เนื่องจากในกระบวนการทบทวนกรณีศึกษาของผู้ติดเชื้อนั้นพบว่าแม้ว่าบางคนที่ติดเชื้อซ้ำจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด เพราะมีการติดเชื้อซ้ำบางกรณี ที่ให้ผลลัพธ์อันเลวร้ายมาก และผู้ป่วยบางคนที่ติดโควิดซ้ำ ก็ถึงขั้นเสียชีวิต (ในช่วงที่ดำเนินการศึกษานั้น พบว่าโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ยังเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอนซ้ำนั้น ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟาและเบต้าไปแล้วก่อนหน้านี้)
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตอยู่ในทิศทางขาลง แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในประเด็นที่ต้องติดตามก็คือความเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อซ้ำพุ่งสูงขึ้น โดยพาะเมื่อเกิดการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่มีลักษณะของโปรตีนหนามแตกต่างจากโควิดสายพันธุ์ก่อนหน้านี้
ล่าสุดสำนักข่าว 7 News ของประเทศออสเตรเลียได้มีการเขียนบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีการติดเชื้อซ้ำ และความเป็นไปได้ว่าการติดเชื้อซ้ำนั้นอาจจะรุนแรงกว่าการติดเชื้อครั้งแรกสำหรับบางคน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
แม้ว่าอาการของไวรัสโควิด-19 นั้นจะมีความรุนแรงที่น้อยลง โดยเฉพาะถ้าหากคุณได้ผ่านการติดโควิดมาก่อนแล้ว แต่ก็มีบางกรณีที่อาการการติดเชื้อซ้ำนั้นอาจจะรุนแรง ซึ่งนี่คือสิ่งที่เรารู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการเหล่านี้
@ชีวิตหลังโควิด
แนวทางปัจจุบันนั้นระบุไว้ชัดเจนว่าผู้ติดเชื้อโควิดนั้นจะมีความปลอดภัยจากเชื้ออย่างสมบูรณ์ ในช่วงระยะเวลา 12 สัปดาห์หลังจากที่ผู้ติดเชื้อได้ยุติจากการกักตัวแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาระหว่าง 12 สัปดาห์ ถ้าหากบุคคลนั้นมีอาการคล้ายกับโควิดปรากฏขึ้นมาอีก บุคคลนั้นก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจเชื้อซ้ำอีกรอบ
อย่างไรก็ตามแนวทางเรื่องการช่วงระยะเวลาปลอดภัย 12 สัปดาห์เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลนั้นได้ปลอดเชื้ออย่างสมบูรณ์กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
โดยแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับการป้องกันโควิดนั้น อยู่บนหลักการที่ว่าเมื่อคุณติดเชื้อโควิด-19 และหายแล้ว คุณจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้ อย่างน้อยก็ 12 สัปดาห์ แต่ว่าในออสเตรเลียนั้นกลับมีรายงานว่ามีการติดเชื้อโดยเฉพาะกับการติดเชื้อซ้ำที่พุ่งสูงขึ้นเร็วกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
ข่าวการติดเชื้อซ้ำในเมืองนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา (อ้างอิงวิดีโอจาก WDSU)
@เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา
ในการที่จะเข้าใจว่าบุคคลนั้นจะสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อซ้ำไม่ว่าจะเป็นจากไวรัสใดๆได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันก่อน ซึ่งมีอยู่สองปัจจัยที่จะทำให้แต่ละคนสามารถมีภูมิคุ้มกันที่สามารถกันไวรัสได้ก็คือ 1.ความทรงจำของภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานเท่าไร และ 2.ความทรงจำที่ว่านี้จะจดจำได้ดีเท่าไร ถ้าเจอกับไวรัสที่ต่างกันเล็กน้อย
ทั้งนี้หน่วยความจำของภูมิคุ้มกันนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็จะมีบทบาทในการส้รางกองทัพสำหรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
