"...เมื่อปี 2549 ถึง 2550 พยานในฐานะเจ้าหน้าที่ พัสดุตามคําสั่งโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ที่ 12/2549 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ได้ทําเรื่องขออนุมัติจัดจ้างวัสดุเพื่อใช้กับการปฏิบัติงานของโรงเรียนจากร้านเจริญวิทยา เป็นเงิน ประมาณ 30,000 บาท ร้านเจริญวิทยาส่งมอบวัสดุให้แก่โรงเรียนแล้ว พยานไปขอเงินจากจําเลยเพื่อนําไปจ่ายให้แก่ร้านเจริญวิทยา แต่จําเลยไม่ยอมให้เงินจํานวนดังกล่าว พยานจึงให้นางสาว ว. ขอรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีเงินฝากของโรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป) มีเงินคงเหลือ 17 บาท พยานสอบถามจําเลย แต่จําเลยไม่ตอบ..."
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ฐานเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต จำคุก กระทงละ 5 ปี รวม 39 กระทง เป็นจำคุก 195 ปี
ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการปลอมเอกสาร จำคุก กระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี
จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 80 ปี 234 เดือน
เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุก 50 ปี กับให้จำเลยคืนเงินจำนวน 735,524.67 บาท แก่ โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ผู้เสียหาย
คือ คำพิพากษา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 ที่ตัดสินลงโทษ นายอำนาจ นามแสง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงมะกรูด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เบียดบังเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินค่าอาหารกลางวันไปเป็นประโยชน์สำหรับตนเอง ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157 และ 161
ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
ต่อไปนี้ เป็นพฤติการณ์การกระทำความผิดของ นายอำนาจ นามแสง ที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4
มีรายละเอียดดังนี้
อัยการสูงสุด ในฐานะโจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยรับราชการเป็นข้าราชการครู ตําแหน่งผู้อํานวยการ โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ตําบลหนองไฮ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานของโรงเรียนบ้านดงมะกรูดและเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามคําสั่งโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ที่ 41/2550 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2550 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ของทางราชการ และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จําเลยจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งของทางราชการ และมีหน้าที่เก็บรักษาสมุดบัญชีคู่ฝากบัญชีเงินอุดหนุนทั่วไปและบัญชีค่าอาหารกลางวัน รวมทั้งมีอํานาจลงลายมือชื่อในใบเบิกถอนไปเบิกถอน เงินจากธนาคารออกจากเงินฝากทั้งสองบัญชีร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินของโรงเรียน อันเป็นเงื่อนไขการสั่งจ่ายเงินที่ให้ไว้กับธนาคารในคําขอเปิดบัญชี
โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ผู้เสียหาย เป็นส่วนราชการหนึ่งของสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อปีงบประมาณ 2549 ถึง 2551 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้รับจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจําปี รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน จากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สําหรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะโอนเงินค่าใช้จ่ายให้แก่โรงเรียนบ้านดงมะกรูดโดยตรง ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป)” เลขที่บัญชี xxx - x - xxxxx - x
ส่วนเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน สําหรับนักเรียนยากจน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดสรรเงินผ่านสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ได้โอน เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว เลขที่บัญชีดังกล่าวเช่นเดียวกัน
จําเลย ได้อาศัยโอกาสในตําแหน่งหน้าที่เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง เหตุเกิดที่ตําบลหนองไฮ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157, 161 ประกอบมาตรา 91 ให้จําเลยคืนเงินจํานวน 735,524.67 บาท ให้แก่โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ผู้เสียหาย
จําเลยให้การรับสารภาพ
พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบคํารับสารภาพของจําเลยแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในขณะเกิดเหตุจําเลยรับราชการเป็นข้าราชการครู ตําแหน่งผู้อํานวยการ โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ตําบลหนองไฮ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบการบริหารงานของโรงเรียนบ้านดงมะกรูดและเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามคําสั่ง โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ที่ 41/2550 ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งของทางราชการ และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งของทางราชการ และมีหน้าที่เก็บรักษาสมุดบัญชีคู่ฝากบัญชี เงินอุดหนุนทั่วไปและบัญชีค่าอาหารกลางวัน รวมทั้งมีอํานาจลงลายมือชื่อในใบเบิกถอนร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินของโรงเรียน อันเป็นเงื่อนไข การสั่งจ่ายเงินที่ให้ไว้กับธนาคารในคําขอเปิดบัญชี เพื่อเบิกถอนเงินจากออกจากบัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป)” เลขที่ xxx - x - xxxxx - x และชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (กองทุนอาหารกลางวัน) เลขที่ xxx - x - xxxxx - x
จําเลยเป็นบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้ง ตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ประกอบมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559
เมื่อปีงบประมาณ 2549 ถึง 2551 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้รับจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจําปี รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทเงินอุดหนุน ค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน จากสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สําหรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานโอนเงินค่าใช้จ่ายให้แก่โรงเรียนบ้านดงมะกรูดโดยตรงผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป) เลขที่xxx - x - xxxxx - x ส่วนเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดสรรเงินผ่านสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ได้โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว เลขที่ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
เมื่อปีงบประมาณ 2549 ถึง 2551 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้รับจัดสรร เงินอุดหนุนสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนจากองค์การบริหารส่วนตําบลหนองไฮ โดยได้รับการจัดสรรให้นักเรียนในอัตราคนละ 10 บาทต่อวัน โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้นํา เงินอุดหนุนสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนไปฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “ โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (กองทุนอาหารกลางวัน) เลขที่ xxx - x - xxxxx - x
ในปีงบประมาณ 2549 โรงเรียนบ้านดงมะกรูตได้รับจัดสรร เงินอุดหนุนสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนจากองค์การบริหารส่วนตําบลหนองไฮ เป็นเงินจํานวน 200,500 บาท ในการดําเนินการเกี่ยวกับอาหารกลางวันจําเลยได้ว่าจ้าง นาง ส. ให้เป็นผู้รับจ้างเหมาจัดทําอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน (เฉพาะกับข้าว)
ในปีงบประมาณ 2550 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนสนับสนุนอาหารกลางวัน เด็กนักเรียนจากองค์การบริหารส่วนตําบลหนองไฮ เป็นเงินจํานวน 238,500 บาท ในการ ดําเนินการเกี่ยวกับอาหารกลางวันจําเลยได้ว่าจ้าง นาง ส. ให้เป็นผู้รับจ้างเหมาจัดทําอาหารกลางวัน ให้แก่เด็กนักเรียน (เฉพาะกับข้าว)
ในปีงบประมาณ 2551 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดได้รับจัดสรรเงิน อุดหนุนสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนจากองค์การบริหารส่วนตําบลหนองไฮเป็นเงินจํานวน 88,000 บาท ในการดําเนินการเกี่ยวกับอาหารกลางวันจําเลยได้ว่าจ้างนาง ส. ให้เป็นผู้รับจ้าง เหมาจัดทําอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน (เฉพาะกับข้าว)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่
