มีความจําเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันที่จะพึ่งพา (ของจริง)บันทึกเอกสารในการหาข้อเท็จจริงที่สําคัญเพราะเป็นที่ชัดเจนว่าพยานหลายคน (สําหรับจําเลย) ซึ่งข้าพเจ้า (ผู้พิพากษา)ได้ยินมาล้วนพูดไม่จริงต่อศาลอย่างดังนั้นการให้ปากคำของพวกเขาจึงไม่น่าเชื่อถือโดยขอบเขตการโกหกของการพูดไม่จริงพวกเขาถือว่าน่าทึ่ง เช่นเดียวกับทัศนคติของพวกเขาที่ดูไม่ร้อนใจต่อการผลิตเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลพาณิชย์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษได้มีคำตัดสินให้ นายณพ ณรงค์เดช และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมราว 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท แก่นายนพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) หลังถูกนายนพพรฟ้องในข้อหาสมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH
ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จำเลยที่ 10 และ นายอาทิตย์ นันทวิทยา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) จำเลยที่ 11 รวมทั้งนางคาดีจา บิลาล ซิดดีกี จำเลยที่ 5 พิพากษาให้ยกฟ้อง
โดยผู้ถูกฟ้องสำคัญคนอื่น ๆ ในคดี ได้แก่ นายณพ ณรงค์เดช ลูกชายคนกลางของ นายเกษม ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่ 1 ส่วนนายเกษม ผู้เป็นบิดา ตกเป็นจำเลยที่ 14 และจำเลยที่ 15 คือ คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ภรรยาของนายนพ และภรรยาของ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้ล่วงลับ
สำหรับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ทั้งหมดประกอบไปด้วย
ฝ่ายโจทก์ 4 รายประกอบด้วย
1. นพพร ศุภพิพัฒน์ 2. บริษัท ซิมโฟนี่ พาร์ตเนอร์ส จํากัด (SPL) 3. บริษัท เน็กซ์โกลบอล อินเวสต์เมนท์ส จํากัด (NGI) 4. บริษัท ไดนามิค ลิ้งค์ เวนเจอร์ส จํากัด (DLV)
ฝ่ายจำเลย 17 รายประกอบด้วย
1. ณพ ณรงค์เดช 2. เอมมา ลูอิส คอลลินส์ อดีตซีอีโอ WEH3. ธันว์ เหรียญสุวรรณ อดีตผู้บริหาร WEH และ REC 4. อามาน ลาคานี อดีตผู้บริหาร WEH 5. คาดีจา บิลาล ซิดดิกี ภรรยาลาคานี 6. บริษัท คอลัมน์ อินเวสต์เมนท์ส จำกัด บริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก7. บริษัท เคเลสตัน โฮลดิงส์ จำกัด บริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก8. บริษัท เอแอลเคบีเอส จำกัด บริษัทจดทะเบียนที่สหรัฐฯ มีจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก 9. บริษัท โกลเด้น มิวสิค จำกัด (GML) บริษัทจดทะเบียนที่ฮ่องกง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ WEH ที่ 41,216,398 หุ้น สัดส่วน 37.87 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน 2566) 10. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 11. อาทิตย์ นันทวิทยา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีอีโอ และประธานกรรมการบริหาร SCB 12. บริษัท คอร์นวอลลิส จำกัด บริษัทจดทะเบียนที่เบลิทซ์ มีนอมินีเป็นผู้รับผลประโยชน์แทนจำเลยที่ 15 13. วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ กรรมการบริษัท SCBX จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของ SCB, เจ้าของสำนักงานกฎหมาย และที่ปรึกษาจำเลยที่ 1 14. ดร.