แล็ปรพ.ยะลา เป็นจังหวัดแรกของ 3 จว.ชายแดนใต้ ที่สามารถตั้งห้องปฏิบัติการหาเชื้อโรคโควิด-19 ได้ อธิบดีกรมวิทย์ฯ ชี้ตรวจตัวอย่างไปแล้วกว่า 4 พันตัวอย่าง เป็นกำลังสำคัญในการคัดกรองผู้ป่วย ควบคุมการระบาดโรคนี้จากประเทศมาเลเซีย เปิดความคลาดเคลื่อน เกิดช่วงการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ภาระงานห้องแล็ปมีมาก ถึง 700-800 ตัวอย่างต่อวัน นี่คือสิ่งที่ต้องปรับปรุง ส่งต่อให้แล็ปอื่น เพิ่มเครื่องมือลงไปแล้ว
วันที่ 6 พฤษภาคม ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวกรณีห้องปฏิบัติการ ที่รพ.จังหวัดยะลา พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมาก จากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก และนำตัวอย่าง 40 มาตรวจด้วยวิธี ด้วยวิธี RT-PCR ก่อยนำตัวอย่างไปตรวจทานอีกครั้งที่ห้องปฏิบัติการที่ จังหวัดสงขลา ได้ผลออกมาเป็นลบทั้ง 40 รายนั้น (อ่านประกอบ:ผลแล็ปไม่ตรงกัน ผิดพลาดพบได้เสมอ กรมวิทย์ฯ ชี้รพ.ยะลา ทำตามมาตรฐานแล้ว) ล่าสุด การตรวจในห้องปฏิบัติการของกรมวิทย์ฯ ที่ส่วนกลาง ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 ได้ดำเนินการตรวจ พบว่า ผลการตรวจทั้ง 40 คน ได้ผลเป็นลบ เช่นเดียวกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สงขลา ฉะนั้น ทางแล็ปที่จังหวัดยะลา มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ขั้นตอนต่อไป ทางห้องแล็ปจะรายงานผลไปที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลาให้ได้รับทราบผล
นายแพทย์โอภาส กล่าวถึงการตรวจทางห้องแล็ปฯ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรค ประกอบกับการซักประวัติ ข้อมูลทางระบาดวิทยาด้วย การส่งข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ทางคุณหมอจะประมวลอีกครั้งหนึ่งคนไข้เป็นอย่างไร
"เมื่อเกิดเหตุการณ์ปกติ การหาสาเหตุ กรมวิทย์ฯ ส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปตรวจสอบ ดูสถานที่ปฏิบัติงานจริง พบบางสิ่งที่สามารถพัฒนา ปรับปรุงได้" นายแพทย์โอภาส กล่าว และว่า จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดแรกของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่สามารถตั้งห้องปฏิบัติการหาเชื้อโรคโควิด-19 ได้ สามารถตรวจตัวอย่างไปแล้วกว่า 4 พันตัวอย่าง ถือเป็นกำลังสำคัญในการคัดกรองผู้ป่วย ควบคุมการระบาดของโรคนี้จากประเทศมาเลเซีย แต่พบว่า ช่วงการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ภาระงานห้องแล็ปแห่งนี้มีมาก ถึง 700-800 ตัวอย่างต่อวัน นี่คือสิ่งที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะภาระงานที่มาก ดังนั้นบางตัวอย่างต้องส่งให้แล็ปอื่นๆ ช่วยตรวจ เพื่อแบ่งเบาภาระ รวมถึงการเพิ่มเครื่องมือ ให้เกิดความแม่นยำได้มากขึ้น
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวด้วยว่า การเปิดใช้ห้องปฏิบัติการที่ยะลา คาดว่า จะใช้เวลาอีกไม่นานจะเปิดห้องปฏิบัติการได้ต่อไป ถือว่า รพ.ยะลาดำเนินการได้ตามมาตรฐาน สามารถหาสาเหตุข้อบกพร่องได้ เหตุการณ์ตรวจคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