"...การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 28 ถึงที่ 35 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษแก่จำเลยดังกล่าว และให้นับโทษต่อจากคดีอาญาเรื่องอื่น ข้อหาและคำขออื่นให้ยก ส่วน จำเลยที่ 6 ถึงที่ 27 และที่ 36 ให้ยกฟ้อง ..."
กรณีการเรียกรับเงินและแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลคะแนนเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครสอบบางรายให้เป็นผู้สอบได้ในการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2557 เป็นอีกหนึ่งคดีทุจริตในเกิดขึ้นพื้นที่ภาคอีสาน ที่ล่าสุดศาลมีคำพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุกจำเลยจำนวนมากนับสิบราย บทลงโทษจำคุกนับร้อยนับสิบปี
อาทิ นายวรวิทย์ ปักกาโล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และนายอร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดนโทษจำคุก คนละ 140 ปี แต่ติดจริง 50 ปี
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ความคืบหน้าคดีกล่าวหา นายวรวิทย์ ปักกาโล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำเลยที่ 1 และพวก จำนวน 37 ราย คือ นายทองสุข ทุมมี จำเลยที่ 2 พันจ่าเอก คมสันต์ บุญศร (อดีตนายก อบต.หนองเรือ อ.นาเชือก) จำเลยที่ 3 นายสมบูรณ์ นาเพีย จำเลยที่ 4 (อดีตนายก อบต.เขวาไร่ อ.นาเชือก) 2 นายเชาวลิต จันทวะฤทธิ์ (ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลภารแอ่น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) จำเลยที่ 5 นายธีรวัฒน์ ชาไชย จำเลยที่ 6 น.ส.รินรดา มาพิทักษ์ จำเลยที่ 7 น.ส.สิรินทิพย์ แสนบุดดา จำเลยที่ 8 นายสุขสรรค์ ติณรัตน์ จำเลยที่ 9 นายวีระพล มาตย์แท่น จำเลยที่ 10
น.ส.จิราวรรณ ปิ่นกาหรือมณีจันทร์สุข จำเลยที่ 11 นายอลงกรณ์ ดำรงกิจเจริญ จำเลยที่ 12 นายปภาวิน หรือประหยัด เมืองแสน จำเลยที่ 13 นายรัฐวุฒิ คิดได้ จำเลยที่ 14 นายกฤษฎา แก้วมหาวงษ์ จำเลยที่ 15 นายปณวัฒน์ ทีโพธิหาด จำเลยที่ 16 นายณรงค์ชัย ณ ระนอง จำเลยที่ 17 น.ส.รุ่งนิรันดร์ ปินะพัง จำเลยที่ 18 น.ส.อรอนงค์ มะลาพิมพ์ จำเลยที่ 19 น.ส.ชมพูนุช ป้องชารี จำเลยที่ 20
น.ส.อมรรัตน์ ศรีเคลือบ หรือสีหาบุญทอง จำเลยที่ 21 นายธนากร พิมพ์สิม จำเลยที่ 22 นายวีระพงษ์ ไชยสงคราม จำเลยที่ 23 น.ส.จิณัฐญ์ตา แสนบุดดา จำเลยที่ 24 นายแทนคุณณ์ ปักกาโล จำเลยที่ 25 นางเยาวลักษณ์ เพิ่งจันดา จำเลยที่ 26 นายวิษณุ จินดาแต้สกุล จำเลยที่ 27 น.ส.ธารารัตน์ มิตรอุดม จำเลยที่ 28
น.ส.ชนกสุดา ดังโพนทอง จำเลยที่ 29 น.ส.พิกุล เพียยุระ จำเลยที่ 30 น.ส.นันท์ธนาดา ศรีทหาร จำเลยที่ 31 น.ส.สุทารัตน์ ข้อยุ้น จำเลยที่ 32 นางรัตนา ทันบาล หรือฉะอ้อนศรี จำเลยที่ 33 น.ส.ชุติศิริรัตน์ รุ่งเรือง จำเลยที่ 34 น.ส.ทราภรณ์ จินพละ จำเลยที่ 35 นางเบญจวรรณ เพ็งวิภาศ จำเลยที่ 36 นายอร่าม ศิริพันธุ์ จำเลยที่ 37 (หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ นางสมจิตร บุญศร หรือรัตนพลที (อดีตรองปลัด อบต. หนองเรือ อ.นาเชือก ภรรยาของพันจ่าเอกคมสันต์) ที่ 38
ในคดีเรียกรับเงินและแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลคะแนนเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครสอบบางรายให้เป็นผู้สอบได้ในการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2557
ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 149 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 83 พ.ร.บ.ว่า ด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 11 ประกอบ ป.อ.มาตรา 86 และ พ.ร.บ. ป.ป.ช.พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 มีคำพิพากษาดังนี้
นายวรวิทย์ ปักกาโล จำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 149 , 157 ประกอบมาตรา 84, 162 (1) (4) พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2563
นายทองสุข ทุมมี จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2563
