ไวรัสโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดการกลายพันธุ์นั้นยังคงมีรูปแบบการกลายพันธุ์ในส่วนของการลบ S gene หรือยีนเอส ขณะที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2 นี้กลับไม่มีรูปแบบการกลายพันธุ์ที่เหมือนกันแต่อย่างใด โดยนับตั้งแต่ที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 ไม่ได้มีลักษณะการกลายพันธุ์ที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกับไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม อันจะส่งผลทำให้ง่ายต่อการจำแนกระหว่างโอไมครอนกับเดลต้า นี่จึงเป็นเหตุทำให้ BA.2 ถูกเรียกในอีกชื่อว่าสเตลท์โอไมครอน
สืบเนื่องจากกระแสข่าวการค้นพบไวรัสโควิดย่อยสายพันธุ์ใหม่ BA.2 ที่กลายพันธุ์มาจากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งเป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพทั้งในด้านการแพร่เชื้อ การต้านภูมิคุ้มกันที่มาจากวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด ทำให้หลายฝ่ายนั้นมีความกังวลกันว่าไวรัส BA.2 ที่กลายพันธุ์มาจากโอไมครอนนั้นอาจจะน่าจะมีความเลวร้ายมากกว่าตัวสายพันธุ์โอไมครอนเอง
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้สำรวจข้อมูลจากต่างประเทศจนพบว่าสำนักกข่าว ABP ของประเทศอินเดียนั้นก็ได้มีการจัดทำรายงานเกี่ยวกับไวรัสโควิด BA.2 เอาไว้ในหลายประเด็น สำนักข่าวอิศราจึงได้นำเอารายงานมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
มีรายงานว่าประเทศอินเดียนั้นผู้ติดเชื้อโควิดสสายพันธุ์ย่อยของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือที่มีชื่อเรียกกันอีกชื่อว่า BA.2 ไปแล้วมากกว่า 500 ราย และยังคงพบมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ทางประเทศอินเดียนั้นได้มีการส่งข้อมูลไปให้กับหน่วยงาน GISAID เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงาน GISIAD นี้นั้นเป็นหน่วยงานระดับโลกในด้านการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ทำหนังไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19
ไวรัส BA.2 ดังกล่าวนี้มีชื่อเล่นอีกชื่อว่าไวรัสน้องเล็กสำหรับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน และเชื่อกันว่าไวรัสนี้เกิดมาจากกรณีที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนหรือที่มีชื่อว่า B.1.1.529 ได้กลายพันธุ์ และตัวไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนดังกล่าวนั้นก็คือหนึ่งในไวรัสที่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์เดลต้าอีกทีหนึ่ง
และก็มีรายงานว่าไวรัสนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโควิดรายใหม่ในหลายประเทศอาทิ อินเดีย เดนมาร์ก และสวีเดน ขณะที่หน่วยงานด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรหรือ UKHSA ก็ได้ประกาศให้ไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอนนี้กลายเป็นไวรัสที่อยู่ภายใต้การสืบสวนแล้วเช่นกันในวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา
โดยไวรัสนี้มีชื่อเล่นอีกชื่อหนึ่งว่าคือไวรัสสเตลธ์โอไมครอน และยังเป็นไวรัสโควิดที่ระบาดไปในบางพื้นที่ทั่วโลกได้มากกว่าว่าไวรัสสายพันธุ์ย่อยอื่นๆของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
@ในประเทศใดบ้างที่พบว่ามีการระบาดอย่างโดดเด่นของโควิด BA.2
ไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2 นั้นถูกพบว่ามีการระบาดไปแล้วกว่า 43 ประเทศ และเชื่อกันว่าไวรัสนี้นั้นกลายเป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายไปแล้วในบางประเทศ โดยข้อมูลจากรายงานของสื่อพบว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 นั้นมีส่วนทำให้เกิดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ในประเทศอย่างเช่นอินเดีย,เดนมาร์ก และสวีเดน ซึ่งที่ประเทศเดนมาร์กพบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดใหม่พุ่งสูงอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่ในสหราชอาณาจักร ทาง UKHSA ก็พบว่ามีผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้พุ่งสูงเป็นจำนวนกว่า 400 รายในช่วงสิบวันแรกของเดือน ม.ค. แต่อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนดั้งเดิมที่ถูกเรียกว่า BA.1 นั้นยังคงเป็นโควิดสายพันธุ์ที่มีการระบาดเป็นหลักในสหราชอาณาจักร และสัดส่วนของการระบาดของโควิดสายพันธุ์ BA.2 นั้นยังคงน้อยอยู่
ทว่าจากการจัดลำดับทางพันธุกรรมของสถาบันจัดอันดับจีโนมหรือ WGS นั้นก็พบว่าอัตราการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ BA.2 มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เร็วกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.1 โดยนับตั้งแต่ที่พบผู้ติดไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 ครั้งแรกในวันที่ 6 ธ.ค. 2564 ล่าสุดข้อมูลในวันที่ 21 ม.ค. ก็พบว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่และเป็นโควิดสายพันธุ์นี้คิดเป็นจำนวน 426 ราย
ส่วนอีก 40 ประเทศก็ได้ส่งรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ BA.2 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 8,040 รายไปให้กับ GISAID ซึ่งตัวเลขนี้นั้นเป็นจำนวนขอ ผู้ติดเชื้อรวมนับตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. 2564 โดยข้อมูลจาก UKHSA ระบุว่าประเทศแรกที่ส่งตัวอย่างพันธุกรรมมานั้นคือประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศที่พบตัวอย่างพันธุกรรมผู้ติดเชื้อมากที่สุดก็คือประเทศเดนมาร์กคิดเป็นจำนวนตัวอย่างพันธุกรรม 6,418 ราย ประเทศสวีเดน ส่งตัวอย่างพันธุกรรมของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 คิดเป็นจำนวน 181 ราย และประเทศสิงคโปร์ส่งตัวอย่างมา 127 ราย และจากข้อมูลตัวอย่างพันธุกรรมดังกล่าวก็ทำให้เกิดความกังวลว่าไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีศักยภาพในการแพร่เชื้อมากกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนดั้งเดิมนั้น จะทำให้คลื่นการระบาดระลอกถัดไปของไวรัสโควิด-19 เป็นคลื่นลูกใหญ่กว่าคลื่นการระบาดก่อนหน้านี้
โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศฝรั่งเศสได้กล่าวว่าทางหน่วยงานของประเทศเนเธอร์แลนด์เองก็ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับปรากฎการณ์การระบาดนี้เช่นกัน แต่ก็ได้มีการจับตาสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิดแล้ว ซึ่งจากกรณีที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อของประเทศเดนมาร์กนั้นเริ่มจะอยู่ในทิศทางที่สูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 นี้มีความสามารภในการส่งต่อเชื้อได้ง่ายกว่าเดิม
ขณะที่ประเทศอื่นๆในทวีปยุโรปที่พบไวรัสโควิด BA.2 ทั้งสหราชอาณาจักร,เยอรมนี,เบลเยียม,อิตาลีและฝรั่งเศส ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ,เอเชีย และออสเตรเลีย ต่างก็พบจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้จำนวนมากขึ้นเช่นกัน
@ทำไม BA.2 ถึงถูกเรียกว่าสเตลท์โอไมครอน?
สาเหตุสำคัญก็คือว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 ถูกเรียกว่าสเตลท์โอไมครอนนั้น ก็เนื่องจากว่าไวรัสนี้ขาดการลบทางพันธุกรรมในพื้นที่โปรตีนหนามในตำแหน่งที่ 69-70 ส่งผลทำให้เกิดการตรวจที่ล้มเหลวหรือที่เรียกกันว่า S-gene target failure ในกระบวนการตรวจหาเชื้อโควิดแบบพีซีอาร์ ซึ่งกรณีความผิดพลาดในการตรวจโควิดดังกล่าวนั้นก็เคยเกิดขึ้นกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมาแล้วก่อนหน้านี้
หรือถ้าจะกล่าวในอีกนัยยะหนึ่งก็คือว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดการกลายพันธุ์นั้นยังคงมีรูปแบบการกลายพันธุ์ในส่วนของการลบ S gene หรือยีนเอส ขณะที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2 นี้กลับไม่มีรูปแบบการกลายพันธุ์ที่เหมือนกันแต่อย่างใด โดยนับตั้งแต่ที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 ไม่ได้มีลักษณะการกลายพันธุ์ที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกับไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม อันจะส่งผลทำให้ง่ายต่อการจำแนกระหว่างโอไมครอนกับเดลต้า นี่จึงเป็นเหตุทำให้ BA.2 ถูกเรียกในอีกชื่อว่าสเตลท์โอไมครอน
อย่างไรก็ตาม นายคอร์นีเลียส โรเมอร์ นักชีววิทยาในด้านการคำนวณที่มหาวิทยาลัยบาเซิลแห่งสวิตเซอร์แลนด์ ได้เคยทวีตผ่านทวิตเตอร์ของตัวเอง โดยยืนยันว่า BA.2 ยังสามารถตรวจจับได้ด้วยการตรวจแบบพีซีอาร์ และรายงานข่าวบางส่วนนั้นพบว่ามีความผิดพลาดของข้อมูลอยู่
นายโรเมอร์ยังได้ทวีตต่อไปด้วยว่าแม้ว่าผลการตรวจพีซีอาร์กับไวรัสโควิด BA.2 นั้นจะออกมาไม่เหมือนกับที่ตรวจเจอไวรัสโควิด BA.1 แต่ผลที่ออกมาก็ยังเป็นบวกอย่างแน่นอน
@ไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 ถูกพบครั้งแรกที่ไหน ?
ไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 นั้นถูกพบระบุตัวตนครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และตามมาด้ายที่ประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงปลายเดือน 2564 ตามรายงานของสื่อ และนอกจากนี้ยังพบไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.3 หรือว่า BB.2 ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ไวรัส BA.3 นั้น ถือว่าเป็นที่สนใจน้อยกว่าสำหรับนักระบาดวิทยา เพราะจำนวนของผู้ติดเชื้อไวรัส BA.2 นั้นเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สำหรับในส่วนของการกลายพันธุ์นั้นพบว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 มีการกลายพันธุ์อยู่ถึง 20 จุด และกว่าครึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในส่วนของโปรตีนหนาม ซึงเป็นอวัยวะสำคัญของไวรัสในการเข้าสู่ร่างกายมนุษย์
@ไวรัส BA.2 นั้นเป็นอันตรายมากกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนดั้งเดิมหรือไม่?
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยรายงานว่าไวรัสโควิดโอไมครอนนั้นมีอยู่สามสายพันธุ์ย่อยอันได้แก่ BA.1, BA.2, และ BA.3 ในขณะที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐฯไม่ได้จำแนกสายพันธุ์ย่อยระหว่าง BA.1 และ BA.2 แต่อย่างใด ณ เวลานี้
ความแตกต่างของโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ BA.1, BA.2, และ BA.3 (อ้างอิงวิดีโอจาก Whiteboad Doctor)
WHO ยังได้รายงานต่อไปอีกว่ากว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างพันธุกรรมที่ได้มีการเก็บในช่วงวันที่ 23 ธ.ค. นั้นยังพบว่าเป็นตัวอย่างของไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ BA.1 ขณะที่ประเทศเดนมาร์กก็ได้รายงานข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดใหม่กว่าครึ่งในวันนั้นพบว่าเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2
ส่วนนายโอลิเวอร์ เวแรน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและความเป็นปึกแผ่นของประเทศฝรั่งเศส ก็ได้กล่าวว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 นั้นยังมีลักษณะที่เด่นน้อยเกินกว่าที่จะเป็นสายพันธุ์ที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกม ณ เวลานี้ ขณะที่ชุมชนวิทยาศาสตร์ซึ่งได้ศึกษาโควิด BA.2 มาอย่างใกล้ชิด ก็ได้กล่าวว่ายังไม่มีข้อมูลที่แม่นยำจะระบุได้เกี่ยวกับศักยภาพของไวรัสทั้งในด้านของความรุนแรงโรคและการต่อต้านภูมิคุ้มกันของวัคซีนแต่อย่างใด
ทางด้านของนายทอม พีคอก นักไวรัสวิทยา จากวิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน ก็ได้ทวีตว่า ข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูลจากที่ประเทศอินเดียและประเทศเดนมาร์กบ่งชี้ว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเปรียบเทียวไวรัสนี้กับสายพันธุ์ BA.1 แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่จับต้องได้มากกว่านี้นั้นคาดว่าจะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้
ทั้งนี้ถ้าหากสรุปข้อมูลจากทวิตเตอร์ของนายพีคอก ก็หมายความว่ายังคงมีความแตกต่างแม้จะในระดับน้อยที่สุด ในประเด็นเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อต้องเจอกับไวรัสสายพันธ์ BA.1 และ BA.2 และตัวนายพีคอกก็ยังแสดงความไม่มั่นใจว่าไวรัสโควิด BA.2 นี้นั้นจะส่งผลต่อคลื่นของการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในปัจจุบันด้วยหรือไม่
“หลายประเทศนั้นเข้าใกล้หรือไม่ก็ผ่านจุดพีคของการระบาดของไวรัสโควิด BA.1 ไปแล้ว ดังนั้นผมจะแปลกใจมากที่ว่าไวรัส BA.2 นั้นจะก่อให้เกิดคลื่นการระบาดในระลอกที่สอง ณ เวลานี้ ซึ่งแม้ว่าไวรัสนี้จะมีศักยภาพในการแพร่เชื้อได้มากกว่าแม้เพียงเล็กน้อย มันก็ยังไม่เหมือนกับกรณีที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้เปลี่ยนไปเป็นโอไมครอน อันที่จริงแล้ว กรณีเกิด BA.2 นั้น มันดูเหมือนว่าจะมีลักณะการเปลี่ยนแปลงที่ช้ากว่าและมีความละเอียดอ่อนที่มากขึ้น” นายพีคอกกล่าวบนหัวข้อทวิตเตอร์เดียวกัน และกล่าวต่อไปด้วยว่าแต่เขาก็จะไม่แปลกใจว่าในอีกไม่กี่เดือนนั้น สายพันธุ์ BA.2 จะค่อยๆเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ BA.1 ด้วยการปรับตัวไวรัสให้เหมาะสมแม้เพียงเล็กน้อย
ขณะที่นายแอนทอน ฟลาฮอลต์ นักระบาดวิทยา ผู้อํานวยการสถาบันสุขภาพโลกแห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา กล่าวว่าการเฝ้าจับตาดูนั้นน่าจะทำให้สามารถตรวจสอบหาเชื้อไวรัสโควิด BA.2 ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ซึ่งเคยติดเชื้อไวรัสโอไมครอนมาแล้วนั้นติดเชื้อซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วยไวรัสสายพันธุ์ BA.2
ส่วน พญ.มีระ จันทน์ ผู้อำนวยการเหตุการณืโควิด-19 ที่ UKHSA กล่าวว่ายังคงไม่มีหลักฐานที่ไม่เพียงพอจะกำหนดว่าไวรัสโควิด BA.2 นั้นจะก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงได้มากกว่าเมื่อเทียบกับไวรัสโคไมครอน BA.1 ซึ่งตามธรรมชาติของไวรัสนั้นมันจะมีการพัฒนาและกลายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงคาดว่าเราน่าจะเห็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นเมื่อการระบาดใหญ่นั้นยังดำเนินต่อไป
นักวิทยาศาสตร์ออกมายอมรับว่ายังคงเป็นการยากที่จะตรวจจับหาไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 (อ้างอิงวิดีโอจากสำนักข่าว DW)
@อะไรทำให้เป็นการยากต่อการระบุตัวตนของไวรัสโควิด BA.2 ?
อันที่จริงแล้วไวรัสโควิดสเตลท์โอไมครอนนั้นไม่ใช่ไวรัสที่ง่ายต่อการติดตามตัวเลย โดยข้อมูลจาก นางฟลอเรนซ์ เดบาร์เร นักชีววิทยาที่สถาบันนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในกรุงปารีส การเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนการทดสอบในกระบวนการทดสอบแบบพีซีอาร์รวมไปถึงชุดตรวจโควิดที่แตกต่างกันไปในแต่ละห้องปฏิบัติการณ์นั้นทำให้เป็นการยากที่จะระบุตัวตนของไวรัสโควิด BA.2 ได้อย่างน่าเชื่อถือ
โดยในสหราชอาณาจักรนั้นยังพบว่าไม่สามารถจะแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างโควิดสายพันธุ์เดลต้าและโควิด BA.2 ได้เนื่องจากวิธีการทดสอบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ในปัจจุบันนั้น การจัดลําดับทางพันธุกรรม ถือเป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุดในการตรวจหาเชื้อไวรัส แต่วิธีนี้นั้นก็ถูกใช้งานน้อยที่สุดด้วยเช่นกัน เนื่องจากการใช้วิธีนี้นั้นมีความล่าช้าและอาจจะไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาตรวจหาเชื้อโควิดในสายพันธุ์ที่มีลักษณะของการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว