"...ในบันทึกข้อความของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ระบุว่า หากเทศบาลนครตรัง มีการจัดซื้อเครื่องฉีดพ่นฝอยละอองในเขตเทศบาล อาจจะไม่สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับคณะกรรมการราคากลางและรายละเอียดคุณลักษณะเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง ได้รายงานท้วงติงในเรื่องราคาที่อาจจะสูงเกินจริง ซึ่งได้ทราบในภายหลัง เนื่องจากได้ไปสืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ พบว่า มีเครื่องรุ่นเดียวกันราคาต่ำกว่าที่ได้มีการจัดซื้อ แต่ต้องจัดซื้อเครื่องพ่นฯ ดังกล่าว โดยจัดซื้อแยกส่วนระหว่างเครื่องพ่นกับหัวฉีดฝอยละออง และไม่มีใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์หรือเอกสารที่แสดงค่า VMD ที่ออกโดยหน่วยงานราชการหรือบริษัทผู้ผลิตคณะกรรมการฯ จึงขอท้วงติงให้มีการพิจารณายกเลิกการจัดซื้อครั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ..."
"ผมสั่งยกเลิกเป็นทางการไปแล้วตั้งแต่ช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จำวันที่ไม่ได้ชัดเจน เพราะเอกสารไม่อยู่ในมือ พอเมื่อวานเห็นข่าวที่อิศรานำเสนอ ได้เรียกเจ้าหน้าที่มาสอบถามแล้ว ได้รับแจ้งว่า อยู่ระหว่างขั้นตอนของฝ่ายการคลังในการทำเรื่องยกเลิกอยู่ จึงได้สั่งการย้ำไปแล้วว่า ให้เร่งดำเนินการให้เรียบร้อย"
"ส่วนเรื่องเงินค่าสินค้า ถ้ามีปัญหาอะไรกับเอกชนผู้ขาย ก็ค่อยไปทำเรื่องฟ้องคดีกันในภายหลัง เพราะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมพูดตรงๆ ว่า ถ้าให้เลือกระหว่างการมีปัญหาถูกเอกชนฟ้องร้อง กับถูกสอบสวนจาก ป.ป.ช. ผมยอมให้เอกชนฟ้องร้องดีกว่า เพราะถ้าแพ้เรา ก็แค่จ่ายเงินให้เขา ถ้าชนะเราก็ไม่ต้องจ่ายเงิน "
คือ คำยืนยันจาก นายวัลลภ ช่วยบำรุง ปลัดเทศบาลนครตรัง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศบาลนครตรัง ที่ให้กับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ต่อประเด็นการตรวจสอบกรณีเทศบาลนครตรัง จัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULV) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 370,000 บาท เฉลี่ยเครื่องละ 74,000 บาท ขณะที่ราคาขายสินค้าชนิดนี้ ในท้องตลาดมีเอกชนบางรายประกาศขายอยู่ที่ราคาเครื่อง 6,700 บาท หรือ 9,000 บาทเท่านั้น ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้ว
(อ่านประกอบ : เทศบาลฯตรัง ซื้อเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ7.4 หมื่น ชมรมต้านทุจริตจี้สอบอ้างตลาดขาย 2 หมื่น, ยลโฉมเครื่องพ่นโควิดเทศบาลฯ ตรัง ตัวละ 7.4หมื่น- อิศรา สอบยันราคาเจอขายถูก 6.7 พัน, โดนบ.ฟ้องดีกว่าป.ป.ช.สอบ! เทศบาลฯ ตรัง สั่งเลิกซื้อเครื่องพ่นโควิดตัวละ 7.4 หมื่นแล้ว)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รับมอบเอกสารยืนยันการออกคำสั่งยกเลิกการจัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULV) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 370,000 บาท เฉลี่ยเครื่องละ 74,000 บาท ดังกล่าวจากเทศบาลนครตรัง เป็นบันทึกข้อความจำนวน 2 ฉบับ
ฉบับแรก เป็นบันทึกข้อความที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางและกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ ทำถึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULY) ลงวันที่ 24 เม.ย.2563 (ไม่ได้ระบุเลขหนังสือ)
ฉบับสอง เป็นบันทึกข้อความที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ทำถึงปลัดเทศบาลนครตรัง เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULY) เลขที่ ตง 52010.01/ค16 ลงวันที่ 27 เม.ย.2563
