โควิดสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และ BQ.1.1 นั้นเปรียบเสมือนกับผู้สืบทอดของโอไมครอน BA.5 ซึ่งถูกพบเจอครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ตามข้อมูลของ นพ. จอห์น สวอตซ์เบิร์ก (John Swartzberg) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัย UC Berkeley ที่ได้ระบุต่อไปว่าสำหรับไวรัสทั้งสองสายพันธุ์นั้นถูกพบเจอเมื่อเดือน ก.ย. และในแต่ละสายพันธุ์ก็มีศักยภาพในการเติบโตที่รวดเร็ว เนื่องจากว่ามีอัตราการติดเชื้อจากการถอดพันธุกรรมทั่วประเทศสหรัฐฯอยู่ที่ 5.7 เปอร์เซ็นต์ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข่าวเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้นกำลังเป็นที่จับตามองของคนไทยกันอีกครั้ง นับตั้งแต่มีข่าวของโควิดสายพันธุ์ผสม XBB ที่มีรายงานทั้งในสิงคโปร์และในฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม ที่สหรัฐอเมริกาและในประเทศตะวันตกนั้นมีการเฝ้าจับตาดูโควิดอีกสองสายพันธุ์ซึ่งคาดว่าอาจจะมาระบาดแทนโอไมครอน BA.5 ในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าวถูกรายงานว่ามีศักยภาพในการหลบภูมิที่สูงมาก อันได้แก่โควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และสายพันธุ์ย่อย BQ.1.1
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวอ้างอิงจากเว็บไซต์ข่าวซานฟรานซิสโกโครนิเคิลของสหรัฐอเมริการะบุว่า
ตอนนี้มีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยชนิดใหม่ที่มีชื่อว่าสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และสายพันธุ์ย่อยที่เกี่ยวข้องชื่อว่า BQ.1.1 โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่สายพันธุ์ย่อยทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดการพุ่งขึ้นเป็นจำนวนมากของผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา จนทำให้มีผู้ติดเชื้อโควิดทั้งสองสายพันธุ์แซงหน้าโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดเป็นหลัก ณ เวลานี้
อันที่จริงแล้วโควิดสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และ BQ.1.1 นั้นเปรียบเสมือนกับผู้สืบทอดของโอไมครอน BA.5 ซึ่งถูกพบเจอครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ตามข้อมูลของ นพ. จอห์น สวอตซ์เบิร์ก (John Swartzberg) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัย UC Berkeley ที่ได้ระบุต่อไปว่าสำหรับไวรัสทั้งสองสายพันธุ์นั้นถูกพบเจอเมื่อเดือน ก.ย. และในแต่ละสายพันธุ์ก็มีศักยภาพในการเติบโตที่รวดเร็ว เนื่องจากว่ามีอัตราการติดเชื้อจากการถอดพันธุกรรมทั่วประเทศสหรัฐฯอยู่ที่ 5.7 เปอร์เซ็นต์ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นก็ได้รับการยืนยันจากทางศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกาหรือว่า CDC
วิดีโออธิบายโควิด BQ.1 และ BQ.1.1 (อ้างอิงวิดีโอจาก Whiteboard Doctor)
ในทางกลับกันโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 ที่ครองส่วนแบ่งการระบาดในสหรัฐฯเป็นหลักมาตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมานั้นกลับพบว่าเริ่มจะอยู่ในทิศทางขาลงแล้วนับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเปอร์เซ็นต์ของการระบาดของโอไมครอน BA.5 นั้นพบว่าลดลงจากอัตราการระบาดสูงสุดที่ 86.5 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 67.9 เปอร์เซ็นต์ ตามข้อมูลจากการถอดรหัสพันธุกรรมเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า BQ.1 และ BQ.1.1 จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลเพราะว่าทั้งสองสายพันธุ์ย่อยนี้มีขีดความสามารถในการส่งต่อเชื่อที่สูงกว่าและอาจจะมีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า
