ค้ามนุษย์ที่หัวลำโพงยังมีอยู่! ปปง.สั่งยึดอายัดทรัพย์ ‘เพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์’ กับพวก 7 รายการ 8.4 ล้าน คดีลวง ชายจาก จ.สุรินทร์จากหัวลำโพง นายหน้าหลอกไปบ้านพัก ใน จ.นนทบุรี จัดยาให้เสพ หาผู้หญิงบริการให้หลับนอน เสร็จพาขายแรงงานบนเรือประมง ถูกจับที่เกาะกง พ้นโทษรับตัวไปมหาชัย ขึ้นเรือประมงอีกรอบ 3 ปี โดนจับซ้ำติดคุก 7 เดือนมาเลเซีย ร้องสถานทูตช่วยเข้าแจ้งความพนักงานสอบสวน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2565 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย.100/2565 ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวรายนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก จำนวน 8 รายการ ประกอบด้วยเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลุกสร้าง ในอ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ และ เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร 7 บัญชี รวมมูลค่าทั้งสิ้น 8,452,529.99 บาท ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พฤติกรรมในคดีนี้คือ หลอกชายชาวจ.สุรินทร์ที่เดินทางมาลงที่สถานหัวลำโพงหางานทำ นายหน้าชักชวนผู้เสียหายให้ไปทํางานด้วยโดยให้พักที่บ้านที่ตําบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตลอดเวลาที่อยู่บ้านหลังดังกล่าว จะนํายาเสพติดมาให้ผู้เสียหายและคนงานเสพยาเสพติด ทั้งยังจัดหาผู้หญิง ขายบริการมาให้ร่วมหลับนอน พาผู้เสียหายไปทํางานบนเรือประมง หลอกว่าได้ค่าตอบแทนเงินเดือนประมาณ 9,000 - 10,000 บาทพาผู้เสียหายไปทําหนังสือเดินทางและ เก็บหนังสือเดินทางของผู้เสียหายไว้ จากนั้นพาผู้เสียหายเดินทางไปทํางานที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยไม่ได้รับค่าแรงเนื่องจากต้องใช้หนี้ค่านายหน้า ตลอดเวลาที่อยู่บนเรือประมงได้มีการให้ผู้เสียหายเสพยาเสพติดเพื่อให้ขยันทํางานหากทํางานล่าช้าจะถูกทําร้ายร่างกาย ต่อมาผู้เสียหายถูกเจ้าพนักงานตํารวจของประเทศมาเลเซียจับกุม และถูกจําคุกเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน หลังพ้นโทษผู้เสียหายถูกส่งกลับประเทศไทยเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2561 นายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ได้ไปรับผู้เสียหายและพาไปที่บ้านพักที่ตําบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี อีกครั้ง โดยบอกว่าจะส่งผู้เสียหายไปทํางานที่ประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้น ได้ไปส่งผู้เสียหายที่อําเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ผู้เสียหายลงเรือประมงออกหาปลาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี เบิกค่าแรงรวมกันแล้วประมาณ 30,000 บาท จนกระทั่งเรือจอดเทียบที่ท่าเรือตันหยง ประเทศมาเลเซีย ผู้เสียหายได้ถูกเจ้าพนักงานตํารวจของประเทศมาเลเซียจับกุมและถูกจําคุกเป็นเวลาประมาณ 7 เดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 สถานทูตไทยได้ช่วยเหลือผู้เสียหายกลับประเทศไทย จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน กองกํากับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ รับไว้ดําเนินคดีเป็นอาญา รายละเอียดดังนี้
เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2560 ผู้เสียหายเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์มาที่สถานีรถไฟ หัวลําโพง กรุงเทพมหานคร เพื่อหางานทํา ได้มีชายไทยไม่ทราบชื่อสกุลจริงชักชวนผู้เสียหายให้ไปทํางานด้วยโดยให้พักที่บ้านของนายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง (นายหน้า) และนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ ผู้ต้องหา ที่ตําบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตลอดเวลาที่อยู่บ้านหลังดังกล่าวนายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง และนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ จะนํายาเสพติดมาให้ผู้เสียหายและคนงานเสพยาเสพติด ทั้งยังจัดหาผู้หญิง ขายบริการมาให้ร่วมหลับนอน โดยมีนายอี๊ด และนายเปี๊ยก ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ทําหน้าที่ควบคุมดูแล หลังจากนั้น ประมาณ 2 เดือน นายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ได้แจ้งว่าจะให้ผู้เสียหายไปทํางานบนเรือประมง โดยจะได้เงินเดือนประมาณ 9,000 - 10,000 บาท และได้พาผู้เสียหายไปทําหนังสือเดินทางโดยนายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง เก็บหนังสือเดินทางของผู้เสียหายไว้
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2561 นายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริงพาผู้เสียหายเดินทางไปทํางานที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยไม่ได้รับค่าแรงเนื่องจากต้องใช้หนี้ค่านายหน้า ตลอดเวลาที่อยู่บนเรือประมงได้มีการให้ผู้เสียหายเสพยาเสพติดเพื่อให้ขยันทํางานหากทํางานล่าช้าจะถูกทําร้ายร่างกาย ต่อมาผู้เสียหายถูกเจ้าพนักงานตํารวจของประเทศมาเลเซียจับกุม และถูกจําคุกเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน หลังพ้นโทษผู้เสียหายถูกส่งกลับประเทศไทยเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2561 นายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ได้ไปรับผู้เสียหายและพาไปที่บ้านพักที่ตําบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี อีกครั้ง โดยบอกว่าจะส่งผู้เสียหายไปทํางานที่ประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นนายเล็ก หรืออ๊อฟ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ได้ไปส่งผู้เสียหายที่อําเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ผู้เสียหายลงเรือประมงออกหาปลาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี เบิกค่าแรงรวมกันแล้วประมาณ 30,000 บาท จนกระทั่งเรือจอดเทียบที่ท่าเรือตันหยง ประเทศมาเลเซีย ผู้เสียหายได้ถูกเจ้าพนักงานตํารวจของประเทศมาเลเซียจับกุมและถูกจําคุกเป็นเวลาประมาณ 7 เดือน