เกษม ณรงค์เดช บิดาจำเลยที่ 1 15. นายหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ภรรยาจำเลยที่ 1 และภรรยาของพลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจ 16. ประเดช กิตติอิสรานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง WEH 17. ณัฐวุฒิ เภาโบรมย์ อดีต CFO (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน) ของ KPN Group ของตระกูลณรงค์เดช
ในคดีดังกล่าว ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้มีการไปสืบค้นรายละเอียดคำพิพากษาบางช่วงบางตอนที่ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญนำไปสู่การตัดสินของผู้พิพากษา โดยสืบค้นจากเว็บไซต์ศาลพาณิชย์ประเทศอังกฤษ ชื่อว่าเว็บไซต์ https://www.judiciary.uk
โดยมีมีรายละเอียดคำพพากษาดังนี้
@ประจักษ์พยาน
มีความจําเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันที่จะพึ่งพา (ของจริง)บันทึกเอกสารในการหาข้อเท็จจริงที่สําคัญเพราะเป็นที่ชัดเจนว่าพยานหลายคน (สําหรับจําเลย) ซึ่งข้าพเจ้า (ผู้พิพากษา)ได้ยินมาล้วนพูดไม่จริงต่อศาลอย่างดังนั้นการให้ปากคำของพวกเขาจึงไม่น่าเชื่อถือโดยขอบเขตการโกหกของการพูดไม่จริงพวกเขาถือว่าน่าทึ่ง เช่นเดียวกับทัศนคติของพวกเขาที่ดูไม่ร้อนใจต่อการผลิตเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่าเอกเอกสารคำพิพากษาของศาลอังกฤษมีการระบุว่าจำเลยจำนวน 8 คนมีพฤติกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารและหลักฐานที่มีลักษณะเป็นเท็จ (ดูภาพประกอบ)
คำพิพากษาบางส่วนระบุว่าพยานฝ่ายจำเลยหลายคนไม่น่าเชื่อถือ
ในขณะที่นายนพพร ศุภพิพัฒน์ มีบางครั้งที่ให้หลักฐานตรงไปตรงมาเป็นครั้งคราว ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วเห็นว่านี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะว่านั่นเกิดจากความรู้สึกขับข้องใจที่เขามีต่อจำเลย ซึ่งเขาไว้ใจ แต่แล้วก็ทรยศเขาด้วยแผนการที่วางไว้อย่างถี่ถ้วน โดยรวมแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าเขาเป็นพยานที่ซื่อสัตย์
@หลักฐานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายไทย
ข้าพเจ้าได้ยินหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายไทยจำนวนมากมาจากผู้เชี่ยวชาญสามคนซึ่งเป็นพยานที่ทําหน้าที่รายงานผู้เชี่ยวชาญได้แก่ 1.นายมุนินทร์ พงศาปาน ทำหน้าที่เป็นพยานฝ่ายโจทก์ 2.นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล ทำหน้าที่พยานฝ่ายจำเลย และ3.นายอนุรักษ์ นิยมเวชทำหน้าที่เป็นพยานให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 10
ข้าพเจ้าถือว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้พยายามจะช่วยเหลือศาลอย่างเต็มที่ แม้ว่าข้าพเจ้าจะพิจารณาแล้วเห็นว่านายมุนินทร์และนายสุชาติเป็นพยานที่น่าประทับใจมาก และมากกว่านายอนุรักษ์ ในแง่ของการให้หลักฐานที่เกี่ยวกับความรู้ในกฎหมายของไทย
