“…ด้วยเสียงของ ‘รัฐบาลแพทองธาร’ ที่ทะลุ 300 เสียง การที่ ‘ทักษิณ’ ออกโรงการันตี ‘อายุขัย’ ของ ‘รัฐบาลผสมข้ามขั้ว’ ต่างกรรม-ต่างวาระ ว่า ‘อยู่ครบวาระ’ ไม่ใช่ ‘ข้อมูลใหม่’ สวนทางกับคำขู่-คำรามของ ‘ทักษิณ’ ที่กระแทกไปยัง พรรคร่วม (บางพรรค) - อีแอบตึกบัญชาการ ที่หลบหนี-ลี้ภัย ในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 เพื่ออนุมัติ ‘พ.ร.ก.ภาษี’…”
ความเคลื่อนไหวตลอดปี 2567 ของ 3 ดุลอำนาจ กับอีก 1 ดุลอำนาจที่ 4 ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ-ตุลาการ กับ ‘องค์กรอิสระ’ และ อำนาจเก่า แต่ กลับมาเกิดใหม่ อย่าง ‘ทักษิณ ชินวัตร’ กับ ‘แกนนำมวลชน-คนหน้าเดิม’ ต่างฝ่ายต่างรุกและรับ ไม่มีใครยอมลดราวาศอก ทำให้ทิศทางการเมืองไทยไม่เสถียร-คาดเดาได้ยาก..
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอนำเสนอ ‘10 ฉากทัศน์’ การเมืองไทย จากการกางปฏิทินการเมือง-ข้อมูลคดีค้างเก่า-ร่องรอยความขัดแย้ง เพื่อเป็นคู่มือในการติดตามสถานการณ์การเมืองในปี 2568
@ ฉากทัศน์ที่ 1 เลือกตั้ง ‘นายก อบจ.’
เปิดศักราชใหม่ 2568 ด้วยศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ‘นายก อบจ.’ ใน ‘วันเสาร์’ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นการ ‘วัดกระแส’ กันระหว่าง ‘สองพรรคใหญ่’ พรรคเพื่อไทย กับ พรรคประชาชน
พรรคเพื่อไทย ส่ง ‘ผู้สมัคร นายก อบจ.’ เลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จำนวน 16 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ 1.นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ลำพูน 2.น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร ลำปาง 3.นายอนุวัธ วงศ์วรรณ แพร่ 4.นายนพรัตน์ ถาวงศ์ น่าน 5.นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช เชียงราย 6.นายมนู พุกประเสริฐ สุโขทัย 7.นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร เชียงใหม่
ภาคอีสาน 8 จังหวัด ได้แก่ 1.นายอนุชิต หงษาดี นครพนม 2.นายพลพัฒน์ จรัสเสถียร มหาสารคาม 3.นางนฤมล สัพโส สกลนคร 4.นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ศรีสะเกษ 5.ว่าที่ร้อยตรีภูมิพันธ์ บุญมาตุ่น บึงกาฬ 6.นายวุฒิไกร ช่างเหล็ก หนองคาย 7.นายบุญฐิณ ประทุมลี มุกดาหาร 8.นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นครราชสีมา และ ภาคกลาง 1 จังหวัด คือ นางสาวณภาภัช อัญชสาณิชมน หรือ ‘ส.จ.จอย’ ปราจีนบุรี
ฝั่ง ‘พรรคประชาชน’ ส่ง ‘ผู้สมัคร นายก อบจ.’ จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ 1.มานะ ชนะสิทธิ์ จันทบุรี 2.ชุดาภัค วสุเนตรกุล ชลบุรี 3.ชลธี นุ่มหนู ตราด 4.จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์ นครนายก 5.เลิศมงคล วราเวณุชย์ นนทบุรี 6.จำรูญ สวยดี ปราจีนบุรี 7.สิทธิโชค ทองชุมนุม พังงา 8.นพ.เลอศักดิ์ ลีนะนิธิกุล ภูเก็ต 9.สุพจน์ สุอริยพงษ์ มุกดาหาร
10.ทรงธรรม สุขสว่าง ระยอง 11.วีระเดช ภู่พิสิฐ ลำพูน 12.นิรันด์ จินดานาค สงขลา 13.นพดล สมยานนทนากุล สมุทรปราการ 14.นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย สมุทรสงคราม 15.เชาวริน ชาญสายชล สมุทรสาคร 16.นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ สุราษฎร์ธานี 17.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ เชียงใหม่
ศึกเลือกตั้ง ‘นายก อบจ.’ สองพรรคใหญ่ ‘ไม่มีใครยอมใคร’ โดยมี ‘พรรคสีน้ำเงิน’ คอยสกัด ‘พรรคสีส้ม’ - เดินเกมคู่ขนานกับ ‘นายใหญ่’
@ ฉากทัศน์ที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
วาระร้อนทางการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เตรียมบรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 14 มกราคม 2568 - วันที่ 15 มกราคม 2568 ประกอบด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ‘รายมาตรา’ จำนวน 17 ฉบับ และ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) หรือ ‘รัฐธรรมนูญฉบับใหม่’ จำนวน 1 ฉบับ เสนอโดย ‘พริษฐ์ วัชรสินธุ’ สส. พรรคประชาชน รวม 18 ฉบับ
สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ‘รายมาตรา’ จำนวน 17 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 279)
2.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 65 หมวด 16 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 มาตรา 162 วรรคหนึ่ง) 3.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (เพิ่มหมวด 16/1)
4.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 160 มาตรา 168 มาตรา 186 มาตรา 201 มาตรา 202 มาตรา 208 มาตรา 219 มาตรา 234 มาตรา 235 มาตรา 236) 5.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236)
6.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 มาตรา 59) 7.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (เพิ่มมาตรา 47/1 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 54 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้า)
8.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 เพิ่มมาตรา 57 (3) และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58) 9.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 27 วรรคสอง)
10.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 วรรคห้า เพิ่มมาตรา 29 วรรคหก และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 วรรคสาม) 11.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34)
12.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25) 13.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50 (5)) 14.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 129)
15.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 199) 16.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 106 วรรคหนึ่ง) 17.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256)
เป็น 17 ร่างรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับแก้ไขรายมาตรา’ กับอีก 1 ร่างรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับแก้ไขทั้งฉบับ’ ของ ‘พรรคการเมือง’ ที่เตรียม ‘ตอกเสาเข็ม’ ในการขึ้นโครง-รื้อร่าง ‘กติกาสูงสุด’ เพื่อจัดสรร ‘ดุลอำนาจใหม่’
@ ฉากทัศน์ที่ 3 รอยร้าวพรรคร่วมรัฐบาล
8 พรรค 318 เสียงของรัฐบาลแพทองธาร เป็นปึกแผ่น ยากที่พรรคฝ่ายค้านจะขย่ม-เขย่าขวัญบนเวทีสภาได้ เพราะต่อให้โหวตร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ทว่า ‘สนิมเนื้อใน’ ของรัฐบาลแพทองธาร ไม่ใช่ พรรคประชาชน-คู่อริทางการเมือง แต่เป็น ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ ด้วยกันเอง ที่มี ‘ปม’ ขัดเข่งขัดขา จนกลายเป็น ‘รอยร้าว’ ใน ‘พรรครัฐบาล’
ไม่ว่าจะเป็นกรณี ‘ที่ดินเขากระโดง’ ตำบลอีสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ยังเป็น ‘ข้อพิพาท’ ระหว่าง กระทรวงคมนาคม ที่มี ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ เป็นเจ้ากระทรวง กับ กระทรวงมหาดไทย ของ ‘เสี่ยหนู’ อนุทิน ชาญวีรกูล มท.1
แม้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะ ‘ชนะคดี’ ทั้งในชั้นศาลจังหวัดบุรีรัมย์-ศาลอุทธรณ์ ภาค3 และศาลฎีกา แต่ในรายละเอียดยังมี ‘ช่องโหว่’ จนทำให้กรมที่ดิน ‘ดื้อแพ่ง’ ยื้อเวลาไปสู้กัน ‘ยกสุดท้าย’ ใน ‘ศาลปกครองสูงสุด’
หรือกรณี ‘ที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์’ ที่ นางสาว แพทองธาร ‘ลูกคนเล็ก’ ของ ‘ทักษิณ’ เคย ‘ถือหุ้นบริษัทอัลไพน์’ ซึ่งศาลเคยมีคำพิพากษา ‘ถึงที่สุด’ ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็น ‘ธรณีสงฆ์’ ซึ่งปัจจุบัน ‘เสี่ยหนู’ ได้มอบหมายให้ ‘รองปลัดมหาดไทย’ รับผิดชอบเรื่องการเพิกถอนกรรมสิทธิ์ใน ‘ที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์’
รวมถึง 2 ‘บิ๊กอีเวนต์การเมือง’ และ 1 ‘เมกะโปรเจ็กต์บันเทิง’ ของพรรคเพื่อไทย ที่ ‘สวนมติ’ ของพรรค 70 เสียง-พรรคที่มีเสียงอันดับสองของพรรครัฐบาล ได้แก่ การแก้รัฐธรรมนูญ-กฎหมายประชามติ และเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
@ ฉากทัศน์ที่ 4 ยุบพรรคเพื่อไทย ?
