“…บริษัท ทีมเอ โฮลดิ้ง จำกัด มีรายชื่อกรรมการ ได้แก่ 1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ 2.นายสุวัฒน์ เชวงโชติ และ3.นาย อภิชาติ ตั้งเอกจิต และรายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 13 ธ.ค.2561) ได้แก่ 1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ จำนวน 35,999,998 สัดส่วนการถือหุ้น 100.0000% 2.นายสุวัฒน์ เชวงโชติ จำนวน 1 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0000% และ3.นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต จำนวน 1 หุ้น 0.0000%...”
....................................
สืบเนื่องจากกรณีที่เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการ บมจ.สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น (STARK) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า STARK ได้นำส่งงบการเงินสำหรับปี 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2565 โดยผู้บริหารชุดใหม่ของบริษัทฯ ได้ทำการปรับตัวเลขย้อนหลังสำหรับปี 2564 และสำหรับปี 2565 ให้ถูกต้องตามข้อมูลที่มี ณ ปัจจุบัน
ผลปรากฏว่า ในปี 2565 STARK มีผลขาดทุนสุทธิ 6,651 ล้านบาท ส่วนในปี 2564 บริษัทฯมีผลขาดทุนสุทธิ 5,989.3 ล้านบาท (เดิมเมื่อวันที่ 23 ก.พ.2565 บริษัทฯแจ้งว่าในปี 2564 มีกำไรสุทธิ 2,794.9 ล้านบาท) ขณะที่ ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมของ STARK ติดลบ 4,403 ล้านบาท
นอกจากนี้ ใน ‘หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ’ ของ STARK และบริษัทย่อย ‘ผู้สอบบัญชี’ รายงานว่าได้ตรวจสอบพบ ‘รายการผิดปกติ’ จำนวนหลายรายการ ที่มีการแสดงข้อมูลที่ ‘ขัดต่อข้อเท็จจริง’ อันเป็นสาระสำคัญซึ่งมีผลกระทบต่องบการเงินรวมของกลุ่มกิจการ
โดยเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อย 3 แห่ง ของ STARK ได้แก่ 1.บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (เฟ้ลปส์ ดอด์จ) 2.บริษัท อดิสรสงขลา จํากัด (อดิสรสงขลา) และ 3.บริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ไทยเคเบิ้ล)
โดยเฉพาะกรณี เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้สอบบัญชีพบรายการ ‘จ่ายเงินล่วงหน้า’ ค่าสินค้าให้แก่บริษัทคู่ค้าของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จำนวน 3 ราย เป็นจำนวนเงินรวม 10,451 ล้านบาท (คิดเป็น 65% ของยอดซื้อทองแดงและอลูมิเนียมทั้งปี) ซึ่งรายการจ่ายเงินล่วงหน้า ค่าสินค้าดังกล่าวเป็นรายการที่เป็นสาระสำคัญ และเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือน พ.ย.-ธ.ค.2565 โดยปกติแล้ว เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะทำการสั่งซื้อสินค้าจากคู่ค้าโดยการเปิด Letter of Credit (L/C)
โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้า รายการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าสินค้าดังกล่าวเป็นรายการที่ 'ไม่เป็นไปตามปกติ' ของการดำเนินธุรกิจของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ และยังพบว่ามีการจ่ายเงินออกไปจริง แต่มิได้เป็นการจ่ายเงินให้แก่บริษัทคู่ค้าทั้ง 3 ราย
โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นการโอนเงินออกไปให้บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็น 'บริษัทที่เกี่ยวข้องกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่ง' เป็นต้น นั้น (อ่านประกอบ : พบ 14 ‘รายการผิดปกติ’! STARK โชว์งบปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล.-‘ผู้สอบบัญชี’ไม่แสดงความเห็นฯ)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอรายละเอียดล่าสุด (17 มิ.ย.2566) เกี่ยวกับ STARK และบริษัทย่อยทั้ง 3 แห่งที่ปรากฏอยู่ใน 'หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ’ ของ STARK สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และตลาดหลักทรัพย์ฯ สรุปได้ดังนี้
@บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (STARK)
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2546 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 17,375 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 13,406 ล้านบาท แจ้งลักษณะธุรกิจว่า ประกอบธุรกิจ โดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) โดยมีบริษัทย่อยเป็นผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ในการผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล
กรรมการลงชื่อผูกพัน (ข้อมูลล่าสุด ณ 16 มิ.ย.2566)
นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ และนายอภิชาติ ตั้งเอกจิต ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท ข้อจำกัดอำนาจของกรรมการ ไม่มี/
กรรมการบริษัท (แต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 เม.ย.2566)