วิธีการที่เหมาะสมในการพิสูจน์หลักฐานของผู้เชี่ยวชาญของกฎหมายต่างประเทศอันเป็นประโยชน์นั้นมีการสรุปไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในคดีได้แก่ 1.คดี Deutsche Bank AG London v Comune di Busto Arsizio [2021] EWHC 2706 (Comm) at [104]-[108] (Cockerill J) และ 2.คดี Banca Intesa Sanpaolo SpA v Comune di Venezia [2022] EWHC 2586 (Comm) at [120]-[127] (Foxton J)
@หน้าที่ของศาลอังกฤษ
การสกัดเอาหลักการสำคัญบางประการในคดีเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าได้นำเอาหลักการเหล่านี้มาใช้ในคดีนี้ โดยหลักการนั้นได้แก่
1.ศาลไม่มีสิทธิตีความประมวลกฎหมายต่างประเทศเอง มันคือหน้าที่ของพยานผู้เชี่ยวชาญในการตีความผลทางกฎหมาย
2.หน้าที่ของศาลอังกฤษคือการประเมินหลักฐานผู้เชี่ยวชาญของกฎหมายต่างประเทศและเพื่อทํานายคําตัดสินที่เป็นไปได้ของศาลสูงสุดในระบบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแทนที่จะตีความเข้าข้างในมุมมองของเขาหรือเธอ ซึ่งนั่นเป็นไปตามหลักการว่ากฎหมายในต่างประเทศควรจะเป็นอย่างไร
และหน้าที่ของศาลอังกฤษคือการประเมินไม่ใช่การอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญมากดดันผู้พิพากษาให้มีมุมมองว่ากฎหมายต่างประเทศอาจจะเป็นอย่างไร
3.ศาลนี้อาจจะค้นหาว่าศาลต่างประเทศจะปรับใช้หลักกฎหมายซึ่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไรเพื่อกำหนดผลทางกฎหมาย แต่ศาลนี้จะไม่ตัดสินเกินไปกว่าสถานะปัจจุบันของหลักกฎหมายต่างประเทศและจะไม่คาดการณ์แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับกฎหมายต่างประเทศนั้นๆ
4. คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องของศาลต่างประเทศ ยิ่งเป็นศาลสูง หรือยิ่งมีจำนวนคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ยิ่งเป็นการยากสำหรับศาลอังกฤษที่จะปฏิเสธว่าคำพิพากษาของศาลต่างประเทศเหล่านั้นไม่ได้บ่งบอกบอกถึงความเข้าใจในหลักกฎหมายต่างประเทศนั้นๆ
5.ถ้ามีคำพิพากษาที่ชัดเจนของศาลสูงสุดของต่างประเทศในประเด็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ศาลอังกฤษก็จะรับฟังคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้นเป็นพยานหลักฐาน) พยานหลักฐานอื่นก็จะมีน้ำหนักน้อยกว่า ศาลอังกฤษยอมรับหลักการนี้เป็นการทั่วไป แม้ว่า (ผู้พิพากษาอังกฤษคิดว่า) คำพิพากษาของศาลสูงสุดของต่างประเทศนั้นๆ จะไม่สอดคล้องกับประเพณีทางการค้า หรือการให้เหตุผลของคำพิพากษาจะไม่สมเหตุสมผลหรือไม่สอดคล้องต้องกัน เมื่อศาลอังกฤษต้องค้นหาเนื้อหาของกฎหมายต่างประเทศ ศาลอังกฤษก็จะปรับใช้กฎหมายต่างประเทศนั้นๆ แม้จะปรากฏว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นจะมีข้อบกพร่อง หรือถูกกำหนดโดยรัฐนโยบายใดๆ ของประเทศนั้นๆ หรือไม่ว่าจะไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ”
ข้อเรียกร้องของโจทก์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ส่วนที่ 1 ข้อกังวลการกล่าวหาว่านายณพและนายณัฐวุฒิ ส่วนที่ 2