บทบาททักษิณ-เป็นเสมือน ‘ระเบิดเวลา’ ของพรรคเพื่อไทย เชื้อเชิญ ‘นักร้อง’ ให้ร้องเรียนใน ‘องค์กรอิสระ’ หลายคดีในเรื่อง ‘ครอบงำ’ โดยเฉพาะในศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็รอดไปได้
ทว่ายังมี ‘คดียุบพรรคเพื่อไทย’ ที่อยู่ในมือ คณะกรรมการ กกต. ทั้งหมด 4 คำร้อง โดย ‘คณะกรรมการวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐาน’ ได้เชิญ ‘ผู้ร้อง’ และ ‘ผู้ถูกร้อง’ ทยอยมาให้ถ้อยคำ
ในส่วนของ ‘พรรคเพื่อไทย’ ในฐานะ ‘ผู้ถูกร้อง’ กกต.ได้ส่งหนังสือไปถึง ‘แพทองธาร’ นายกรัฐมนตรี ที่สวมหมวก ‘หัวหน้าพรรคเพื่อไทย’ มาให้ถ้อยคำ-ส่ง ‘ตัวแทน’ หรือ ‘ทำหนังสือ’ ชี้แจงกลับมา ภายในวันที่ 8 มกราคม 2568
สำหรับขั้นตอนการพิจารณา ‘คดียุบพรรคเพื่อไทย’ ของ กกต. ในชั้นของคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมถึงการให้ถ้อยคำใช้เวลาประมาณ 30 สามารถขยายระยะเวลาได้อีก 30 วัน
1 ใน 4 คำร้อง คือ คำร้องของ ‘กลุ่มคณะนิติชน-เชิดชูธรรม’ ที่ยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการ กกต. พิจารณาและส่งศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัย ‘ยุบพรรคเพื่อไทย’ กรณีฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 28 ประกอบตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 108
ทั้งนี้ มาตรา 28 ระบุว่า ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการ (กกต.) มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 28 ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
มาตรา 108 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี
พรรคเพื่อไทย คงหวังลึก ๆ ว่า ‘พรรคสีน้ำเงิน’ รอดโดนยุบพรรคได้ ทำไม ‘พรรคสีแดง’ จะรอดยุบพรรคได้บ้างไม่ได้
@ ฉากทัศน์ที่ 5 เปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ในปี 2568 พรรคฝ่ายค้าน ‘จองกฐิน’ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแพทองธาร ด้วยการปักหมุด ‘ไตรมาสแรก’ ของปี 68 โดยจะเปิด ‘ศึกซักฟอก’ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 151 กำหนดว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
เมื่อได้มีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสี่
เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียนวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง
มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งเดิม แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง หรือพ้นจากตำแหน่งเดิมไม่เกิน 90 วัน
ก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่น ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจต่อไป
‘เป้าใหญ่’ ที่ ‘พรรคฝ่ายค้าน’ เตรียม ‘ง้างหมัด’ ใส่รัฐมนตรีในรัฐบาลแพทองธาร คือ ‘เอ็มโอยู 44’ แต่จะชกได้ ‘เต็มหมัด’ หรือไม่ ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม ตราบใดที่ ‘รูปธรรม’ ในการตั้ง ‘คณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา’ ยังไม่ตั้งไข่
ถึงเวลาเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ‘พรรคฝ่ายค้าน’ จะโชว์ฝีปากซักฟอก ‘รัฐบาลแพทองธาร’ ได้สมราคาคุยหรือไม่ ไม่นานจะได้รู้
@ ฉากทัศที่ 6 ปรับ ครม.แพทองธาร 2
ด้วยเสียงของ ‘รัฐบาลแพทองธาร’ ที่ทะลุ 300 เสียง การที่ ‘ทักษิณ’ ออกโรงการันตี ‘อายุขัย’ ของ ‘รัฐบาลผสมข้ามขั้ว’ ต่างกรรม-ต่างวาระ ว่า ‘อยู่ครบวาระ’ ไม่ใช่ ‘ข้อมูลใหม่’ สวนทางกับคำขู่-คำรามของ ‘ทักษิณ’ ที่กระแทกไปยัง พรรคร่วม (บางพรรค) - อีแอบตึกบัญชาการ ที่หลบหนี-ลี้ภัย ในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 เพื่ออนุมัติ ‘พ.ร.ก.ภาษี’
ประกอบกับ ‘ข้อมูลเชิงประจักษ์’ ที่รัฐบาลแพทองธาร ‘เติมเสียง’ จาก ‘พรรคกล้าธรรม’ 24 เสียง ++ ของ ‘ผู้กองธรรมนัส’ ได้เป็นกอบเป็นกำ และ 25 เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยอม ‘จับมือ’ ให้กับ ‘ระบอบทักษิณ’ พรรคที่เป็น ‘คู่แค้น’ มากว่า 2 ทศวรรษ
ยังไม่นับรวม ‘พรรคเล็ก-งูเห่า-ฝากเลี้ยง’ ตามพรรคต่าง ๆ ที่พร้อมเป็น ‘บริการเสริม’ เรียกใช้เป็น ‘อะไหล่’ ในช่วงทีเด็ดทีขาด โหวตกฎหมายการเงิน-กฎหมายสำคัญ และศึกใหญ่-ซักฟอก
ยิ่งด้วยการบริหารงานของ ‘นายกฯผู้พ่อ-สไตล์ทักษิณคิด’ ปรับครม. ทุก 3 เดือน 6 เดือน เพื่อ ‘รีเฟรช’ รัฐมนตรี - เขย่าผลงานเสนาบดีเกียร์ว่าง-โลกลืม ขึ้นอยู่กับว่า จะ ‘ปรับเร็ว’ หรือ ‘ปรับช้า’ - ‘ปรับใหญ่’ หรือ ‘ปรับเล็ก’
@ ฉากทัศน์ที่ 7 องค์กรอิสระผลัดใบ
ในปี 2568 ยังเป็นปีที่มีกรรมการใน ‘องค์กรอิสระ’ ครบวาระการดำรงตำแหน่งมากถึง 19 คน จาก 5 หน่วยงาน โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะ ‘หมดวาระ’ ถึง 5 คน ประกอบด้วย 1.ผู้ตรวจการแผ่นดิน แทนตำแหน่งที่ว่างลง 1 คน คือ นาย นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ (ลาออก)
2.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 6 คน ได้แก่ พล.อ.ชนะทัพ อินทามระ นางยุพิน ชลานนท์นิวัฒน์ นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์, น.ส.จินดา มหัทธนวัฒน์, นายสรรเสริญ พลเจียก, ศ.ดร.อรพิน ผลสุวรณ์ สบายรูป
3.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 5 คน ได้แก่ พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ และนายวิทยา อาคมพิทักษ์ 4.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ได้แก่ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และนายปัญญา อุดชาชน
5.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 5 คน ประกอบด้วย ครบวาระในเดือนสิงหาคม 2568 ได้แก่ 1.นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. และ 2.นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ และ หมดวาระในเดือนธันวาคม 2568 ได้แก่ 1.นายปกรณ์ มหรรณพ 2.นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ 3.นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ
สถานะปัจจุบันของ 4 องค์กรอิสระ ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ที่มีประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหา และกระบวนการตรวจสอบประวัติและการรับรองของที่ประชุมวุฒิสภา ประกอบด้วย ขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ กรรมการ ป.ป.ช. 1 คน คือ นายพศวัจณ์ กนกนาก อดีตรองประธานศาลฎีกา (แทน พลตำรวจเอก สถาพร)
ขั้นตอนคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม วุฒิสภา ตรวจสอบประวัติ ได้แก่ กรรมการ ป.ป.ช. 1 คน คือ นายประภาศ คงเอียด (แทน พลเอก บุณยวัจน์) ผู้ตรวจการแผ่นดิน 1 คน คือ นางสาว รื่นวดี สุวรรณมงคล อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 6 คน ได้แก่ 1.นายยุทธพงษ์ อภิรัตน์รังษี 2.นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร 3.นายนิวัติไชย เกษมมงคล 4.นางพรพิมล นิลทจันทร์ 5.นางเกล็ดนที มโนสันติ์ และ 6.นางสาว พศุตม์ณิชา จำปาเทศ
ขั้นตอนการประกาศรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม รวมถึงการสัมภาษณ์ของคณะกรรมการสรรหาฯ ประกอบด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (แทนนายนครินทร์ และนายปัญญา) 6 คน ผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ได้แก่ 1.ศาสตราจารย์ ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร ศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2.ศาสตราจารย์ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.นายธัญญา เนติธรรมกุล อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 4.นายชาตรี อรรจนานันท์ อดีตอธิบดีกรมการกงสุล อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก 5.นายสราวุธ ทรงวิไล อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางราง อดีตอธิบดีกรมทางหลวง และ 6.นายสุรชัย ขันอาสา อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน จันทบุรี พิจิตร ปทุมธานี
กรรมการป ป.ป.ช. (แทน พลตำรวจเอก วัชรพล นายวิทยา และนางสุวณา) ซึ่งมี ‘คนเด่น-ดัง’ กรอกใบสมัครกว่า 40 คน เช่น พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง อดีตผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายธัญญา เนติธรรมกุล อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอลัมนิสต์ และนักเขียน
