"...จากการไต่สวนพยานเอกสารหลักฐาน ป.ป.ช.พบว่า คณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของ พัสดุและราคากลาง ได้กำหนดราคากลางของราคาวัสดุ อุปกรณ์ จำนวน 8 รายการ โดยวิธีการสืบราคาจากตลาดทั้งที่มิได้สืบราคาจากบริษัทหรือผู้ขาย ตามที่ระบุไว้แต่อย่างใด นอกจากนี้ราคากลางที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนด นั้น ยังมีราคาที่แพงหรือสูงกว่าราคาปกติ..."
กรณีปรากฏข่าวที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีมติชี้มูลความผิด นายกองโท ดร.คมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มหาสารคาม และพวกรวม 17 ราย ในคดีการจัดซื้ออุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ตามโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดกรณีโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 เมื่อปี 2563 ในราคาสูงกว่าปกติโดยมิชอบทำให้ราชการได้รับความเสียหายนั้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานไปแล้วว่า
1. ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกชี้มูลความผิดในคดีนี้ แยกเป็น กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐข้าราชการ จำนวน 7 ราย กลุ่มเอกชน จำนวน 10 ราย
2. นายกองโท ดร.คมคาย ให้สัมภาษณ์ยืนยันทางโทรศัพท์สำนักข่าวอิศรา ว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้ เพิ่งทราบข่าวจากสำนักข่าวอิศราเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมา ป.ป.ช.มีการทำหนังสือแจ้งให้ทราบว่า มีการการจัดซื้ออุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ป้องกันโควิดแพง จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายนิติกร อบจ. ทำหนังสือชี้แจงไป จากนั้นก็ไม่ทราบเรื่องอะไรอีกเลย
"เรื่องที่บอกว่า จัดซื้อแพง ก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าแพงกว่ายังไง เพราะขั้นตอนการทำงาน มีเจ้าหน้าที่รายหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด แต่ตอนนี้เขาก็เกษียณไปแล้ว และไม่ได้เข้ามาที่อบจ.อีก"
นายกองโท ดร.คมคาย ยังระบุด้วยว่า "บทบาทหน้าที่ของดิฉันเพียง แค่มอบหมายให้ดำเนินการจัดซื้อของ เนื่องจากในช่วงปี 2563 อบจ.ถูกทางจังหวัดไล่บี้มาอย่างหนัก ว่าต้องเข้ามาช่วยกันดูแลเรื่องปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในพื้นที่ ซึ่งในช่วงเวลานั้น งบประมาณก็ไม่มี ของต่างๆ ก็หายาก เราก็ช่วยเต็มที่ ราคาของที่ได้มาก็ไม่ได้แพงมากนัก หน้ากากอันละ 10 บาท เท่านั้น ส่วนโครงการฯ ที่จัดซื้อไป มีจำนวน 3 โครงการ วงเงินงบประมาณก็ไม่ได้สูงมากนัก ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนทุกอย่าง"
- อบจ.สารคามโดนแล้ว! ป.ป.ช.ชี้มูล 'นายกฯ-ปลัด-พวก 15 ราย' ซื้อยาเวชภัณฑ์สู้โควิดแพง
- เปิดครบ 17 ชื่อ! 'นายกอบจ.สารคาม -พวก' โดนป.ป.ช.ชี้มูล คดีซื้อยาเวชภัณฑ์สู้โควิดแพง
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ ของนายกองโท ดร.คมคาย และพวกรวม 17 ราย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้อกล่าวหา
เป็นกรณีจัดซื้ออุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ตามโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดกรณีโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 เมื่อปี 2563 ในราคาสูงกว่าปกติโดยมิชอบทำให้ราชการได้รับความเสียหาย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิด
