"...95 โครงการที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 แบ่งสัดส่วนตามกลุ่มผู้รับทุนได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่อยู่ในอุตสาหกรรมสื่อและอุตสาหกรรรมบันเทิงจำนวน 33 ราย งบประมาณรวม 153,198,585 บาท 2. กลุ่มบุคคลธรรมดา จำนวน 35 ราย งบประมาณรวม 58,082,879 บาท 3. กลุ่ม ชมรม มูลนิธิและสมาคมจำนวน 18 แห่ง งบประมาณรวม 54,150,300 บาท 4. กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนน้อยที่สุดคือสถานศึกษาและหน่วยงานในสถานศึกษาจำนวน 9 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวม 19,535,186 บาท..."
.............................
จากกรณีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ภาคประชาชนในนามเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูปกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ยื่นหนังสือต่อ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้ดำเนินการตรวจสอบกระบวนการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการผลิตสื่อของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 300 ล้านบาท เนื่องด้วยเครือข่ายฯ เห็นว่าไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ( อ่านประกอบ : ภาคปชช.ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯสตง.ตรวจสอบกองทุนพัฒนาสื่อฯ เบรกอนุมัติงบ 300 ล.เอื้อทุนใหญ่ )
ใจความตอนหนึ่งของหนังสือที่ยื่นต่อผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นอกจากขอให้ตรวจสอบในประเด็นการพิจารณาอนุมัติทุนในโครงการต่างๆ แล้ว หนังสือดังกล่าวระบุถึง 95 โครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณรวม 284,966,950 บาท เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 แบ่งสัดส่วนตามกลุ่มผู้รับทุนได้ดังนี้
1. กลุ่มที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสื่อ และอุตสาหกรรรมบันเทิงจำนวน 33 ราย งบประมาณรวม 153,198,585 บาท หรือร้อยละ 53.76 ของงบประมาณที่กองทุนจัดสรรให้ในปีนี้
2. กลุ่มบุคคลธรรมดา จำนวน 35 ราย งบประมาณรวม 58,082,879 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.38 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมด
3. กลุ่ม ชมรม มูลนิธิและสมาคม จำนวน 18 แห่ง งบประมาณรวม 54,150,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 19 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมด
4. และกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนน้อยที่สุดคือสถานศึกษาและหน่วยงานในสถานศึกษาจำนวน 9 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวม 19,535,186 คิดเป็นร้อยละ 6.86 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปีนี้
หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่า การประกาศผลผู้ได้รับทุนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 เวลาประมาณ 19.00 น. และมีการกำหนดปฐมนิเทศผู้ที่ได้รับทุนในวันที่ 21 - 23 กันยายน 2563 โดยการประกาศผลผู้ได้รับทุนดังกล่าว ได้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้แก่สาธารณะชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ที่ได้รับทุนส่วนใหญ่เป็นบริษัทผู้ผลิตสื่อขนาดกลางและขนาดใหญ่ในประเทศที่มีศักยภาพความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ และทรัพยากรบุคคลที่มีรายได้ประจำในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว และบริษัทเอกชนเหล่านี้ก็เป็นหน่วยงานองค์กรที่ประกอบธุรกิจแสวงกำไร และจากข้อมูลของภาคประชาชนที่ได้เข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นต่อผลการประกาศอนุมัติทุน มีบริษัทเอกชนรายใหญ่จำนวน 4 บริษัทที่ผลประกอบการขาดทุน และมี 1 บริษัท ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งให้ขึ้นเครื่องหมาย “C” (Caution) และในขณะที่งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่งเพื่อผลิตหนังสั้น มีมากถึง 20 ล้านบาท จากงบประมาณรวมทั้งหมด 300 ล้านบาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 หมวด 1 มาตรา 5 ให้กองทุนเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ http://www.thaimediafund.or.th กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของทั้ง 95 โครงการ รวมทั้งรายชื่อองค์กร หน่วยงานที่ได้รับทุน ระบุว่า
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 กองทุน ประกาศผลการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2563 มีมติอนุมัติข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม จำนวน 95 โครงการ
โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
โครงการประเภทเปิดรับทั่วไป ( Open Grant ) จำนวน 39 โครงการ รวม 89,200,100 บาท
โครงการประเภทเชิงยุทธศาสตร์ ( Strategic Grant ) จำนวน 48 โครงการ รวม 180,000,000 บาท
โครงการประเภทความร่วมมือ ( Collaborative Grant ) จำนวน 8 โครงการ รวม 15, 766, 850 บาท
จากการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียด พบโครงการแต่ละประเภท มีรายละเอียดการให้ทุน ดังนี้
โครงการประเภทเปิดรับทั่วไป ( Open Grant ) จำนวน 39 โครงการ รวม 89,200,100 บาท มีทั้งสิ้น 4 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1.การผลิตสื่อเพื่อกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 13 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ อรดล แก้วประเสริฐ, พระเจริญพงษ์ วิชัย, นางสาวลัดดาวัลย์ ต๊ะมาฟู, บริษัท ผองพล จำกัด, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, สุกัญญา บัวศรี, เทวัญ ศิริพัฒนกุลขจร, ผศ.ดร.ปรมะ แขวงเมือง, บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด, ดีพร้อม เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ระรินทร์ โรจนวุฒิ, นายอนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเด็นที่ 2.การสื่อสารเพื่อสร้างวินัยและจิตสำนึกสาธารณะ 7 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ บริษัทป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด, พวงเพชร สุพาวาณิชย์, มูลนิธิหอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จังหวัดกาญจนบุรี, มหาวิทยาลัยนเรศวร, ฉมา โซเอ็น จำกัด, มีนา ระเด่นอาหมัด, บริษัท เฮดช็อต ครีเอชั่น จำกัด
ประเด็นที่ 3.การวิจัยปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ 3 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ สุรชัย ไวยวรรณจิตร, ฐิตินันทน์ ผิวนิล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็นที่ 4.การส่งเสริมกลไกการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ 16 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ มูลนิธิครอบครัวพอเพียง, อรรถวุฒิ ศิริปัญญา, เครือข่ายเด็กและเยาวชนคริสโตย จังหวัดสตูล,
นัทธินี วัฒนวราสันติ์, ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง, บริษัท โซซุรุ จำกัด, โครงการสตรีนานาชาติพันธุ์, ชมรมผู้ประกอบการ วิทยุกระจายเสียงเขต 9 เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยรังสิต, ชมรมเยาวชน อัลฟารุก บ้านกือทอง, นายอาลิฟ เบ็ญยานุสรณ์, ภัทรภร เกิดจังหวัด, ช่อผกา นาคมิตร, ดร.อุดมเดช ทาระหอม, สมาคม ผู้บริโภคสงขลา, มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ( ม.ก.ส.)