ทาง น.พ.แอนโทนี ฟาวซี หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับโควิดทั้งสองสายพันธุ์ย่อยเช่นกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ในรายการช่อง CBS News ว่า “เมื่อคุณได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะแบบนั้น คุณมองไปที่อัตราการเพิ่มขึ้น คุณพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณสองเท่า นั่นดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาอย่างยิ่ง”
ทั้งนี้ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรพบว่าอัตราการติดเชื้อ BQ.1.1 นั้นมีลักษณะการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในทุกสัปดาห์นับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมานำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างมีนัยยะสำคัญ
ส่วนข้อมูลจาก นพ.ปีเตอร์ ชิน ฮง (Peter Chin-Hong) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ระบุว่าโควิดโอไมครอน BQ.1.1 นั้นมีขีดความสามารถใจการเติบโตอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่บทความล่าสุดในเว็บไซค์ซานฟรานซิสโกโครนิเคิล ซึ่งเขียนโดย พ.ญ.สเตเซีย ไวแมน (Stacia Wyman) นักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่ศึกษาด้านจีโนมที่มหาวิทยาลัย UC Berkeley ก็ได้ระบุว่าโควิด BQ.1.1 นั้นมีศักยภาพในการเติบโตเหนือกว่า BA.5 อยู่ที่ประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้โอไมครอน BQ.1.1 ที่ในปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อทั้งในนครนิวยอร์ก ในเยอรมนี และในประเทศอื่นๆในทวีปยุโรปนั้นถูกระบุจาก นพ.สวอตซ์เบิร์กว่ามันอาจจะเป็นโควิดสายพันธุ์ย่อยที่มีศักยภาพในการหลบภูมิคุ้มกันได้สูงที่สุดและก็คาดกันว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ BQ.1.1 ก็น่าจะเป็นผู้ที่ชิงตำแหน่งจาก BA.5 ได้
ทางด้าน นพ.ชิน ฮง กล่าวว่าพบว่ามีการกลายพันธุ์บางจุดของโควิด BQ.1 และ BQ.1.1 โดยการกลายพันธุ์ดังกล่าวนั้นพบว่าอยู่ในส่วนที่เรียกว่าโดเมนส่วนรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่โปรตีนหนามของไวรัสจะเข้าสู่ร่ายกาย และนี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่การหลบภูมิที่เกิดจากสารภูมิคุ้มกันหรือว่าแอนติบอดี ในขณะที่โควิด BQ.1 นั้นก็ถูกตรวจสอบพบว่าสามารถจะต้านทานยาแอนติบอดีป้องกันการติดเชื้อที่มีการใช้ในปัจจุบันได้สองชนิดได้แก่ยา ยา Bebtelovimab และยา Evusheld
อัตรการแพร่เชื้อของโควิดทั้งสองสายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น (อ้างอิงวิดีโอจาก NBC)
“อย่างไรก็ตาม ผมต้องเน้นย้ำว่าวิธีการรักษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นยังคงสามารถมอบภูมิคุ้มกันได้ และเรายังไม่ทราบชัดเจนว่าโควิดสายพันธุ์ย่อยที่ว่านี้จะหลบภูมิได้ดีแค่ไหนจนกระทั่งเห็นการระบาดในโลกจริงเสียก่อน ไม่ใช่แค่ผลจากห้องทดลองเพียงอย่างเดียว” นพ.ชิน ฮงกล่าวและเน้นย้ำว่าสายพันธุ์ย่อย BQ.1 นั้นถือว่าเป็นอะไรที่จะต้องศึกษาโดยเฉพาะ