กล่าวคือ ในช่วงปีงบประมาณ 2563 อบจ.มหาสารคาม ได้ดำเนินงานโครงการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดกรณีโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19
แต่ปรากฎว่ามิได้ดำเนินการให้ถูกต้อง ในแต่ละขั้นตอนดังนี้
(1) ขั้นตอนการกำหนดราคากลาง
จากการไต่สวนพยานเอกสารหลักฐาน ป.ป.ช.พบว่า คณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของ พัสดุและราคากลาง ได้กำหนดราคากลางของราคาวัสดุ อุปกรณ์ จำนวน 8 รายการ
โดยวิธีการสืบราคาจากตลาด
ทั้งที่มิได้สืบราคาจากบริษัทหรือผู้ขาย ตามที่ระบุไว้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ราคากลางที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนด นั้น ยังมีราคาที่แพงหรือสูงกว่าราคาปกติ
โดยน่าเชื่อว่าราคาดังกล่าว นั้น เป็นราคาที่ได้มีการติดต่อตกลงกับผู้ขายแต่ละรายไว้ตั้งแต่ต้น และจะใช้เป็นราคาจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในราคาดังกล่าว เพื่อไม่ให้สูงเกินกว่าราคากลาง
ซึ่งมีมูลเหตุจูงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจากราคาส่วนต่างที่แพงปกติว่าปกติดังกล่าว
(2) ขั้นตอนการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ป.ป.ช.ไต่สวน พบว่า คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง มิได้ทำการติดต่อและเจรจาต่อรองราคากับผู้ขายแต่ละราย ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 78
แต่กลับร่วมกันลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกต่อรองราคาเพื่อรับรองว่าได้เจรจาต่อรองกับผู้ขาย
ทั้งที่ มิได้มีการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแต่อย่างใด
(3) ขั้นตอนการทำสัญญา
จากการไต่สวนพบว่า ขั้นตอนการทำสัญญาซื้อวัสดุ อุปกรณ์จำนวน 8 รายการ จำนวน 3 ฉบับ ในการจัดทำสัญญาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ จำนวน 3 รายการ จากผู้ขายจำนวน 3 ราย นั้น
ปรากฎว่า วัสดุ อุปกรณ์ แต่ละรายการมีราคาแพงกว่าปกติที่มีการจำหน่ายในตลาดในช่วงเวลาดังกล่าว
(4) ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน
โครงการฯ นี้ อบจ.มหาสารคาม ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ให้แก่ผู้ขายทั้ง 3 ราย โดยจ่ายเป็นเช็ค
แต่ปรากฎว่าในการจ่ายเงินให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ศรีบุรินทร์การเกษตร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้จ่ายเช็คโดยมิได้ให้ผู้รับเช็คลงลายมือชื่อรับเช็คในรายงานการจัดทำเช็ค
ส่วนการจ่ายเงินให้แก่ ร้านมาร์จิ้น เทรดดิ้ง นั้น มิได้ให้นางบุญมนี ธนกิจชัยชนะ เจ้าของร้าน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินลงลายมือชื่อในต้นขั้วเช็ค
สำหรับการจ่ายเงิน ให้แก่บริษัท สยามอินเตอร์กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ได้จ่ายเช็คให้แก่นางจุฑามาศ (ไม่ปรากฎนามสกุล) แล้ว ให้ลงลายมือชื่อในรายงานการจัดทำเช็ค ทั้งที่ นางจุฑามาศ มิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท สยามอินเตอร์กรุ๊ป (ไทยแลนด์)จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นผู้มีสิทธิรับเงินและไม่ปรากฎ เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการมอบอำนาจหรือมอบฉันทะแต่อย่างใด
นอกจากนี้ การจ่ายเช็คทั้ง 3 ฉบับ ยังมิได้ให้ผู้รับเช็คนั้น ลงลายมือชื่อในต้นขั้วเช็ค ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาตไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยน่าเชื่อว่า การไม่ให้ผู้รับเช็คลงลายมือชื่อในต้นขั้วเช็ค และรายงานการจัดทำเช็ค รวมทั้งจ่ายเช็คให้แก่บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าหรือผู้มีสิทธิรับเงิน นั้น มีเจตนาเพื่อเอื้อประโยชน์ ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหารายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ดังกล่าว
