จําเลยที่ 1 คือ นายณพ ณรงค์เดช พบว่าได้หลอกลวงนายนพพรให้ทําสัญญาซื้อขายหุ้น ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว นายณพสามารถหาเงินได้กว่า 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,933,600,000 บาท) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของนายนพพร แต่นายณพกลับพลาดกําหนดเวลาชําระเงินซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยส่งหุ้นให้กับครอบครัวและผู้ร่วมธุรกิจ และบริษัทในฮ่องกง เบลีซ และที่อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของนายนพพร
สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้มีการลงรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลพาณิชย์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษที่พิพากษาให้ นายณพ ณรงค์เดช และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมราว 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท แก่นายนพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) หลังถูกนายนพพรฟ้องในข้อหาสมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH
ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จำเลยที่ 10 และ นายอาทิตย์ นันทวิทยา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) จำเลยที่ 11 รวมทั้งนางคาดีจา บิลาล ซิดดีกี จำเลยที่ 5 พิพากษาให้ยกฟ้อง
โดยผู้ถูกฟ้องสำคัญคนอื่น ๆ ในคดี ได้แก่ นายณพ ณรงค์เดช ลูกชายคนกลางของ นายเกษม ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่ 1 ส่วนนายเกษม ผู้เป็นบิดา ตกเป็นจำเลยที่ 14 และจำเลยที่ 15 คือ คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ภรรยาของนายนพ และภรรยาของ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้ล่วงลับ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวซิดนีย์มอร์นิ่งแฮรัลด์ โพสต์ จากออสเตรเลียได้มีการสรุปคำพิพากษาทั้งหมดในส่วนที่มีความสำคัญ มีรายละเอียดดังนี้
จุดเริ่มต้นของเรื่องเหล่านี้มาจากความเรียบง่าย แค่จะนำกังหันลมมายังประเทศไทย
ทำให้นายนพพร ศุภพิพัฒน์ได้ริเริ่มที่จะทำเช่นนั้นในปี 2552 ส่งผลให้ในเวลาต่อมาเขาก็เป็นผู้ที่ร่ำรวยมหาศาล หลังจากนั้นเขาก็ได้แบ่งปันผลกำไรให้กับผู้ถือครองที่ดินที่เป็นเข้าของฟาร์มกังหันลม ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
จากความมั่งคั่งที่ว่านี้ส่งผลทำให้นายนพพรได้ลงนิตยสาร Forbes ที่ระบุว่าเขามีแผนการที่จะขยายกิจการบริษัท และบริษัท Wind Energy Holding หรือ WEH ของเขามีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (35,280,000,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม นายนพพรก็มีศัตรูซึ่งเป็นชนชั้นสูงในประเทศไทย โดยในช่วง ธ.ค. 2557 นายนพพรถูกตั้งข้อหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและต้องลี้ภัย โดยความผิดข้อหานี้มีโทษจำคุกเป็นระยะเวลา 15 ปี
ในช่วงเวลาที่นายนพพรได้ลี้ภัยที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ควบคู่ไปกับการควบคุมบริษัทพลังงานลมมูลค่ามหาศาล เขาประสบปัญหาว่าไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้เพราะธนาคารปฏิเสธจะให้ผู้ต้องสงสัยคดีหมิ่นายนพระบรมเดชานุภาพกู้เงิน
ความพยายามของนายนพพรที่จะใช้นิติบุคคลตัวแทนก็กลายเป็นปัญหาแทบจะทันทีเนื่องจากผู้ที่เขาได้ติดต่อทำข้อตกลงด้วย ได้อาศัยผลประโยชน์จากสถานะของนายนพพรในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองเพื่อยึดการควบคุมบริษัทและตัดขาดทรัพย์สิน
นายนพพรจึงได้เริ่มการทำนิติสงครามเพื่อจะควบคุมบริษัทและทรัพย์สินมูลค่าหลายล้านของเขา การต่อสู้ทางด้านกฎหมายกินพื้นที่ในหลายเขตอำนาจศาลมาก ทั้งในประเทศไทย,ฮ่องกง,เบลีซ,หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน,สิงคโปร์ และที่เจนีวา สำหรับกระบวนการพิจารณีคดีอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
โดยนายนพพรเริ่มจะเชื่อว่าชายผู้ที่เขาได้มอบหมายให้ควบคุมบริษัท,อดีตผู้บริหารของเขา และบุคคลระดับสูงจากธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยกำลังร่วมกันทำงานเพื่อจะจัดการกับเขา
ในที่สุดศาลสูงของอังกฤษและเวลส์ก็ได้รับคดีของเขาไว้พิจารณา
ตอนนี้นายนพพรจึงได้รับชัยชนะในชั้นศาล ได้รับเงินกว่า 1.35 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (30,493,584,000 บาท) ในระหว่างที่กำลังลี้ภัยอยู่