โครงการประเภทเชิงยุทธศาสตร์ ( Strategic Grant ) จำนวน 48 โครงการ รวม 180,000,000 บาท มีทั้งสิ้น 6 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1.การแก้ไขการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ 5 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ บริษัท กู๊ดธิง แฮพเพ่น จำกัด (สำนักงานใหญ่ ), บริษัท คีปดีไซน์ จำกัด, นายเสกสรร สิงอุไร, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จำกัด (มหาชน), สุรางคณา สุวรรณจินดา
ประเด็นที่ 2.การอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 16 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ จุฑารัตน์ การะเกตุ, บริษัท กรุงเทพ เอเจนซี่ จำกัด, บริษัท นาคราพิวัฒน์ จำกัด, สุธารัตน์ เจี้ยงเต็ม, ดร.จักรกฤษ เจริญสุข, บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด, บริษัท อีส โปรดักส์ชั่น สตูดิโอ จำกัด, จารุวรรณ เพ็งศิริ, บริษัท อะกาลิโกโมทีฟ จำกัด, มูลนิธิพระรัตนตรัย ในพระราชูปถัมภ์, สุรสิทธิ์ ลีลาประชากุล, บริษัท บราเธอร์ พิคเจอร์ จำกัด, บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน), บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด,
นายธนพงษ์ โทโล, สมาคมการค้าดิจิทัลไทย
ประเด็นที่ 3.การสร้างความภูมิใจในชาติไทย 7 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุนได้แก่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, บริษัท โกลเด้น แซค เทรดดิ้ง จำกัด, มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สมาคมศูนย์ข่าวเยาวชนไทย, บริษัท เปกาซัส ครีเอทีฟ จำกัด, สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อภิชัย หาญกล้า
ประเด็นที่ 4.นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 7 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ นายกฤษณพน วงษ์ชื่น, มูลนิธิอารยสถาปัตย์ เพื่อคนทั้งมวล, บริษัท วิชเบอร์รี่ จำกัด, บริษัท สหศีนิมา จำกัด,
นายสุภณวิชญ์ สมสมาน, บริษัท มีเดียมเทค จำกัด, บริษัท มิเนอร์วา คอนซัลแตนท์ จำกัด
ประเด็นที่ 5.การรับมือกับปัญหาข่าวปลอม 12 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ เอกชัย ภูผาใจ, สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน), อาจารย์ ประวีณ ประพฤติชอบ, บริษัท ดองซุงกิ อินโนเวชั่น จำกัด, เสริมยศ เฉลิมศรี, มูลนิธิสื่อสร้างสุข, ดาวี ไชยคีรี, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัทจริยวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, นางสาวสุธีกานต์ โชตรัตนศักดิ์
ประเด็นที่ 6.การรู้เท่าทันเกม 1 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ บริษัท เท่นิยม จำกัด
โครงการประเภทความร่วมมือ ( Collaborative Grant ) จำนวน 8 โครงการ รวม 15, 766, 850 บาท มีทั้งสิ้น 8 โครงการ
รายชื่อผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ บริษัท ดอทส์ คอนซัลแตนซี่ จำกัด, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, บริษัท เทลสกอร์ จำกัด, สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน, บริษัท เอเชีย เซ็นเตอร์ จำกัด, มูลนิธิหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ, บริษัท สแพลช อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด, เดอะ ไกด์ ไลท์
เหล่านี้ คือข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับ 95 โครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ งบประมาณรวม 284,966,950 บาท เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา
ส่วนข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและผู้เกี่ยวข้อง สำนักข่าวอิศรา จะติดตามตรวจสอบมานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบในโอกาสต่อไป
อ่านประกอบ :
กว่าจะเป็น "กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage