ณ เวลานี้มีหลักฐานมากมายบ่งชี้ว่าการจัดการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่นั้นยังสามารถดำเนินต่อไปได้ภายใต้สภาวะแวดล้อมเช่นนี้ โดยที่ผ่านมาในช่วงต้นปี 2563 นักกีฬาต่างก็คิดว่ามันไม่ปลอดภัย แต่ตอนนี้พวกเขาก็เห็นแล้วว่ากีฬาลีกใหญ่ๆในประเทศอื่นนั้นสามารถดำเนินการจัดการแข่งขันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้สึกว่านี่จะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการแข่งขัน
.........................
กรณีนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ณ เวลานี้ ทำให้เกิดประเด็นคำถามว่า การจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเลื่อนจากปี 2563 มาปี 2564 นั้นจะยังคงสามารถดำเนินการจัดการแข่งขันได้หรือไม่
ล่าสุด สำนักข่าวเจแปนไทม์ของประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเอาไว้ มีรายละเอียดดังนี้
เส้นทางการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรุงโตเกียว ณ เวลานี้นั้นกำลังตกอยู่ภายใต้ข้อกังขาว่าจะสามารถดำเนินการจัดการต่อไปได้หรือไม่ หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการประกาศสภาวะฉุกเฉินทั้งที่กรุงโตเกียวและอีกหลายพื้นที่ใกล้เคียง หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พุ่งขึ้นสูงในระดับนิวไฮ
โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศญี่ปุ่นนั้นปัจจุบัน ถือว่าไม่ต่างจากอีกหลายประเทศที่พบการระบาดจำนวนมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว กรุงโตเกียวมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 2,447 รายต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา และยังมีการค้นพบสายพันธุ์ของไวรัสโควิดซึ่งแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าเดิม คือ ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้และสายพันธุ์อังกฤษ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกเกิดขึ้นไปยังรัฐบาลทั่วโลก ณ เวลานี้ ซึ่งเหลือเพียงแค่ไม่ถึง 200 วัน ก็จะถึงกำหนดการการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้น จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นได้ว่า จะยังคงจัดกีฬาโอลิมปิกได้อย่างปลอดภัย ในรูปแบบของกีฬาซึ่งถูกจำกัดต่อไปได้อยู่หรือไม่
ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศญี่ปุ่นนั้นถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่หลายประเทศ แต่การระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นต้องยอมรับว่าทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับการจัดกีฬาโอลิมปิกซึ่งถูกเลื่อนการจัดไปเมื่อประมาณ1 ปี ก่อนการเริ่มต้นการแข่งขันกิจกรรมกีฬาครั้งใหม่ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ควบคู่ไปกับการพัฒนาของวัคซีนนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ยังคงให้ความหวังต่อการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้อยู่บ้าง
แต่ต้องยอมรับว่าการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้นั้นถ้าหากไม่สามารถจัดตามกำหนดการซึ่งก็คือในวันที่ 23 ก.ค.-8 ส.ค. การจัดการแข่งขันก็จะต้องถูกยกเลิก ไม่ใช่ถูกเลื่อนออกไปอีก
นั่นจึงเป็นเหตุสำคัญที่นายโยชิฮิเดะ ซึงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ย้ำว่า เขามุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการแข่งขันโอลิมปิกขึ้นมาให้ได้ ควบคู่ไปการประกาศมาตรการควบคุมการติดเชื้อครั้งใหม่
ด้าน นพ.เคนจิ ชิบูย่า ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาวะประชากร มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน และผู้วิจารณ์มาตรการการป้องกันไวรัสโควิด-19 ของประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานได้กล่าวว่า “หลักการสำคัญที่ต้องประกาศสภาวะฉุกเฉินนั้น เพราะคิดว่าการควบคุมโรคระบาดนั้นอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึงจะสามารถควบคุมโรคระบาดได้”
แต่เมื่อสอบถามว่า ในเดือน มี.ค.นั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เหมาะสมหรือไม่ที่จะตัดสินใจว่าจะจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พร้อมกับการกำหนดมาตรการต่างๆ
นพ.ชิบูย่า กล่าวว่า ดูจะไม่ใช่เรื่องที่สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่าไรนัก ในการกำหนดมาตรการต่างๆภายในช่วงเดือน มี.ค.
สำหรับรายละเอียดของมาตรการฉุกเฉิน ในเวลานี้นั้น จะมุ่งเน้นไปที่การลดการติดเชื้อในบาร์และสถานประกอบการที่มีลักษณะเป็นร้านอาหาร ขณะที่การจัดอีเวนท์ต่างๆในประเทศญี่ปุ่นนั้นยังคงไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด
แต่ถ้าหากมาตรการการควบคุมซึ่งมีความเข้มงวดน้อยดังกล่าวนี้ยังคงไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่มาตรการฉุกเฉินที่ว่านี้จะลากยาวไปเรื่อยๆ
ขณะที่ทางด้านของ นพ.ชิเงรุ โอมิ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านไวรัส ได้กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการฉุกเฉินก่อนเวลานั้นจะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยและมีความเป็นไปได้ที่มาตรการควบคุมโรคต่างๆนั้นจะมีผลยาวไปถึงเดือน มี.ค.หรือเดือน เม.ย.
แม้ว่าในเวลาต่อมา นพ.โอมิ จะกล่าวเพิ่มเติมว่าการยกเลิกมาตรการควบคุมนั้นอาจจะสามารถกระทำได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ถ้าหากได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสาธารณชนก็ตาม
แต่ไม่ว่าจะยกเลิกมาตรการฉุกเฉินในช่วงเวลาไหนก็ตาม นี่ก็จะทำให้มีช่องทางในการติดสินใจที่น้อยมากเกี่ยวกับการแข่งขัน โดยถ้าหากเปรียบเทียบกับในปี 2563 แล้ว การตัดสินใจในการเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 1 ปีนั้นเกิดขึ้นตอนปลายเดือน มี.ค. ก่อนที่จะมีการใช้มาตรการฉุกเฉินอย่างเข้มข้นไปจนถึงช่วงปลายเดือน พ.ค.
และแน่นอนว่าถ้าหากญี่ปุ่นล้มเหลวในการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อภายในระยะเวลาอันรวดเร็วนี้ ก็จะส่งผลมาถึงการวางแผนการลดขนาดการแข่งขันด้วยเช่นกัน เนื่องจากการแข่งขันที่จะมาถึงนี้จะต้องมีการใช้มาตรการตรวจเชื้อและกักบริเวณผู้เข้ามีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น อันจะส่งผลให้เกิดกิจกรรมการขนส่งในระดับซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เพื่อที่จะทำให้งานสามารถจัดต่อไปได้ ซึ่งนี่ก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายการจัดโอลิมปิกซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 1.38 ล้านล้านเยน (390,599,979,030 บาท) ให้มีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นไปอีกด้วยเช่นกัน
สภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นนั้นยังจะส่งผลทำให้การเข้าร่วมการแข่งขันนั้นมีความยากลำบากมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ณ เวลานี้ซึ่งยังคงไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะให้แฟนกีฬาทั้งในประเทศสามารถเข้าชมการแข่งขันได้หรือไม่ และจะมีรูปแบบการเข้าชมอย่างไร และยิ่งไปกว่านั้นการค้นพบไวรัสโควิดสายพันธุ์ซึ่งกลายพันธุ์ทั้งในประเทศแอฟริกาใต้และประเทศอังกฤษที่กำลังระบาดไปทั่วโลกนั้นก็อาจทำให้เรื่องนี้ยากขึ้นไปอีก
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจจะคุมเข้มการเข้าประเทศอย่างเข้มข้นเพื่อรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่
ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการโอลิมปิก 2020 เองก็ได้มีการสื่อสารเป็นนัยยะแล้วว่ามีความจำเป็นต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการลดจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขัน เนื่องจากทั้งประเด็นด้านมาตรการการควบคุมไวรัสที่น่าจะยังคงมีผลในช่วงเวลาของการจัดแข่งโอลิมปิก และข้อจำกัดในด้านการเข้าประเทศในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง โดยเฉพาะในส่วนของการออกตั๋วเครื่องบินเดินทางระหว่างประเทศซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่าเดิม
รายงานข่าวควบคุมไวรัสโควิด-19 ของประเทศญีุ่่น (อ้างอิงวิดีโอจาก ABC News Australia)
@ตัวอย่างรูปแบบการจัดงานที่น่าจะเป็นไปได้
ต้องยอมรับประการหนึ่งว่าความกดดันเพื่อให้จัดกีฬาโอลิมปิกต่อไปได้นั้น เกี่ยวโยงไปถึงการนับหนึ่งของการแข่งขันกีฬาในหลายๆรายการในหลายประเทศทั่วโลก โดยไม่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศนั้นๆ เพราะนับตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา การแข่งขันกีฬาต่างๆรวมไปถึงกีฬาโอลิมปิกต่างก็ต้องหยุดลงไป
อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูร้อน มีหลายประเทศที่สามารถจัดการกับไวรัสได้ดี สามารถจัดการแข่งขันกีฬาต่อไปได้ และมีแฟนๆผู้เข้าชมกีฬาด้วย
ขณะที่กีฬาลีกต่างๆแม้ว่าจะเป็นกีฬาซึ่งอยู่ในประเทศที่มีการระบาดสูง ก็สามารถจะจัดการแข่งขันต่อไปได้เช่นกัน อาทิ กีฬาบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอในประเทศสหรัฐอเมริกา และกีฬาฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในประเทศอังกฤษ ขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นเองก็สามารถที่จะจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในช่วงที่มีการระบาดด้วยเช่นกันได้แก่กีฬายิมนาสติก 4 ชาติในช่วงเดือน พ.ย. ซึ่งสามารถจัดได้โดยที่ไม่มีปัญหาอะไร
นายรอย โทมิซาวะ ผู้เขียนหนังสือ "1964 — The Greatest Year in the History of Japan” (1964 — ปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น) กล่าวว่า ณ เวลานี้มีหลักฐานมากมายบ่งชี้ว่าการจัดการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่นั้นยังสามารถดำเนินต่อไปได้ภายใต้สภาวะแวดล้อมเช่นนี้ โดยที่ผ่านมาในช่วงต้นปี 2563 นักกีฬาต่างก็คิดว่ามันไม่ปลอดภัย แต่ตอนนี้พวกเขาก็เห็นแล้วว่ากีฬาลีกใหญ่ๆในประเทศอื่นนั้นสามารถดำเนินการจัดการแข่งขันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้สึกว่านี่จะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการแข่งขัน
บรรยากาศเมืองที่รับรองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (อ้างอิงวิดีโอจาก Nippon TVNews 24 Japan)
@ความคืบหน้าเรื่องวัคซีน
เหตุผลอีกประการที่ทำให้มีการมองในแง่บวกว่าจะสามารถจัดการแข่งขันได้ ก็คือประเด็นเรื่องของการมีวัคซีนหลายชนิดที่กำลังพัฒนา ซึ่งแตกต่างจากช่วงปี 2563 ที่ยังไม่มีวัคซีนนี้
โดยนายซึงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถึงขนาดให้สัมภาษณ์กับทางช่องโทรทัศน์ท้องถิ่นแห่งหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าเขาคาดหวังว่าวัคซีนนั้นจะสามารถสร้างความมั่นใจได้ก่อนช่วงการแข่งโอลิมปิก
แต่ถึงกระนั้น หลายประเทศ ณ เวลานี้ก็ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการฉีดวัคซีนประชากรของตัวเอง ส่วนญี่ปุ่นเองก็จะเริ่มกระบวนการฉีดวัคซีนในช่วงปลายเดือน ก.พ. ซึ่งในประเทศที่ได้อนุมัติการฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ปรากฏว่ากระบวนการฉีดวัคซีนนั้นยังคงมีความล่าช้าอยู่มาก
ประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนนั้นยังคงนำมาซึ่งตัวเลือกที่ยากลำบากสำหรับหน่วยงานจัดการแข่งขันและตัวนักกีฬาแห่ง โดยทั้งทางการญี่ปุ่นของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติหรือ IOC ได้มีการให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการที่จะให้มีการฉีดวัคซีนให้กับผู้ชมกีฬาซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขนี้อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์การระบาดของไวรัส โดยทางด้านของนายดิ๊ค พาวด์น คณะกรรมการ IOC กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีว่าการฉีดวัคซีนนั้นอาจจะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องมี ก่อนจะเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น และผู้เข้าร่วมการกิจกรรมการแข่งขันนั้นก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องไปอยู่บนลำดับต้นๆของบัญชีความสำคัญการได้รับวัคซีน
แต่นี่ก็อาจจะนำมาสู่การตั้งคำถามถึงการแจกวัคซีนอย่างเป็นธรรมเช่นกัน ขณะที่นักกีฬาบางส่วนก็อาจจะเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนเช่นกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความมีประสิทธิภาพของวัคซีนเอง
@มุมมองที่แตกต่าง
ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นคัดค้านกับการที่กีฬาโอลิมปิกจะเดินหน้าจัดต่อไป อาทิ นพ.โนริโอ ซูกายะ ศาสตราจารย์รับเชิญ วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยเคย์โอ และสมาชิกบอร์ดที่ปรึกษาด้านการระบาดของไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO กล่าวว่าตัวเขาคัดค้านการจัดโอลิมปิกในช่วงฤดูร้อนนี้ เพราะมันไม่มีความหมายเลยที่จะให้จุดยืนทางการแพทย์ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นไม่ต้องการ ขณะที่การสำรวจโดยสำนักข่าว NHK ของญี่ปุ่นก็ระบุชัดเจนว่าใน 38 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าควรจะต้องยกเลิกงาน และอีก 39 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าควรจะต้องเลื่อนการแข่งขันกันอีกครั้งหนึ่ง
แต่ทางด้านของ นพ.โนบุฮิโกะ โอคาเบะผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์เมืองคาวาซากิ และหนึ่งในสมาชิกบอร์ดผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่า น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถจัดโอลิมปิกได้ โดยเฉพาะการจัดการแข่งขันในบางรูปแบบ ซึ่งสามารถทำได้เลย ณ เวลานี้
“สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับโอลิมปิกก็คือนักกีฬาสามารถแข่งขันได้ ดังนั้น นี่สามารถดำเนินการได้ แม้ว่าจะมีขอบเขตการติดเชื้อในปัจจุบันก็ตาม” นพ.โอคาเบะกล่าว
ส่วน นพ.โยชิฮิโตะ นิกิ ศาสตราจารย์รับเชิญด้านโรคติดต่อ มหาวิทยาลัยโชวะ กล่าวว่าตัวเลือกหนึ่งก็คงเป็นการเพิ่มช่วงเวลาระหว่างเกมเพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ
"หากพวกเขาถือเกมในช่วงซัมเมอร์นี้พวกเขาควรจะแยกการแข่งขันกีฬาและถือพวกเขาเป็นระยะ ๆ เช่นสองเกมต่อสัปดาห์มากที่สุด" นพ.นิกิกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.japantimes.co.jp/news/2021/01/14/national/shadow-olympics-virus-surge/
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage