ป.ป.ช.เปิดกรุมติตีตกข้อกล่าวหานักการเมืองเพียบ 'ยิ่งลักษณ์-ครม.' รอด 5 คดีรวด 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' 1 เรื่อง- 'โสภณ ซารัมย์' กำหนดนโยบายสั่งซื้อรถตู้ 20,000 คัน ข้อเท็จจริงพยานหลักฐานไม่เพียงพอว่ากระทำความผิด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ ตีตกคดีกล่าวหาหรือยุติการสอบสวน กรณีทุจริตนักการเมืองระดับชาติหลายคน อาทิ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายโสภณ ซารัมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลังพิจารณาสำนวนไต่สวนเบื้องต้น พบว่า หลักฐานพยานไม่เพียงพอ ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
คดีแรก
วันลงมติ 28 ตุลาคม 2562
ผู้ถูกกล่าวหา คือ 1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 3. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. นายสุรพงษ์ โดวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ข้อกล่าวหา : (1.) การดำเนินโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขอุทกภัยของประเทศและสั่งการและลงนามในสัญญากู้เงินจาก 4 ธนาคาร ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และไม่ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548
(2.) การดำเนินโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขอุทกภัยของประเทศขัดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 107/7 3.การกู้เงินและการเบิกเงินเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการและสร้างอนาคตประเทศ พ.ส. 2555 มาตรา 3 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสอง
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
คดีสอง
วันลงมติ 28 ตุลาคม 2562
ผู้ถูกกล่าวหา คือ 1. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 3. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. นายสุรพงษ์ โดวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ 5. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 6. นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทตโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร 7. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
8.พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 9. นายศิริรัตน์ ขจรประศาสน์ เมื่อคั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 10. สันติ พร้อมพัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั้นคงของมนุษย์ 11. นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 12. พลตำรวจเอกประชา พรมนอก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
13. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 14. นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 15. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา : (1.) กระทำการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 57 และมาตรา 67 (2.) กระทำการขัดพระราชบัญญัติประกอบรับธรรมนูญป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 107/7
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
คดีสาม
วันลงมติ 28 ตุลาคม 2562
ผู้ถูกกล่าวหา คือ 1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 3. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. นายสุรพงษ์ โดวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ข้อกล่าวหา : กรณีกู้เงินและเบิกเงินเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
คดีสี่
วันลงมติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้ถูกกล่าวหา คือ 1. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 3. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 5. นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 6. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 7. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 8. นายวราเทพ รัตนากร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี 9. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี 10. พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เมื่อครั้งดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
11. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม 12. นายสันติ พร้อมพัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 13. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 14. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 15. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 16. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 17. พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม 18. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม
19. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20. นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 21. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน 22. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์23. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์ 24. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
25. พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 26. นายประชา ประสพดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 27. พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 28. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 29. นายสนธยา คุณปลื้ม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 30. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 31. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
32. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 33. นายชลน่าน ศรีแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 34. นายประเสริฐ บุญชัยสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 35. นายฐานิสร์ เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อกล่าวหา : ร่วมกันมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ พ.ศ. .... ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
คดีห้า
วันลงมติ 25 สิงหาคม 2563
ผู้ถูกกล่าวหา คือ 1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 3. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. นายสุรพงษ์ โดวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ 5. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
6. นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทตโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร 7. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 8.พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 9. นายศิริรัตน์ ขจรประศาสน์ เมื่อคั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 10. สันติ พร้อมพัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั้นคงของมนุษย์
11. นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 12. พลตำรวจเอกประชา พรมนอก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 13. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 14. นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 15. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา : การดำเนินโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ ขัดพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกำหนดกรอบแนงคิด รายละเอียดขอบเขตงาน มีลักษณะเอื้อประโยชน์เอกชนบางราย
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
***************
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
วันลงมติ 9 กันยายน 2563
ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา : คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 เห็นชอบให้ออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ โดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
***************
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (เสียชีวิตแล้ว)
วันลงมติ 9 กันยายน 2563
ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อกล่าวหา : กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ลงวันที่ 14 กันยายน 2552 ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
***************
นายโสภณ ซารัมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
วันลงมติ 7 มกราคม 2563
ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายโสภณ ซารัมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ข้อกล่าวหา คือ 1.) มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 270 2.) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
วันลงมติ 5 กรกฎาคม 2564
ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายโสภณ ซารัมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ข้อกล่าวหา : กำหนดนโยบายจัดทำโครงการและสั่งซื้อรถตู้จำนวน 20,000 คัน ในโครงการ จัดระเบียบรถตู้โดยสารในลักษณะเข้าร่วมเดินรถกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โดยมิชอบ
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. : ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
***************
ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
วันลงมติ 16 กรกฎาคม 2564
ผู้ถูกกล่าวหา : 1.ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2.นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อกล่าวหา : แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และจงใจเลื่อนการประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขชุดเดิมที่จะพิจารณาปัญหาความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยภายใต้โครงการที่ได้รับทุนวิจัยจาก IDRC ประเทศแคนาดา
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน
***************
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า สำหรับมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ให้ตีตกข้อกล่าวหานักการเมืองเหล่านี้ หรือยุติการสอบสวน ส่วนใหญ่เป็นการลงคะแนนเสียงแบบเอกฉันท์