เป็นช่วงเวลาของการ ‘เซตซีโร่’ องค์กรอิสระ ที่มี ‘สว.สีน้ำเงิน’ เป็นแผนก HR คัดกรองประวัติ-คุณสมบัติ และรับรองทัศนคติต่อไปในขั้นตอนสุดท้าย !
@ ฉากทัศน์ที่ 8 ‘เปลี่ยนหัว’ พรรคประชาชน
การเปลี่ยนตัว ‘หัวหน้าพรรคประชาชน’ ด้วยเหตุ-ปัจจัยคดี 44 สส. ‘อดีตพรรคก้าวไกล’ ร่วมกันลงชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าข่ายผิดจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่
ปัจจุบันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐาน คาดว่าเดือน ม.ค. 2568 จะสามารถสรุปสำนวนเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
พรรคประชาชนจึงต้องลุ้นว่า สุดท้ายแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะสรุปสำนวน ออกมาว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่แจ้งข้อกล่าวหา หรือ เห็นว่า ไม่มีมูลเพียงพอ ส่งผลให้ข้อกล่าวหาตกไป
ใน 44 รายชื่อ สส.อดีตพรรคก้าวไกลที่ร่วมลงชื่อแก้ไข ‘ม.112’ เป็น ‘สส.พรรคประชาชน’ ที่เป็น ‘คีย์แมน’ เช่น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ‘ประธานวิปฝ่ายค้าน’ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และนายรังสิมันต์ โรม
สำหรับ รายชื่อ 44 สส.อดีตพรรคก้าวไกลที่ร่วมลงชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบด้วย 1.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล 2.นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3.นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4.น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.จันทบุรี 5.น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
6.นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 7.น.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 8.พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 9.นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 10.นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. 11.นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. 12.นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
13.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก 14.นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 15.นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 16.นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 17.นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ 18.นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. 19.น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
20.น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม 21.นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 22.นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 23.นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ส.ส.กทม. 24.นายทองแดง เบ็ญจะปัก ส.ส.สมุทรสาคร 25.นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา
26.นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ส.ส.ชลบุรี 27.นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 28.นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 29.นายอภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 30.นายองค์การ ชัยบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
31.พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 32.นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 33.นายศักดินัย นุ่มหนู ส.ส.ตราด 34.นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 35.นายวาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 36.น.ส.วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 37.นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