กลไกที่สำคัญที่สุดในความทรงจำภูมิคุ้มกันก็คือสิ่งที่เรียกว่า บี-เซลล์ (ทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี) และทีเซลล์ (ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ของร่างกายที่ติดเชื้อไปแล้ว)
จนถึงตอนนี้ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าหน่วยความจำของภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไวรัส SARS-CoV-2 อันเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด-19 นั้นจะอยู่ได้นานหลายเดือน หรือว่าอาจจะหลายปี ถ้าหากเป็นในส่วนของบีเซลล์ และในส่วนของแอนติบอดีที่ถูกผลิตออกมา เช่นเดียวกับทีเซลล์ที่จะมีความทรงจำต่อไวรัสได้นานกว่าหนึ่งปีขึ้นไป
ดังนั้นจึงหมายความว่าบุคคลที่สุขภาพแข็งแรง หน่วยความจำต่อไวรัส SARS-CoV-2 นั้นอาจจะอยู่ได้นานมากกว่าหนึ่งปี โดยเฉพาะถ้าหากเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดเดิมซ้ำๆ
@คำถามที่ตามมาก็คือว่าแล้วทำไมการติดโควิด-19 ซ้ำจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น
โดยคำตอบนั้นก็ได้มีการอธิบายไปหลายครั้งแล้วว่าเพราะไวรัสกำลังกลายพันธุ์นั่นเอง
ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นมีการทำสำเนาตัวเองอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว และการทำสำเนาตัวเองดังกล่าวนั้น ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ ซึ่งเราก็นิยามคำว่าความผิดพลาดในการทำสำเนาที่ว่าเป็นการกลายพันธุ์ และพอเวลาผ่านไป มีการกลายพันธุ์สะสมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ และสายพันธุ์ย่อยต่างๆขึ้นตามมา
โดยนับตั้งแต่เกิดเหตุโรคระบาด เราเห็นสายพันธุ์ในแขนงของไวรัสจากอู่ฮั่น กลายพันธุ์ไปเป็นสายพันธุ์อัลฟา, เบต้า, เดลต้า และตอนนี้ก็โอไมครอน ซึ่งทฤษฎี ณ เวลานี้ก็คือว่าภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์หนึ่งอาจไม่พอต่อการปกป้องร่างกายจากอีกสายพันธุ์หนึ่ง
และข้อมูลก็ระบุว่าสายพันธุ์โอไมครอนนั้นสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ดังนั้นจึงหมายความว่าหน่วยความจำของภูมิคุ้มกันที่มีต่อโควิดสายพันธุ์เดลต้า,เบต้า หรืออัลฟ่า นั้นไม่ได้ผลกับโอไมครอน ซึ่งพอมีการปรากฎตัวขึ้นของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ก็พบข้อมูลว่าภูมิคุ้มกันจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นก็ไม่เพียงพอจะรับมือต่อโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอีก
มีการศึกษาในกลุ่มเล็กๆที่ยังไม่ได้ผ่านการทบทวนจากประเทศเดนมาร์ก พบว่าผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน การติดเชื้อซ้ำด้วยโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แม้บุคคลนั้นติดโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ BA.1 มาก่อนแล้ว แต่จุดที่น่าสนใจก็คือว่าอัตราการติดเชื้อซ้ำนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ และหายากมากที่จะเจอการติดเชื้อซ้ำ
พอมาถึงช่วงฤดูหนาว ที่เราเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ก็มีการเกิดใหม่ของ โควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ซึ่งหลักฐานเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวนั้นมีศักยภาพในการหลบหน่วยความจำของภูมิคุ้มกันสูงกว่า BA.1
@ความร้ายแรงของการติดเชื้อซ้ำ
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อซ้ำนั้น พบข้อมูลว่าอาการป่วยจะมีความรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรกมาก ส่งผลทำให้การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนั้นน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าอาจเป็นเพราะหน่วยความจำของภูมิคุ้มกันนั้นยังคงสามารถจดจำอย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งของไวรัสที่มีการติดเชื้อซ้ำได้
อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการยากที่จะวัดความรุนแรงของโรคในระดับประชากร
เนื่องจากในกระบวนการทบทวนกรณีศึกษาของผู้ติดเชื้อนั้นพบว่าแม้ว่าบางคนที่ติดเชื้อซ้ำจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด เพราะมีการติดเชื้อซ้ำบางกรณี ที่ให้ผลลัพธ์อันเลวร้ายมาก และผู้ป่วยบางคนที่ติดโควิดซ้ำ ก็ถึงขั้นเสียชีวิต (ในช่วงที่ดำเนินการศึกษานั้น พบว่าโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ยังเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอนซ้ำนั้น ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟาและเบต้าไปแล้วก่อนหน้านี้)
แต่แม้โอไมครอนจะเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดโควิดซ้ำได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ กลับไม่มีข้อมูลที่หนักแน่นเพียงพอจะยืนยันข้อสรุปว่าการติดเชื้อซ้ำระหว่างโควิดสายพันธุ์อื่นๆ และตามมาด้วยโอไมครอนนั้น จะทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงได้มากน้อยเพียงใด
โดยสิ่งที่เรารู้แน่นอนก้คือว่าเราต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้น เพื่อจะบอกได้ชัดเจนว่าการติดเชื้อซ้ำนั้นมีอาการรุนแรงน้อยกว่าอย่างแท้จริง
อีกประการหนึ่งที่เรารู้ได้อย่างชัดเจน จากการศึกษาในหลายรายการก็คือว่าการฉีดวัคซีนนั้นช่วยทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันติดเชื้อซ้ำได้จริง ซึ่งในกรณีนี้ก็รวมไปถึงผู้ที่ติดเชื้อไปแล้วก่อนหน้านี้ และได้รับวัคซีนตามมาในภายหลัง
@อีกเหตุผลที่ควรฉีดวัคซีนบูสเตอร์
ผลการศึกษาที่ยังไม่ผ่านการทบทวนเมื่อไม่นานมานี้พบว่าภูมิคุ้มกันจากโอไมครอน BA.1 นั้นจะลดลงไปถึงประมาณ 7.5 เท่า เมื่อต้องเจอกับโอไมครอน BA.4 และ BA.5
นี่หมายความว่าแอนติบอดีที่ร่างกายเราผลิตได้จากการติดเชื้อโอไมครอน BA.1 ที่สามารถจะตรวจจับและต่อต้านโอไมครอน BA.1 ได้นั้น จะมีศักยภาพน้อยลงประมาณ 7.5 เท่า ในการจดจำและกำจัด โอไมครอน BA.4 และ BA.5 เมื่อเทียบกับ BA.1
รายงานข่าวการฉีดวัคซีนบูสเตอร์หลังจากติดโควิด (อ้างอิงวิดีโอจากสำนักข่าวการ์เดียน)
ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าการป้องกันที่แข็งแกร่งที่สุดนั้นเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการฉีดวัคซีนจำนวนสามโดสเป็นต้นไป และจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ อีกทั้งในการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าภูมิคุ้มกันแบบผสมนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ดีมากในการป้อนกันต่อทั้งการติดเชื้อซ้ำและการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เมื่อเปรียบเทียบกับแค่การติดเชื้อตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ซึ่งการศึกษาดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนและการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ตามมา
แต่คำถามที่ยังคงอยุ่ก็คือว่าถ้าหน่วยงานจำของภูมิคุ้มกันที่ว่านี้อยู่ในนานประมาณหนึ่งปี แต่หน่วยความจำนี้มีความเจาะจง และไม่อาจตรวจจับไวรัสตัวใหม่ๆได้ เราจะต้องผลิตไวรัสตัวใหม่ๆ ออกมาทุกปีใช่หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ เวลาเท่านั้นที่จะสามารถบอกเราได้