"...การเปิดเผยข้อมูลทั้งในชั้นการพิจารณาของเจ้าหน้าที่และของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เมื่อพิเคราะห์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ข้อมูลข่าวสารทั้งสาม รายการจึงเปิดเผยได้..."
จากกรณี ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยข้อมูลคดียืมนาฬิกาหรูและแหวนเพชร จำนวน 3 รายการได้แก่ 1.รายการการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมดในคดียืมนาฬิกาหรูและแหวนเพชรของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี 2.ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ทุกคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ 3.รายงานการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
โดยคดีนี้ นายวีระ สมความคิด เป็นผู้ฟ้องคดี สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1 และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในกรณีกล่าวหาว่า สำนักงาน ป.ป.ช.ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ภายหลังคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ มีคำวินิจฉัยให้สำนักงาน ป.ป.ช.เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คดีกล่าวหา พล.อ.ประวิตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือไม่ หรือที่รู้จักกันในคดี “แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน” โดยให้เปิดเผย 3 รายการ ได้แก่ 1.รายการการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด 2.ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ทุกคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ 3.รายงานการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่สำนักงาน ป.ป.ช.เพิกเฉย นายวีระ จึงนำคดีนี้มาฟ้อง
เบื้องต้น ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 รายการที่ 2 เฉพาะความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอ ประกอบการพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และรายการที่ 3 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ตามคําวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการ บังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562
ก่อนที่ ศาลปกครองสูงสุด จะมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งสามรายการ ตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 แก่ผู้ฟ้องคดี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคําพิพากษา
ตามรายละเอียดข่าวที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
เพื่อให้สาธารณชน รับทราบข้อมูลคำพิพากษาคดีนี้มากขึ้น สำนักข่าวอิศรา จึงนำคำพิพากษาฉบับเต็ม ในส่วนคำวินิจฉัยของ ศาลปกครองสูงสุด ว่าทำไมถึงพิพากษาให้ ป.ป.ชเปิดเผยข้อมูลจำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1.รายการการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมดในคดียืมนาฬิกาหรูและแหวนเพชรของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี 2.ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ทุกคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ 3.รายงานการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังกล่าว
ปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดไม่จัดให้มีการนั่งพิจารณาคดี คู่กรณีไม่ได้ยื่นคําแถลงเป็น หนังสือ และไม่ได้แจ้งความประสงค์ให้ศาลจัดให้มีการนั่งพิจารณาคดี ศาลได้รับฟังสรุป ข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสํานวน และคําชี้แจงด้วยวาจาประกอบคําแถลงการณ์เป็นหนังสือ ของตุลาการผู้แถลงคดี
ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณาพยานหลักฐานในคําฟ้อง คําให้การ คําอุทธรณ์และคําแก้อุทธรณ์แล้ว
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ขอให้ ดําเนินการไต่สวนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กรณีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน อันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยไม่แสดงว่ามีนาฬิกาข้อมือและ แหวนประดับมีค่าหลายรายการ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีทราบว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีมติไม่รับเรื่อง ดังกล่าวไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง จึงมีหนังสือขอข้อมูลข่าวสารของราชการเกี่ยวกับสํานวนการไต่สวน ข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจํานวน 3 รายการ คือ 1. รายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด 2. ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบ ในเรื่องกล่าวหาดังกล่าว และ 3. รายงานการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่เกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาแล้วมีมติไม่ให้เปิดเผยรายงานการประชุมและ บันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเห็นว่า เป็นความเห็นหรือคําแนะนําภายในหน่วยงานของรัฐในการดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันเป็น ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทั้งยังอยู่ระหว่างการดําเนินการตรวจสอบเรื่องกล่าวหาพลเอก ประวิตรว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้ และเรื่องกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งต้องห้ามไม่ให้เปิดเผยตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จึงเป็นข้อมูลข่าวสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคําสั่งมิให้เปิดเผยได้ ตามมาตรา 15 พ.ศ. 2561 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์ คําสั่งที่ไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย ได้มีคําวินิจฉัย ที่ สค 333/2562 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งสามรายการดังกล่าวแก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ไป ติดต่อขอรับจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ได้รับแจ้งว่าต้องรอไปก่อน เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีมติให้ข้อมูลบางรายการแต่ต้องปกปิดบางส่วน และข้อมูลบางรายการต้องขออนุญาตจากพยานเสียก่อน หากได้รับอนุญาตจากพยานแล้วจะแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ซึ่งไม่ทราบว่าจะให้ ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้เมื่อใด
ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือถึงคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการ ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้ปฏิบัติตามคําวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งผู้อํานวยการสํานักงาน คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีว่าได้มีหนังสือแจ้งไปยัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ขอให้เร่งรัดการปฏิบัติตามคําวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการทั้งสามรายการดังกล่าวแก่ผู้ฟ้องคดี
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 รายการที่ 2 เฉพาะความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอประกอบการพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และรายการที่ 3 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหาร ราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ คดีถึงที่สุด ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เห็นด้วยกับคําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นจึงอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เปิดเผยพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อํานาจตาม กฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว..... มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคําสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายหรือความเหมาะสมของการทําคําสั่งทางปกครอง และอาจมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งทางปกครอง เติมหรือเปลี่ยนแปลงค่าสั่งนั้นไปในทางใด...
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้... “ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะ เป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการ สังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบ วิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ...
มาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า นอกจาก ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วหรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคําขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ ผู้นั้นขอจํานวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
มาตรา 15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคําสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคํานึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน....
(2) การเปิดเผยจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคําแนะนํา ภายในหน่วยงานของรัฐในการดําเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการรายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นํามาใช้ในการทําความเห็นหรือคําแนะนําภายใน ดังกล่าว
(4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด...(6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย... วรรคสอง บัญญัติว่า คําสั่ง มิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกําหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่า ที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคําสั่ง เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลําดับสายการบังคับบัญชา แต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ ตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 18 บัญญัติว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคําสั่งมิให้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 35... ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งนั้น โดยยื่น คําอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ มาตรา 35 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของ คณะกรรมการ มีอํานาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม
มาตรา 14 หรือมาตรา 15... มาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติว่า คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่สุด..... พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เลขาธิการ และข้าราชการ ในสังกัดสํานักงาน และให้หมายความรวมถึงข้าราชการหรือพนักงานซึ่งมาช่วยราชการ ในสํานักงานซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้ “ไต่สวน” หมายความว่า การแสวงหา รวบรวม และการดําเนินการอื่นใด เพื่อให้ ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
มาตรา 141 บัญญัติว่า ให้มีสํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “สํานักงาน ป.ป.ช.” เป็นส่วนราชการและ มีฐานะเป็นนิติบุคคล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาตรา 142 บัญญัติว่า สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบงานธุรการ และดําเนินการเพื่อให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. บรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายอื่น....จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นองค์กรอิสระ มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ทําหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและรับผิดชอบ งานธุรการให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เมื่อข้อมูลข่าวสารที่ผู้ฟ้องคดีขอ คือ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหาพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบโดยไม่แสดงว่ามีนาฬิกาข้อมือและแหวนประดับมีค่าหลายรายการ โดยขอข้อมูลข่าวสารจํานวน 3 รายการ คือ 1. รายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด 2. ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบในเรื่องกล่าวหาดังกล่าว และ รายงานการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอให้ เปิดเผย เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว จึงเป็นข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมืองว่ามีการจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดง รายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน หรือไม่ และ อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ
ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งให้เปิดหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จึงเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคําสั่งทางปกครองตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