ทั้งนี้ ในบันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ ระบุเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับการขอให้พิจารณายกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULY)ว่า ตามที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการจัดซื้อสินค้าชนิดนี้ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพนครตรัง ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการราคากลางและรายละเอียดคุณลักษณะเครื่อง เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2563 จากนั้นได้เริ่มดำเนินขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเรื่อยมาจนได้ทำสัญญาจัดซื้อกับ ร้านเฮงมีพาณิชย์ เลขที่สัญญา 20/2563 เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2563 และได้มีการส่งมอบสินค้าเมื่อวันที่ 2 เม.ย.2563 และมีการตรวจรับสินค้าเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2563
ต่อมาจังหวัดตรังได้ส่งหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ตง 0023.3/ว195 แจ้งแนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล และตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขที่แนะนำไม่ควรฉีดพ่นฝอยละอองเพื่อทำความสะอาดจะทำให้เชื้อฟุ้งกระจาย เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีปัญหากับเรื่องราคาสินค้าที่อาจสูงเกินจริง
โดยในบันทึกข้อความของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ระบุว่า หากเทศบาลนครตรัง มีการจัดซื้อเครื่องฉีดพ่นฝอยละอองในเขตเทศบาล อาจจะไม่สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับคณะกรรมการราคากลางและรายละเอียดคุณลักษณะเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง ได้รายงานท้วงติงในเรื่องราคาที่อาจจะสูงเกินจริง ซึ่งได้ทราบในภายหลัง เนื่องจากได้ไปสืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ พบว่า มีเครื่องรุ่นเดียวกันราคาต่ำกว่าที่ได้มีการจัดซื้อ แต่ต้องจัดซื้อเครื่องพ่นฯ ดังกล่าว โดยจัดซื้อแยกส่วนระหว่างเครื่องพ่นกับหัวฉีดฝอยละออง และไม่มีใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์หรือเอกสารที่แสดงค่า VMD ที่ออกโดยหน่วยงานราชการหรือบริษัทผู้ผลิตคณะกรรมการฯ จึงขอท้วงติงให้มีการพิจารณายกเลิกการจัดซื้อครั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
โดยการเสนอเรื่องยกเลิกการจัดซื้อสินค้าของบันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ อ้างอำนาจตามมาตรา 103 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงต่อไปนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา
(1) เหตุตามที่กฎหมายกําหนด
(2) เหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือทํางานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด
(3) เหตุอื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือในสัญญาหรือข้อตกลง
(4) เหตุอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด
การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้มีอํานาจพิจารณาได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐโดยตรงหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยงานของรัฐในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
ฉบับแรก คณะกรรมการกำหนดราคากลางและกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ ทำถึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
ฉบับสอง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ทำถึงปลัดเทศบาลนครตรัง
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า จากการตรวจสอบบันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ พบข้อน่าสังเกต 4 ประเด็น ดังนี้
1. บันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ ไม่มีตราประทับลงเลขทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ ในหน่วยงาน ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน
2. บันทึกข้อความที่ คณะกรรมการกำหนดราคากลางและกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ ทำถึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ลงวันที่ 24 เม.ย.2563 ไม่มีการระบุเลขที่หนังสือไว้แต่อย่างใด ทั้งที่ เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน
3. ช่วงเวลาที่ระบุไว้ในการทำบันทึกทั้ง 2 ฉบับ ถ้านับจากบันทึกข้อความฉบับสอง ที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางและกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ ทำถึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ลงวันที่ 24 เม.ย.2563 กับวันเวลาที่มีการตรวจรับสินค้าเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2563 จะพบว่ามีระยะเวลาห่างกันประมาณ 17 วัน
แต่ถ้าหากนับระยะเวลาตั้งแต่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการราคากลางและรายละเอียดคุณลักษณะเครื่อง เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2563 จะพบว่ามีระยะเวลาห่างกันถึง 30 วัน
ก่อนที่คณะกรรมการราคากลางและรายละเอียดคุณลักษณะเครื่อง จะไปสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์จนพบว่า มีเครื่องรุ่นเดียวกันราคาต่ำกว่าที่ได้มีการจัดซื้อ และไม่มีใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์หรือเอกสารที่แสดงค่า VMD ที่ออกโดยหน่วยงานราชการหรือบริษัทผู้ผลิตคณะกรรมการฯ พร้อมเสนอให้มีการพิจารณายกเลิกการจัดซื้อครั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการดังกล่าว
4. จากการตรวจสอบพบว่า จังหวัดตรัง ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด แจ้งเวียนแนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ถ้านับระยะเวลาจากบันทึกข้อความฉบับสอง ที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางและกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ ทำถึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ลงวันที่ 27 เม.ย.2563 ระยะเวลาจะห่างกันประมาณ 10 วัน (ดูเอกสารประกอบท้ายเรื่อง)
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลประกอบคำชี้แจงของเทศบาลนครตรัง และข้อสังเกตของสำนักข่าวอิศรา ต่อกรณีการจัดซื้อเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละออง (ULV) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 370,000 บาท เฉลี่ยเครื่องละ 74,000 บาท ที่มีการประกาศยกเลิกการจัดซื้อไปแล้ว
(ดูฉบับเต็มที่นี่ http://dn.core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_218975_1.pdf)
อ่านประกอบ :
เทศบาลนครตรัง
เทศบาลฯตรัง ซื้อเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ7.4 หมื่น ชมรมต้านทุจริตจี้สอบอ้างตลาดขาย 2 หมื่น
ยลโฉมเครื่องพ่นโควิดเทศบาลฯ ตรัง ตัวละ 7.4หมื่น- อิศรา สอบยันราคาเจอขายถูก 6.7 พัน
โดนบ.ฟ้องดีกว่าป.ป.ช.สอบ! เทศบาลฯ ตรัง สั่งเลิกซื้อเครื่องพ่นโควิดตัวละ 7.4 หมื่นแล้ว
อบจ.สมุทรปราการ
อบจ.ปากน้ำซื้อจริง! แอลกอฮอล์กันโควิด 294 ล.เอกชนรายเดียว-ปลัดแจงทำตามขั้นตอนไม่มีนอกใน
อบจ.ปากน้ำ ซื้อโดรนกันโควิดอีก 6 ชุด 1.8 ล. อ้างใช้บินพ่นยาพื้นที่สีแดง -ปลัดยันทำถูกต้อง
สืบราคากลางพร้อมบ.พ่อ! เปิดตัวคู่สัญญาขายโดรนกันโควิด อบจ.ปากน้ำ1.8 ล. ยันสินค้ามีคุณภาพ
เปิดตัว บ.ขายแอลกอฮอล์โควิด อบจ.ปากน้ำ 296 ล.! เจ้าของยันราคาเหมาะสม-ทำตามขั้นตอนราชการ
อบจ.สระบุรี
อบจ.สระบุรี ก็ซื้อ! เครื่องพ่นกันโควิดตัวละ8.5หมื่น-จัดเต็มกล้องตรวจอุณหภูมิ 2 ล้าน
สั่งเลิกซื้อกล้องตรวจอุณหภูมิ 2 ล้านแล้ว! ปลัดฯ อบจ.สระบุรี แจงจัดหาของกันโควิด 20 ล.โปร่งใส
เผยโฉม บ.คู่สัญญา อบจ.สระบุรี ซื้อเครื่องวัดไข้-ปรอทกันโควิดล้านเศษ-พนง.แจงสินค้าคุณภาพ
ยอมรับบกพร่อง! โชว์บันทึก อบจ.สระบุรี เลิกซื้อเครื่องพ่น-กล้องตรวจอุณหภูมิโควิด 2.8 ล.