เกี่ยวกับการริบทรัพย์สินในภายหลังบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอร์เรชั่น จํากัด หรือ REC ซึ่งถือครองโดยจำเลยจำนวนหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องใช้กฎหมายดำเนินการในแต่ละส่วน
@การกล่าวอ้างการบิดเบือนความจริง
โดยสรุปแล้วฝ่ายโจทกล่าวหาว่าการบิดเบือนความจริงสามประเภทเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน 2558 ดังนี้
1.นายณพและนายณัฐวุฒิ ในการเจรจาเพื่อให้สัญญาซื้อขายหุ้น REC เพื่อให้เกิดผล พวกเขาอ้างว่าตั้งใจที่จะให้ผลกับ 'ธุรกรรมทั่วโลก'
2.นางคอลลินส์ ถูกกล่าวหาทั้งในนามของเธอเองและในนามของตัวแทนของนายณพ ระบุว่าได้มีการชักจูงบริษัทของนายนพพรให้มีการโอนหุ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายหุ้น REC
3.นายณพและนายณัฐวุฒิ พยายามป้องกันไม่ให้ฝายโจทก์พยายามจะยกเลิกเงื่อนไขสัญญาซื้อขายหุ้น REC
รายละเอียดในคำพิพากษาบางช่วงบางตอนที่ระบุว่ามีการหลอกล่อบริษัทของนายนพพรให้ดำเนินการตามหนังสือสัญญาซื้อขายหุ้น
@การรับรองธุรกรรมทั่วโลก
ในการวิเคราะห์ประเด็นอันเป็นกังวลเกี่ยวกับกรณีการทำธุรกรรมทั่วโลกซึ่งมีการบิดเบือนความจริง ข้าพเจ้าได้พยายามพิเคราะห์ว่าทำไม และก็ได้ค้นพบรายละเอียดดังนี้
โจทก์ให้การรับสารภาพในคดีที่นายณพและนายณัฐวุฒิ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 341 และกฎหมายอาญามาตรา 357 (ความผิดที่ "ไม่อาจแบ่งแยกได้")
2.จากข้อเท็จจริงนายณพและนายณัฐวุฒิ ได้กระทําความผิดตามมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งก่อให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ประมวลกฎหมายดังกล่าวที่ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นสิทธิที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญาหากโจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 357 ก็คงมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
4.สุดท้ายไม่มีความผิดตามมาตรา 421 ดังนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งตามมาตรา 420 ในส่วนนี้
อ่านประกอบ:
-
ข้องใจคำพิพากษาศาลอังกฤษ-'วีระวงค์' แจงเหตุลาออก 2 บริษัท ป้องกันนำคดีหุ้นวินด์ขยายผล
-
ศาลอังกฤษยกฟ้อง SCB- พิพากษาให้ 'ณพ ณรงค์เดช' ร่วมชดใช้ 3 หมื่นล้านคดีโกง 'หุ้นวินด์'
-
สื่อนอกตีข่าวผู้ต้องหา112 ฟ้อง’SCB-ณพ ณรงค์เดช’ เรียก 5.7 หมื่น ล.ปมขายหุ้นวินด์
-
ศึกสายเลือด'ณรงค์เดช' : พลิกคำพิพากษาศาลอาญา ใครเป็นเจ้าของ'หุ้นวินด์ฯ'หมื่นล.?
-
ฟ้องนัว 9 คดี-รอศาลชี้ขาด! ย้อนศึกสายเลือด‘ณรงค์เดช’ ชิงหุ้น‘วินด์เอนเนอร์ยี่ฯ’หมื่นล.
-
หลังโดนพ่อแท้ๆ แจ้งความ! 'ณพ-คุณหญิงกอแก้ว' ให้ปากคำคดีปลอมเอกสารซื้อขายหุ้นวินด์ฯ แล้ว
-
สดจากครอบครัว'ณรงค์เดช' ในวันที่ พ่อ-ลูก-แม่ยาย แตกหักฟ้องร้องคดี
-
เปิดตัว 3 บ.ฮ่องกง คู่กรณี 'ณพ ณรงค์เดช' ในคดีศึกชิงหุ้น วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ หมื่นล.
-
เปิดธุรกิจหมื่นล. 3 พี่น้องเคพีเอ็นกรุ๊ป ก่อนขับ‘ณพ’พ้นกงสี ปมหุ้น WEH ขุมข่าย 50 บริษัท
-
บ.วินด์ แจง'กรณ์ ณรงค์เดช' ปูดจัดประชุมด่วนช่วงไปตปท.ไม่จริง-ยันให้แสดงความเห็นทุกวาระ