พันจ่าเอก คมสันต์ บุญศร จำเลยที่ 3 นายสมบูรณ์ นาเพีย จำเลยที่ 4 นายเชาวสิต จันทวะฤทธิ์ จำเลยที่ 5 มีความผิดตาม มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 และ ป.อ.มาตรา 83
และพันจ่าเอก คมสันต์ บุญศร จำเลยที่ 3 ยังมีความผิดตาม มาตรา 149 ประกอบมาตรา 86 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 11 ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/3 ประกอบ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 และ ป.อ. มาตรา 86
น.ส.ธารารัตน์ มิตรอุดม จำเลยที่ 28 น.ส.ชนกสุดา ดังโพนทอง จำเลยที่ 29 น.ส.พิกุล เพียยุระ จำเลยที่ 30 น.ส.นันท์ธนาดา ศรีทหาร จำเลยที่ 31 น.ส.สุทารัตน์ ข้อยุ้น จำเลยที่ 32 นางรัตนา ทันบาล หรือฉะอ้อนศรี จำเลยที่ 33 น.ส.ชุติศิริรัตน์ ร่งเรือง จำเลยที่ 34 น.ส.ทราภรณ์ จินพละ จำเลยที่ 35 มีความผิดตามมาตรา 149 ประกอบ มาตรา 86
นายอร่าม ศิริพันธุ์ จำเลยที่ 37 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 11 พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 ป.อ. มาตรา 149 ประกอบมาตรา 86 และนางสมจิตร บุญครหรือรัตนพลที ที่ 38 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 149 ประกอบมาตรา 86 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 11 ประกอบ ป.อ.มาตรา 86 พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ. 25'61 และ ป.อ. มาตรา 86
ให้ลงโทษนายวรวิทย์ ปักกาโล จำเลยที่ 1 รวม 14 กระทง เป็นจำคุก 140 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3)
นายทองสุข ทุมมี จำเลยที่ 2 นายสมบูรณ์ นาเพีย จำเลยที่ 4 และ นายเชาวลิต จันทวะฤทธิ์ จำเลยที่ 5 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี
นายทองสุข ทุมมี จำเลยที่ 2 และนายสมบูรณ์ นาเพีย จำเลยที่ 4 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 2 ปี
พันจ่าเอก คมสันต์ บุญศร จำเลยที่ 3 และ นางสมจิตร บุญศร หรือรัตนพลที ที่ 38 ให้ลงโทษคุก คนละ 6 ปี 8 เดือน รวม 14 กระทง เป็นจำคุกคนละ 84 ปี 112 เตือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3)
น.ส.ธารารัตน์ มิตรอุดม จำเลยที่ 28 น.ส.ชนกสุดา ดังโพนทอง จำเลยที่ 29 น.ส.พิกุล เพียยุระ จำเลยที่ 30 น.ส.นันท์ธนาดา ศรีทหาร จำเลยที่ 31 น.ส.สุทารัตน์ ข้อยุ้น จำเลยที่ 32 นางรัตนา ทันบาล หรือฉะอ้อนศรี จำเลยที่ 33 น.ส.ชุติศิริรัตน์ ร่งเรือง จำเลยที่ 34 น.ส.ทราภรณ์ จินพละ จำเลยที่ 35 จำคุกคนละ 6 ปี 8 เดือน
น.ส.สุทารัตน์ ข้อยุ้น จำเลยที่ 32 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คง จำคุก 3 ปี 4 เดือน
นายอร่าม ศิริพันธุ์ จำเลยที่ 37 ให้ลงโทษรวม 14 กระทง เป็นจำคุก 140 ปี ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 70 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3)
ศาลลงโทษ จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 28 ถึง 31 ที่ 33 ถึงที่ 35 จำคุกเกินกว่า 5 ปี และการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 28 ถึงที่ 35 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษแก่จำเลยดังกล่าว และให้นับโทษต่อจากคดีอาญาเรื่องอื่น ข้อหาและคำขออื่นให้ยก
ส่วน จำเลยที่ 6 ถึงที่ 27 และที่ 36 ให้ยกฟ้อง
ทั้งนี้ คดียังไม่สิ้นสุด จำเลยทั้งหมด มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
เบื้องต้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติไม่เห็นชอบในการที่อัยการสูงสุด (อสส.) จะไม่อุทธรณ์ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมชิอบภาค 4
สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ระบุว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา 157 ระบุว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นับเป็นอีกหนึ่งคดีใหญ่ ที่เกิดขึ้นในการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบล และเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาสำคัญ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ให้ใครเดินซ้ำรอยเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ชัดเจนอีกกรณีหนึ่ง
อ่านประกอบ