อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่นายหยางถูกลงโทษ นายหวังกลับไม่ถูกตั้งข้อหา โดยเขาได้ดำเนินการแปลงสัญชาติเป็นชาวกัมพูชา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 11 เดือน โดยเขาได้รับชื่อในภาษากัมพูชาชื่อว่านายหว่าน โสกขะ (Wan Sokha) และมีธุรกิจมากมายในกัมพูชา ที่มาจากการดำเนินงานของเขาเอง และต่อมาในเดือน ก.ค. ก็ปรากฏชื่อว่านายหวังหรือว่านายหว่านนั้นได้กลายเป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงอยู่กันที่ประเด็นเกี่ยวกับนักธุรกิจของประเทศจีน ซึ่งมีความมั่งคั่งจากการกระทำอันไม่โปร่งใส สามารถจะใช้ต่างประเทศ ซึ่งในกรณีนี้คือประเทศกัมพูชา เพื่อหลบหนีจากการดำเนินคดีไปได้ และนักธุรกิจคนดังกล่าวนั้นยังมีส่วนในการถือครองส่วนหนึ่งของสโมสรฟุตบอลอังกฤษชื่อดังอย่างเบอร์มิงแฮม ซิตี้
โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชียหรือว่า RFA ได้รายงานข่าวว่าลีกฟุตบอลอังกฤษ หรือว่าอีเอฟแอลของอังกฤษนั้นจะมีการสอบสอบกับสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮม ซิตี้ ภายหลังจากที่สำนักข่าว RFA ได้รายงานข่าวเผยแพร่ว่านักการทูตจากประเทศกัมพูชารายหนึ่งได้เข้าไปถือครองหุ้นของสโมสรอย่างลับๆ
โดยรายงานข่าวการเปิดโปงดังกล่าวได้ระบุถึงข้อมูลการสอบสวนนายหวัง เหยาฮุย (Wang Yaohui) นักธุรกิจซึ่งเกิดในประเทศจีน แต่ว่าสามารถือครองทั้งสัญชาติจีนและสัญชาติกัมพูชา และนายหวังคนนี้นั้นยังพบว่าสามารถจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้อีกผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์กับบุคคลระดับสูงในพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันนั้นถือว่าเป็นพรรครัฐบาลที่ปกครองประเทศกัมพูชามาอย่างยาวนาน
แต่อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลต่างๆพบว่าจากการที่นางหวังซึ่งมีกิจกรรมทางธุรกิจอย่างลับๆกับทั้งนักธุรกิจและนักการเมืองในกัมพูชานั้น ทำให้เขาสามารถจะหลบหนีจากข้อครหาว่ามีพฤติกรรมอื้อฉาวในการดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยการใช้ชีวิตใหม่ที่ค่อนข้างจะหรูหราในประเทศกัมพูชา
@สินบนแอฟริกา การพนันที่มาเก๊า
สำหรับประวัติของนายหวังนั้นพบว่าเขาเกิดในมณฑลเฮย์หลงเจียงของประเทศจีนเมื่อปี 2509 ช่วงปลายปี 2533 นายหวังเริ่มทำธุรกิจหลายอย่างนับตั้งแต่การลงทุนขุดเหมืองในแอฟริกาไปจนถึงตลาดศิลปะจีน
ในปี 2552 นายหวังได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลของประเทศแซมเบีย ในนามของกลุ่มบริษัทเหมืองแร่จงฮุย (Zhonghui Mining Group) ที่มีเขาเป็นเจ้าของ โดยรายละเอียดสัญญาระบุว่าบริษัทจะมีการลงทุนเหมืองทองแดงมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (123,454.8 ล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตามในปี 2554 มีการระบุว่าการก่อสร้างเหมืองดังกล่าวนั้นผิดระเบียบการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศแซมเบียปี 2540
นอกจากนี้ยังมีข้อครหาว่าการที่บริษัทสามารถทำสัญญาดังกล่าวได้นั้นเพราะว่ามีการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้ข้อตกลงมา
จนเป็นเหตุให้รัฐบาลแซมเบียก็ได้กล่าวหาว่าบริษัทจงฮุยนั้นได้จ่ายเงินชำระค่าภาษีศุลกากรแซมเบียจำนวนเกือบ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ(2,057,580 บาท) ให้กับรัฐมนตรีคนหนึ่งของแซมเบีย เพื่อที่ว่ารัฐมนตรีคนนี้นั้นจะสามารถนำเข้าจักรยานได้เป็นจำนวน 5,000 คัน และแน่นอนว่าเพราะอิทธิพลของรัฐมนตรีคนนี้ ทำให้ในปี 2554 บริษัทจงฮุยได้รับการคัดเลือกให้ได้รับใบอนุญาตในการทำเหมือง ด้วยระยะเวลาแค่สามวันเท่านั้น จากที่กระบวนการส่วนมากนั้นจะต้องมีการดำเนินการกันเป็นเดือนๆ
ทำให้ในปี 2558 อดีตรัฐมนตรีแซมเบียคนนี้ถูกตัดสินโทษว่ามีความผิดจริงและต้องโทษให้ใช้แรงงานเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และในปี 2562 อดีตรัฐมนตรีคนนี้ก็ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดี
ส่วนที่ประเทศจีนนั้น มีรายงานข่าวว่านายหวังต้องโทษกักบริเวณในเดือน พ.ค. 2555 เนื่องจากว่ามีข้อสงสัยว่าจะมีการทุจริตของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสตืจีนอันโยงใยไปถึงเครือข่ายธุรกิจของนายหวัง
ทางเจ้าหน้าที่นั้นได้มุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างนายหยาง คุน อดีตรองประธานธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งรัฐของจีน ขณะที่สำนักข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ของฮ่องกงได้รายงานอ้างแหล่งข่าวว่านายหยางและนายหวัง ทั้งสองคนนั้นเคยเสียเงินเป็นจำนวนถึงนับร้อยล้านหยวนในระหว่างทริปเล่นการพนันในมาเก๊า และในเวลาต่อมานายหยางจึงได้มีการจัดการเรื่องเงินกู้ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งของนายหวัง ซึ่งบริษัทนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อจะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่การอนุมัติเงินกู้ดังกล่าวนั้น อาจจะนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเพื่อจะนำมาชดเชยกับความเสียหายที่เกิดจากการพนันในมาเก๊า
ท้ายที่สุดนายหยางก็โดนข้อหาทุจริตและถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตในเดือน ก.พ. 2558 โดยพบข้อมูลพฤติการว่าเขาได้รับเงินสินบนจากนายหวังไปทั้งสิ้น 4.138 ล้านหยวน (21,604,590 บาท) ตั้งแต่ปี 2551-2553 และในทางกลับกัน นายหยางก็จะอนุมัติเงินกู้ธนาคารให้กับนายหวังคิดเป็นจำนวน 1.45 พันล้านหยวน (7,544,460,000 บาท)
@ย้ายมากัมพูชา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่นายหยางถูกลงโทษ นายหวังกลับไม่ถูกตั้งข้อหา โดยเขาได้ดำเนินการแปลงสัญชาติเป็นชาวกัมพูชา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 11 เดือน โดยเขาได้รับชื่อในภาษากัมพูชาชื่อว่านายหว่าน โสกขะ (Wan Sokha) และมีธุรกิจมากมายในกัมพูชา ที่มาจากการดำเนินงานของเขาเอง และต่อมาในเดือน ก.ค. ก็ปรากฏชื่อว่านายหวังหรือว่านายหว่านนั้นได้กลายเป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน
หนังสือเดินทางทางการทูตฉบับแรกของนายหว่าน โสกขะ หรือว่าชื่อเดิมคือนายหวัง
เอกสารแปลงสัญชาตินายหวัง เหยาฮุย ออกโดยรัฐบาลกัมพูชา
และการที่นายหวังเป็นที่ปรึกษาให้กับฮุนเซน ก็ทำให้เขาสามารถเข้าถึงหนังสือเดินทางทางการทูตของกัมพูชา ซึ่งระบุว่านายหวังนั้นเป็นที่ปรึกษาให้กับนายกรัฐมนตรี และยังระบุข้อมูลผู้ติดต่อฉุกเฉินว่าคือนางเชิง สุภาพ (Cheung Sopheap) ซึ่งชื่อดังกล่าวนั้นมีความคล้ายคลึงกับนางเจืองสุภาพ (Choeung Sopheap) เศรษฐีนีนักธุรกิจใหญ่ที่ใกล้ชิดกับครอบครัวฮุนเซน และเธอยังเป็นภรรยาของนายเหลา หมิงกัน วุฒิสมาชิกจากฝ่ายพรรครัฐบาลกัมพูชา
ต่อมาในเดือน พ.ค. 2558 พบข้อมูลว่ามีการจัดตั้งบริษัทใหม่แห่งหนึ่งในเกาะไซปรัส ชื่อว่าบริษัท JWPegasus Ltd โดยบรษัทนี้นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ว่าจะให้เป็นบริษัทลงทุนในการก่อสร้างโรงแรมเรดิสันบลู ในเมืองลาร์นากาของไซปรัส
ในปี 2562 สำนักข่าวรอยเตอร์สได้ดำเนินการสอบสวนและเปิดโปงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวคือนางเจือง,ลูกของเธออีกสองคน และนางอิม เปาลิกา ภรรยาของนายอั๋น พรมณีโรจน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งนี่เป็นเหตุทำให้ทั้งสี่คนนั้นได้รับสัญชาติไซปรัสผ่านการลงทุนดังกล่าว เช่นเดียวกับนายอั๋นและนายเหลาก็ได้รับสัญชาติไซปรัสเช่นกัน