สําหรับเงินรายการ เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวและ เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน นั้น ปรากฏว่าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป)” เลขที่ xxx - x - xxxxx - x มีรายการเบิกถอนเงินตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2550 รวมรายการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าว 36 ครั้ง เป็นเงิน 565,000.26 บาท
โดยไม่ปรากฏหลักฐานการใช้จ่ายเงิน
นาย บ. พยานโจทก์ ซึ่งถึงแก่ความตายแล้วได้ให้ปากคําในชั้นไต่สวนว่า เมื่อปี 2549 ถึง 2550 พยานในฐานะเจ้าหน้าที่ พัสดุตามคําสั่งโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ที่ 12/2549 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ได้ทําเรื่องขออนุมัติจัดจ้างวัสดุเพื่อใช้กับการปฏิบัติงานของโรงเรียนจากร้านเจริญวิทยา เป็นเงิน ประมาณ 30,000 บาท ร้านเจริญวิทยาส่งมอบวัสดุให้แก่โรงเรียนแล้ว พยานไปขอเงินจากจําเลยเพื่อนําไปจ่ายให้แก่ร้านเจริญวิทยา แต่จําเลยไม่ยอมให้เงินจํานวนดังกล่าว
พยานจึงให้นางสาว ว. ขอรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีเงินฝากของโรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป) มีเงินคงเหลือ 17 บาท
พยานสอบถามจําเลย แต่จําเลยไม่ตอบ
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับงบประมาณ การรับจ่ายเงิน สมุดบัญชีเงินฝากและเล่มใบเสร็จรับเงินของโรงเรียน จําเลยเก็บไว้กับตนเองทั้งหมด จําเลยเป็นผู้จัดทําบัญชีงบประมาณและบัญชีการรับจ่ายเงินของโรงเรียนเองทั้งหมด
เห็นว่า ในขณะเกิดเหตุนาย บ. ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุ มีโอกาสรู้เห็นในการบริหารงบประมาณ ของโรงเรียนบ้านดงมะกรูดเป็นอย่างดี ทั้งข้อเท็จจริงที่นาย บ. ให้ปากคําไว้สอดคล้องเกี่ยวโยง กับรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีในสํานวนการไต่สวน ที่มีรายการเบิกถอนเงิน ไป 36 ครั้ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้จ่ายแต่อย่างใด
พยานหลักฐานโจทก์ประกอบคํารับสารภาพ ของจําเลยมีน้ำหนักมั่นคง จึงรับฟังได้ว่าจําเลยเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (เงินอุดหนุนทั่วไป)” เลขที่ xxx - x - xxxxx - x จํานวน 36 ครั้ง รวมเป็นเงิน 565,000.26 บาท แล้วจําเลยเบียดบัง เอาเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต
จําเลยจึงกระทําความผิดตามฟ้อง
ส่วนเงินค่าอุดหนุนสําหรับสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนของโรงเรียน บ้านดงมะกรูด นั้น นางสาว ส. พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อปีการศึกษา 2550 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนมกราคม 2551 ไม่มีการประกอบอาหารกลางวัน สําหรับนักเรียนแต่อย่างใด และนางส. พยานโจทก์เบิกความว่าพยานเคยรับจ้าง ประกอบอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูด เป็นเวลาประมาณ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2548
ในขณะเกิดเหตุ จําเลยเป็นผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ได้ว่าจ้างพยานไปประกอบ อาหารกลางวันเฉพาะกับข้าวสําหรับนักเรียน ตั้งแต่ประมาณปี 2548 ถึง 2551 โดยได้รับค่าจ้าง วันละ 800 บาท
โรงเรียนบ้านดงมะกรูดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือนตามจํานวนวันที่มีการทําอาหาร ให้นักเรียนจริง ประมาณเดือนละ 21 วัน ค่าจ้างสูงสุดที่ได้รับเดือนละ 16,800 บาท
จําเลย เป็นผู้นําเงินค่าจ้างไปให้พยานที่บ้าน เห็นว่า ในขณะเกิดเหตุนางสาว ส. เป็นข้าราชการครู โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ได้รับแต่งตั้งจากจําเลยให้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงินโรงเรียน คณะกรรมการรับเงินอุดหนุนสําหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและเจ้าหน้าที่บัญชี
ส่วนนาง ส. เป็นผู้รับจ้างประกอบอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ย่อมรู้เห็นเกี่ยวกับ การใช้จ่ายเงินอุดหนุนสําหรับสนับสนุนอาหารกลางวันเป็นอย่างดี
ทั้งไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์ ดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับจําเลย
เชื่อว่าได้เบิกความไปตามความจริง
ประกอบกับบัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาตลาดหนองบัว ชื่อบัญชี “โรงเรียนบ้านดงมะกรูด (กองทุนอาหารกลางวัน) เลขที่ xxx - x - xxxxx - x ในปีงบประมาณ 2549 มีรายการ เบิกถอนเงินเพื่อจ่ายค่าจ้างเหมาจัดทําอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ให้แก่ผู้รับจ้าง จํานวน 11 ครั้ง รวมเป็นเงิน 200,480 บาท ตามรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี
แต่นาง ส. ผู้รับจ้างได้รับค่าจ้างวันละ 800 บาท เฉพาะวันที่จัดทําอาหารกลางวัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนสิงหาคม 2549 รวมเป็นเงิน 152,000 บาท จึงมีเงินที่เบิกถอนคงเหลือ 48,480 บาท
ในปีงบประมาณ 2551 มีรายการ เบิกถอนเงินเพื่อจ่ายค่าจ้างเหมาจัดทําอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูดให้แก่ผู้รับจ้าง จํานวน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 65,000 บาท ตามรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีในสํานวน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนตุลาคม 2550 โรงเรียนบ้านดงมะกรูด จ้างเหมาจัดทําอาหารกลางวัน เป็นเงิน 225,700 บาท แต่นาง ส. ผู้รับจ้าง ได้รับค่าจ้างเพียง 4,000 บาท จึงมีเงินที่เบิกถอนคงเหลือ 61,000 บาท
พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบ คํารับสารภาพของจําเลยมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าในปีงบประมาณ 2549 -2551 จําเลย ได้เบียดบังเอาเงินค่าจ้างจัดทําอาหารกลางวันที่คงเหลือหลังจากจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างไปโดยทุจริต
จําเลยจึงกระทําความผิดตามฟ้อง
นอกจากนั้นยังได้ความจากคําเบิกความของนาง ส. พยานโจทก์ว่า นาง ส. ไม่เคยทําเอกสารใบเสนอราคาและไม่มีการทําสัญญาเป็นหนังสือ ลายมือเขียนชื่อนาง ส. ในเอกสารการจ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทั้งหมด ไม่ใช่ลายมือเขียนของนาง ส. และได้ความจากปากคําของประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ ว่าเอกสารใบตรวจรับพัสดุและรับรองผลการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้างประจําเดือนธันวาคม 2549 เดือนมกราคม 2550 และเดือนสิงหาคม 2550 ลายมือชื่อที่ปรากฏในช่องประธานกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ใช่ลายมือชื่อของประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ
ดังนั้น จึงรับฟังได้ว่าจําเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทําเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือดูแลรักษา เอกสารการจ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านดงมะกรูด ใบตรวจรับพัสดุ และรับรองผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างประจําเดือนธันวาคม 2549 เดือนมกราคม 2550 และเดือนสิงหาคม 2550 กระทําการปลอมลายมือชื่อของนาง ส. และประธานกรรมการตรวจรับพัสดุโดยอาศัยโอกาสที่จําเลยมีหน้าที่นั้น
จําเลยจึงกระทําความผิดตามฟ้อง
พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 , 161 การกระทําของจําเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต
จําคุกกระทงละ 5 ปี รวม 39 กระทง เป็นจําคุก 195 ปี
ฐานเจ้าพนักงานกระทําการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาส ที่ตนมีหน้าที่ จําคุกกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทงเป็นจําคุก 4 ปี รวมจําคุก 199 ปี
จําเลยให้การ รับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุก 80 ปี 234 เดือน
เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จําคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กับให้จําเลยคืนเงินจํานวน 735,524.67 บาท แก่โรงเรียนแก่โรงเรียนบ้านดงมะกรูด ผู้เสียหาย
ทั้งนี้ คดียังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
แต่ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร คดีนี้ นับเป็นกรณีศึกษาสำคัญ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่น กระทำผิดซ้ำรอย ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ชัดเจนอีกกรณีหนึ่ง