ต้องมีการวิวัฒนาการในเรื่องของรูปแบบการฉีดวัคซีนให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อจะทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ ซึ่งผมคิดว่าเรายังมีงานอีกมากที่ต้องทำ”นพ.เฟอร์กูสันกล่าวและกล่าวต่อไปว่ากุญแจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากภาวะฉุกเฉินไปอยู่ในภาวะปกตินั้นก็คือการใช้วัคซีนป้องกันโควิดเป็นประจำมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้นั้น ชื่อของโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 เป็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้น ด้วยข้อกังวลที่ว่าความสามารถในการแพร่เชื้อของโควิดสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวนั้นอาจจะเหนือกว่า โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5
และล่าสุดทางด้านของผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรก็ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน ซึ่งสาระสำคัญก็คือว่าการมาถึงของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆนั้นอาจจะทำให้ความเลวร้ายของโควิดลดลง ถ้าหากมีการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ถ้าหากโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นยังคงมีระดับที่ไม่รุนแรงเช่นในปัจจุบันนี้ การนำเอามาตรการเว้นระยะห่างและมาตรการควบคุมโรคกลับมาใช้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
นี่คือความเห็นของ นพ.นีลเฟอร์กูสัน ผู้อํานวยการศูนย์สภาวิจัยทางการแพทย์ (MRC) ด้านการวิเคราะห์โรคติดเชื้อทั่วโลกและสถาบันจาก Jameel ที่ได้ให้ไว้ระหว่างการให้สัมภาษร์กับสำนักข่าวบีบีซีตอนหนึ่ง
โดยเขาระบุว่าข่าวดีนั้นก็คือว่าถ้าหากโอไมครอนยังคงความร้ายแรงของโรคแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน เราก็จะไม่เห็นความเสี่ยงของการมีคลื่นของผู้ที่เสียชีวิตและเข้ารับการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
ทางด้านของ นพ.เดวิด แอโรโนวิช นักระบาดวิทยาและศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาคณิตศาสตร์ก็ได้กล่าวว่าตัวเขาได้มีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ในประเด็นที่ว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆรวมไปถึง BA.5 และ BA.2.75 นั้นมีความน่ากังสลอย่างไร ซึ่ง ณ ขณะนี้ประชากรจำนวนกว่า 2.7 บ้านคนในสหราชอาณาจักรหรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 25 นั้นพบว่าติดเชื้อโควิดไปแล้ว
@สายพันธุ์โอไมครอน
“ผมไม่คาดคิดว่าการระบาดในระดับใหญ่แบบที่เราเคยเห็นเมื่อตอนเดือน พ.ย.อีกแล้ว” นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
เมื่อถามว่าคิด่าสายพันธุ์ใหม่นั้นจะทำให้เกิดความยุ่งยากอย่างไรบ้าง นพ.เฟอร์กูสันกล่าวว่า “มีแนวโน้มค่อนข้างมากที่โอไมครอนนั้นจะเข้าไปยึดครองในพื้นที่ระบบหายใจส่วนบน และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยที่โอไมครอนจะลงไปติดเชื้อในระบบหายใจส่วนล่าง ซึ่งนี่ก็เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าทำไมโอไมครอนทุกสายพันธุ์ย่อยนั้นยังคงมีความอันตรายน้อยกว่าโควิดสายพันธุ์เดลต้ามาก”
“โอไมครอน BA.5 และ BA.4 ที่หมุนเวียนในสหราชอาณาจักร ณ เวลานี้นั้นมีความแตกต่างแค่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับ BA.1 และ BA.2 ที่ทำให้เกิดการระบาดเมื่อเดือน ธ.ค.และตามมาด้วยการระบาดในเดือน ก.พ,-มี.ค. ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก้ตามความแตกต่างระหว่าง BA5,BA.4 กับสายพันธุ์โอไมครอนก่อนหน้านั้นไม่ได้เทียบเท่ากับความแตกต่างระหว่างโอไมครอนและเดลต้าเลย” นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวต่อไปว่าที่ผ่านมา มีการคาดการณ์กันว่าน่าจะเห็นระลอกคลื่นของการระบาดเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษบ้าง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานการระบาดเบื้องต้นนั้น ก็เป็นที่น่าเชื่อได้ว่าอังกฤษได้ผ่านจุดสูงสุดของการระบาดไปแล้ว และก็ไม่น่าจะเห็นคลื่นการระบาดครั้งใหญ่ไปอีกจนจะถึงอย่างน้อยก็ช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.
