ข้อมูลจากการทดลองเป็นจำนวนหลายครั้งพบว่าวัคซีนที่มีการอัปเดตแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่วัคซีนที่อัปเดตด้วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่ยังรวมถึงสายพันธุ์ก่อนหน้าอาทิ สายพันธุ์เบต้า สามารถทำให้เกิดค่าประสิทธิภาพที่ดีกว่าแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับวัคซีนดั้งเดิม
สำหรับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสในประเทศไทยนั้น ก็เป็นที่แน่ชัดกันแล้วว่าประเทศไทยนั้นคงไม่มีความกระตือรือร้นที่จะจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดรุ่นใหม่ ที่จะเน้นเจาะจงกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
อันเนื่องมาจากว่าคำให้สัมภาษณ์ของนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กล่าวตอนหนึ่งว่า แม้จะมีวัคซีนโควิดรุ่นใหม่ที่มีความทันสมัยขึ้น (วัคซีนรุ่น BA.1) แต่เท่าที่เห็นคนที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน BA.1 ยังสามารถติดเชื้อ BA.4-BA.5 ได้ ดังนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งถ้าประสิทธิภาพไม่ได้แตกต่างกันมาก ก็ยังไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อวัคซีนรุ่นใหม่เข้ามา และเชื่อว่าการพัฒนาวัคซีนคงตามไม่ทันโควิดสายพันธุ์ใหม่
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)จึงได้นำรายงานต่างประเทศที่ระบุเกี่ยวกับการศึกษาฉีดวัคซีนรุ่นใหม่ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในสหราชอาณาจักรมานำเสนอเพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับผลการฉีดวัคซีนดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
ในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ผู้คนทั้งในสหรัฐฯและในสหราชอาณาจักรจะเป็นคนกลุ่มแรกๆที่จะได้รับวัคซีนป้องกันโควิดรุ่นใหม่ ด้วยความหวังว่าวัคซีนที่มีการอัปเดตเหล่านี้ซึ่งพัฒนามาจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าวัคซีนรุ่นเก่าที่มาจากโควิดที่เกิดขึ้นในปี 2562
อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์นั้นบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ที่ถูกอัปเดตแทบจะให้ภูมิคุ้มกันในระดับเดียวเดียวกับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ด้วยวัคซีนรุ่นเก่า โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของการป้องกันไม่ให้มีการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวนั้นเป็นงานวิจัยก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ลงบนวารสารทางการแพทย์ medRxiv เมื่อวันที่ 26 ส.ค. และยังไม่ได้มีการทบทวนงานวิจัยแต่อย่างใด
“นี่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นสุดยอดของโล่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับสิ่งคุณได้รับไปเมื่อสองสัปดาห์หรือเมื่อสองเดือนก่อน” นพ.จอห์น มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านวัคซีนที่ Weill Cornell Medicine ในนครนิวยอร์ก กล่าว และกล่าวต่อไปว่าหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรนั้นควรนำข้อมูลประสิทธิภาพที่เป็นไปได้ของวัคซีนมาพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการอนุมัติวัคซีนเหล่านี้
ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 ส.ค. สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่มีการอนุมัติวัคซีนประเภทไบวาเลนต์ ซึ่งวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนแบบผสมระหว่างโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และคาดว่าในอีกไม่นานนี้จะมีการแจกจ่ายวัคซีนที่ว่านี้อย่างเป็นทางการ และในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นก็มีรายงานว่าสหรัฐฯได้มีการอนุมัติวัคซีนไบวาเลนต์ที่มีลักษณะคล้ายกันเช่นกัน
@ผลทดลองออกมาแล้วปรากฎว่าได้ประสิทธิภาพที่น้อย
มีการทดลองเชิงประสิทธิภาพขนาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดในรุ่นแรกนั้นลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าการศึกษาดังกล่าวนั้นเป็นการสุ่มคนที่ได้รับวัคซีนหรือได้รับยาหลอกแล้วติดตามกลุ่มบุคคลเหล่านี้เพื่อดูว่าใครติดเชื้อบ้าง แต่ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นดูไม่สามารถใช้งานได้จริง หรือว่ามีปัญหาในเชิงจริยธรรมในช่วงปี 2565
สำหรับวัคซีนที่ถูกอัปเดตนั้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดลองเพื่อจะติดตามผล โดยจะเป็นการทดลองในกลุ่มประชากรที่มีขนาดเล็กกว่าแทน โดยเพื่อที่จะวัดประสิทธิภาพ นักพัฒนาวัคซีนได้มีการวัดข้อมูลของผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยการตรวจวัดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ระดับของการป้องกันการติดเชื้อ,แอนติบอดีที่เป็นกลาง และเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ในสูตรดั้งเดิม
ข้อมูลจากการทดลองเป็นจำนวนหลายครั้งพบว่าวัคซีนที่มีการอัปเดตแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่วัคซีนที่อัปเดตด้วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่ยังรวมถึงสายพันธุ์ก่อนหน้าอาทิ สายพันธุ์เบต้า สามารถทำให้เกิดค่าประสิทธิภาพที่ดีกว่าแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับวัคซีนดั้งเดิม
ขณะที่ทางด้านของนายสตีเฟน โฮจ ประธานบริษัทยาโมเดอร์นา ได้เคยประกาศกลุ่มกลุ่มนักลงทุนไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า “นี่ถือว่าเป็นวัคซีนบูสเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าอย่างชัดเจน” เมื่อกล่าวถึงผลลัพธ์ที่มาจากวัคซีนไบวาเลนต์จากโอไมครอน BA.1 ของบริษัท
ทั้งนี้เพื่อที่จะทำความเข้าใจในผลลัพธ์ของวัคซีนเช่นวัคซีนจากบริษัทโมเดอร์นา นางเดโบราห์ โครเมอร์ นักสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลผลการทดสอบวัคซีนที่อัปเดตแล้วควบคู่ไปกับการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนแบบดั้งเดิมในโดสที่สี่
พบข้อมูลว่าวัคซีนทั้งสองแบบนั้นทำให้ระดับแอนติบอดีทะยานพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตามวัคซีนที่อัปเดตแล้วทำให้ระดับของแอนติบอดีโดยเฉลี่ยพุ่งไปมากกว่า 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับวัคซีนที่ใช้พันธุกรรมโควิดแบบดั้งเดิม
“เราไม่ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดแต่อย่างใด” นางโครเมอร์กล่าว
ข้อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการป้องกันการป่วยแบบมีอาการและการป่วยรุนแรง ในกลุ่มที่ไม่ฉีดบูสเตอร์,กลุ่มที่ฉีดบูสเตอร์ด้วยวัคซีนดั้งเดิม และกลุ่มที่ฉีดบูสเตอร์ด้วยวัคซีนที่อัปเดตใหม่
@กรณีการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ลดลง
มีผลการศึกษาบางประการแสดงให้เห็นว่าแอนติบอดีที่เป็นกลางซึ่งสูงขึ้นนั้นเท่ากับว่ามีการป้องกันโควิดที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจากการทดลองวัคซีนที่อัปเดตแล้วนั้นจะทำให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่านี้อย่างไร แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวัคซีนทีอัปเดตแล้วจะทำให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่านี้เท่าใดกันแน่