เหล่านี้ คือ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของนายกองโท ดร.คมคาย และพวก อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว ที่สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันข้อมูลเป็นทางการ
ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด -19 ของ อบจ. มหาสารคาม นั้น สำนักข่าวอิศรา เคยรายงานไปแล้วว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 'เพจต้องแฉ' เคยออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องราคาการจัดซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสโควิด-19 ที่มีราคาสูงกว่าราคาตามท้องตลาดทั่วไป ขณะที่สำนักข่าวอิศรา ขยายผลการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ในวันที่ 17 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา อบจ.มหาสารคาม ได้ประกาศผลการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด -19 พร้อมกัน 3 สัญญา รวมวงเงินกว่า 7.3 ล้านบาท ส่วนเอกชนผู้จำหน่ายน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตามข้อมูลที่ เพจต้องแฉ นำเสนอ มีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และแจ้งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับคดีนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า การชี้มูลคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นอันสิ้นสุด ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกชี้มูลความผิด ยังมีสิทธิ์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลได้อีก
ส่วนข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ สำนักข่าวอิศรา จะติดตามมานำเสนอ ต่อไป
อ่านข่าวการจัดซื้ออุปกรณ์โควิดอื่นๆ :
อบจ.สระแก้ว
เทศบาลนครตรัง
- เทศบาลฯตรัง ซื้อเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ7.4 หมื่น ชมรมต้านทุจริตจี้สอบอ้างตลาดขาย 2 หมื่น
- ยลโฉมเครื่องพ่นโควิดเทศบาลฯ ตรัง ตัวละ 7.4หมื่น- อิศรา สอบยันราคาเจอขายถูก 6.7 พัน
- โดนบ.ฟ้องดีกว่าป.ป.ช.สอบ! เทศบาลฯ ตรัง สั่งเลิกซื้อเครื่องพ่นโควิดตัวละ 7.4 หมื่นแล้ว
- โชว์บันทึกเทศบาลฯ ตรัง เลิกซื้อเครื่องพ่นโควิดตัวละ 7.4 หมื่น-หลังตรวจรับสินค้า 17 วัน
- เป็นทางการ! เทศบาลฯตรังประกาศเลิกซื้อเครื่องพ่นโควิดตัวละ 7.4 หมื่น -อ้างราคาคลาดเคลื่อน
- อบจ.สมุทรปราการ
- อบจ.ปากน้ำซื้อจริง! แอลกอฮอล์กันโควิด 294 ล.เอกชนรายเดียว-ปลัดแจงทำตามขั้นตอนไม่มีนอกใน
- อบจ.ปากน้ำ ซื้อโดรนกันโควิดอีก 6 ชุด 1.8 ล. อ้างใช้บินพ่นยาพื้นที่สีแดง -ปลัดยันทำถูกต้อง
- สืบราคากลางพร้อมบ.พ่อ! เปิดตัวคู่สัญญาขายโดรนกันโควิด อบจ.ปากน้ำ1.8 ล. ยันสินค้ามีคุณภาพ
- เปิดตัว บ.ขายแอลกอฮอล์โควิด อบจ.ปากน้ำ 296 ล.! เจ้าของยันราคาเหมาะสม-ทำตามขั้นตอนราชการ
- อบจ.สระบุรี
- อบจ.สระบุรี ก็ซื้อ! เครื่องพ่นกันโควิดตัวละ8.5หมื่น-จัดเต็มกล้องตรวจอุณหภูมิ 2 ล้าน
- สั่งเลิกซื้อกล้องตรวจอุณหภูมิ 2 ล้านแล้ว! ปลัดฯ อบจ.สระบุรี แจงจัดหาของกันโควิด 20 ล.โปร่งใส
- เผยโฉม บ.คู่สัญญา อบจ.สระบุรี ซื้อเครื่องวัดไข้-ปรอทกันโควิดล้านเศษ-พนง.แจงสินค้าคุณภาพ
- ยอมรับบกพร่อง! โชว์บันทึก อบจ.สระบุรี เลิกซื้อเครื่องพ่น-กล้องตรวจอุณหภูมิโควิด 2.8 ล.
