แน่นอนว่าการผลิตเนื้อสัตว์ตามที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วต้องอาศัยวัตถุดิบเพื่อที่จะให้อาหารแก่สัตว์เหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต และประเทศในทวีปเอเชียนั้นไม่สามารถจะผลิตข้าวโพดหรือว่าถั่วเหลืองได้เพียงพอจะรองรับความต้องการนี้แม้ว่าประเทศอย่างจีน,ฟิลิปปินส์และไทยนั้นจะมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกข้าวโพดในสัดส่วนขนาดใหญ่ก็ตาม
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งในทุกวันนี้ยังไม่เห็นว่าจุดจบของสงครามนี้จะอยู่ที่ไหนนั้น ทำให้มีประเด็นผลกระทบหนึ่งที่ถูกพูดถึงมากทั่วโลก ณ เวลานี้ ก็คือว่าสงครามครั้งนี้จะนำไปสู่วิกฤติอาหารโลก ทำให้เกิดภาวะอดอาหารในหลายประเทศ จากกรณีดังกล่าวนั้นล่าสุดสำนักข่าว Today Online ของประเทศสิงคโปร์เองก็ได้วิเคราะห์ว่าวิกฤติอาหารดังกล่าวนั้นจะส่งผลกระทบต่อทวีปเอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานที่ว่านี้มานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
สงครามรัสเซีย-ยูเครนนั้นถือว่าเป็นความขัดแย้งกันระหว่างสองมหาอำนาจด้านการเกษตร ที่กำลังมีผลกระทบลามไปถึงการส่งออกสินค้าการเกษตรที่สำคัญหลายรายการ
โดยทั้งประเทศยูเครนและรัสเซียนั้นถือว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายสำคัญ คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 25-30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลก เป็นผู้ส่งออกข้าวโพดอยู่ในสัดส่วน 15 เปอร์เซ็นต์และเป็นผู้ส่งออกถั่วเหลืองอยู่ที่ 2.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับอัตราส่วนทั่วโลก
ทั้งนี้แม้ว่าสัดส่วนที่กล่าวมาดังกล่าวนั้นอาจดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขทั้งโลก แต่ก็มีความสำคัญเนื่องจากว่าในหลายประเทศในทวีปเอเชียนั้นก็พบว่ามีการนำเข้าที่สำคัญจากภูมิภาคยุโรป
ดังนั้นการลดลงของสินค้าทั้งสามรายการในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก ก็ทำให้เกิดภาวะราคาอาหารพุ่งขึ้นสูงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ตามมาด้วยการแบน ห้ามไม่ให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและปิดท้ายด้วยภาวะอาหารขาดแคลน
หลายประเทศในเอเชียนั้น พบว่ามีการใช้ข้าวสาลี,ข้าวโพด และถั่วเหลืองเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะเป็นอาหารสัตว์ที่จะกลายเป็นเนื้อวัว,เนื้อหมู,เนื้อสัตว์ปีก และเนื้อปลา เพื่อจะส่งเสริมตลาดการเกษตรในประเทศของตัวเอง
@ความต้องการอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับเอเชีย
ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา อัตราการผลิตและอัตราการบริโภคเนื้อนั้นพุ่งสุงขึ้นมากในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศจีน ซึ่งหลังจากที่จีนได้ปฏิรูปตลาดเมื่อปี 2521 ก็พบว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อหัวนั้นพุ่งขึ้นไปอยู่ที่เกือบหกเท่าในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของการผลิตเนื้อสัตว์
ส่วนประเทศเอเชียอื่นๆเช่นญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,อินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์,เวียดนาม และประเทศไทยนั้นก็อยู่ในกระบวนการผลิตเนื้อที่พุ่งสูงขึ้นนี้ด้วยเช่นกัน
ความต้องการเนื้อทุกประเทศทั้งเนื้อวัว, หมู, ไก่และปลา ได้พุ่งสูงขึ้นอันเนื่องมาจาก กระบวนการพัฒนาเมืองที่ต้องการจะมุ่งเน้นไปยังการพัฒนามาตรฐานการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้ชนชั้นกลางในเมืองนั้นมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ในปี 2564 พบว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของประชากรภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียน ซึ่งมีประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 667 ล้านคนนั้น เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตัวเมืองเป็นหลัก อีกทั้งมีการคาดการว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะโตร้อยละ 4.9 ในปีนี้ ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ในประเทศต่อหัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
@ภาวะชะงักงันของวัตถุดิบอาหารและการผลิตเนื้อสัตว์ในเอเชีย