จังหวัดภูเก็ต
เปิดคำชี้แจงบ.เอ็นริชฯ กรณีโบรชัวร์สินค้าโผล่หนังสือเวียนภูเก็ต-อบจ.ฯซื้อแล้ว 4 เครื่อง 2.9 แสน
ข้อมูลใหม่เครื่องพ่นกันโควิด! 'ภูเก็ต' สั่งซื้อยกจว.-แนบเอกสารชื่อบ.โบรชัวร์สินค้าครบ
ได้สเปคมาจากสธ.! ท้องถิ่นภูเก็ต รับบกพร่องปล่อยชื่อบ.โผล่หนังสือเวียนซื้อเครื่องพ่นกันโควิด
เทศบาลหลักหก
ยื่น ป.ป.ช.แล้ว! 'เชาว์' พาสมาชิกหลักหกร้องสอบบิ๊กเทศบาล-พวก 6 ราย ซื้อเครื่องพ่นกันโควิด
คืนเงินเทศบาลแล้ว! เปิดตัวผู้ขายเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ 8.5 หมื่น แจงของหายากทำราคาแพง
โชว์ใบส่งเครื่องพ่นกันโควิดตัวละ 8.5 หมื่น-ซื้อชุดใส่ด้วย1.7 แสน- เทศบาลหลักหก ยันโปร่งใส
เผยโฉม 'เครื่องพ่นกันโควิด' เทศบาลหลักหกตัวละ 8.5 หมื่น-ผู้แทนจำหน่ายยันราคาส่งแค่ 1.7 หมื่น
'เชาว์' โต้ข้ออ้างกักตัว14 วัน! ยันมีหลักฐาน นายกฯหลักหก เซ็นเช็คซื้อเครื่องพ่นกันโควิดเอง
ไปกักตัวมา14 วัน ไม่รู้ใครทำ! นายกเทศมนตรีหลักหก เรียกจนท.แจงซื้อเครื่องพ่นกันโควิดแพงเวอร์
อบจ.ลำพูน
ไม่เหมือนลำพูน! อบต.ไม้ขาว ซื้อถุงยังชีพโควิค แจกข้าว-ป.กระป๋อง-น้ำปลา 9 พันชุดๆละ465 บ.
หจก.เชียงใหม่ได้อีก1สัญญา! อบจ.ลำพูน ควัก 1.8 ล.ซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิโควิด 594 ตัว
พบอีก! อบจ.ลำพูน ซื้อเครื่องพ่นกันโควิด 11 ตัว 1 ล้าน-เจาะจง 2 บ.เชียงใหม่ ขายให้
ชัดแล้ว! หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา16.3 ล.ได้งานแจกกลุ่มกักตัวตปท.อีก300ชุด-เจ้าของยันโปร่งใส
เปิดตัว หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา อบจ.ลำพูน 16.3 ล.-นายกฯ ยันสินค้าเหมาะสม-จ่ายเงินหมดแล้ว
ถุงใบละ55บ.แพงเพราะสติกเกอร์! หจก.ขายแคร์เซ็ตคนชรา อบจ.ลำพูน 16.3 ล. ยันรับงานโปร่งใส
พบ อบจ.ลำพูน ควัก1.6 แสน ซื้อครุภัณฑ์ หจก.กลุ่มขายแคร์เซ็ต16.3 ล.- ลงนามวันเดียวกัน
ข้อมูลใหม่! อบจ.ลำพูน ซื้อแคร์เซ็ตช่วยโควิดแจกกลุ่มคนมาจากตปท.ด้วย 300 ชุดๆ ละ 566 บ.
รองผู้ว่าฯ ลำพูน ยกทีมสอบปากคำซื้อแคร์เซ็ต16.3 ล.-นายกฯ อบจ. ยันไม่ถอดใจพร้อมชี้แจง
เอ็กซ์คลูซีฟ : ผลสอบแคร์เซ็ตอบจ.ลำพูน แพงเกินจริง 7 ล.-ผู้ว่าฯ โวยเจอยัดไส้รายงานประชุม
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage