ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นเป็นไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ในหลายจุดของโปรตีนหนามจนทำให้เกิดสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันออกไปตามการกลายพันธุ์ อันนำไปสู่ขีดความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีแอนติบอดีที่สามารถจดจำได้ในหลายส่วนของโปรตีนหนามที่มาจากการฉีดวัคซีนนั้น นี่ก็อาจจะสามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของไวรัสเข้าสู่เซลล์ของร่างกายก็เป็นได้
สำหรับข่าวการเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระดับโลก ณ เวลานี้คงหนีไม่พ้นข่าวที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือว่า FDA ได้มีการอนุมัติให้วัคซีนบูสเตอร์ที่จะฉีดในฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงปลายเดือน ก.ย.ที่จะมาถึงนี้นั้นเป็นวัคซีนป้องกันโควิดที่จะมุ่งเน้นไปยังสายพันธุ์โอไมครอนทั้งหมด เพื่อหวังจะรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วในสหรัฐฯ
ในขณะที่ประเทศไทยที่กำลังจะประกาศให้โควิด-19 นั้นเป็นโรคประจำถิ่นในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ แม้ว่าจะเริ่มมีรายงานของโควิดทั้งสองสายพันธุ์เข้ามาในไทยแล้วก็ตาม ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนจากทางภาครัฐออกมาว่าจะมีการจัดหาวัคซีนหรือจะมีการปรับสูตรวัคซีนเพื่อรับมือกับ
จากกรณีดังกล่าวนั้น สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้สืบค้นรายงานในต่างประเทศก็พบกับบทวิเคราะห์พร้อมกับความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดที่เน้นเฉพาะสายพันธุ์โอไครอน จึงได้นำรายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
ที่ผ่านมานั้นมีการพิสูจน์มาอย่างต่อเนื่องแล้วว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้นมีศักยภาพในการป้องกันการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามการปกป้องที่มาจากวัคซีนนั้นก็มีการเสื่อมไปตามกาลเวลาเช่นกัน ทำให้ต้องมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์
แต่ว่าเมื่อใดที่จะมีการฉีดบูสเตอร์ไม่ว่าจะเป็นโดสแรกหรือโดสที่สองนั้นยังเป็นคำถามปลายเปิด หลายคนไม่แน่ใจว่าควรจะรอสูตรวัคซีนสำหรับโควิดตัวใหม่ดีหรือไม่ หรือว่าว่าฉีดวัคซีนบูสเตอร์ชนิดเดิมไปก่อน
สำหรับคำตอบของคำถามดังกล่าวนั้นคงต้องกลับไปมองที่ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโควิด-19 โดยไวรัสที่ว่านี้นั้นจะใช้โปรตีนรูปทรงหนามเพื่อจะเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย ส่วนวัคซีนไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่มีอยู่และวัคซีนที่กำลังจะมาใหม่นั้นจะมุ่งเน้นไปที่การเลียนแบบโปรตีนหนามที่ว่ามีนี้ เพื่อทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามวัคซีนในแต่ละประเภทนั้นก็นำเสนอรูปแบบของโปรตีนหนามต่อภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน
นักภูมิคุ้มกันวิทยาจึงได้มีการศึกษาทั้งอาการอักเสบ และโรคติดเชื้อรวมไปถึงโควิด-19 เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการออกแบบวัคซีนโควิด-19 ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรต่อชนิดของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น
@วัคซีนไบวาเลนต์ (วัคซีนแบบผสมในโดสเดียว) ชนิดใหม่