ในปัจจุบันนั้น ประเทศที่บริโภคเนื้อเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในเอเชียสามอันดับคือ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น นั้นมีการคาดการณ์กันว่าอัตราการบริโภคเนื้อในประเทศเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปที่ประมาณ 10.2 ล้านตัน 2.9 ล้านตัน และ 1.3 ล้านตัน ตามลำดับ ในปีนี้ หรือก็คือสูงกว่าปี 2564 ที่ผ่านมาประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
ส่วนการบริโภคหมูในอาเซียนนั้นพบว่ามีการพุ่งขึ้นไปถึง 23 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปี 2552-2561 และคาดว่าในปี 2571 อัตราการบริโภคนี้จะพุ่งขึ้นไปอีก 21 เปอร์เซ็นต์
โดย ณ เวลานี้ประเทศที่เป็นผู้ที่เป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ของเอเชียนั้นก็คือประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งคาดกันว่าในปีนี้การผลิตจะอยู่ที่ 14.3 ล้านตัน และ 3.3 ล้านตันตามลำดับ
ส่วนในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก่อนจะถึงปี 2561 นั้นพบว่าอัตราการบริโภคสัตว์ปีกในอาเซียนพุ่งไปอยู่ที่ 56 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงความนิยมการบริโภค จากเดิมที่บริโภคเนื้อหมูกันก็เป็นการบริโภคสัตว์ปีกมากขึ้นเรื่อยๆ
ทวีปเอเชียยังถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีประเทศจีนเป็นผู้ดำเนินการผลิตเนื้อปลารายใหญ่ที่สุด ส่วนประเทศอื่นๆอาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ก็คาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตมากขึ้นในประเทศเหล่านี้
แน่นอนว่าการผลิตเนื้อสัตว์ตามที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วต้องอาศัยวัตถุดิบเพื่อที่จะให้อาหารแก่สัตว์เหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต และประเทศในทวีปเอเชียนั้นไม่สามารถจะผลิตข้าวโพดหรือว่าถั่วเหลืองได้เพียงพอจะรองรับความต้องการนี้แม้ว่าประเทศอย่างจีน,ฟิลิปปินส์และไทยนั้นจะมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกข้าวโพดในสัดส่วนขนาดใหญ่ก็ตาม
รายงานข่าวผลของสงครามที่ทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรพุ่งสูงขึ้น (อ้างอิงวิดีโอจาก ABC News)
ขณะที่ถั่วเหลืองนั้นพบว่านอกเหนือจากประเทศจีนแล้ว ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะในอาเซียนนั้นมีพื้นที่ในการปลูกถั่วเหลืองที่ค่อนข้างต่ำ โดยพบว่าในปี 2561 ภูมิภาคนี้ผลิตถั่วเหลืองได้แค่ 1 ใน 10 ของความต้องการอุตสาหกรรมเท่านั้น
@ความชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก
สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนได้ลดห่วงโซ่อุปทานของข้าวโพด,ถั่วเหลือง และข้าวสาลีในอัตราส่วน 15 เปอร์เซ็นต์,2 เปอร์เซ็นต์ และ 25-30 เปอร์เซ็นต์ลงตามลำดับ
และนอกจากนี้ ห่วงโซ่อุปทานสมัยใหม่นั้นยังเป็นสิ่งที่มีลักษณะเชื่อมโยงกันทั่วโลก ดังนั้นการปิดล้อมท่าเรือในพื้นที่ทะเลดำยังได้สร้างผลกระทบลามไปถึงส่วนอื่นของโลก อาทิ ความล่าช้าในเรื่องการขนส่งธัญพืช เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น พบข้อมูลว่ามีหลายประเทศในเอเชียนั้นต้องอาศัยพื้นที่เพาะปลูกในยูเครน และรัสเซียเพื่อที่จะมาสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ทางการเกษตรทั้งสี่ประเภท ตามที่ระบุไปแล้ว
โดยในปี 2563 นั้นพบว่า 54.8 เปอร์เซ็นต์ของข้าวสาลีในประเทศบังกลาเทศนั้นมาจากประเทศยูเครนและประเทศรัสเซีย ส่วนประเทศอื่นๆในเอเชีย ได้แก่ คีร์กีซสถาน ต้องพึ่งพาข้าวสาลีจากยูเครนและรัสเซีย 72.5 เปอร์เซ็นต์, ลาว 98.4 เปอร์เซ็นต์, มองโกเลีย 99.9 เปอร์เซ็นต์, มาเลเซีย 21.7 เปอร์เซ็นต์, ปากีสถาน 48.9 เปอร์เซ็นต์, อินโดนีเซีย 26.6 เปอร์เซ็นต์, ฟิลิปปินส์ 7.99 เปอร์เซ็นต์, ไทย 15.7 เปอร์เซ็นต์ และอุซเบกิสถาน 98.8 เปอร์เซ็นต์
รัสเซียยืนยันว่าจะมีการเปิดท่าเรือในยูเครนเพื่อช่วยเหลือในประเด็นเรื่องการขาดแคลนอาหาร (อ้างอิงวิดีโอจาก Global News)
ขณะที่จุดหมายปลายทางหลักในการส่งออกข้าวโพดของยูเครนในเอเชียนั้นพบว่าส่งออกไปที่จีน 28.3 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปเกาหลีใต้ 4.58 เปอร์เซ็นต์ เวียดนาม 0.69 เปอร์เซ็นต์และบังกลาเทศ 0.37 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการส่งออกข้าวโพดจากยูเครนทั้งหมด
