เพราะนอกเหนือจากปัญหาเรื่องโควิดแล้ว เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขได้แสดงความกังวลว่าไข้หวัดก็จะกลับมาและกลับมาอย่างรุนแรงกว่าเดิมด้วย เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ดังนั้นในเดือนกันยายนนี้จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่การฉีดทั้งวัคซีนเพื่อป้องกันโควิดและไข้หวัดใหญ่
สืบเนื่องจากกระแสข่าวการระบาดของไวรัสโควิด-19 โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ที่กำลังแทรกซึมเข้ามาระบาดในประเทศไทย ณ เวลานี้
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้สืบค้นข้อมูลในต่างประเทศเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการรับมือของประเทศที่กำลังเผชิญกับไวรัสทั้งสองสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวก่อนประเทศไทย ว่าประเทศเหล่านี้มีวิธีการอย่างไรกันบ้าง
ก็พบว่าที่สหราชอาณาจักรได้มีการทำรายงานระบุถึงการฉีดบูสเตอร์เพื่อจะรับมือกับโควิดสายพันธุ์ต่างๆโดยเฉพาะโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีรายละเอียดดังนี้
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดในสหราชอาณาจักรนั้นพุ่งสูงอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ต้องมีการเรียกร้องให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (20 มี.ค.-21 มิ.ย.) ได้เร่งไปฉีดโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม สำหรับการระบาดในในฤดูใบไม้ร่วง (23 ก.ย.-22 ธ.ค.) ที่จะมาถึงนี้ ก็มีคำถามว่าบูสเตอร์ในช่วงนั้นจะเป็นอย่างไรกันแน่
@วัคซีนบูสเตอร์ใดบ้างที่พร้อมใช้งานแล้ว
หน่วยงานสาธารณสุขของอังกฤษหรือว่า NHS ได้มีการดำเนินโครงการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ก็เพื่อจะรับมือกับการพุ่งขึ้นของการระบาดอันเกิดจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยในระลอกแรกนั้นเกิดขึ้นเมื่องช่วงเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นโอไมครอน BA.1 และต่อมาก็เดือน มี.ค.ซึ่งเป็นโอไมครอน BA.2
ในช่วงเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรอ้างว่าการฉีดบูสเตอร์สามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ 75 เปอร์เซ็นต์ (อ้างอิงวิดีโอจากรอยเตอร์ส)
โดย ณ เวลานี้กลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 16 ปีนั้นสามารถจะได้รับวัคซีนจำนวนสองโดสเพื่อให้ครบโดสและสามารถรับบูสเตอร์ได้แล้ว ดังนั้นจึงหมายความว่าการฉีดบูสเตอร์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมานั้นก็เทียบเท่าได้กับการฉีดวัคซีนในโดส 4 สำหรับกลุ่มประชากรจำนวนมาก ซึ่ง ณ เวลานี้ยังคงมีวัคซีนบูสเตอร์สำหรับช่วงเดือน มี.ค.หลงเหลืออยู่เพื่อที่จะฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 75 ปี ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา,ผู้มีอายุ 12 ปี และฉีดให้กับกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อย่างไรก็ตาม การระบาดที่รวดเร็วของโอไมครอน BA.4 และ BA.5 นั้นทำให้เกิดการติดเชื้อและเสียชีวิตในโรงพยาบาลพุ่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
ทางด้าน พ.ญ.เจนนี่ แฮร์รีส์ ผู้บริหารระดับสูงของสํานักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรได้ออกมาเรียกร้องให้กลุ่มประชากรจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบูสเตอร์นั้นให้รับการฉีดโดยเร็วที่สุด เพราะแม้ว่าวัคซีนจะยังไม่มีประสิทธิภาพมากนักในการกันการติดเชื้อโอไมครอน แต่มันก็ยังเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงจากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้
@จะมีบูสเตอร์อีกครั้งหรือไม่
จากการระบาดในระลอกปัจจุบันนั้น ทางการสหราชอาณาจักรคาดว่าจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงสุดในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม การระบาระลอกถัดไปนั้นคาดว่าจะเกิดในช่วงปลายเดือน ก.ย. ซึ่งผู้คนจะอาศัยอยู่ในเคหสถานกันมากขึ้นเพราะอากาศที่หนาวเย็นขึ้น
กลุ่มที่ปรึกษาด้านวัคซีนอิสระของรัฐบาล, คณะกรรมการร่วมด้านการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหรือที่เรียกกันว่า JCVI นั้นได้ออกคำแนะนำให้ทาง NHS และบ้านพักคนชราได้มีการเตรียมตัวสำหรับการฉีดบูสเตอร์ในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.เลย
เพราะนอกเหนือจากปัญหาเรื่องโควิดแล้ว เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขได้แสดงความกังวลว่าไข้หวัดก็จะกลับมาและกลับมาอย่างรุนแรงกว่าเดิมด้วย เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ดังนั้นในเดือนกันยายนนี้จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่การฉีดทั้งวัคซีนเพื่อป้องกันโควิดและไข้หวัดใหญ่
@ใครจะได้รับวัคซีนบูสเตอร์บ้าง
ย้อนไปเมื่อเดือน พ.ค. JCVI ได้ออกมากล่าวว่าการฉีดวัคซีนบูสเตอร์อีกครั้งหนึ่งนั้นจะเริ่มฉีดให้กับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางก่อนที่ฤดูหนาวจะมาถึง ซึ่งภายใต้คำแนะนำชั่วคราวที่ว่านี้การฉีดบูสเตอร์เพิ่มเติมจะดำเนินการฉีดให้กับบุคลากรและผู้ที่พักอาศัยในบ้านพักคนชรา,บุคลากรด่านหน้าทางสาธารณสุข,กลุ่มบุคคลที่อายุมากกว่า 65 ปีและผู้ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพอายุ 16-64 ปี ซึ่งกลุ่มประชากรทั้งหมดที่ว่ามานี้นั้นคิดเป็นจำนวนมากกว่า 25 ล้านคนในประเทศอังกฤษ
แต่ตามที่นำเรียนไปแล้วว่าคำแนะนำดังกล่าวนั้นยังเป็นคำแนะนำชั่วคราวเท่านั้น เพราะว่าไวรัสโควิดยังคงเป็นภัยร้ายแรงและมีความเป็นไปได้ว่าจะมีสายพันธุ์อื่นๆที่เป็นปัญหาปรากฎตัวขึ้นก่อนฤดูหนาวนี้ ดังนั้นในอนาคต JCVI ก็จะต้องมีการออกประกาศสถานการณ์เพิ่มเติมต่อไป
@วัคซีนตัวไหนที่จะอยู่ในโปรแกรมการฉีดบูสเตอร์
ผู้คนส่วนมากในประเทศอังกฤษนั้นมักจะได้รับวัคซีนประเภท mRNA ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตจากบริษัทไฟเซอร์และผลิตจากบริษัทโมเดอร์นา วัคซีนเหล่านี้นั้นคือปัจจัยหลักในการทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
อย่างไรก็ตามทั้งบริษัทไฟเซอร์และบริษัทโมเดอร์นานั้นก็มีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่แล้วเพื่อจะเน้นไปที่โควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่ระบาดเป็นหลัก ณ เวลานี้
โดยในสหราชอาณาจักรนั้นข้อมูลการทดลองเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่อัปเดตแล้วจะต้องที่การส่งข้อมูล และจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานกํากับดูแลยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพของสหราชอาณาจักรหรือ MRHA และจะมีการแนะนำการใช้วัคซีนโดย JCVI ก่อนที่จะให้มีการเสนอให้ฉีดในโครงการบูสเตอร์สำหรับฤดูใบไม้ร่วงต่อไป
@อะไรคือวัคซีนตัวใหม่นี้
ตามที่ทราบกันว่าบริษัทโมเดอร์นานั้นได้มีการอัปเดตวัคซีนโควิดให้มีการผสมกันได้หรือที่เรียกว่าวัคซีนไบวาเลนท์ โดยวัคซีนนี้เกิดมาจากการผลิตโปรตีนหนามของไวรัสโควิดจำนวนสองสายพันธุ์ได้แก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุย่อยโอไมครอน BA.1