เมื่อข้อมูลข่าวสารของราชการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้เปิดเผย ไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารที ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องนําลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หรือที่ต้องจัดให้มีไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการที่ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นคําขอให้ เปิดเผยตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหน้าที่ต้องจัดหา ข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้ฟ้องคดีจะขอจํานวนมากหรือ บ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลข่าวสารนั้นเข้าลักษณะเป็นข้อมูล ข่าวสารของราชการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และ เมื่อคํานึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และ ประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อาจมีคําสั่งไม่ให้เปิดเผย ข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้ โดยมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น ดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลําดับสายการบังคับบัญชา ซึ่งหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ผู้ฟ้องคดีย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามมาตรา 15 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอํานาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และอาจวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ โดยคํานึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์ สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ทั้งนี้ ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
ในการนี้คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในฐานะเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาอุทธรณ์ ย่อมมีอำนาจพิจารณาทบทวน คําสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือ ความเหมาะสมของการทําคําสั่งทางปกครอง และอาจมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งทางปกครองเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคําสั่งนั้นไปในทางใดก็ได้ ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เมื่อคดีนี้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีกล่าวหาพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง ให้ทราบเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีมติไม่รับเรื่องไว้ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
ส่วนกรณีการกล่าวหา อีก 2 เรื่อง ได้แก่ กรณีกล่าวหาว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคํานวณเป็นเงินได้ และกรณีกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ แม้จะอยู่ในระหว่าง การแสวงหาข้อเท็จจริง แต่เป็นคนละมูลกรณีกันกับการกล่าวหากรณีนี้ ซึ่งกระบวนการแสวงหา ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในแต่ละคดีรวมทั้งการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานย่อมมี ความแตกต่างกัน ไม่ได้จํากัดเฉพาะพยานหลักฐานในสํานวนเรื่องนี้เท่านั้น
การเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการไต่สวนซึ่งได้ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้วย่อมไม่เป็นอุปสรรคต่อการไต่สวน ข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. หรือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อันจะทําให้การบังคับใช้กฎหมาย เสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และข้อมูลข่าวสารตามที่ผู้ฟ้องคดีขอ ก็เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นํามาใช้พิจารณา คําวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มิใช่มีลักษณะเป็นความเห็นหรือคําแนะนําภายในหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาวินิจฉัยเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ ป.ป.ช. แต่ละท่าน
การเปิดเผยข้อมูลทั้งในชั้นการพิจารณาของเจ้าหน้าที่และของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เมื่อพิเคราะห์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ข้อมูลข่าวสารทั้งสาม รายการจึงเปิดเผยได้ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคําวินิจฉัยที่ สค 333/2562 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามคําขอของผู้ฟ้องคดี คําวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 37 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีผลผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ ที่ต้องปฏิบัติตามคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจพิจารณาอุทธรณ์
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคําขอให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ อุทธรณ์ของ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ต้องปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จึงฟังไม่ขึ้น
สําหรับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ว่า แม้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารจะได้มีคําวินิจฉัยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ฟ้องคดีก็ตาม แต่การดําเนินการดังกล่าวต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 36 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ และตราขึ้นภายหลังจากที่พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ใช้บังคับแล้ว เมื่อมีบทบัญญัติขัดกัน ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาภายหลัง นั้น
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 215 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า องค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นให้มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 36 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พนักงานเจ้าหน้าที่ และบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใด จะเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะของบุคคลบรรดาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่มิได้ มาตรา 58 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ให้สํานักงาน แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ และให้เปิดเผยเหตุผลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นกรณีการดําเนินการสอบสวนตามมาตรา 88
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 แล้ว จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวได้กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อห้ามบางประการในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจาก การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไว้ อันถือได้ว่าเป็นกรณีของข้อมูลข่าวสารที่มีกฎหมาย คุ้มครองมิให้เปิดเผย ซึ่งมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 ก็บัญญัติให้อํานาจเจ้าหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้เว้นแต่เมื่อคํานึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว เจ้าหน้าที่เห็นว่าควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว โดยบัญญัติให้เป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลําดับสายการ บังคับบัญชา และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จะมีคําสั่งและคําวินิจฉัย ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้
ดังนั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ได้ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพียงแต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารใช้ดุลพินิจมีคําสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารในบางกรณีที่กฎหมายเฉพาะไม่ได้ กําหนดไว้ได้ เมื่อได้ชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบกันแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ กฎหมายทั้งสองฉบับขัดแย้งกันที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ หรือเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นภายหลัง
เนื่องจากแม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและเป็นหน่วยงานอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้นให้มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีหน้าที่ ตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือกฎหมายอื่น รวมถึงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น
สําหรับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ว่า หากเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม คําขอของผู้ฟ้องคดีแล้ว ผู้เปิดเผยจะมีโทษตามมาตรา 180 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 20 บัญญัติว่า การเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารใดแม้จะเข้าข่ายต้องมีความรับผิดตามกฎหมายใด ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ต้องรับผิดหากเป็นการกระทําโดยสุจริตในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดําเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบตามมาตรา 16... พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 36 วรรคสาม บัญญัติว่า ห้ามมิให้มีการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลรายงานและสํานวนการตรวจสอบ การสอบสวน การไต่สวน หรือการไต่สวนเบื้องต้น รวมทั้งบรรดาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ สอบสวน ไต่สวน หรือไต่สวนเบื้องต้นที่อยู่ระหว่างการดําเนินการจนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้พิจารณาและมีมติในเรื่องดังกล่าวแล้ว เว้นแต่จะเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการไต่สวน หรือไต่สวนเบื้องต้น ทั้งนี้ ให้ถือว่าเป็นความลับของทางราชการ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดเปิดเผยข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ต้องระวาง โทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ตามมาตรา 36 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 24 กําหนดว่า ข้อมูลข่าวสารลับที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคําวินิจฉัยให้เปิดเผยโดยไม่มีข้อจํากัดหรือเงื่อนไขใด ให้ถือว่าข้อมูลข่าวสารนั้นถูกยกเลิกชั้นความลับแล้ว เว้นแต่มีการฟ้องคดีต่อศาลและศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาเป็นอย่างอื่น คดีนี้ เมื่อการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารตามคําขอของผู้ฟ้องคดี เป็นการเปิดเผยข้อมูลหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องดังกล่าวแล้วว่าไม่รับเรื่องไว้ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ประกอบกับ กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคําวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีข้อจํากัดหรือเงื่อนไข อันมีผลให้ข้อมูลข่าวสารนั้นถูกยกเลิก ชั้นความลับแล้วตามข้อ 24 ของระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2554 ซึ่งหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยสุจริตและถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว ก็ไม่ต้องมีความรับผิดและมีโทษตามกฎหมายใด ๆ รวมถึงมาตรา 180 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 อุทธรณ์ข้อนี้ ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ส่วนอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่อ้างคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง อร. 24/2564 มาเทียบเคียงนั้น เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวได้ขอ ข้อมูลข่าวสารของราชการในขณะที่การไต่สวนยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลเห็นว่า หากเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอแล้ว จะทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจ สําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีดุลพินิจที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้ ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ได้ขอข้อมูลข่าวสารเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาและมีมติแล้วว่า ไม่รับเรื่องไว้ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว จึงเป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงต่างกัน อุทธรณ์ของ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่อาจรับฟังได้
@ วีระ สมความคิด
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 รายการที่ 2 เฉพาะความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอ ประกอบการพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และรายการที่ 3 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ตามคําวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการ บังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่คดีถึงที่สุด นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยบางส่วน
พิพากษาแก้คําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งสามรายการ ตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 แก่ผู้ฟ้องคดี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคําพิพากษา
***********
ส่วนรายละเอียดข้อมูลคดีทั้ง 3 รายการ เมื่อได้รับมาแล้ว นายวีระ สมความคิด จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นทางการเมื่อไหร่
ต้องคอยติดตามดูกันต่อไปแบบห้ามกระพริบตาโดยเด็ดขาด