รายงานข่าวระบุต่อไปว่าผู้ลงทุนจากสามในสี่รายในบริษัท JWPegasus ในช่วงเดือน ส.ค. 2559 นั้นพบว่าเป็นเพื่อนร่วมงานของนายหวัง ได้แก่นายเลย์ วิรักษ์ หรือชื่อเดิมคือนายหยู่ เต็ง ซึ่งเขาก็เกิดที่ประเทศจีน ก่อนจะมาได้สัญชาติกัมพูชาในเดือน ก.พ. 2558 โดยข้อมูลบันทึกทางธุรกิจพบว่าเขาอาศัยอยู่ที่เดียวกับบุคคลที่มีส่วนในการจัดการบริษัทที่เชื่อมโยงไปถึงนายหวัง
ส่วนผู้ลงทุนอีกรายก็คือนางถัง หยูหง ซึ่งพบว่าเป็นผู้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับนายหวังมาอย่างยาวนาน และทั้งสองคนนั้นยังมีคฤหาสน์ร่วมกันในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และผู้ลงทุนรายที่สามคือนายหลี่เสี่ยวหัว ซึ่งพบว่านายหลี่นั้นเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยและกรรมการร่วมของบริษัทในสิงคโปร์ที่พบว่ามีเจ้าของหลักคือนางถัง
มีรายงานในช่วงเดือน ม.ค. 2559 นายหวังสามารถเข้าถึงหนังสือเดินทางทางการทูตฉบับใหม่ได้ ซึ่งหนังสือเดินทางฉบับนี้นั้นไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ปรึกษาให้กับฮุนเซน และไม่ได้ใช่ชื่อนางเชิง สุภาพ เป็นผู้ติดต่อฉุกเฉินแล้ว แต่ระบุว่านายหวางนั้นมีอาชีพใหม่คือที่ปรึกษารัฐมนตรี ณ สถานทูตกัมพูชาในสิงคโปร์
มีเรื่องที่ตลกร้ายก็คือว่าบริษัทด้านพลังงานรายใหญ่ของกัมพูชาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแห่งหนึ่งที่มีชือว่า Cambodian Natural Gas Corp นั้นมีซัพพลายเออร์หลักเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า China National Offshore Oil Corporation (CNOOC) โดยในปี 2562 รัฐวิสาหกิจ CNOOC ของจีนก็ได้เอกสารแถลงต่อสื่อระบุว่านายหวังนั้นเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัทด้านพลังงานของกัมพูชา และยังปรากฏภาพในปี 2562 ว่านายหวังพร้อมกับผู้บริหารบริษัทนั้นได้ไปพบปะกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในกรุงปักกิ่งเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา
นายหวัง เหยาฮุย ขณะหารือกับรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศจีน
หรือสรุปก็คือว่าประเด็นเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับคดีใดๆก็ตามระหว่างนายหวังกับรัฐบาลประเทศบ้านเกิดของเขาดูเหมือนว่าจะสลายหายไปแล้ว
@สโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮม
การทำข่าวสอบสวนของ RFA ยังพบข้อมูลด้วยว่านายหวังนั้นสามารถเข้าไปถือครองหุ้นในสโมสรเบอร์มิงแฮม ซิตี้ โดยเขาเข้าไปถือหุ้นผ่านบริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงชื่อว่า Birmingham Sports Holdings Limited และในช่วงเดือน ธ.ค. 2560 พบว่านายหวังนั้นถือหุ้นของบริษัท Birmingham Sports Holdings Limited คิดเป็นจำนวน 8.52 ผ่านบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินที่ชื่อว่า Dragon Villa Ltd
อนึ่ง ข้อบังคับของลีกฟุตบอลอังกฤษหรือว่า EFL ระบุว่าสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมนั้นมีหน้าที่ต้องเปิดเผยตัวตนของผู้ที่มีความสนใจจะเข้ามาถือครองและได้รับผลประโยชน์อันมีนัยยะสำคัญจากสโมสรไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่ปรากฎว่าในเอกสารความเป็นเจ้าของสโมสรกลับไม่พบชื่อนายหวังว่ามีส่วนถือครองสโมสรแต่อย่างใด ซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่การที่ EFL จะลงโทษสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมได้
เรียบเรียงจาก:https://thediplomat.com/2022/06/english-football-league-to-probe-alleged-cambodian-ownership-connection/,https://www.rfa.org/english/news/cambodia/cambodia-wang-yaohui-05202022172549.html?fbclid=IwAR0onthRcXJcmmJot-Q1nOX6MaUg_1ubox1MwMRCLndhYeVHDwZhEOZ_2p8
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64