1.พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ประธานกรรมการบริษัท, กรรมการอิสระ 2.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (รักษาการ), กรรมการ 3.นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต กรรมการ 4.นายอภิวุฒิ ทองคำ กรรมการอิสระ, ประธานกรรมการตรวจสอบ และ 5.นายอรรถพล วัชระไพโรจน์ กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.2566 STRAK แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เมื่อวันที่ 18 และ 19 เม.ย.2566 บริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ 7 ราย ได้แก่ 1.นายชนินทร์ เย็นสุดใจ ประธานกรรมการบริษัท ,2.นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ กรรมการ
3.นายกุศล สังขนันท์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ประธานกรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน 4.นายประกรณ์ เมฆจำเริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่/กรรมการ 5.นายนิรุทธ เจียกวธัญญู กรรมการ
6.นายทรงภพ พลจันทร์ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ ,7. นายนิติ จึงนิจนิรันดร์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
ผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 รายแรก (ข้อมูล ณ 30 ส.ค.2565)
1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ จำนวน 3,196,750,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 26.85%
2.CREDIT SUISSE AG, SINGAPORE BRANCH จำนวน 2,602,064,700 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 21.85%
3.Stark Investment Corporation Limited จำนวน 2,500,000,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 21.00%
4.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 304,109,065 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 2.55%
5.กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว จำนวน 276,185,500 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 2.32%
6.SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวน 202,981,900 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 1.70%
7.MR.Vonnarat Tangkaravakoon จำนวน 175,000,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 1.47%
8.นายณัฐภัทร ศุภนันตฤกษ์ จำนวน 167,153,919 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 1.40%
9.นายนเรศ งามอภิชน จำนวน 153,600,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 1.29%
10.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 128,078,800 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 1.08%
ทั้งนี้ STARK มีการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (%Free Float) ในสัดส่วน 28.84% ของหุ้นทั้งหมด
@บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 15 ก.ค.2553 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 50 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจล่าสุด การขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม (46593) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด นำเข้าตัวแทนจำหน่ายให้เช่าอุปกร์เกี่ยวกับปิโตเลียม
อำนาจกรรมการ
(1) นายวิฑูรย์ สุริยารังสรรค์ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท (2) นายกิจจา คล้ายวิมุติ ลงลายมือชื่อร่วมกับ นายวิฑูรย์ สุริยารังสรรค์ รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายวิฑูรย์ สุริยารังสรรค์ และ 2.นายกิจจา คล้ายวิมุติ
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 30 เม.ย.2566)
1.บริษัท ทีมเอ โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 300,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 60%
2.นายกิจจา คล้ายวิมุติ จำนวน 187,500 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 37.5000%
3.นายประเสริฐ คล้ายวิมุติ จำนวน 12,500 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 2.5000%
@บริษัท ทีมเอ โฮลดิ้ง จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2555 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 360 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจล่าสุด การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่ เพื่อเป็นที่พักอาศัย (68102) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่ เพื่อเป็นที่พักอาศัย
อำนาจกรรมการ
นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ 2.นายสุวัฒน์ เชวงโชติ และ3.นาย อภิชาติ ตั้งเอกจิต
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 13 ธ.ค.2561)
1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ จำนวน 35,999,998 สัดส่วนการถือหุ้น 100.0000%
2.นายสุวัฒน์ เชวงโชติ จำนวน 1 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0000%
3.นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต จำนวน 1 หุ้น 0.0000%
@บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2511 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 1,900 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจล่าสุด การผลิตสายไฟฟ้าและเคเบิลสำหรับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (27320) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด ผลิตและจำหน่ายสายไฟฟ้าที่ทำจากลวดทองแดงและอลูมิเนียม
อำนาจกรรมการ
นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ และนายอภิชาติ ตั้งเอกจิต ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ,2.นายเสรี ยุทธนาวราภรณ์ ,3.นายปกรณ์ สุชีวกุล 4.นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต ,5.นาย อภิวุฒิ ทองคำ และ 6.นายอรรถพล วัชระไพโรจน์
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 22 เม.ย.2565)
1.บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,886,375 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 99.2829%
2.นายกฤดา กาญจนจารี จำนวน 10,754 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.5660%
3.นางสาวปริมล กาญจนจารี จำนวน 1,425 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0750%
4.นางบุษกร กาญจนจารี จำนวน 1,425 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0750%
5.นางเฉลิมพรรณ วีระไวทยะ จำนวน 10 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0005%
6.นายสันติภาพ ศรคุปต์ จำนวน 10 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0005%
7.บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด จำนวน 1 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0001%
@บริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2562 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 307,000,400 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจ การผลิตสายไฟฟ้าและเคเบิลสำหรับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (27320) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด การผลิตสายไฟฟ้าและเคเบิลสำหรับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
อำนาจกรรมการ
นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายเสรี ยุทธนาวราภรณ์ และ2.นาย อภิชาติ ตั้งเอกจิต
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 22 เม.ย.2565)
1.บริษัท เอ็น เอ็ม เอ็น โฮลดิ้ง 2 จำกัด จำนวน 3,069,998 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 99.9998%
2.บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0001%
3.บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด จำนวน 3 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0001%
@บริษัท เอ็น เอ็ม เอ็น โฮลดิ้ง 2 จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 ก.ค.2559 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 701,020,000 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจล่าสุด กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก (64202) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก
อำนาจกรรมการ
นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายเสรี ยุทธนาวราภรณ์ และ2.นาย อภิชาติ ตั้งเอกจิต
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 22 เม.ย.2565)
1.บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด จำนวน 70,098 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 99.9943%
2.บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0029%
3.บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด จำนวน 2 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0029%
@บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด
จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 3 พ.ย.2523 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 110 ล้านบาท แจ้งประเภทธุรกิจล่าสุด กิจกรรมการจัดหาทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ (78300) และแจ้งลักษณะธุรกิจล่าสุด จัดจ้างคนงาน,บริการ,รับจ้างทำของให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์,ขนส่งและอื่นๆ
อำนาจกรรมการ
กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท
รายชื่อกรรมการ
1.นายวิฑูรย์ สุริยารังสรรค์
รายชื่อผู้ถือหุ้น (วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น 22 เม.ย.2565)
1.บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 109,998 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 99.9982%
2.นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ จำนวน 1 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0009%
3.นางปิยะชนก ตั้งคารวคุณ จำนวน 1 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้น 0.0009%
อนึ่ง สำหรับกรรมการและผู้เกี่ยวข้องทั้ง 7 บริษัทดังกล่าว ยังไม่พบว่ามีข้อกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดีจาก 'หน่วยงานกำกับ' ว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมในรายการที่พบความผิดปกติของบริษัทย่อยของ STARK แต่อย่างใด ดังนั้น กรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกราย จึงเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
ทั้งนี้ ล่าสุด STARK ระบุว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษตามขอบเขตที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ขยายผลเพิ่มเติม (extended-scope special audit) และได้ขอสำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อขอขยายระยะเวลา extended-scope special audit ออกไป
