นอกเหนือจากอินโดนีเซียแล้ว อีกประเทศซึ่งก็คือประเทศไทยเองก็เพิ่งจะมีการพัฒนาวัคซีนแบบ mRNA ของตัวเองเช่นกัน ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วนั้นจุดแข็งในเรื่องของการรับมือโควิดที่สำคัญก็คือวาประเทศไทยมีการสื่อสารทางด้านสาธารณสุขที่ค่อนข้างดีในช่วงที่เกิดโรคระบาด และมีระบบสาธารณสุขที่มีความแข็งแกร่ง
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือไวรัสโคโรน่าไวรัสล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีการใช้คำพูดว่าซุปของโควิดสายพันธุ์ต่างๆกันมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับความเห็นที่ว่าในฤดูหนาวที่จะมาถึงนั้น จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 อาจจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
แต่ว่าทางสำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียได้ออกรายงานฉบับหนึ่งซึ่งวิเคราะห์ถึงการเกิดขึ้นของซุปของสายพันธุ์โควิดเหล่านี้ โดยระบุสาระสำคัญว่ามันอาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้เอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ทางการออสเตรเลียได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการระบาดของไวคัสโควิด-19 ในระลอกที 4 โดยการระบาดที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าซุปรวมของโควิดหลายสายพันธุ์ หรือที่เรียกกันว่า COVID variant soup
โดย นพ. Sanjaya Senanayake จาก Australian National University Medical School กล่าวถึงซุปรวมโควิดนี้ว่าเป็นส่วนผสมของสายพันธุ์ย่อยต่างๆที่มีลักษณะเป็นสายพันธุ์ที่สามารถครองส่วนแบ่งการระบาดได้สูงสุด ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนี้จะยังเป็นโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา และสิ่งที่แน่นอนก็คือว่าการมาถึงของซุปรวมโควิดจะทำให้เราเห็นการป่วยเพิ่มมากขึ้น
“แต่เนื่องจากว่าเรามีภูมิคุ้มกันแบบผสมแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราจะเห็นก็คือว่าคลื่นการระบาดในระยะสั้น ที่พุ่งสูงขึ้นทั้งในแง่จำนวนผู้ป่วยและผู้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล” นพ. Senanayake กล่าว
ขณะที่วารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อว่า Nature ระบุว่าการเกิดขึ้นของฝูงของสายพันธุ์โควิด หรือที่เรียกว่าซุปของสายพันธุ์โควิดนั้นจะส่งผลทำให้คลื่นของการระบาดเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดามากยิ่งขึ้นไปอีก
โดยในปัจจุบันนั้นสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันออกไป เช่นสิงคโปร์ซึ่งเพิ่งจะอยู่ในขาลงของคลื่นการระบาดของโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ที่ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีแนวโน้มว่าจะมีการระบาดพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนนั้นพบว่ามีตัวเลขผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ ส่วนหลายประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกนั้นมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิดที่น้อยมากไปจนถึงไม่มีเลย
อย่างไรก็ตาม ทางด้านของ พญ.เมรู ชีล กวิจัยด้านสุขภาพระดับโลกจากคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าววว่จากสถานการณ์การระบาดในเวลานี้ ทำให้การเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อนั้นไม่ได้ผลอีกต่อไป
“เราผ่านช่วงเวลาของการระบาดใหญ่ไปแล้ว ดังนั้นฉันคิดว่าการเปรียบเทียบประเทศต่างๆเป็นเรื่องไร้เหตุผล ตอนนี้พรมแดนเปิดกว้าง ผู้คนเคลื่อนไหว ไวรัสแพร่ระบาด ดังนั้นไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม การติดเชื้อก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้” พญ.ชีลกล่าวและกล่าวต่อไปว่าแต่ก็ยังคงมีบทเรียนบางอย่างที่ยังคงต้องเรียนรู้จากต่างประเทศอยู่บ้าง
การเปิดประเทศของญี่ปุ่นในรอบ 2 ปีครึง (อ้างอิงวิดีโอจาก France24)
@ญี่ปุ่นกับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง
ขณะที่ประเทศออสเตรเลียกำลังรับมือกับคลื่อนการระบาดอโควิดในระลอกที่สี่ ทว่าตอนนี้ประเทศญี่ปุ่นกลับต้องรับมือกับการระบาดในระลอกที่แปดแล้ว ซึ่งทางคณะผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่านี่อาจจะเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีโรคระบาดเป็นต้นมา
โดยเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องการห้ามนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศ ส่งผลทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 5 แสนคนในเดือน ต.ค. หรือก็คือเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