38.นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิส.ส.บัญชีรายชื่อ 39.นายทวีศักดิ์ ทักษิณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 40.นายสมชาย ฝั่งชลจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 41.นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุลส.ส.บัญชีรายชื่อ 42.นายวุฒินันท์ บุญชู ส.ส.สมุทรปราการ 43.นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ 44.นายสุรวาท ทองบุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
44 สส.อดีตพรรคก้าวไกล-พรรคประชาชน ต้อง ‘ลุ้นเหนื่อย’ ว่า จะ ‘หักมุมตอนจบ’ หรือไม่
@ ฉากทัศน์ที่ 9 ยิ่งลักษณ์กลับบ้าน
ฉากในฝันของ ‘บ้านจันทร์ส่องหล้า’ คือ การได้ต้อนรับ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 - นายกฯคนที่ 3 แห่งตระกูลชินวัตร (ทักษิณ-สมชาย วงศ์สวัสดิ์-ยิ่งลักษณ์-เศรษฐ ทวีสิน-แพทองธาร) กลับบ้าน ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568
ท่ามกลางกระแสข่าวเตรียมใช้ ‘ทักษิณกลับบ้านโมเดล’ โดยการออก ‘ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ’ ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่กรมราชทัณฑ์ ‘ปิดรับฟังความคิดเห็น’ ไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
สำหรับคดีความที่เป็น ‘ชนักติดหลัง’ ยิ่งลักษณ์ จนต้อง ‘คิดหน้า-คิดหลัง’ อยู่ขณะนี้ คือ คดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม.211/2560 พิพากษาจำคุก 5 ปี ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือ ‘คดีจำนำข้าว’
ภาพ ‘ครอบครัวชินวัตร’ อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาจะเกิดขึ้นจริงในปี 2568 หรือไม่ ไม่นานเกินรอ
@ ฉากทัศน์ที่ 10 ‘ม็อบขาประจำ’ ลงถนน
ภาพมวลชนเดินลงบนท้องถนน 4 ครั้ง รัฐประหาร 2 ครั้ง ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ไล่ตั้งแต่ ‘ม็อบเสื้อเหลือง’ เมื่อปี 2549 (เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49) - ‘ม็อบเสื้อแดง’ เมื่อปี 2553 – ‘ม็อบนกหวีด-กปปส.’ (เกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 57) - ม็อบทะลุวัง เมื่อปี 63 ยังคงเป็น ‘ภาพหลอน’ นักการเมือง-นักการทหาร จนถึงปัจจบัน
ในปี 2568 ดูเหมือนว่า เริ่มเห็นสะเก็ด-เชื้อไฟ ซ้ำรอยอีกครั้ง ทั้งม็อบ MOU 44 ของ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) นำขบวนมายื่น 6 ข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544
ข้อ 1ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขตต่อเนื่องรอบเกาะกรูด เป็นต้น
ข้อ 2 ให้นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 รัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยหรือไม่ เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
ข้อ 3 หากดำเนินการตาม ข้อ 2 แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544
ข้อ 4 หากดำเนินการตาม ข้อ 2 แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ข้อ 5 ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee : JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544 ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย และ ข้อ 6 ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544
คู่ขนาน-ตีขนาบด้วย ม็อบ ‘ชั้น 14’ ของ ‘คู่ปรับเก่า-ขาประจำ’ 3 ผสาน ‘พธม.-นปช.-กปปส.’ ที่มี ‘แก้วสรร อติโพธิ’ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ ‘คตส.’ อาทิ ขวัญสรวง อติโพธิ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ‘หมอวรงค์’ สมชาย แสวงการ รวมถึง ‘แนวร่วมมุมกลับ’ อย่าง ‘จตุพร พรหมพันธุ์’ อดีตประธาน นปช. ที่ได้ยื่นหนังสือสนับสนุนให้ดำเนินการคดีทุจริตประพฤติมิชอบในกรณีเอื้อประโยชน์ให้กับนายทักษิณ รักษาตัวที่ห้องวีไอพี ชั้น 14 โรงพยาลตำรวจ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ส่วนจะ ‘เรียกแขก’ ให้คนนับหมื่น-เรือนแสน ลงท้องถนน ซ้ำรอยการชุมนุมทางการเมืองครั้งที่แล้ว ๆ มาหรือไม่ ยากที่จะคาดเดา