ส่วนประเทศในเอเชียซึ่งพึ่งพาการนำเข้าข้าวโพดจากรัสเซียและยูเครนมากที่สุดนั้นก็ได้แก่ประเทศจีน 51.9 เปอร์เซ็นต์, คาซัคสถาน 33.3 เปอร์เซ็นต์ มองโกเลีย 87.1 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ 11.1 เปอร์เซ็นต์ และเวียดนาม 5.9 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ถั่วเหลืองนั้น พบว่าในปี 2563 รัสเซียได้ส่งออกถั่วเหลืองไปเอเชีย โดยส่งออกไปจีน 59 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปเกาหลีใต้ 2.2 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปคาซัคสถาน 1.6 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกไปอุซเบกิสถาน 0.8 เปอร์เซ็นต์
@ทางแก้ปัญหาสำหรับเอเชีย
สืบเนื่องจากการขาดวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหารสัตว์ที่ส่งผลกระทบกับกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ของเอเชีย ความล่าช้าของห่วงโซ่อุปทานอันเนื่องมาจากสงคราสและรัสเซียและยูเครน ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าชั่วคราว ณ เวลานี้ ส่งผลทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์นั้นพุ่งสูงขึ้น
สำหรับสถานการณ์ที่ว่ามานี้นั้น แน่นอนว่าราคาปศุสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีกลและเนื้อหมูดูจะเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างไรก็ตาม บางประเทศ อาทิ ประเทศจีนนั้นก็มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการกระจายการนำเข้าแหล่งอาหารควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิตในประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าประเทศจีนได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ดีพอสมควรเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
โดยแหล่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นที่ยังพอจะสามารถจัดหาได้ ถ้าหากมีการสร้างห่วงโซ่อุปทานขึ้นมา ก็ได้แก่ประเทศออสเตรเลียและแคนาดา ที่พอจะมีศักยภาพเป็นแหล่งจัดหาข้าวโพดแห่งใหม่,ประเทศอาร์เจนติน่า ,บราซิล และสหรัฐอเมริกา ก็น่าจะเป็นแหล่งจัดหาสำหรับข้าวโพดและประเทศแคนาดา,ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ก็มีศักยภาพพอจะจัดหาข้าวสาลีได้
อนึ่ง การยืดเยื้อของสงครามรัสเซียและยูเครน นั้นเป็นสิ่งที่จะส่งผลทำให้เกิดความไม่มั่นคงในกระบวนการผลิตสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้เกิดผลกระทบเป็นระลอกคลื่นมายังเอเชีย ยกตัวอย่างเช่นที่ประเทศมาเลเซียก็ได้มีการออกมาตรการห้ามไม่ให้มีการส่งออกเนื้อไก่ ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเหตุผลของการห้ามส่งออกนั้นก็มาจากการที่ราคาอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้นนำไปสู่การลดลงของการผลิตเนื้อไก่ในประเทศ และราคาเนื้อไก่ที่พุ่งสูงขึ้นตามมาด้วย
@นโยบายต้องพึ่งตัวเองเป็นหลักก่อน
หลายประเทศในภูมิภาคนั้นเริ่มจะมีความกังวลแล้วเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหารภายในประเทศของตัวเอง ทำให้ประเทศอื่นๆเริ่มจะคาดการณ์ถึงสถานการณ์การขาดวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารในประเทศของเองเอาไว้ ซึ่งนี่ส่งผลทำให้มีการลดไปจนถึงการแบนห้ามไม่ให้มีการส่งออกสินค้า
ผลของการขาดแคลนที่ว่ามีนี้นั้นทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการต้องเติมเต็มความต้องการในประเทศก่อน ซึ่งแม้ว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศเหล่านี้จะมีเพียงพอสำหรับความต้องการ แต่การที่ราคาอาหารสัตว์สูงขึ้นนั้นทำให้เกิดความขาดแคลนและราคาอาหารที่สูงขึ้นตามมา
สำหรับในระยาวนั้น เอเชียมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดช่องว่างของการผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งถั่วเหลือง,ข้าวโพดและข้าวสาลีลง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าในอนาคตนั้นจะสามารถลดการนำเข้าสิ่งเหล่านี้ลงไปได้
ดังนั้นจึงหมายความว่าประเทศต่างๆนั้น ณ เวลานี้ควรที่จะมีนโยบายมุ่งเน้นไปที่การทุ่มเทให้เกิดการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีเพาะพันธุ์สมัยใหม่ (อาทิเทคโนโลยีตัดต่อทางพันธุกรรม) การพัฒนาคุณภาพแหล่งน้ำและแหล่งปุ๋ยสำหรับอาหารสัตว์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะของเกษตรกรในประเทศอย่างยั่งยืน
เรียบเรียงจาก:https://www.todayonline.com/commentary/growing-appetite-meat-and-disruption-production-asia-has-looming-food-crisis-1919606