“คุณเห็นในพาดหัวข่าวว่าในที่ต่างๆนั้นเกิดการระบาดของโควิดสายพันธ์ย่อยที่ชื่อว่า BA.2.75 ซึ่งเริ่มต้นมาจากที่ประเทศอินเดีย โดยเรื่องนี้นั้นก็ทำให้เรามีความกังวลเล็กน้อยเช่นกัน เนื่องจากว่ามีการกลายพันธุ์ที่บางจุดของโปรตีนหนาม อันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ทำการจดจำและสกัดไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เราต้องคอยจับตาโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา แต่ว่าผมจะไม่กังวลมากเกินไปนัก เพราะเราคาดหวังว่าจะมีการพัฒนาของไวรัสอยู่แล้ว” นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
ข่าวการระบาดของโอไมครอน BA.2.75 ที่เริ่มต้นจากอินเดีย (อ้างอิงวิดีโอจาก SCMP)
@การฉีดวัคซีน
นพ.เฟอร์กูสันกล่าวว่าวัคซีนที่มีอยู่ ณ เวลานี้ยังสามารถปกป้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้ดีโดยวัคซีนที่ใช้อยู่ในสหราชอาณาจักรนั้นสามารถปกป้องโควิดได้ทุกสายพันธุ์รวมไปถึงโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5
“แต่อย่างไรก็ตาม พอมาถึงเรื่องการป้องกันการติดเชื้อนั้นถือว่าเป็นคนละเรื่อกันเลย” นพ.เฟอร์กูสันกล่าวและกล่าวต่อไปว่าการปรับเปลี่ยนวัคซีนเพื่อให้รับมือกับสายพันธุ์ปัจจุบันนั้นอาจพอช่วยได้เล็กน้อยแต่ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องพยายามนำคนกลุ่มเปราะบางให้มีภูมิคุ้มกันให้ได้มากที่สุดก่อน มิฉะนั้นจะเกิดผลลัพธ์ที่เลวร้ายตามมา
@ภูมิคุ้มกันหมู่
นพ.เฟอร์กูสันกว่าวว่าสิ่งที่ไม่ปกติสำหรับไวรัส SARS-CoV-2ก็คือความสามารถในการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งการจะติดเชื้อซ้ำที่ว่ามานี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสอีก ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับโคโรนาไวรัสเลย
“โคโรนาไวรัส อันที่จริงๆก็คือไวรัสทั่วๆไปที่หมุนเวียนในกลุ่มประชากรมนุษย์มาโดยตลอด อันที่จริงที่ผ่านมาก็มีสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่อยู่กับมนุษย์มาตั้งแต่หลายร้อยปีแล้ว และนี่ก็คือสาเหตุสำคัญทำให้เกิดไข้หวัดในมนุษย์” นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
โดยภูมิคุ้มกันของร่ายกายนั้นก็คือสิ่งที่จะลดลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับสารภูมิคุ้มกันหรือว่าแอนติบอดี ขณะที่ไวรัสนั้นยังคงพัฒนาอยู่ต่อไป
“ดังนั้นคำว่าภูมิคุ้มกันหมู่จึงไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นทุกอย่าง แต่คือการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างภูมิคุ้มกันในกลุ่มประชากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่เชื้อของไวรัส ดังนั้นจึงหมายความว่าการแพร่เชื้อนั้นจะยังมีได้เสมอแต่ว่าจะต้องอยู่ในระดับที่ต่ำพอจะเป็นโรคประจำถิ่น”นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
@ปีหลังจากนี้
นพ.เฟอร์กูสันกล่าวต่อไปว่าหลังจากนี้นโยบายรัฐบาลที่ต้องดำเนินการพิจารณาอยู่ตลอดเวลา ก็คือว่าการสร้างสมดุลว่าจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายควบคุมโรคมากน้อยแค่ไหน โดยชั่งน้ำหนักเอาระหว่างการลดการแพร่เชื้อในชุมชน กับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องสูงเสียไปทุกครั้งเมื่อมีการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
“เราได้อัปเดตรูปแบบการคำนวณเมื่อไม่นานมานี้ เพราะจะดูว่าฉากทัศน์ของโควิดสายพันธุ์ใหม่ในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยทำนายถึงสถานการณ์ทั้งในช่วงปีหน้า ผนวกกับรูปแบบการฉีดวัคซีนที่เราสามารถทำได้ดีที่สุด ข่าวดีก็คือว่าตราบใดก็ตามที่โอไมครอนยังคงความร้ายแรงอยู่ในระดับนี้ เราก็จะไม่เห็นความเสี่ยงของคลื่นของผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิต” นพ.เฟอร์กูสันกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษออกคำเตือนว่าโอไมครอนสายพันธุ์ใหม่นั้นจะมีอันตรายพิเศษสำหรับกลุ่มเปราะบาง (อ้างอิงวิดีโอจาก 1News)
ผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรกล่าวต่อไปว่าต้องยอมรับว่าเราอยู่ในจุดที่ดี ไม่ได้เหมือนกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่เราต้องเผชิญเมื่อปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด
“ยังไม่มีประเทศไหนที่จะมีรูปแบบที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการเปลี่ยนผ่านจากภาวะฉุกเฉินของการระบาดใหญ่ไปได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือว่าเราสามารถจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งประเทศในระยะเวลาภายในหนึ่งปี แต่อย่างไรก็ตามต้องมีการวิวัฒนาการในเรื่องของรูปแบบการฉีดวัคซีนให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อจะทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ ซึ่งผมคิดว่าเรายังมีงานอีกมากที่ต้องทำ”นพ.เฟอร์กูสันกล่าวและกล่าวต่อไปว่ากุญแจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากภาวะฉุกเฉินไปอยู่ในภาวะปกตินั้นก็คือการใช้วัคซีนป้องกันโควิดเป็นประจำมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
เรียบเรียงจาก:https://www.imperial.ac.uk/news/238332/how-worrying-omicron-variants-professor-neil/