภาษี ก่อน ป.ป.ง.อายัด
ตามหา'วิมลสิริ'สาววัย 24 ปี ผู้ถูก ป.ป.ง.อายัดทรัพย์ ถือหุ้น 60 ล.บ้านหลังโต
พบ บ.ใหม่-นอกบัญชีอายัด ป.ป.ง. คดีทุจริตงบภัยพิบัติ สาววัย 24 ปี หุ้นใหญ่
3 บ.ถูกอายัดทรัพย์คดีฟอกเงินทุจริตซื้อสารเคมี ‘ผู้รับมอบอำนาจ’คนเดียวกัน
หนุ่มวัย 27 ปี หุ้นใหญ่ บ.100 ล.คดีซื้อสารเคมี อยู่บ้านชั้นเดียว-เจ้าของอดีตนายทหาร
พบอีกคน! สาววัย 24 ปี ถูกอายัดทรัพย์กลุ่มอดีตผู้ว่าฯ โผล่ซื้อหุ้น บ.รับเหมา 60 ล.
หนุ่มวัย 27 ปี ผู้ถูกอายัดทรัพย์คดีทุจริตซื้อสารเคมี ขนเงินสด 68 ล. ตั้ง บ.รับเหมา
บ.ทรัพย์การัณย์ ผู้ถูกอายัดทรัพย์กลุ่มอดีตผู้ว่าฯ ‘หุ้นใหญ่’โยงจัดซื้อสารเคมี 102 ล.
เช็คสถานะคดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง12จว. ใครจ่อคิวถูกอายัด ซ้ำรอยอดีต'ผู้ว่าฯอุบล'
โชว์รายได้308ล.!เปิดตัวบ.นิลธารฯ ถูกปปง.อายัดทรัพย์พร้อมก๊วนอดีตผู้ว่าฯอุบล
ปปง.แพร่คำสั่งอายัดทรัพย์อดีตผู้ว่าฯอุบล-พวก 384 ล. คดีฮั้วจัดซื้อยาฆ่าแมลง
คำสั่งปลดอดีตผู้ว่าฯออกจากราชการ พันจัดซื้อสารเคมีปราบศัตรูพืช จว.อีสาน
เปิด 31 ‘ตัวละคร-โครงข่าย' คดีจัดซื้อยาปราบศัตรูพืช 4 จว. 25 อำเภอ 1.5 พันล้าน
เบ็ดเสร็จ 25 อำเภอ'จัดซื้อยาปราบศัตรูพืช' เฉพาะ จ.ร้อยเอ็ด 3 บริษัท 19.7 ล.
พบ บ.ที่ 8 ฟันขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’ 524 ล. -ลาม สนง.เกษตรฯด้วย 43 ล.
เจาะปมจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’จ.มุกดาหาร ขุมข่าย‘2 บ. -4 หจก.’เหมา 408 ล้าน
เจาะ‘อำนาจเจริญ’ ขุมข่าย‘2 บ. -4 หจก.’กวาดจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’379 ล้าน
เปิด 173 สัญญาจัดซื้อ‘ยาปราบศัตรูพืช’ จ.อุบลฯ 14 อำเภอ ‘2 บ.- 6 หจก.’ 674 ล.
‘สรรพากร’ส่งหนังสือยิบ 65 ฉบับ ‘แช่เข็ง-สอบภาษี’8 ผู้ขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’
หลักฐาน-ชื่อ'หญิงสาว'มัด! 8 ผู้ขายยาปราบศัตรูพืช 1.4 พันล. ที่แท้‘เครือข่ายเดียวกัน’
2 บ.-6 หจก.ยาปราบศัตรูพืช โชว์รายได้ 4.2 พันล.-ส่งหนุ่มวัย 22 ปีแจ้งเลิกกิจการ
พบ‘หุ้นใหญ่’หจก.ขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’อายุแค่ 22-25 ปี รับ 446.3 ล้าน
เปิดชื่อขรก.-เอกชนยกจ.บึงกาฬ! ป.ป.ช.ลุยสอบพันปมจัดซื้อสารป้องเชื้อราข้าว
พบ บ.ที่ 8 ฟันขาย‘ยาปราบศัตรูพืช’ 524 ล. -ลาม สนง.เกษตรฯด้วย 43 ล.
เปิดอีก 3 บ. พันคดี'ยาปราบศัตรูพืช’ ฟันอื้อ 469.9 ล - แจ้งเลิกกิจการ ‘วันเดียวกัน’
เปิด 4 หจก.ซื้อขาย‘ยาฆ่าแมลง’ 87 ครั้ง 490 ล. ชนวนสอบผู้ว่าฯกับพวก 41 ราย
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/