และก็มีการคาดการณ์กันว่าเมื่อฤดูหนาวมาถึง จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งในญี่ปุ่น ในเกาหลีใต้และในไต้หวันก็จะเพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าตอนนี้ไต้หวันจะมีผู้ติดเชื้อลดลงแล้วก็ตาม
ขณะที่ นพ. Senanayake กล่าวว่าต้องยอมรับว่าโควิดนั้นจะเป็นสิ่งที่คงอยู่ตลอดไป แต่ว่ามันสามารถก่อปัญหาได้มากกว่าในช่วงฤดูหนาว ด้วยเหตุผลอาทิ ผู้คนต้องรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดในที่ร่ม ในสถานที่ปิดเพื่อหลบหนีความหนาวเย็น และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องการระบาดคู่ขนานกันไปของไข้หวัดใหญ่ที่จะเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นอีก
ทางด้านของ นพ.คิม วู-จู ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อที่โรงพยาบาลกูโรแห่งมหาวิทยาลัยเกาหลี และหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านโควิด-19 ของประเทศเกาหลีใต้กล่าวว่านับตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ผู้ติดเชื้อใหม่เกาหลีใต้ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อนั้นมีหลายสาเหตุทั้งการรวมตัวในกิจกรรมต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น การผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆเป็นต้น แม้ว่าในตอนนี้รัฐบาลเกาหลีใต้จะออกคำแนะนำให้มีการสวมใส่หน้ากากในที่ร่มและการกักตัวเป็นระยะเวลาเจ็ดวันแล้วก็ตาม
“รัฐบาลไม่ต้องการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอีกต่อไป” นพ.คิมกล่าวและกล่าวต่อไปว่าปัญหาอีกประการก็คือว่าคนเริ่มจะพอใจและไม่อยากไปรับการฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้อัครการฉีดวัคซีนในโดสที่สี่และการฉีดวัคซีนแบบไบวาเลนต์เพื่อป้องกันโควิดนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แม้จะเทียบกับระดับของประเทศสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ผู้ติดเชื้อเริ่มจะอยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่งการระบาดในระลอกใหม่นั้นก็น่าจะเป็นโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และ BQ.1.1 ที่จะระบาดเป็นหลัก
@คลื่นการระบาดพุ่งขึ้นสูงแต่ระยะสั้นของโควิดสายพันธุ์ XBB ที่สิงคโปร์
การระบาดของเชื้อ BQ.1 นั้นคาดว่าจะนำไปสู่การติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในยุโรป อเมริกาเหนือและแอฟริกา ทว่าในสิงคโปร์กลับเป็นคนละเรื่องกันเลย
โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าสิงคโปร์นั้นกำลังมีผู้ป่วยลดลง หลังจากก่อนหน้านี้ทั้งจำนวนผู้ป่วยและผู้รักษาตัวในโรงพยาบาลนั้นพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากศักยภาพของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ที่สามารถแพร่เชื้อได้สูง
ทางด้านของ นพ. Senanayake กล่าวว่า สายพันธุ์ย่อย XBB คือสิ่งที่เราเรียกว่าสายพันธุ์รีคอมบิแนนท์ หรือก็คือสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันสองสายพันธุ์ที่มารวมกัน
“แต่ข่าวดีก็คือว่า สิงคโปร์มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะสั้น ทว่ามันไม่ได้เลวร้ายเท่ากับจุดสูงสุดของการระบาด และต่อมาทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ลดลงเร็วมาก” นพ.Senanayake กล่าว
อนึ่งสิงคโปร์นั้นเป็นเสมือนกับศูนย์กลางการบินที่พลุกพล่านที่สุดในเอเชีย นี่จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระจายเชื้อ
โควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ระบาดในสิงคโปร์ (อ้างอิงวิดีโอจาก Channel News Asia)
ทั้งนี้แม้ว่าสิงคโปร์จะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และมีรายงานว่าสายพันธุ์ย่อย XBB สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ย่อยก่อนหน้า แต่ก็รุนแรงน้อยกว่าเช่นกัน
ขณะที่รายงานบางฉบับระบุว่าสายพันธุ์ XBB มีขีดความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันสูง " แต่สถาบันเพื่อการวัดและประเมินสุขภาพได้ระบุว่าสายพันธุ์ XBB ดังกล่าวนั้นไม่มีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันสำหรับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 หรือก็คือหมายความว่าผู้ที่ติดโอไมครอน BA.5 นั้นจะมีภูมิคุ้มกันกับโควิดสายพันธุ์ใหม่
โดย พญ.ชีลกล่าวว่าแม้ว่าสายพันธุ์ย่อย XBB นั้นจะแพร่กระจายเร็วและมีระดับของการหลบเลี่ยงจากภูมิคุ้มกันที่สูงมากกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่วัคซีนก็ยังมีบทบาทสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่สิงคโปร์ที่มีการฉีดวัคซีนร้อยละ 90 ของประชากร