- จังหวัดภูเก็ต
- เปิดคำชี้แจงบ.เอ็นริชฯ กรณีโบรชัวร์สินค้าโผล่หนังสือเวียนภูเก็ต-อบจ.ฯซื้อแล้ว 4 เครื่อง 2.9 แสน
- ข้อมูลใหม่เครื่องพ่นกันโควิด! 'ภูเก็ต' สั่งซื้อยกจว.-แนบเอกสารชื่อบ.โบรชัวร์สินค้าครบ
- ได้สเปคมาจากสธ.! ท้องถิ่นภูเก็ต รับบกพร่องปล่อยชื่อบ.โผล่หนังสือเวียนซื้อเครื่องพ่นกันโควิด
- เทศบาลหลักหก
- ยื่น ป.ป.ช.แล้ว! 'เชาว์' พาสมาชิกหลักหกร้องสอบบิ๊กเทศบาล-พวก 6 ราย ซื้อเครื่องพ่นกันโควิด
- คืนเงินเทศบาลแล้ว! เปิดตัวผู้ขายเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ 8.5 หมื่น แจงของหายากทำราคาแพง
- โชว์ใบส่งเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ 8.5 หมื่น-ซื้อชุดใส่ด้วย1.7 แสน- เทศบาลหลักหก ยันโปร่งใส
- เผยโฉม 'เครื่องพ่นกันโควิด' เทศบาลหลักหกตัวละ 8.5 หมื่น-ผู้แทนจำหน่ายยันราคาส่งแค่ 1.7 หมื่น
- 'เชาว์' โต้ข้ออ้างกักตัว14 วัน! ยันมีหลักฐาน นายกฯหลักหก เซ็นเช็คซื้อเครื่องพ่นกันโควิดเอง
- ไปกักตัวมา14 วัน ไม่รู้ใครทำ! นายกเทศมนตรีหลักหก เรียกจนท.แจงซื้อเครื่องพ่นกันโควิดแพงเวอร์
- อบจ.ลำพูน
- ไม่เหมือนลำพูน! อบต.ไม้ขาว ซื้อถุงยังชีพโควิค แจกข้าว-ป.กระป๋อง-น้ำปลา 9 พันชุดๆละ465 บ.
- หจก.เชียงใหม่ได้อีก1สัญญา! อบจ.ลำพูน ควัก 1.8 ล.ซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิโควิด 594 ตัว
- พบอีก! อบจ.ลำพูน ซื้อเครื่องพ่นกันโควิด 11 ตัว 1 ล้าน-เจาะจง 2 บ.เชียงใหม่ ขายให้
- ชัดแล้ว! หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา16.3 ล.ได้งานแจกกลุ่มกักตัวตปท.อีก300ชุด-เจ้าของยันโปร่งใส
- เปิดตัว หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา อบจ.ลำพูน 16.3 ล.-นายกฯ ยันสินค้าเหมาะสม-จ่ายเงินหมดแล้ว
- ถุงใบละ55บ.แพงเพราะสติกเกอร์! หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา อบจ.ลำพูน 16.3 ล. ยันรับงานโปร่งใส
- พบ อบจ.ลำพูน ควัก1.6 แสน ซื้อครุภัณฑ์ หจก.กลุ่มขายแคร์เซ็ต16.3 ล.- ลงนามวันเดียวกัน
- ข้อมูลใหม่! อบจ.ลำพูน ซื้อแคร์เซ็ตช่วยโควิดแจกกลุ่มคนมาจากตปท.ด้วย 300 ชุดๆ ละ 566 บ.
- รองผู้ว่าฯ ลำพูน ยกทีมสอบปากคำซื้อแคร์เซ็ต16.3 ล.-นายกฯ อบจ. ยันไม่ถอดใจพร้อมชี้แจง
- เอ็กซ์คลูซีฟ : ผลสอบแคร์เซ็ตอบจ.ลำพูน แพงเกินจริง 7 ล.-ผู้ว่าฯ โวยเจอยัดไส้รายงานประชุม