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 สถานทูตไทยได้ช่วยเหลือผู้เสียหายกลับประเทศไทย จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน คดีนี้พนักงานสอบสวนกองกํากับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ รับไว้ดําเนินคดีเป็นอาญาที่ 44/2564 คดีอาญาที่ 45/2564 โดยได้ดําเนินคดีกับนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ และได้ลงมือกระทําความผิดตามที่ตกลงกันไว้ ร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใด ไม่กระทําการใดหรือจํายอมต่อสิ่งใด โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นหรือโดยใช้กําลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจ ต้องกระทําการนั้น ไม่กระทําการนั้นหรือจํายอมต่อสิ่งนั้น หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทําด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและให้ผู้อื่นนั้นกระทําการใดให้แก่ผู้กระทําหรือบุคคลอื่น และใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ผู้ถูกพาหรือส่งไปนั้นตกอยู่ในอํานาจของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 52 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 มาตรา 310 ทวิ และมาตรา 320 ประกอบมาตรา 83 และสํานักงาน ปปง. ได้รับรายงานจากกองกํากับการ 2 กองบังคับการ ปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามหนังสือที่ ตช 0026.82/24 ลงวันที่ 31 มกราคม 2565 เรื่อง รายงาน คดีความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เพิ่มเติม) โดยมีพฤติการณ์ การกระทําความผิด กล่าวคือ
นางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก ได้พานายประสม เก็ม และนายนิติรัตน์ เขตต์เขว้า ไปทํางานบนเรือประมงที่ประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการนํายาเสพติดมาให้เสพและไม่ให้ผู้เสียหายกลับประเทศไทย ทําให้ต้องทํางานอยู่บนเรือดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานประมาณ 26 เดือน จนกระทั่งผู้เสียหายได้ถูกเจ้าพนักงานตํารวจตรวจคนเข้าเมืองประเทศมาเลเซียจับกุมตัวส่งไปกักขังเป็นเวลา ประมาณ 7 เดือน ต่อมาเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในประเทศมาเลเซียได้ให้การช่วยเหลือและส่งตัวกลับมายัง ประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ดําเนินคดีกับนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก เป็นคดีอาญาที่ 2/2565 ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่า บุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามและได้กระทําผิดตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทํา ความผิดฐานค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ร่วมกันค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการอื่นใด ที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวผู้อื่น หรือกระทําด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและให้ผู้อื่นนั้นกระทําการใดให้แก่ผู้กระทํา หรือบุคคลอื่น ร่วมกันใช้อุบายหลอกลวง ใช้อํานาจครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้ผู้ถูกพาหรือส่งไปนั้นตกอยู่ในอํานาจของผู้อื่นโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย และมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติโดยสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือส่วนร่วมกระทําการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมในกิจกรรมหรือการดําเนินการขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดยรู้ถึงวัตถุประสงค์ และการดําเนินกิจกรรมหรือโดยรู้ถึงเจตนาที่กระทําความผิดร้ายแรงขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ทวิ มาตรา 320 มาตรา 83 พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 52 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 25 อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.169/2565 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2565 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรม หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รายนางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ดําเนินการตรวจสอบรายงานการทําธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฏ หลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่านางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทําอันเข้าลักษณะเป็น ความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทําธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รวมทั้งจากการ รวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด จํานวน 7 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดในคดีนี้ ประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินตามโฉนดที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียน ในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองโดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง อาจดําเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคําสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของ หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดําเนินการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน ดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคําสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สํานักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านางสาวเพ็ญศิริ นาเมืองรักษ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดและอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดําเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรม จึงมีคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไว้ชั่วคราว จํานวน 7 รายการ พร้อมดอกผล มีกําหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจําหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
ในกรณีผู้ซึ่งถูกยึดและอายัดทรัพย์สินตามคําสั่งนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว ประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคําขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สิน ที่ถูกยึดและอายัดดังกล่าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับ แจ้งคําสั่งเป็นหนังสือ (ดูรายละเอียดในลิงก์)
https://www.amlo.go.th/amlo-intranet/images/CommandHo_2565/100-2565.pdf