โดยทั้ง นพ.ชิน ฮง และ นพ.สวอตซ์เบิร์ก กล่าวเหมือนกันว่า BQ.1 นั้นถือได้ว่าเป็นเสมือนหลานของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน และเป็นเสมือนลูกของ BA.5 โดยทั้งหมดนั้นถือว่าเหตุผลที่ดีที่จะทำให้ต้องมีการใช้ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิดซึ่งรวมไปถึงวัคซีนแบบไบวาเลนต์ชนิดใหม่
“มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ว่าวัคซีนอัปเดตตัวใหม่ที่จะมุ่งเน้นเพื่อป้องกัน BA.5 นั้นจะสามารถมอบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้” นพ.ชิน ฮงกล่าว และกล่าวต่อว่าสำหรับการป้องกันการติดเชื้อจากโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้น มีการระบุว่าการฉีดวัคซีนบูสเตอร์น่าจะสามารถมอบภูมิคุ้มกันไปได้ประมาณสองถึงสามเดือน อย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันต่อการป่วยรุนแรงน่าจะอยู่ไปได้อีกหลายเดือน ในขณะทที่ยาฆ่าเชื้ออย่างเช่นแพกซ์โลวิด (Paxlovid) และเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ก็น่าจะสามารถรับมือกับโควิดได้ดีแม้ว่าโปรตีนหนามจะเปลี่ยนไปก็ตาม
นพ.ชิน ฮง กล่าวว่าสำหรับสายพันธุ์ย่อย BQ.1 นั้นอันที่จริงถูกพบครั้งแรกที่ประเทศไนจีเรียในช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา และหลังจากนั้นสายพันธุ์นี้ก็แพร่ไปยังญี่ปุ่นและยังประเทศในทวีปยุโรป แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่มีประเทศไหนที่พบว่ามีสายพันธุ์นี้ระบาดเป็นหลัก
โดยที่ผ่านมานั้นสายพันธุ์ย่อยบางชนิดมักจะถูกละเลยและไม่ได้ถูกจับตาโดยประชาคมโลกจนกระทั่งมีการรายงานในหลายประเทศว่าพบสายพันธุ์ย่อยที่ว่ามานี้หรือมีการพูดถึงสายพันธุ์ย่อยกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นตามโซเชียลมีเดีย หรือไม่ก็มีข้อมูลของสายพันธุ์ย่อยปรากฎขึ้นบนฐานข้อมูลของ GISAID ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการติดตามสายพันธุ์โควิดในระดับโลก
ดังนั้นนี่อาจเป็นเหตุทำให้โควิด BQ.1 ดูเหมือนว่าโผล่พุ่งมาจากไหนก็ไม่รู้ ทำให้หลายๆคนแปลกใจ
“มันดูเหมือนกับว่าโควิดสายพันธุ์ย่อยนี้มาจากที่ไหนก็ไม่รู้ ก็เหมือนกับกรณีของ BA.5 ที่ดูจะเป็นเรื่องที่ลับมาก เพราะว่ามันเป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นเครือญาติกับ ซึ่งด้วยสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ มันจะไม่เป้นการง่ายเลยที่คุณจะเจอมันตั้งแต่ต้นๆ เว้นเสียแต่ว่าคุณดำเนินการถอดพันธุกรรมเพื่อที่จะค้นหาตัวสายพันธุ์โควิดนี้อย่างจำเพาะเจาะจง” นพ.ชิน ฮงกล่าว
โดยแน่นอนว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน,ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็น่าจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบสูงสุดถ้าหากมีการพุ่งขึ้นของผู้ติดเชื้อ
“ผมไม่คิดว่าอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจะพุ่งขึ้นมาอีกเหมือนอย่างที่เราได้เคยเห็นในช่วงสองฤดูหนาวก่อนหน้านี้ เพราะว่าจนถึงปัจจุบันประชากรส่วนมากนั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับภูมิคุ้มไปแล้ว อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่เพิ่งจะติดเชื้อหรือว่าติดเชื้อซ้ำ และการมาถึงของทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็อาจจะทำให้กิจกรรมของชุมชนนั้นเกิดความชะงักงันขึ้นมาบ้าง แม้ว่าจะมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรงก็ตาม” นพ.ชิน ฮงกล่าวทิ้งท้าย