ในขณะที่การดำเนินงานของ 'ผู้ตรวจสอบพิเศษ' ระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย.2566 และผู้ตรวจสอบพิเศษได้นำส่งร่างรายงานผลการตรวจสอบให้แก่ STARK ในวันที่ 17 พ.ค.2566 และฝ่ายจัดการได้นำเสนอร่างรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ในวันที่ 23 พ.ค.2566 พบว่า
(ก) มียอดขายที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบพิเศษตรวจพบรายการขายผิดปกติ จำนวน 202รายการ คิดเป็นมูลค่าขาย 8,063 ล้านบาทและ 3,593 ล้านบาท ในปี 2565 และ 2564 ตามลำดับ โดยรายการขายผิดปกติตรวจพบจากการสอบยืนยันยอดที่ถูกต้องกับลูกค้า การตรวจสอบการรับชำระเงิน ลักษณะการจ่ายเงินที่ไม่ปกติ การปลอมแปลงชื่อผู้จ่ายเงิน และการจ่ายเงินจากบัญชีของอดีตเจ้าหน้าที่ของบริษัทแทนลูกค้า
(ข) มียอดสินค้าคงเหลือที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบพิเศษพบว่า ณ วันสิ้นงวด มีรายการสินค้า (stock items) ประกอบด้วย รายการสินค้าระหว่างทำ (WIP) วัตถุดิบ (RM) และสินค้าสำเร็จ (FG) มียอดติดลบในระบบสารสนเทศ (ERP) ของบริษัทจำนวน 3,140 รายการ
(ค) รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ถูกจัดทำอย่างไม่ถูกต้อง ผู้ตรวจสอบพิเศษได้จัดทำรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้จากข้อมูลในระบบ SAP เปรียบเทียบกับรายงาน วิเคราะห์อายุลูกหนี้ที่ทางฝ่ายจัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี พบว่า มีการคำนวณระยะเวลาคงค้าง (outstanding days) ที่แตกต่างกัน
ส่งผลทำให้อายุของลูกหนี้ในทุกระยะเวลา (aging range) ในรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ฉบับที่ฝ่ายจัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี ต่ำกว่าหรือระยะคงค้างน้อยกว่าความเป็นจริง และเมื่อสอบทานย้อนกลับพบว่า ความผิดปกติดังกล่าวได้เกิดขึ้นในทุกไตรมาสของปี 2565 ที่ผ่านมา
(ง) เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (advance payments) ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบบัญชีเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 พบว่า บริษัทได้ทำการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าล่วงหน้า
โดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย ผู้ขายวัตถุดิบในต่างประเทศ (key RM vendor/supplier) ในสกุลเงินบาท เป็นเงินถึง 7,976 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่ผิดปกติเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีตย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน
"ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบร่างรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ฝ่ายจัดการ (ใหม่) จึงได้แจ้งต่อผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อนำผลจากการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ระยะแรกไปแก้ไขปรับปรุงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำงบการเงินประจำปี 2565
โดยฝ่ายจัดการ (ใหม่) ได้ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจสอบบัญชีในการปรับปรุงรายการผิดปกติดังกล่าวทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้งบการเงินประจำปีของบริษัท ทั้งปี 2564 และ 2565 แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและสะท้อนฐานะการเงินและผลประกอบการที่แท้จริง" STARK รายงานสรุปผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) ระยะแรก ให้ตลาดหลักทรัพย์ฯทราบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2566
ทั้งหมดนี้เป็นสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อ ‘ผู้ถือหุ้น-กรรมการ’ และลักษณะการประกอบธุรกิจของ STARK และบริษัทย่อย รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่ ‘ผู้สอบบัญชี’ จะตรวจสอบพบ ‘รายการผิดปกติ’ จำนวน 14 รายการ อันเป็นสาระสำคัญซึ่งมีผลกระทบต่องบการเงินรวมของกลุ่มกิจการ STARK!
อ่านประกอบ :
ก.ล.ต.เตือน‘นักลงทุน’ พิจารณาข้อมูล‘งบการเงิน-ผลตรวจสอบ’ STARK ด้วยความระมัดระวัง
พบ 14 ‘รายการผิดปกติ’! STARK โชว์งบปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล.-‘ผู้สอบบัญชี’ไม่แสดงความเห็นฯ
ก.ล.ต.สั่ง STARK ชี้แจงข้อเท็จจริงปมพิพาทล้มดีลซื้อหุ้น LEONI 2.2 หมื่นล. ภายใน 7 วัน
‘ผู้เสียหาย’บุกร้อง‘ก.ล.ต.’เร่งสอบกรณีหุ้น STARK-‘สอบ.’จี้ออกมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
‘สภาผู้บริโภค’จี้‘ก.ล.ต.’เร่งสอบ-เยียวยากรณีหุ้นกู้ STARK หลังผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ
เจ้าหนี้ STARK เรียกคืน‘เงินต้น-ดบ.’หุ้นกู้ 2 ชุด 2.24 พันล.-ส่อผิดนัดฯอีก 6.95 พันล้าน
'ก.ล.ต.'สั่ง STARK ขยายขอบเขตการตรวจสอบ'เป็นกรณีพิเศษ'-ขีดเส้นชี้แจงข้อเท็จจริงใน 7 วัน
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ STARK ‘เสียงข้างมาก’มีมติ‘ยกเว้นเหตุผิดนัด’หนี้หุ้นกู้ 9.1 พันล.
หวั่นซ้ำรอยEARTH! จับตาที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ STARK ถกความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 9.1 พันล.