บริษัทโมเดอร์นาและบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคนั้นคือสองบริษัทที่มีการพัฒนาวัคซีนประเภท mRNA เป็นหลักสำหรับทุกช่วงอายุ โดยทั้งสองบริษัทที่ว่ามานี้มีการพัฒนาสูตรวัคซีนใหม่ และได้มีการประเมินโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาของ FDA ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา และตามที่ทราบกันวัคซีนดังกล่าวนี้นั้นได้มีการแนะนำให้ใช้งานได้ในช่วงปลายเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้
FDA อนุมัติวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์เพื่อใช้รับมือโควิดโอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก The Hill)
โดยวัคซีนไบวาเลนต์ของโมเดอร์นานั้นจะเป็นวัคซีนที่มีการผสมกันในโดสระหว่างวัคซีแบบ mRNA ที่มีส่วนของโปรตีนหนามจากไวรัสโควิดแบบดั้งเดิม ควบคู่ไปกับโปรตีนหนามส่วนหนึ่งจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
ย้อนไปเมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา บริษัทโมเดอร์นาได้ออกมาระบุว่าในกระบวนการทดลองทางคลินิก พบว่าวัคซีนไบวาเลนต์ของบริษัทนั้นมีศักยภาพเหนือกว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดแบบดั้งเดิมมาก เพราะสามารถให้ภูมิคุ้มกันในระดับทีสูงและยาวนานกว่ากับทั้งโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมและโอไมครอน
ในเวลาต่อมาโมเดอร์นาก็ได้มีการประกาศสูตรผสมวัคซีนใหม่ล่าสุดที่ระบุว่าสามารถจะรับมือได้กับโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยตัวล่าสุดซึ่งก็คือ BA.4 และ BA.5 ที่ตอนนี้กลายเป็นสายพันธุ์ที่ครองส่วนแบ่งในสหรัฐฯไปแล้วอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลที่ว่าวัคซีนตัวใหม่นี้นั้นทำให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง ซึ่งทางบริษัทนั้นคาดกันว่าภูมิคุ้มกันอันแข็งแกร่งอาจจะได้อยู่ได้นานถึงหนึ่งปี ก่อนที่บริษัทจะได้มีการคิดค้นและนำเสนอวัคซีนตัวใหม่อีกครั้งในช่วงเดือน ส.ค.
@วัคซีนโมเดอร์นาตัวใหม่นั้นคาดว่าจะสามารถใช้งานได้จริงตอน ฤดูใบไม้ร่วง 2565
ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.บริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคเองก็ได้มีการประกาศผลการทดสองสูตรของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวนสองตัว ประกอบไปด้วยวัคซีนแบบไบวาเลนต์ที่มีส่วนของ mRNA ของโปรตีนหนามของโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม และโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และวัคซีนแบบโมโนวาเลนต์ (วัคซีนแบบชนิดเดียวในโดสเดียว) อันประกอบไปด้วยโปรตีนหน้ามของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1
โดยการศึกษาเบื้องต้นของบริษัทนั้นพบว่าทั้งวัคซีนแบบไบมาเลนต์และแบบโมโนวาเลนต์ทำให้เกิดแอนติบอดีที่เป็นกลางที่สามารถรับมือได้ถึงโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 แม้ว่าจะมีระดับการป้องกันที่น้อยกว่าสายพันธุ์ย่อย BA.1ก็ตามที อย่างไรก็ตามวัคซีนโมโนวาเลนต์ของไฟเซอร์นั้นกลับพบว่าทำให้เกิดภูมิต่อโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.1 ได้ดีกว่าวัคซีนแบบประเภทไบวาเลนต์
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีคำถามในด้านประสิทธิภาพ อาทิ แอนติบอดีที่มาจากวัคซีนไบวาเลนต์และโมโนวาเลนต์นั้นเป็นที่ยอมรับในแง่ของกระบวนการทดลองทางคลินิกแล้วหรือไม่
@ความคืบหน้าของวัคซีนโนวาแวกซ์
สำหรับวัคซีนอีกยี่ห้อหนึ่ง ที่มีรายงานว่ากำลังดำเนินการพัฒนาสูตรวัคซีนเพื่อให้ได้รับการอนุมัติอยู่ ก็คือวัคซีนโนวาแวกซ์ ซึ่งวัคซีนนี้นั้นใช้โปรตีนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 แบบดั้งเดิม