ชัยชนะอันน่าทึ่งของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยเผชิญกับจุดเปลี่ยนทางการเมือง กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อหาพระบรมเดชานุภาพเป็นสิ่งที่ถูกรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปีนี้ และพรรคที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งแต่ถูกปฏิเสธโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาล
การต่อสู้ของนายนพพรเพื่อนำเอาบริษัทที่มีค่าของเขากลับคืนมานั้น แม้ว่าข้อเรียกร้องบางอย่างที่เขามีต่อจำเลยทั้ง 17 คนจะขาดหายไป แต่ผู้พิพากษาก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเขาควรได้รับเงินคืนกว่า 1.35 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
โดยนายนีล คาร์เวอร์ ผู้พิพากษากล่าวว่ามีบางครั้งที่นายนพพรไม่ตรงไปตรงมา แต่ก็เข้าใจได้ว่า “เขามีความรู้สึกคับข้องใจกับฝ่ายจำเลย ซึ่งเขาไว้ใจ แต่ได้ทรยศเขาโดยไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน”
“ลักษณะและขอบเขตของการโกหก [จําเลยบางคน] นั้นน่าทึ่งในบางครั้ง เช่นเดียวกับทัศนคติที่ผ่อนคลายของพวกเขาต่อการผลิตเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงและทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จนกลายเป็นธรรมดาที่ความจริงได้กลายเป็นแนวคิดอันแปลกแยกสําหรับจําเลยบางคนเหล่านี้” คำพิพากษาระบุ
ฟาร์มกังหันลมของบริษัท WEH ที่นครราชสีมา
จําเลยที่ 1 คือ นายณพ ณรงค์เดช พบว่าได้หลอกลวงนายนพพรให้ทําสัญญาซื้อขายหุ้น ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว นายณพสามารถหาเงินได้กว่า 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,933,600,000 บาท) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของนายนพพร แต่นายณพกลับพลาดกําหนดเวลาชําระเงินซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยส่งหุ้นให้กับครอบครัวและผู้ร่วมธุรกิจ และบริษัทในฮ่องกง เบลีซ และที่อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของนายนพพร
ในรายชื่อของจำเลยยังปรากฏว่ามีธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB โดยนายนพพรอ้างว่าเขาถูกทำให้เข้าใจผิดและถูกกดดันด้วยวิธีอื่นๆเพื่อให้เอาหุ้นของเขาออกไป และฝ่ายจำเลยยังไม่เพียงแค่โกหกเขาเท่านั้น แต่ยังโกหกไปถึงในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ
ทนายของนายนพพรและบริษัทของเขาอ้างถึงปีของการทำธุรกรรมที่มีความไม่สุจริต เอกสารที่ใช้ก็มีความล้าสมัยและมีลักษณะที่มีการฉ้อโกง พร้อมกับการใช้บริษัทนอกอาณาเขต และผู้ได้รับการเสนอชื่อก็มีความเชื่อมโยงกับ “คุณณพ”
ผู้พิพากษาพบว่านายณพมีส่วนร่วมในการกระทำที่ไม่โปร่งใสอย่างร้ายแรงโดยยักยอกเงินจาก Wind Energy Holding เพื่อชําระเงินบางส่วนให้กับนายนพพร
“นายณพและผู้บริหารจำนวนสามรายของบริษัท WEH ได้ร่วมกับกระทำในสิ่งที่เรียกกันว่าการแก้ปัญหาแบบรั้ววงแหวน เพื่อกีดกันนายนพพรจากการได้รับผลประโยชน์จากการชำระเงิน โดยใช้บริษัทหลายแห่งในสิงคโปร์เพื่อกันให้หุ้นหลุดพ้นมือนายนพพร” ผู้พิพากษาระบุ
ผู้พิพากษานีล คาลเวอร์ ที่ศาลศาลพาณิชย์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ทั้งนี้ไม่พบว่าธนาคารไทยพาณิชย์ได้กระทำการโดยมีเจตนาที่ไม่สุจริต และไม่พบว่าเป็นส่วนร่วมในการชิงเอาทรัพย์สินของนายนพพร อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาคาลเวอร์กล่าวว่าการกระทำของ SCB เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อธนาคารที่มีชื่อเสียงและคาดหวังว่าจะมีความขยันขันแข็งในการตรวจสอบ
สำหรับตัวนายอาทิตย์ รายละเอียดคำให้การพบว่ามีลักษณะค่อนข้างจะหลีกเลี่ยง แต่ผู้พิพากษาคาลเวอร์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่เพียงพอว่าเขาได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไม่สุจริตใน “วิธีการแก้ไขปัญหาแบบรั้ววงแหวน” และนายอาทิตย์ก็ไม่ได้มีส่วนใดในการโอน ถอดถอน หรือปกปิดหุ้นที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ในช่วงแปดปีของการฟ้องร้อง พบว่าหุ้น WEH จำนวนหนึ่งล้านหุ้นถูกถือโดยบริษัทที่เกาะเบลีซ ซึ่งบริษัทนี้มีเพื่อนสนิทของนายอาทิตย์เป็นผู้อํานวยการบริษัท
ขณะที่ผู้พิพากษาตัดสินว่าผู้อำนวยการคนนี้ไม่ใช่ผู้ได้รับการเสนอชื่อโดยนายอาทิตย์ตามที่กล่าวอ้าง แต่นายณพได้ใช้บริษัทที่เบลีซในกระบวนการเอาสินทรัพย์ของนายนพพร
เรียบเรียงจากซิดนีย์มอร์นิ่งแฮรัลด์โพสต์