ทั้งนี้ทีมของนางโครเมอร์ได้ร่วมมือกับ นพ.ไมลส์ ดาเวนพอร์ต นักภูมิคุ้มกันวิทยา ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ และเพื่อร่วมทีมงาน พัฒนาการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิดแบบดั้งเดิมต่อแอนติบอดี ผลการจำลองข้อมูลพบว่าประโยชน์ส่วนมากที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนที่อัปเดตแล้วนั้นมาในรูปแบบเดียวกับวัคซีนบูสเตอร์ไม่ว่าจะชิดใดก็ตามในช่วงก่อนหน้านี้
ตัวอย่างเช่นประชากรครึ่งหนึ่งที่ได้รับการปกป้องจากาการติดเชื้อแบบมีอาการจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งผ่านการฉีดวัคซีนและผ่านการติดเชื้อไปแล้ว ซึ่งการมีวัคซีนบูสเตอร์ที่อัปเดตนั้นจะทำให้การป้องกันการติดเชื้อพุ่งไปอยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์แบบดั้งเดิมที่จะมอบภูมิคุ้มันให้ที่ 86 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบข้อมูลว่าความแตกต่างในเรื่องของระดับการป้องกันนั้นน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ในระดับประชากรหมู่มาก การใช้วัคซีนที่อัปเดตแล้วอาจจะดูว่ามีความสมเหตุสมผล ซึ่งทีมของโครเมอร์ได้มีการประเมินแล้วว่าในทุกกลุ่มประชากร 1,000 คน การรณรงค์ฉีดบูสเตอร์โดสด้วยวัคซีนที่อัปเดตแล้ว จะทำให้มีการลดอัตราการเสียชีวิตน้อยลงอีก 8 ราย โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับการใช้วัคซีนสูตรดั้งเดิม
“ถ้าหากนั่นแปลว่าจะมีการใช้เตียงในโรงพยาบาลที่ลดลง และสามารถเลี่ยงการป่วยรุนแรงได้มากขึ้น ดังนั้นก็อาจจะเพียงพอที่จะตัดสินใจออกคำแนะนำได้ว่าควรใช้วัคซีนที่มีการปรับสูตรใหม่” นางโครเมอร์กล่าว
อนึ่งประโยชน์สัมพัทธ์ของวัคซีนบูสเตอร์ที่มีการอัปเดตยึดโยงกับสายพันธุ์นั้นมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีมากขึ้น ถ้าหากว่าภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ ณ เวลานี้นั้นถูกลดทอนโดยกะทันหันจากการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่หลังจากนี้อีก
โดยนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ไวรัสโควิดที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้นยังเป็นสายพันธุ์โอไมครอน และก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีก ซึ่งถ้าเกิดฉากทัศน์ดังกล่าวนั้น วัคซีนบูสเตอร์ที่อัปเดตสำหรับโควิดโอไมครอนนั้นก็จะสามารถให้ภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าวัคซีนดั้งเดิมที่เก่ากว่าได้อย่างชัดเจน
ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้วัคซีนบูสเตอร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการทั้งการใช้วัคซีนบูสเตอร์ที่ยึดโยงกับสายพันธุ์โควิดที่กำลังหมุนเวียน วัคซีนที่มีความคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่มีการหมุนเวียน และวัคซีนป้องกันโควิดสายพันธุ์ใดก็ได้ ซึ่งจะเห็นว่าวัคซีนบูสเตอร์นั้นมีประโยชน์น้อยในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันของประชากรสูงอยู่แล้ว
@ผลประโยชน์ในระยะยาว
ทั้งนี้เมื่อสหรัฐฯได้มีการเริ่มการรณรงค์การฉีดบูสเตอร์ ก็ได้มีการตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโอไมครอนเช่นกัน ซึ่งวัคซีนในสูตรที่จะใช้ในสหรัฐฯนั้นถือว่ามีความแตกต่างจากวัคซีนที่ใช้ในสหราชอาณาจักร
โดยน้อยไปเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษาของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้มีการสอบถามไปยังบริษัทยาหลายแห่งให้ดำเนินการพัฒนาวัคซีนแบบไบวาเลนต์ที่ยึดโยงกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ซึ่งสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวนี้มีโปรตีนหนามที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยคำขอดังกล่าวนั้นเพื่อจะทำให้มีวัคซีนมาแทนที่วัคซีนแบบไบวาเลนต์ที่ยังยึดโยงกับโอไมครอนแบบ BA.1 ซึ่งถูกทดลองใช้งานโดยบริษัทไฟเซอร์และบริษัทไบออนเทค และบริษัทโมเดอร์นา