มาตราการคุ้มครองพยาน ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการปราบปรามปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน แต่ก็เป็นการยากที่จะได้รับความร่วมมือจากพยานหรือผู้แจ้งเบาะแส เพราะเกรงว่า จะทำให้ตนเองและผู้ใกล้ชิดต้องได้รับความเดือดร้อนไปด้วย
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 มาตรา 63 ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านหรือชี้เบาะแสการทุจริต และรัฐจะต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองประชาชนผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปี 61 มาตรา 131 และมาตรา 133 ก็ได้ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานและผู้แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริต รวมถึงการให้ความคุ้มครองการปฏิบัติงานแก่เจ้าพนักงานของรัฐที่ได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนิน มาตรการคุ้มครองพยานของ ป.ป.ช.อย่างชัดเจน เพื่อเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป สำนักข่าวอิศรา ได้รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองพยาน ทั้งหมดมานำเสนอ ณที่นี้