“สิ่งที่ประสบการณ์ของสิงคโปร์กำลังแสดงให้เห็นก็คือ แม้ว่าวัคซีนจะครอบคลุม แม้จะมีภูมิคุ้มกันทั่วประเทศ เราก็ยังคงเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และสายพันธุ์ใหม่กำลังมาและยังคงก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นเราต้องตื่นตัวในฐานะบุคลากรทางสาธารรสุข เราไม่สามารถอยู่เฉยๆได้ เพราะว่าเรายังมีผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ถ้าหากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นี่จะยิ่งเป็นการท้าทายมากสำหรับการรักษาพยาบาล” พญ.ชีลกล่าว
@การฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง
ที่ภูมิภาคอาเซียน ประเทศอินโดนีเซียเพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G-20 ที่บาหลี และหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด
สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถูกวินิจฉัยว่าติดโควิด-19 (อ้างอิงวิดีโอจาก CBS)
ทั้งนี้สถานการณ์ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลกนั้นพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทว่ามาตรการป้องกันโควิดที่มีการบังคับใช้ใหม่ที่บาหลีเมื่อเร็วๆนี้กลับดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่ความสอดคล้องกับการประชุมระดับโลก มากกว่าที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาด
ทางด้าน พญ.เจน โซปาร์ดี นักระบาดวิทยากล่าวว่าสายพันธุ์ย่อย XBB มาถึงอินโดนีเซียแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายในประเทศมากนัก แต่ก็มีประเด็นที่ต้องพิจารณาในเรื่องของคุณภาพการเฝ้าระวังของประเทศอินโดนีเซียเพราะว่าผลตรวจหาเชื้อในอินโดนีเซียนั้นต่ำมาก นี่จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อแฝง หรือก็คือกลุ่มที่ไม่ถูกวินิจฉัยอาการเป็นจำนวนมากนั่นเอง
“ในจาการ์ตา นั้นมักจะมีผู้ติดเชื้อสูง เพราะเหตุผลว่าในจาการ์ตามีการตรวจหาเชื้อมากมาย และสามารถรับการตรวจหาเชื้อได้ฟรี ขณะที่จังหวัดอื่นๆของอินโดนีเซียกลับไม่เป็นเช่นนั้น” พญ.โซปาร์ดีกล่าว และเน้นย้ำว่าควรมีการตรวจหาเชื้อในระดับท้องถิ่น รวมไปถึงการตรวจหาเชื้อในจังหวัดท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และกล่าวเสริมว่าระยะเวลากักกันที่เหมาะสมนั้นควรจะอยู่ที่ 10 วัน
ส่วน นพ. Senanayake กล่าวว่าอินโดนีเซียมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ นั่นจึงอาจจะทำให้ส่งผลต่อปัญหาเรื่องการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีข่าวว่าอินโดนีเซียกำลังพัฒนาวัคซีนของตัวเองและประกาศว่าวัคซีนนี้จะถูกต้องตามหลักการฮาลาล ซึ่งนี่ถือว่าเป็นเรื่องดี
นพ. Senanayake กล่าวต่อไปว่านอกเหนือจากอินโดนีเซียแล้ว อีกประเทศซึ่งก็คือประเทศไทยเองก็เพิ่งจะมีการพัฒนาวัคซีนแบบ mRNA ของตัวเองเช่นกัน ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วนั้นจุดแข็งในเรื่องของการรับมือโควิดที่สำคัญก็คือวาประเทศไทยมีการสื่อสารทางด้านสาธารณสุขที่ค่อนข้างดีในช่วงที่เกิดโรคระบาด และมีระบบสาธารณสุขที่มีความแข็งแกร่ง
“พวกเขามีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ค่อนข้างดี และยังมีวิธีที่ดีในการดูแลการติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้เลือดออกเป็นต้น” นพ. Senanayake กล่าว
โดยหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนนั้น การเดินทางและการท่องเที่ยวถือว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ไม่ใช่ประเทศร่ำรวย จะทำให้การติดสินใจว่าจะเลือกอะไรดีระหว่างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวหรือว่าความปลอดภัยทางด้านสุขภาพนั้นถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญยิ่ง
“ในหลายๆ ประเทศ มันเป็นเรื่องของความสามารถในการเลี้ยงดูครอบครัวของคุณโดยการเปิดพรมแดน แทนที่จะไม่มีโควิดแต่ตายเพราะความอดอยาก สิ่งเหล่านี้คือความจริง” นพ. Senanayakeกล่าว
ส่วน พญ.ชีลกล่าวว่าตอนนี้เรามีวัคซีนที่ป้งกันโอไมครอนได้แล้ว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือว่าการจะต้องฉีดวัคซีนก่อนที่จะออกเดินทาง
“กุญแจสำคัญคือเรารู้ว่าวัคซีนสามารถต่อต้านอาการโรคที่รุนแรงได้ และวัคซีนมีไว้เพื่อปกป้องผู้คนจากการเสียชีวิตเสมอ” พญ.ชีลกล่าวและกล่าวเน้นย้ำว่าขั้นตอนอื่นๆอาทิ การเสริมสร้างสุขอนามัย การล้างมือ การแยกตัวหากคุณมีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่แออัด สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการรับมือโควิด-19
เรียบเรียงจาก:https://www.abc.net.au/news/2022-11-18/covid-asia-pacific-travel-variant-soup-japan-singapore-indonesia/101635952