ด้วยความหวังที่ว่าการมีวัคซีนที่อัปเดตอีกตัวนั้นจะสามารถจับคู่เพื่อรับมือกับสายพันุ์ที่กำลังหมุนเวียนอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่จากการวิเคราะห์ของนางโครเมอร์นั้นแสดงให้เห็นความแตกต่างนั้นอาจจะมีเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น เพราะแม้ว่าวัคซีนอัปเดตที่ยึดโยงกับสายพันธุ์เบต้าและสายพันธุ์เดลต้านั้นต่างก็พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ได้ คล้ายคลึงกับวัคซีนแบบไบวาเลนต์ที่มีการผสมกับวัคซีนสายพันธุ์ดั้งเดิมก็ดูเหมือนว่าไม่ได้มีประภาพไปมากวก่าวัคซีนที่ใช้สายพันธุ์ใหม่เพียงอย่างเดียว
“ดังนั้นด้วยเหตุผลเหล่านี้ การตัดสินใจของ FDA ที่จะให้กระตุ้นวัคซีนด้วยวัคซีนที่พัฒนาจากโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 นั้นอาจจะไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโควิดยังคงมีการพัฒนาต่อไป คือมันไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่าจะทำให้ประสิทธิภาพนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอันเนื่องมาจากการฉีดบูสเตอร์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย” นางโครเมอร์กล่าว
ทางด้านของ นพ.ดีน ฟอลมันน์ นักสถิติจากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ ในเมืองเบเธสดา รัฐแมริแลนด์ กล่าวว่าว่าประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้โอไมครอนแบบ BA.4 และ BA.5 นั้นสามารถออกมาได้ในหลายรูปแบบมาก มันอาจจะดีพอที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่าที่จะนำไปแจกจ่าย,หรืออาจจะดีกว่านั้นมาก,หรือว่าอาจจะไม่ดีเลยก็ได้ ซึ่งสิ่งที่ผู้คนควรจะคำนึงถึงก็คือว่าการฉีดบูสเตอร์นั้นไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
ส่วนนักวิทยาศาสตร์รายอื่นๆก็ยังได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจจะทำวัคซีนบูสเตอร์เพื่อติดตามสายพันธุ์ต่างๆที่มีความเปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าประโยชน์นั้นอาจมีเพียงเล็กน้อย โดย นพ.มัวร์กล่าวว่าเขากังวลว่าผู้คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าวัคซีนที่มีการอัปเดตแล้วจะทำให้มีการป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่าวัคซีนที่มีอยู่ และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็จะกลายเป็นผู้ทำตัวเองให้มีความเสี่ยงโรคที่สูงขึ้นมาก
ขณะที่ นพ.พอล ออฟฟิต นักวิทยาศาสตร์วัคซีนที่โรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟียในรัฐเพนซิลเวเนีย และยังเป็นหนึ่งในสองทีมที่ปรึกษาของ FDAที่โหวตคัดค้านการอัปเดตวัคซีนบูสเตอร์กล่าวว่าสิ่งที่โครเมอร์ได้วิเคราะห์มานั้นได้ตอกย้ำถึงความสงสัยของเขาว่าถ้าวัคซีนนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีนที่มีอยู่ ดังนั้นทำไมถึงจะมีการแจกจ่ายมัน เพราะคุณจะสร้างผลกระทบที่น้อยมากต่อการลดอุบัติการณ์ของโรคที่รุนแรง
ทางด้านของนางโครเมอร์กล่าวว่าอย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนั้นอาจะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะพัฒนาวัคซีนตามสายพันธุ์ต่างๆ แต่ว่าแนวคิดเรื่องการพัฒนาวัคซีนน้นจำต้องมีการทำให้มันสามารถจับคู่กับสายพันธุ์ที่มีการหมุนเวียนอยู่ได้อย่างแท้จริง มิฉะนั้นมันก็จะดูตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์เมื่อวัคซีนที่มีอยู่นั้นมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว หรือก็คือว่าวัคซีนที่มีความสำคัญที่สุดก็คือวัคซีนที่คุณสามารถไปฉีดได้นั่นเอง
เรียบเรียงจาก:https://www.nature.com/articles/d41586-022-02806-5?fbclid=IwAR3VRu8RsIB8ETLgzuly1dvWNNUeQ8RDCQgePcFdHwoEYSONWosLSU3sHIU