โดยข้อมูลจากบริษัทระบุว่าวัคซีนนั้นสามารถกระตุ้นแอนติบอดีหรือสารภูมิคุ้มกัรต่อโควิดสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน BA.4 และ BA.5 ที่กำลังเป็นสายพันธุ์ซึ่งระบาดเป็นหลักในประเทศอังกฤษได้
ขณะที่บริษัทไฟเซอร์ก็ได้อ้างว่ามีการพัฒนาวัคซีนไบวาเลนท์ที่มีลักษณะคล้ายๆกัน และก็มีการพัฒนาวัคซีนชนิดที่เจาะจงไปยังโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพียงอย่างเดียวซึ่งผลิตจามากโปรตีนหนามของแค่โควิดสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน BA.1
โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทไฟเซอร์ได้อ้างว่าวัคซีนที่มุ่งเน้นไปที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพียงอย่างเดียวนั้นให้ผลลัพท์ที่ดีกว่าวัคซีนแบบไบวาเลนท์ที่บริษัทมี ในแง่ของการเพิ่มแอนติบอดีเพื่อรับมือกับสายพันธุ์ย่อย BA.1 ส่วนรายละเอียดอื่นๆว่าวัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพต่อโควิดสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน BA.4 และ BA.5 มากน้อยแค่ไหนนั้น จะมีการรวบรวมต่อไปในภายหลัง
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯหรือ FDA ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ตัวใหม่เพื่อรับมือโควิดโอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก TODAY)
ทั้งนี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการบูสเตอร์ที่มาจากวัคซีนที่อัปเดตแล้วของบริษัทโมเดอร์นาและบริษัทไฟเซอร์นั้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานเท่าไรกันแน่ และผลกระทบจากการฉีดวัคซีนที่อัปเดตแล้วเพื่อจะป้องกันการติดเชื้อจากการป่วยร้ายแรงและติดเชื้อในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวเปรียบเทียบกับการฉีดบูสเตอร์ด้วยวัคซีนป้องกันโควิดแบบดั้งเดิมนั้นจะเป็นอย่างไรกันแน่
โดย MHRA จะได้มีการประเมินทั้งความปลอดภัย,คุณภาพและประสิทธิภาพของวัคซีนสูตรที่มีการปรับแต่งดังกล่าวนี้ทันทีเมื่อบริษัทได้มีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมา ถ้าหากมีการอนุมัติโดยรัฐบาลและจะได้สอบถามไปยัง JCVI เพื่อให้มีการแนะนำต่อไปว่าจะใช้วัคซีนตัวใหม่นี้ในการบูสเตอร์ช่วงฤดูใบไม้ร่วงอย่างไรบ้าง
ในอีกแง่หนึ่งนั้นการตัดสินใจเรื่องบูสเตอร์ดังกล่าวนี้ก็เปรียบเทียบได้กับการเล่นการพนันเพราะไม่มีใครรู้เลยว่าจะมีโควิดสายพันธุ์ใหม่อื่นๆปรากฎตัวขึ้นอีกภายในปีนี้หรือไม่ และโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ว่ามานี้ก็อาจจะเป็นได้ทั้งลูกหลานของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือว่าเป็นโควิดที่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์อื่นๆก่อนหน้านี้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
จึงเป็นเหตุให้ตอนนี้นี้ทางสหราชอาณาจักรได้มีการติดต่อทำสัญญากับทั้งบริษัทโมเดอร์นาและบริษัทไฟเซอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อให้มั่นใจว่าอังกฤษจะมีวัคซีนที่อัปเดตแล้วในขณะที่การระบาดใหญ่ยังคงดำเนินต่อไป
เรียบเรียงจาก:https://www.theguardian.com/world/2022/jul/04/whats-the-uks-booster-policy-ahead-of-a-feared-autumn-covid-wave
ส่วนในประเทศไทยนั้น ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนที่อัปเดตแล้วจากหน่วยงานรัฐบาลยังไม่ปรากฎให้เห็นแต่อย่างใด