โดยวัคซีนโนวาแวกซ์นั้นมีความได้เปรียบประการหนึ่งตรงที่ว่าเป็นวัคซีนแบบดั้งเดิม ดังเช่นวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันโรคคอตีบบาดทะยักและไอกรนหรือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ เช่นไวรัสตับอักเสบและงูสวัด
วัคซีนโนวาแวกซ์ที่ว่านี้นั้นมีการทดลองทางคลินิกนั้น โดยวัคซีนที่ว่านี้นั้นพบว่ามีการทดลองทั้งในสหราชอาณาจักร ในสหรัฐอเมริกา และในแอฟริกาใต้ โดยพบว่าวัคซีนดังกล่าวนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในการป้องกันอาการป่วยแบบไม่รุนแรง,อาการป่วยปานกลาง และป่วยแบบรุนแรงของไวรัสโควิด-19
คณะกรรมการที่ปรึกษาของ FDA ยังได้มีการสนับสนุนให้ใช้วัคซีนโนวาแวกซ์นับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และตอนนี้ FDA ก็กำลังทบทวนการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในระหว่างกระบวนการผลิตก่อนที่จะมีการตัดสินใจอนุมัติการฉีดวัคซีน
ขณะที่ในออสเตรเลีย ไม่นานมานี้ก็มีการลงทะเบียนให้ใช้วัคซีนโนวาแวกซ์เป็นวัคซีนสำหรับฉีดบูสเตอร์ในกลุ่มเด็กที่มีอายุมากกว่า 18 ปีเป็นต้นไป โดยบริษัทกำลังดำเนินการทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีนในระยะที่ 3 เพื่อจะกำหนดว่าวัคซีนนั้นสามารถจะใช้ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในฐานะเข็มบูสเตอร์หรือไม่
ทั้งนี้ในอนาคตเมื่อวัคซีนชนิดใหม่ได้ถูกนำมาใช้แล้ว ประชาชนก็จะมีทางเลือกที่มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในการใช้วัคซีนแบบผสมเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและช่วงเวลาของภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นเพื่อที่จะป้องกันโควิด-19
และที่สำคัญวัคซีนโนวาแวกซ์นั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาด้วยตู้แช่แข็งุณหภูมิต่ำแต่อย่างใด
ประเทศไต้หวันรับวัคซีนโนวาแวกซ์ลอตแรกเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา (อ้างอิงวิดีโอจาก PTS English News)
@วัคซีนแบบสูตรผสม
จนกระทั่งถึงตอนนี้นั้น มีผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าการผสมและจับคู่ประเภทของวัคซีนที่มีอยู่นั้นก็เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยกตัวอย่างเช่น ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเมื่อผู้ใหญ่ได้รับวัคซีนครบโดสจากทั้งสามยี่ห้อที่มีอยู่ได้แก่วัคซีนจากไฟเซอร์,วัคซีนจากโมเดอร์นา,และวัคซีนจากจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แล้วไปรับวัคซีนบูสเตอร์ชนิดอื่นที่แตกต่างจากที่ได้รับในครั้งแรกนั้น พบข้อมูลว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในระดับที่แข็งแกร่งกว่าหรืออย่างน้อยก็เทียบเท่าได้กับการรับบูสเตอร์ด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน
อนึ่งการผสมวัคซีนคนละชนิดกับวัคซีนที่ฉีดบูสเตอร์นั้นพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในหลายงานวิจัย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการผสมวัคซีนนั้นอาจทำให้เห็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไวรัส SARS-CoV-2 นั้นเป็นไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ในหลายจุดของโปรตีนหนามจนทำให้เกิดสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันออกไปตามการกลายพันธุ์ อันนำไปสู่ขีดความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีแอนติบอดีที่สามารถจดจำได้ในหลายส่วนของโปรตีนหนามที่มาจากการฉีดวัคซีนนั้น นี่ก็อาจจะสามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของไวรัสเข้าสู่เซลล์ของร่างกายก็เป็นได้